William O’Neil

William O’Neil ผู้เขียนหนังสือชื่อว่า “How to make money in stocks” นำเสนอวิธีการคัดสรรหุ้นที่ยอดเยี่ยมด้วยระบบที่ชื่อว่า “CAN SLIM” เป็นที่โด่งดังอย่างมากทั้งในไทย และต่างประเทศ

สั่งซื้อหนังสือ “How to make money in stocks” ของ William O’Neil ได้ที่นี่ คลิ๊ก

ประวัติ :

วิลเลียม โอนีล ผู้สร้างความมั่งคั่งได้จาก 2 บทบาท ทั้งนักลงทุนที่ทำกำไรได้มหาศาลและนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง 

โดยจุดเริ่มต้นเส้นทางอาชีพทางการเงินของเขาด้วยการเป็นโบรกเกอร์หุ้นของบริษัท Hayden, Stone and Company ในปี 1958 และนี่เป็นที่เริ่มต้นการวิจัยซึ่งนำไปสู่การคิดค้นกุญแจสำคัญในกลยุทธ์การลงทุนของเขา

ระหว่างปี 1962-1963 เขาได้พิสูจน์แนวคิดตัวเองด้วยการเทรดแบบพีระมิด โดยการ Short Korrette , Long Chrysler และ Long Syntex โดยการลงทุนช่วงเริ่มต้นนี้สามารถเพิ่มลงทุนของเขาจาก 5,000 ดอลลาร์ ขึ้นไปเป็น 200,000 ดอลลาร์

จากชัยชนะการลงทุนนั้น เขาได้เขามาซื้อที่นั่งในตลาดแลกเปลี่ยนที่นิวยอร์ก และ ก่อตั้งบริษัท วิลเลียม โอนีลแอด์โค (William O’Neil and Co.) เป็นบริษัทโบรกเกอร์เพื่อการวิจัย คอยนำเสนอข้อมูลต่างๆของตลาดหุ้นที่คำนวณด้วยคอมพิวเตอร์

สิ่งที่โดดเด่นในธุรกิจของเขา คือ ออกหนังสือพิมพ์ Investors’ Daily เพื่อแข่งกับ Wall Street Journal 

“ในระหว่างที่ทำธุรกิจ ผลงานการเทรดของเค้าไม่ได้ด้อยลงแม้แต่น้อยเลย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โอนีลมีผลกำไรต่อปีเฉลี่ยมากกว่า 40% จากการลงทุนของเขา”

ในปี 1988 โอนีลได้รวบรวมแนวคิดของเขาออกมาเป็นหนังสือชื่อ How to Make Money in Stocks 

  • โอกาสที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นมาทุกๆปีในอเมริกา
  • ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยความไม่ย่อท้อและการทำงานหนัก
  • เจ้าของแนวคิด CANSLIM 

ข้อคิด :

  • วิธีที่จะทำผลลัพธ์ให้ได้เหนือกว่าไม่ใช่เป็นการซื้อหุ้นเมื่อมันอยู่ใกล้จุดต่ำสุดของมัน แต่เป็นการซื้อหุ้นที่กำลังจะทะลุจากฐานราคาที่กว้างและกำลังจะทำจุดสูงสุดใหม่เมื่อเทียบกับฐานราคาเดิมก่อนหน้านั้น คุณกำลังพยายามที่จะค้นหาจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวใหญ่เพื่อที่คุณจะได้
  • ไม่ต้องเสียเวลา 6 หรือ 9 เดือนติดอยู่ในหุ้นที่ไม่วิ่งไปไหนเลย

แนวคิด CANSLIM

  • รูปแบบจำลองของการเลือกหุ้นผู้ชนะ โดย CANSLIM
    • C (Current earning per share) กำไรต่อหุ้นในปัจจุบัน 
      • กำไรต่อหุ้นประจำไตรมาสจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20-50 % เมื่อคิดแบบปีต่อปี
    • A (Annual earning per share) กำไรต่อหุ้นประจำปี (EPS)
      • กำไรต่อหุ้นที่แต่ละปีควรที่จะมากกว่ากำไรในปีก่อนหน้าด้วย
      • ในอินเวสเตอร์ เดลี่ ใช้ EPS Rank 95 หมายถึง กำไรในปัจจุบันและย้อนหลัง 5 ปีของบริษัทเหนือกว่าบริษัทอื่นๆ อีก 95% ที่เหลือ
    • N (New) เรื่องราวใหม่ๆ อะไรบางอย่าง
      • เรื่องใหม่อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการแบบใหม่ การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม หรือทีมบริหารใหม่
    • S (Shares outstanding) ปริมาณหุ้นในตลาด
      • 95% ของหุ้นที่ผลงานดีที่สุดในการศึกษาของเรา มีปริมาณหุ้นน้อยกว่า 25 ล้านหุ้นในตลาด
    • L (Leader or Laggard) ผู้นำ หรือ ผู้ตาม
      • ดูจากค่า Relative Strength
      • ผมมีแนวโน้มที่จะจำกัดการซื้อขายไว้เฉพาะในบริษัทที่มีค่า Relative Strength มากกว่า  80 ขึ้นไป
    • I (Institutional Sponsorship) การสนับสนุนจากสถาบัน
      • ผู้ซื้อกลุ่มสถาบันเป็นแหล่งของอุปสงค์ที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้น หุ้นที่เป็นผู้นำตลาดมักจะมีสถาบันให้การหนุนหลังอยู่
    • M (Market) ตลาด
      • เรียนรู้วิธีการแปรผลของราคา และ ปริมาณการซื้อขายในแต่ละวัน เพื่อที่จะหาสัญญาณว่าตลาดได้มาถึงจุดสูงสุดแล้ว
  • เวลาใดๆ ก็ตาม จะมีน้อยกว่า 2% ของหุ้นทั้งหมดในตลาดที่จะเข้าได้กับสูตร CANSLIM
  • ประมาณ ⅔ ของหุ้นที่ผมซื้อสุดท้ายแล้วจะกำไร 
  • อย่างไรก็ตามผมพบว่ามีแค่เพียง 1 หรือ 2 หุ้นจากทุกๆ 10 หุ้นที่ผมซื้อเท่านั้นที่ปรากฏออกมาว่ามีผลงานโดดเด่นอย่างชัดเจน

ข้อคิด (ต่อ)

  • จุดตัดขาดทุนอยู่ 7% ทุกการเทรด : จะตัดขาดทุนอย่างไม่ลังเล
  • Relative Strength : กุญแจสำคัญไม่ได้อยู่ว่า RS นั้นจะสูงแค่ไหน แต่มันอยู่ที่ว่าหุ้นได้ขึ้นมาจากฐานราคาล่าสุดของมันมากเพียงใดแล้วมากกว่า คุณซื้อหุ้นที่มีค่า RS ที่สูง ถ้าพวกมันยังอยู่แค่ในช่วงต้นของการขึ้นของราคาออกมาจากช่วงของการสร้างฐานราคา อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วผมจะไม่ซื้อหุ้นที่มีค่า RS ที่สูง ถ้าพวกมันขึ้นมามากกว่า 10% จากฐานราคาเดิมของมันแล้ว
  • M ในสูตร CANSLIM : รูปแบบจุดสูงสุดของค่าเฉลี่ยของตลาดจะเกิดขึ้นได้แค่ 1 ใน 2 รูปแบบเท่านั้น
    • อย่างแรก ค่าเฉลี่ยวิ่งขึ้นไปที่จุดสูงสุดใหม่ แต่ด้วยปริมาณการซื้อขายที่น้อย นี่จะบอกคุณได้ว่าความต้องการในหุ้นมันแย่ตรงจุดนั้นและการวิ่งขึ้นนั้นมีความเปราะบาง
    • อย่างที่สอง ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นติดต่อกันหลายวันแต่มันมีการขึ้นของราคาน้อยมากหรือไม่มีเลยเมื่อดูจากราคาปิดตลาด ในกรณีนี้มันอาจจะไม่มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณการซื้อขายในตอนที่ตลาดมาถึงจุดสูงสุดในช่วงแรกๆ เพราะมันมีการกระจายหุ้นเกิดขึ้นไปแล้วในระหว่างที่มันขึ้นมา
  • ดูจุดสูงสุดของตลาด : อีกหนึ่งวิธีที่จะระบุทิศทางโดยรวมของตลาด คือ ให้ความสนใจกับ “หุ้นกลุ่มผู้นำ”
    • ถ้าหุ้นที่เคยเป็นผู้นำในตลาดกระทิงเริ่มที่จะตกลงมา นั่นจะเป็นสัญญาณสำคัญว่าตลาดได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว
  • ดูจุดสูงสุดของตลาด : ปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่ควรจะดู คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ โดยส่วนมากแล้วถ้า FED เพิ่มอัตราดอกเบี้ยไป 2-3 ครั้ง ตลาดก็จะเริ่มเข้าสู่ภาวะลำบาก
  • ดูจุดสูงสุดของตลาด : เส้นอัตราส่วนหุ้นที่ขึ้นต่อหุ้นที่ลง (Advance/Decline line) ประจำวัน ก็เป็นตัวชี้วัดที่เป็นประโยชน์ในบางครั้งที่จะมองหาจุดสูงสุดของตลาด
  • ผมไม่แนะนำให้ Short นอกจากเสียกว่าเขาเป็นเทรดเดอร์มืออาชีพ เพราะ การ Short เป็นเรื่องยาก
  • เมื่อไรที่จะขายทำกำไร : (ไม่ได้ตอบชัดเจน)
    • คุณควรถือหุ้นไว้ต่อถ้ามันยังทำผลงานได้ดีอยู่
    • คุณไม่มีทางที่จะขายหุ้นที่จุดสูงสุดจริงๆ
  • เรื่องไร้สาระ 
    • การดู P/E (ไร้สาระ) 
      • ผมเคยซื้อ Northrop ที่ PE ระดับ 4 เท่าของกำไร สุดท้ายมันลงต่อจน PE เหลือ 2 เท่าของกำไร
      • เคยได้ยินเทรดเดอร์คนนึง Short หุ้น Xerox เพราะ PE สูงถึง 55 เท่าของกำไร เขา Short ที่ 88 เหรียญ สุดท้าย ราคาของ Xerox ขึ้นไปถึง 1,300 เหรียญ
    • การดูปันผล (ไร้สาระ)
      • มันไม่มีความสันพันธ์ระหว่างเงินปันผลกับผลงานของหุ้น
    • เครื่องมือวัดพวก Overbought/oversold (ไร้สาระ)
      • ผมเคยเจ้ามืออาชีพที่มีชื่อเสียงในเรื่องนี้โดยเฉพาะ สุดท้ายไม่เวิร์ก
  • ถือหุ้นกี่ตัวดี
    • พอร์ต 5,000 ดอลลาร์ แนะนำ 1-2 ตัว
    • พอร์ต 10,000 ดอลลาร์ แนะนำ 3-4 ตัว
    • พอร์ต 25,000 ดอลลาร์ แนะนำ 4-5 ตัว
    • พอร์ต 50,000 ดอลลาร์ แนะนำ 5-6 ตัว
    • พอร์ต 100,000 ดอลลาร์ขึ้นไป แนะนำ 6-7 ตัว
  • Technical หลอกลวง ?
    • นักลงทุนส่วนใหญ่คิดว่าชาร์เป็นเรื่องหลอกลวง มีแค่เพียง 5-10% ของนักลงทุนเท่านั้นที่มีความเข้าใจชาร์ท
    • เหมือนกับหมอจะดูโง่ถ้าไม่ใช้ X-rays ส่วนนักลงทุนก็จะดูโง่ถ้าไม่ใช้ชาร์ท
  • หุ้นขึ้นทำ High ใหม่ Vol ควรเพิ่ม : เมื่อหุ้นเริ่มที่จะเคลื่อนไหวขึ้นไปในบริเวณที่จุดสูงสุดใหม่ ปริมาณการซื้อขายควรที่จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50%
  • หุ้นพักตัว Vol ควรลด : ปริมาณการซื้อขายยังสามารถใช้ในทางกลับกันได้อีกด้วย เมื่อราคาได้เข้าสู่ช่วงการบีบตัวหลังจากการขึ้นของมัน ปริมาณการซื้อขายควรที่จะลดลงอย่างรวดเร็ว
  • กองทุนรวม
    • เป็นวิธีการลงทุนที่ยอดเยี่ยมอย่างแท้จริง
    • กุญแจที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในกองทุนรวมก็คือ นั่งลงแล้วไม่ต้องไปคิดอะไร
    • เมื่อซื้อมันคือต้องอยู่กับมันไปอีก 15 ปีหรือมากกว่านั้น (เป็นวิธีที่จะทำงานจากมันได้จริงๆ)
    • แต่ต้องการความกล้าหาญที่จะนั่งผ่านตลาดหมีไป 3-5 ครั้งให้ได้
    • โดยกองทุนรวมทั่วๆไปที่กระจายการลงทุนในหุ้นกลุ่มเติบโตจะได้กำไรประมาณ 75-100% ในตลาดกระทิง แต่มันขาดทุนเพียง 20-30% ในตลาดหมี
  • นักวิเคราะห์ระดับแนวหน้าโดยทั่วไปจะทำผลงานได้แย่กว่าผลงานเฉลี่ย
  • ปัญหาสำคัญอีกข้อหนึ่งเกี่ยวกับงานวิจัยในวอลสตรีท คือ มันแทบจะไม่เคยออกคำแนะนำให้ขายเลย
  • ตลาดหุ้นไม่ได้เป็นทั้งมีประสิทธิภาพหรือเป็นแบบสุ่ม 
    • มันไม่มีประสิทธิภาพ เพราะ มันมีความคิดเห็นที่ถูกเข้าใจผิดอยู่มากเกินไป
    • มันไม่ได้เป็นแบบสุ่ม เพราะ อารมณ์ที่รุนแรงของนักลงทุนสามารถทำให้เกิดเป็นแนวโน้มได้
  • ความสำเร็จในการเทรดต้องการองค์ประกอบพื้นฐาน 3 อย่างคือ
    • 1. ขบวนการในการคัดเลือกการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ
    • 2. การควบคุมความเสี่ยง
    • 3. วินัย

ความผิดพลาดที่พบบ่อย 18 อย่าง ในนักลงทุนทั่วไป 

(ในหนังสือ How to Make Money in Stocks ของโอนีล)

  1. นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้หลักเกณฑ์ที่ดีในการคัดสรรหุ้น
  2. การซื้อในตลาดขาลง รับรองได้ว่าผลลัพธ์จะออกมาแย่
  3. นิสัยที่แย่ไปกว่านั้นคือการซื้อถัวเฉลี่ยขาลง แทนที่จะเป็นขาขึ้น
  4. คนทั่วไปชอบซื้อหุ้นที่ขายในราคาต่ำๆ (หุ้นที่ต่ำกว่า 10 ดอลลาร์ มักไม่ดี)
  5. มือใหม่มักต้องการทำเงินมหาศาลแบบง่ายๆ โดยไม่ได้ศึกษา ไม่ได้เตรียมตัว
  6. คนส่วนใหญ่ยินดีซื้อข้อมูลลับ ข่าวลือ เรื่องเล่า หรือ คำแนะนำจากผู้แนะนำการลงทุน (ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักไม่ได้สร้างกำไร)
  7. ชอบดูปันผล กับ P/E (ซึ่งเป็นข้อผิดพลาด)
  8. ผู้คนชอบซื้อบริษัทที่พวกเขาคุ้นเคย แค่นั้น (ค่อนข้าง Bias)
  9. นักลงทุนส่วนมากไม่สามารถที่จะหาข้อมูลและคำแนะนำที่ดีได้ (1 ใน 9 ของนักเบสบอลทั้งหมดที่เซ็นสัญญาอาชีพเท่านั้นที่จะขึ้นไปเล่นลีคใหญ่ได้ พวกกูรูก็เช่นกัน)
  10. มากกว่า 98% ของคนทั้งหมดจะกลัวที่จะซื้อหุ้นที่กำลังเริ่มขึ้นไปในบริเวณที่เป็นจุดสูงสุดใหม่
  11. นักลงทุนมักดึงดันถือสถานะขาดทุน จนการขาดทุนสูงไปเรื่อยๆ
  12. ในแบบเดียวกัน นักลงทุนมักจะขายเอากำไรเพียงเล็กน้อยออกมา และถือสถานะที่ขาดทุนของพวกเขาไว้
  13. นักลงทุนรายย่อยกังวลมากเกินไปกับภาษีและค่าคอมมิสชั่น
  14. มีคนมากมายที่เก็งกำไรในออปชั่นมากเกินไป เพราะพวกเขาคิดว่ามันเป็นวิธีที่จะทำให้รวยได้อย่างรวดเร็ว
  15. นักลงทุนมือใหม่ชอบตั้งซื้อ ตั้งรอราคา (Price limits) พวกเขาแทบจะไม่เคยส่งคำสั่งซื้อขายที่ราคาตลาดเลย (Market order)
  16. นักลงทุนบางคนลังเล ไม่สามารถตัดสินใจซื้อขายได้ เนื่องจากไม่มีแผน หลักการ หรือ กฏที่จะนำทางให้พวกเขา
  17. นักลงทุนส่วนใหญ่มีอคติต่อหุ้น
  18. นักลงทุนมักจะถูกอิทธิพลของอะไรบางอย่าง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ได้มีความสำคัญนักเข้ามากระทบ เช่น การแตกพาร์ การเพิ่มเงินปันผล การประกาศข่าวใหม่ และคำแนะนำจากผู้แนะนำการลงทุน

เพิ่มเติมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง