เนื้อหา : แนวคิดและวิธีการเทรด จาก Mark Minervini (เทรดเดอร์สายกราฟ ที่ใช้วิธีการเฉพาะตัว) 

สิ่งที่ได้ : กลยุทธ์การเทรดของ Market Minervini ทั้งการซื้อขายหุ้น การบริการหน้าตัก และสิ่งจำเป็นที่สุดยอดเทรดเดอร์ต้องมี

เหมาะสำหรับ : ทั้งเทรดเดอร์มือใหม่ และเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์มาแล้ว เพราะหนังสือเล่มนี้เนื้อหาค่อนข้างครอบคลุมหลักการที่จำเป็นในการเทรดทั้งหมด

สั่งซื้อหนังสือ คิดและเทรดอย่างแชมป์เปี้ยน โดย Mark Minervini ได้ที่นี่ : คลิ๊ก

บทนำ : ก้าวแรกสู่การคิดและเทรดอย่างแชมป์เปี้ยน

  • คนที่เลือกชนะ เขาจะมองหาบุคคลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ มีการวางหนทางเพื่อไปสู่ความสำเร็จ และยอมรับความล้มเหลวแต่ละครั้งในฐานะครูผู้ให้บทเรียนอันมีค่า พวกเขานำแผนงานมาปฏิบัติ เรียนรู้บทเรียนจากผลลัพธ์ของตัวเองและคอยปรับปรุงสิ่งต่างๆ จนกระทั่งพวกเขาได้มาซึ่งชัยชนะ
  • ถ้าคุณต้องการเทรดได้อย่างแชมป์เปี้ยน คุณก็จำเป็นต้องคิดอย่างคนที่เป็นแชมป์
  • คุณต้องยอมรับความจริงที่ว่า การจะเป็นเทรดเดอร์หุ้นระดับแชมป์เปี้ยนมันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการมีพรสวรรค์ หรือต้องจบการศึกษาระดับสูงจากไอวี่ลีก แต่มันเริ่มต้นจากการมีความเชื่ออย่างแท้จริงว่า ชัยชนะเป็นสิ่งที่คุณเลือกได้อย่างไม่มีข้อสงสัย
  • ในระยะยาวระบบความเชื่อจะเป็นสิ่งที่ชนะอยู่เสมอ ดังนั้น การจะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ได้ การกระทำของคุณจะต้องถูกปรับให้เข้ากับความเชื่อของคุณ เป้าหมายสำคัญคือความสอดคล้องกันของสองสิ่งนี้
  • นักจิตวิทยาพบความสัมพันธ์ทางสถิติโดยตรงระหว่างชั่วโมงที่ฝึกฝนกับระดับของผลสัมฤทธิ์หรือทักษะความสามารถ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่พรสวรรค์ตามธรรมชาติ นักดนตรีระดับสูงจะใช้เวลาฝึกฝนมากกว่านักดนตรีที่มีความสามารถน้อยกว่าถึงสองเท่า
  • “การฝึกฝนอย่างลึกซึ้ง” มันไม่ใช่แค่การทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่เป็นการนำผลลัพท์และผลตอบรับ (feedback) ที่เกิดขึ้นมาปรับปรุงแก้ไขตนเอง เพื่อทำให้การฝึกฝนมีความหมายและเห็นผลมากยิ่งขึ้น
  • ความเชี่ยวชาญต้องใช้การเสียสละ ดังนั้น เป้าหมายบางเรื่องต้องมาก่อนเรื่องอื่นๆ คุณต้องจัดทำรายการ เรียงลำดับความสำคัญ และไล่ตามทีละเป้าหมาย โฟกัสเพียงเรื่องเดียวจนกว่าจะทำเสร็จ แล้วถึงย้ายไปสู่เป้าหมายใหญ่อันถัดไปของคุณ

บทที่ 1 : เดินหน้าพร้อมแผนการอยู่เสมอ

  • ก่อนที่คุณจะทำอะไรก็ตาม คุณควรเริ่มจากการวางแผนการเทรดเป็นอย่างแรก

องค์ประกอบสำคัญของแผนการเทรด

  • รูปแบบของจุดเข้าซื้อ “ตามระบบ” ที่กำหนดอย่างชัดเจนว่า อะไรที่ทำให้คุณตัดสินใจซื้อหุ้น
  • คุณจะจัดการความเสี่ยงอย่างไร คุณจะทำอย่างไรถ้าหากราคาหุ้นวิ่งสวนทางกับสถานะคุณ หรือถ้าเหตุผลที่ทำให้คุณซื้อหุ้นเกิดเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน?
  • คุณจะรักษาผลกำไรที่คุณทำได้อย่างไรบ้าง?
  • คุณจะกำหนดขนาดการเทรดหรือ position size อย่างไร และคุณจะตัดสินใจปรับพอร์ตใหม่ตอนไหน?

คุณควรเตรียมแผนสำรองฉุกเฉินเพื่อรองรับสถานการณ์เหล่านี้

  1. ถ้าหุ้นวิ่งสวนทางกับสถานะคุณ คุณจะตัดขาดทุนตอนไหน
  2. ในกรณีที่คุณขายตัดขาดทุนไปแล้ว หุ้นตัวนั้นควรมีพฤติกรรมอย่างไรถึงจะพิจารณาซื้อกลับมาใหม่อีกครั้ง
  3. กฏเกณฑ์สำหรับการขายหุ้นช่วงที่ราคาพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง (selling into strength) และการเก็บกำไรเมื่อได้มาพอสมควรแล้ว
  4. เมื่อไหร่ถึงจะขายหุ้นที่เริ่มอ่อนแอ เพื่อปกป้องกำไรของคุณ
  5. วิธีที่คุณจะรับมือกับเหตุภัยพิบัติรุนแรง หรือเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันที่ต้องลงมืออย่างรวดเร็วและเด็ดขาด ภายใต้สถานการณ์ที่กดดัน

BITA ปี 2013 +478% ในเวลา 11 เดือน หุ้นเบรกเอาท์ออกจากฐาน หุ้นปิดพวก 4 วัน จาก 5 วันทำการ จากนั้นย่อตัวลงมา 2 วัน ก่อนที่จะเด้งกลับขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ แล้วบวกต่ออีก 8 วัน จาก 10 วันทำการ

สุดยอดหุ้นผู้ชนะมักจะมีอาการหรือพฤติกรรมราคาหุ้นดังนี้

  • หลังจากเบรกเอาท์ มีแรงซื้อต่อเนื่องสนับสนุนราคาหุ้น
  • วันที่หุ้นขึ้นมีมากว่าวันที่หุ้นลง และส้ปดาห์ที่ปิดบวกมีมากกว่าสัปดาห์ที่ปิดลบ
  • มีอาการเหมือนลูกเทนนิส ราคาหุ้นเด้งกลับได้หลังการย่อตัว
  • วอลุ่มเทรดแข็งแกร่งในวันและสัปดาห์ที่ปิดบวก เมื่อเทียบกับวอลุ่มในวันและสัปดาห์ที่ปิดลบ
  • จำนวนวันที่ราคาปิดดี มีมากกว่าจำนวนวันที่ราคาปิดไม่ดี

GOOGL ปี 2004 +625% ในเวลา 40 เดือน หลังจากผ่านจุดซื้อ ราคาหุ้นบวกติดต่อกันถึง 7 วัน มีการย่อตัวเล็กน้อยและมีแรงซื้อสนับสนุนตลาดทางที่หุ้นขึ้นจาก 52 เหรียญไปถึง 100 เหรียญ

การละเมิดที่ไม่ควรเกิดขึ้นหลังจากที่หุ้นเบรกเอาท์

  • วอนุ่มน้อยตอนวิ่งออกจากฐาน วอลุ่มเยอะตอนร่วงลงมา
  • ทำ lower low 3 หรือ 4 ครั้ง โดยที่ไม่เกิดแรงซื้อสนับสนุนเลย
  • วันที่หุ้นลงมีจำนวนมากกว่าวันที่หุ้นขึ้น
  • ราคาปิดไม่ดีเยอะกว่าราคาปิดดี
  • ราคาปิดต่ำกว่าเส้น MA 20 วัน
  • ราคาปิดต่ำกว่าเส้น MA 50 วัน พร้อมวอลุ่มจำนวนมาก
  • หุ้นย่อแรงเกินจนทำให้กำไรหายหมด

หุ้น LL ปี 2013 หุ้นเบรกเอาท์จากฐานระยะท้าย (late-stage base) ด้วยวอลุ่มเพียงเล็กน้อย และล้มเหลวลงมาก่อนที่จะกลับตัวอย่างแรงจนหลุดทั้งเส้น MA 20 วัน และ MA 50 วัน พร้อมวอลุ่มจำนวนมาก ถือเป็นสัญญาณขายที่ชัดเจน

บทที่ 2 : คิดถึงความเสี่ยงก่อนเข้าเทรดทุกครั้ง

  • คุณจะต้องควบคุมความเสี่ยง ทุกการเทรด และทุกวัน ซึ่งสิ่งนี้เริ่มด้วยการกำหนดจุดตัดขาดทุนหรือจุด Stop loss ของคุณ
  • คุณควรรักษาผลขาดทุนของคุณไว้ไม่เกิน 10% หรือต่ำกว่านั้น
  • พยายามหลีกเลี่ยงจากม้าพยศ (หุ้นที่เหวี่ยงแรง) ที่จะเหวี่ยงคุณร่วงตั้งแต่ช่วงแรก และไปโฟกัสม้าตัวอื่นที่เชื่อฟังและควบคุมง่ายกว่าจนคุณสามารถควบมันเข้าเส้นชัยได้สำเร็จ

มีเพียง 4 อย่างเท่านั้นในการเทรดที่คุณสามารถควบคุมได้โดยตรง

  1. คุณจะซื้อหุ้นอะไร
  2. คุณจะซื้อกี่หุ้น
  3. คุณจะซื้อตอนไหน
  4. คุณจะขายตอนไหน
  • ตลาดไม่เคยผิด
  • เข้าตลาดพร้อมด้วยแผนการเทรดเสมอ และคิดถึงความเสี่ยงก่อนลงมือเทรดทุกครั้ง

บทที่ 3 : อย่าเสี่ยงเกินกว่ากำไรที่คุณคาดหวัง

  • อัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง (reward/risk ratio)
  • ความแม่นยำเฉลี่ย (batting average)

การคำนวณ reward/risk ratio ตัวอย่าง

ตัวอย่าง 1 

  • ความแม่นยำเฉลี่ย 50%
  • กำไรเฉลี่ยครั้งละ 10%
  • ขาดทุนเฉลี่ยครั้งละ 5%
  • RRR = 50 * 10 / 50 * 5 = 2 : 1

ตัวอย่าง 2

  • ความแม่นยำเฉลี่ย 40%
  • กำไรเฉลี่ยครั้งละ 15%
  • ขาดทุนเฉลี่ยครั้งละ 5%
  • RRR = 40 * 14 / 60 * 5 = 2 : 1

 

  • คุณอาจเคยได้ยินว่า เวลาที่ตั้งจุด stop loss คุณควรเผื่อพื้นที่มากพอให้ราคาหุ้นเหวี่ยงตัวได้ นั่นคือ คุณควรถ่างจุด stop loss ของคุณออกไปโดยอิงกับความผันผวนของหุ้นแต่ละตัว แต่นี่เป็นสิ่งที่ผมไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง เพราะบ่อยครั้ง ความผันผวนสูงคือสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงภาวะตลาดไม่ดีและเทรดได้ยากลำบาก
  • *** เมื่อใดก็ตามที่ความแม่นยำเฉลี่ยของคุณต่ำกว่าระดับ 50% การเพิ่มความเสี่ยงในสัดส่วนที่สูงขึ้นจะทำให้คุณมีค่าความคาดหวังที่ติดลบ (negative expectancy) ยิ่งความแม่นยำเฉลี่ยของคุณลดต่ำมากเท่าไหร่ โอกาสที่ความคาดหวังในระบบเทรดของคุณจะติดลบก็เกิดได้เร็วขึ้นเท่านั้น

ตัวอย่าง 1

  • ความแม่นยำเฉลี่ย 40%
  • กำไรเฉลี่ยครั้งละ 4%
  • ขาดทุนเฉลี่ยครั้งละ 2%
  • RRR = 2 : 1
  • เมื่อคุณเทรดไป 10 ครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้คือกำไรสุทธิ 3.63%

ตัวอย่าง 2

  • ความแม่นยำเฉลี่ย 40%
  • กำไรเฉลี่ยครั้งละ 42%
  • ขาดทุนเฉลี่ยครั้งละ 21%
  • RRR = 2 : 1
  • เมื่อคุณเทรดไป 10 ครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้คือกำไรสุทธิ -1.16%

ผลตอบแทนากการลงทุน (ROI) ของการเทรด 10 ครั้ง

  • วิธีที่ดีในการรับมือกับช่วงที่ตลาดเทรดยากคือการทำตามนี้
    • ปรับจุด stop ให้เข้มงวดขึ้น ถ้าปกติคุณตัดขาดทุนที่ 7-8% ให้ปรับขึ้นเป็น 5-6%
    • ตั้งเป้าทำกำไรให้น้อยลง ถ้าปกติคุณขายทำกำไรครั้งละ 15-20% ให้ปรับมาทำกำไรที่ 10-12%
    • ถ้าคุณใช้เงินกู้ในการเทรด (margin-leverage) ให้หยุดใช้ทันที
    • ลดสถานะหุ้นหรือลด exposure ลง ทั้งขนาดการเทรด (position size) และสัดส่วนหุ้นต่อเงินสดทั้งพอร์ต
    • รอจนกว่าคุณจะเริ่มเห็นว่า ความแม่นยำเฉลี่ย และ reward/risk ratio ของคุณปรับตัวดีขึ้น คุณถึงสามารถปรับค่าต่างๆ แล้วค่อยๆ กลับไปเทรดแบบช่วงปกติได้อีกครั้ง
  • การประเมินกำไรคาดหวัง หรือ upside สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
    • 1. Theoretical base assumptions – TBA (คือ คำนวณ เองลอยๆ ขึ้นมา) 
    • 2. Result base assumption – RBA < ให้ใช้วิธีนี้ (คือ คำนวณจาก สถิติการเทรดย้อนหลังของเราเอง)
  • สามารถกระจายจุด stop เพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยง (staggered stops)
  • จังหวะที่ควรขยับจุดตัดขาดทุนขึ้นไป : คือ เมื่อราคาหุ้นที่ผมถืออยู่วิ่งขึ้นไป 3 เท่าของความเสี่ยงของผล (3R) และกำไรมากกว่าค่าเฉลี่ยของผมด้วย เกือบทุกครั้งผมจะขยับจุด stop loss ขึ้นไปอย่างน้อยที่ระดับเท่าทุน
  • คุณควรขยับจุด stop loss ทันทีหลังจากที่หุ้นวิ่งขึ้นไปจนคุณได้กำไร 2-3 เท่าของความเสี่ยง (2R-3R)
  • แน่นอนว่าคุณยังจะเดิมพันกับคู่เอซเพราะว่ามันคือไพ่สองใบที่ดีที่สุดในโป๊กเกอร์! มันคือไพ่ชั้นยอดระดับพรีเมี่ยม แต่ไม่ได้หมายความว่า คุณต้องชนะทุกครั้งที่คุณถือคู่เอซ อย่างไรก็ตาม การเข้าใจความน่าจะเป็นตามหลักคณิตศาสตร์ทำให้คุณรู้ว่า คู่เอซจะเป็นไพ่ที่มีโอกาสชนะถึง 8 ใน 10 ครั้ง (80%)
  • ผลลัพธ์ของคุณทั้งในการเล่นโป๊กเกอร์และในตลาดหุ้น คือ ผลรวมของสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งจะไม่ใช่เรื่องของโชคและความผิดปกติเหนือมนุษย์ เป้าหมายของคุณคือการเข้าเทรดเมื่อเห็นจังหวะที่ดีที่สุดที่จะได้กำไรและเป็นจุดที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • สิ่งที่ดีกว่าคือการแพ้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่การเป็นผู้ชนะอย่างผิดวิธี
  • ผลขาดทุนถือเป็นส่วนหนึ่งของกำไรคาดหวังเสมอ กุญแจสำคัญคือการควบคุมผลขาดทุนของคุณให้น้อยกว่ากำไรที่คุณทำได้ คุณต้องคิดถึงความเสี่ยงเทียบกับผลตอบแทนทุกครั้ง และคำนวณความเสี่ยงตามผลการเทรดที่เกิดขึ้นจริงของคุณ

บทที่ 4 : รู้ข้อเท็จจริงในการเทรดของคุณ

  • จดบันทึกผลการเทรดของคุณ คุณจะได้เห็นข้อมูลสำคัญและสถิติการเทรดของคุณอย่างที่ไม่มีหนังสือเล่นไหน งานสัมมนาที่ไหน อินดิเคเตอร์ หรือระบบใดๆ ก็ตามที่จะสามารถบอกคุณได้
  • จดบันทึกทุกครั้งว่าคุณซื้อและขายหุ้นที่ตรงไหน ในไม่ช้าคุณจะมีผลการเทรดที่มีทั้งตัวเลขผลขาดทุนเฉลี่ย (average losses), กำไรเฉลี่ย (average wins) และจำนวนการเทรดที่ได้กำไรและขาดทุน (frequency of the wins and losses) นอกจากนี้ ในแต่ละเดือนผมจะจดบันทึกการเทรดที่ได้กำไรและขาดทุนมากที่สุดเอาไว้ (largest gain and largest loss) รวมไปถึงระยะเวลาถือหุ้นเฉลี่ย (average holding time)
  • พอร์ตที่มีการหมุนหุ้นหรือเทรดทำรอบโดยใช้การเก็บกำไรทีละเล็กน้อยนั้น อาจทำผลตอบแทนรวมได้สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับพอร์ตที่มีการทำรอบน้อยกว่าและหวังกำไรก้อนใหญ่ในแต่ละการเทรด (หาหุ้นขึ้น 10% 6 ตัว ง่ายกว่า หาหุ้นขึ้น 40% ตัวเดียว)
  • เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จึงมักจะรีบขายหุ้นและทำกำไรเร็วเกินไป เพราะพวกเขากลัวว่าหุ้นจะย่อลงมาจนทำให้กำไรที่ได้มาหายหมด แต่ในขณะเดียวกัน พวกเข้ากลับถือหุ้นที่ขาดทุนเอาไว้ เพราะกลัวว่าพอพวกเข้าตัดขาดทุนแล้วราคาหุ้นจะเด้งกลับแล้ววิ่งขึ้นไปใหม่
  • เมื่อคุณยึดมั่นในกฏเกณฑ์ที่ชัดเจน การตัดสินใจของคุณจะไม่ขึ้นอยู่กับอารมณ์และความรู้สึก
  • การเทรดหุ้นนั้นไม่ใช่เรื่องของการซื้อได้ที่ราคาต่ำที่สุดและขายได้ที่ราคาสูงสุดของมัน แต่สิ่งสำคัญคือการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าที่คุณขายมันออกไป ทำกำไรให้มีขนาดใหญ่กว่าผลขาดทุนของคุณ และทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • มันมีกฏข้อหนึ่งที่สามารถใช้ได้กับทุกกลยุทธ์ คือ การปกป้องสภาพจิตใจของคุณ! อย่าปล่อยให้ตัวเองจมอยู่กับความรู้สึกเสียดาย หรือตกอยู่ในภาวะตัดสินใจไม่ได้-ทำอะไรไม่ถูก นั่นคือการใช้กฏ “ขายครึ่งหนึ่ง”
  • การขายหุ้นครึ่งหนึ่งนั้นใช้ไม่ได้กับตอนที่หุ้นร่วงลงมาและคุณขาดทุนอยู่

  • ควรทบต้นหรือไม่ ? : จากตารางตัวอย่างข้างต้น 2 คนใช้กลยุทธ์เหมือนกัน คือ เทรดด้วยเงินเริ่มต้น 100,000 เหรียญ เทรด 24 ครั้ง 12 ครั้งกำไรครั้งละ 50% ส่วนอีก 12 ครั้งที่เหลือขาดทุนครั้งละ 40% 
  • จะเห็นได้ว่า คนที่ทบต้นผลตอบแทนต่ำกว่าคนที่ไม่ทบต้น
  • การจดบันทึกจะช่วยบอกคุณเองว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ

บทที่ 5 : ทบต้นกำไร ไม่ใช่ทบต้นข้อผิดพลาด

  • เวลาที่หุ้นวิ่งสวนทางกับคุณและเริ่มขาดทุน โดยเฉพาะหลังจากที่คุณเพิ่งซื้อหุ้นไปไม่นาน มันไม่ยากเลยที่จะคิดว่า “คุณน่าจะทำอะไรพลาดแล้ว”
  • การได้รางวัลจากอุปนิสัยที่ไม่ดี จะยิ่งกระตุ้นให้คุณอยากทำอีกครั้งหรือทำอย่างต่อเนื่อง
  • มืออาชีพจะเล่นกับ % หรือความน่าจะเป็นที่จะชนะ พวกเขามีความมั่นคงในการวางเดิมพัน และจะหลีกเลี่ยงการเล่นผิดพลาดครั้งใหญ่ หรือการเล่นแบบมั่วๆ ไม่จริงจัง โดยส่วนใหญ่พวกเขาจะไม่นำเงินมาเสี่ยงในเกมที่ความน่าจะเป็นที่จะชนะต่ำ
  • เป้าหมายของคุณคือซื้อตอนที่หุ้นกำลังเป็นขาขึ้น ไม่ใช่ตอนที่หุ้นยังคงร่วงลงอยู่เรื่อยๆ
  • เรื่องราว ผลประกอบการ และมูลค่าหุ้น ไม่ใช่สิ่งที่ผลักดันให้ราคาหุ้นขยับขึ้นหรือลง แต่มันเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้เล่นในตลาด เพราะถึงแม้จะเป็นหุ้นของบริษัทที่มีคุณภาพสูงที่สุดในตลาด แต่ถ้าไม่มีคนต้องการซื้อหุ้นเลย มันก็ไม่ต่างอะไรกับเศษกระดาษที่ไม่มีค่าใดๆ
  • ความสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งที่แบ่งแยกระหว่างมืออาชีพกับมือสมัครเล่น
  • กฏทั่วไปของผมคือ ห้ามถือสถานะการเทรดขนาดใหญ่ก่อนที่บริษัทจะมีข่าวสำคัญหรือใกล้ประกาศงบ ยกเว้นว่าผมจะมีกำไรมากพอที่จะชดเชยความเสี่ยงได้ (profit cushion)
  • ไม่ว่าคุณจะรู้ข้อมูลต่างๆ ของบริษัทมากแค่ไหนก็ตาม การถือหุ้นผ่านช่วงประกาศงบนั้นก็คือความเสี่ยงพนันวัดดวงอย่างหนึ่ง
  • เอกลักษณ์ของมืออาชีพ คือ การเทรดภายใต้กรอบความรู้ความสามารถของตัวเอง และกำจัดสิ่งรบกวนที่ไม่จำเป็นอย่างอื่นออกไปให้หมด
  • การจะทำเงินให้ได้อย่างสม่ำเสมอ คุณต้องรักษาวินัย ปฏิบัติตามกฏและกลยุทธ์ที่คอยป้องกันคุณจากการฝืนเทรดในจังหวะที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการเสี่ยงโดยไม่มีเหตุผล เพียงเพราะคุณแค่ต้องการมีส่วนร่วมในตลาด
  • ถ้าคุณต้องการทอยลูกเต๋าเสี่ยงโชคให้ไปที่ลาสเวกัส เพราะที่นั่นคุณจะต้องใช้ดวงมากเท่าที่คุณจะสามารถมีได้ แต่ถ้าคุณต้องการประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น คุณต้องพยายามกำจัดปัจจัย “โชคชะตา” ออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • ผลตอบแทนที่เกิดจากความสม่ำเสมอและหลักการที่ยั่งยืน ซึ่งจะสามารถสร้างกำไรได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เป็นกลยุทธ์ที่จะทำกำไรให้คุณได้ทั้งชีวิต โชคชะตาเป็นเพียงปรากฏการณ์ระยะสั้น ในระยะยาวโชคมีไว้เป็นข้ออ้างสำหรับผู้แพ้
  • ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลตอบแทนออกมาต่างกันก็คือความมีวินัยและความสม่ำเสมอ นี่คือเรื่องจริงในการเทรดหุ้นเช่นเดียวกับในวงการกีฬา ดนตรี หรือการก่อตั้งบริษัทใหม่ ปัจจัยเดียวกันนี้คือสิ่งที่แบ่งแยกระหว่างผู้เล่นที่ยอดเยี่ยมออกจากผู้เล่นระดับธรรมดาๆในแต่ละวงการ

บทที่ 6 : วิธีการและจังหวะในการซื้อหุ้น – ส่วนที่ 1

  • ผมจะซื้อหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นเท่านั้น
  • สเตจที่คุณจะต้องโฟกัสคือขาขึ้นสเตจ 2 ผมจะหลีกเลี่ยงการซื้อหุ้นในสเตจอื่นๆ ที่ไม่ใช่สเตจ 2

ผมจะแบ่งสเตจทั้ง 4 นี้ โดยอ้างอิงจากพฤติกรรมของราคาหุ้นที่กำลังเกิดขึ้น 

  1. สเตจ 1 ช่วงถูกละเลย หุ้นกำลังทำฐานใหม่
  2. สเตจ 2 ช่วงขาขึ้น หุ้นกำลังถูกซื้อสะสม และวิ่งขึ้น
  3. สเตจ 3 ช่วงทำจุดสูงสุด หุ้นเริ่มถูกทยอยขายด้านบน (ออกของ) และจบรอบ
  4. สเตจ 4 ช่วงขาลง การพังทลายของราคาหุ้น

หุ้น WTW ปี 2006-2016 ภาวะแต่ละสเตจ

เงื่อนไขของ Trend Template

  1. ราคาหุ้นอยู่เหนือทั้งเส้น MA 150 วัน และเส้น MA 200 วัน
  2. เส้น MA 150 วัน อยู่เหนือเส้น MA 200 วัน
  3. เส้น MA 200 วัน กำลังเป็นขาขึ้น (เฉียงขึ้น) มาแล้วอย่างน้อย 1 เดือน (ถ้าให้ดีคือ 4-5 เดือน หรือนานกว่านั้น)
  4. เส้น MA 50 วัน อยู่เหนือทั้งเส้น MA 150 วัน และ MA 200 วัน
  5. ราคาหุ้นในปัจจุบันอยู่เหนือราคาต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ (52 week low) อย่างน้อย 25% (หุ้นที่ดีที่สุดหลายตัวมักจะอยู่เหนือราคาต่ำสุดในรอบปี 100%, 300% หรือมากกว่านั้น ก่อนที่พวกมันจะเริ่มวิ่งออกจากฐานที่ดูดีและขึ้นไปได้อีกไกล)
  6. ราคาหุ้นในปัจจุบันอยู่ต่ำกว่าราคาสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ (52 week high) ไม่เกิน 25% (ยิ่งอยู่ใกล้ราคาสูงสุดในรอบปียิ่งดี)
  7. ค่า Relative Strength (RS) สูงกว่า 70 แต่ถ้าให้ดีควรอยู่ในช่วง 90 ขึ้นไป ซึ่งโดยทั่วไปยิ่งค่า RS สูง หุ้นตัวนั้นจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากกว่า (หมายเหตุ : เส้น RS ไม่ควรเป็นขาลงอย่างชัดเจน (เฉียงลง) และผมอยากเห็นว่าเส้น RS เป็นขาขึ้นหรือเฉียงขึ้นมาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ ถ้าให้ดีคือ 13 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น)
  8. ตอนที่หุ้นเริ่มวิ่งออกจากฐานขึ้นมา ราคาหุ้นในปัจจุบันต้องอยู่เหนือเส้น MA 50 วัน
  • ในขณะที่หุ้นกำลังเปลี่ยนจากสเตจ 1 ไปเป็นสเตจ 2 คุณควรเห็นวอลุ่มเทรดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
  • เมื่อหุ้นส่งสัญญาณจบรอบและเริ่มเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ขาลงสเตจ 4 ความเสี่ยงของการเปิดโดดลงนั้นถือเป็นเรื่องปกติ
  • รูปแบบการหดตัวของความผันผวน (VCP) : ช่วงที่หุ้นพักตัวหรือย่อตัวหลังจากที่ขึ้นมาแล้วประมาณหนึ่งในระหว่างที่เป็นขาขึ้น ผมจะรอให้หุ้นเกิดรูปแบบที่ผมเรียกว่า “รูปแบบการหดตัวของความผันผวน (Volatility Contraction Pattern – VCP)”
  • หลังจากที่หุ้นพุ่งขึ้นไปพอสมควร มันย่อตัวลงมา 25% (วัดจาก high มา low ของการย่อตัวครั้งนั้น) หลังจากนั้น หุ้นก็เด้งขึ้นไปเล็กน้อยและถูกขายจนย่อลงมาอีก 15% เมื่อถึงจุดนั้นก็เริ่มมีแรงซื้อกลับและทำให้ราคาหุ้นเด้งขึ้นไปได้อีกเล็กน้อย โดยที่ยังเทรดอยู่ในกรอบของฐานราคาเดิม และในที่สุด ราคาหุ้นก็ย่อตัวลงมาอีก 8%

หุ้น BITA ปี 2013 รูปแบบคลาสสิคของ VCP หุ้นพุ่งขึ้นไปถึง 465% ในเวลาเพียง 10 เดือน

  • บริเวณที่หุ้นเป็นตัวแน่นหนานี้ ควรเกิดขึ้นพร้อมกับวอลุ่มเทรดที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

หุ้น Netflix ปี 2009 “ร่องรอยการเกิด VCP” ของ Netflix แสดงให้เห็นการพักทำฐานราคาที่แน่นหนาแข็งแรง หลังจากบริเวณที่เกิด VCP นี้ ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปถึง 525% ในเวลา 21 เดือน

หุ้น VIVO ปี 2007 หลังจากที่ทำรูปแบบ VCP (4T) ตามตำรา หุ้นตัวนี้พุ่งขึ้นไป 118% ในเวลา 15 เดือน

  • การเกิดจุด pivot ที่ถูกต้องทุกครั้งจะต้องเกิดขึ้นพร้อมกับการหดตัวของวอลุ่ม

หุ้น MELI ปี 2007 ผมเพิ่งซื้อหุ้นตัวนี้ไม่นานนัก ก่อนที่มันจะพุ่งขึ้นไป 75% ในเวลาเพียง 13 วัน

สั่งซื้อหนังสือ คิดและเทรดอย่างแชมป์เปี้ยน โดย Mark Minervini ได้ที่นี่ : คลิ๊ก

บทที่ 7 : วิธีการและจังหวะในการซื้อหุ้น – ส่วนที่ 2

  • หุ้นตัวที่ดีที่สุดจะทำจุดต่ำสุดก่อนดัชนีตลาด

หุ้น eBay ปี 200-2002 ราคาหุ้นทำจุดต่ำสุดในปี 2001 แต่ยังไม่ได้พักทำฐานที่ดีจนกระทั่งช่วงปลายปี 2002 หลังทำฐานเสร็จ หุ้นเบรกเอาท์และให้ผลตอบแทนถึง 225% ในเวลา 23 เดือน

หุ้น Netflix ปี 2009 การพุ่งขึ้นของเส้น RS (relative strength line) และการทำรูปแบบคลาสสิคของ VCP เกิดเป็นฐานราคาที่ดีก่อนที่หุ้นจะขึ้นไปถึง 525% ในเวลา 21 เดือน

บทที่ 8 : ขนาดการเทรดเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

  • คุณควรจำกัดระดับความเสี่ยงสูงสุด (maximum risk) ในการเทรดแต่ละครั้งไว้ไม่เกิน 1.25-2.5% ของเงินลงทุนทั้งหมดของคุณ
  • คุณต้องเลือกว่าจะขยับจุด stop loss หรือปรับขนาดการเทรด มีอย่างใดอย่างหนึ่งต้องถูกปรับเปลี่ยนเพื่อให้ตัวเลขความเสี่ยงออกมาตรงตามที่ต้องการ

แนวทางในการกำหนดขนาดการเทรด (position sizing)

  • กำหนดความเสี่ยงในกรอบ 1.25%-2.50% ของเงินลงทุนทั้งหมด
  • ตั้งจุดตัดขาดทุน (stop loss) สูงสุดไม่เกิน 10%
  • ผลขาดทุนเฉลี่ยไม่ควรเกิน 5-6% ต่อครั้ง
  • อย่าถือหุ้นตัวเดียวมากกว่า 50% ของพอร์ต
  • ตั้งเป้าขนาดการเทรดที่ 20-25% ในหุ้นตัวที่ดีที่สุด
  • ถือหุ้นไม่เกิน 10-12 ตัว (16-20 ตัว สำหรับนักลงทุนมืออาชีพที่พอร์ตใหญ่มาก)

บทที่ 9 : จังหวะขายหุ้นและเก็บกำไรของคุณ

  • มี 2 ทางเลือกในการขายหุ้น 
    • 1. ขายช่วงที่ราคาหุ้นแข็งแกร่งอยู่ : Sell into strength
    • 2. ขายเมื่อราคาหุ้นเริ่มอ่อนแอ : Sell into weakness
  • บริเวณที่ราบสูงช่วงแรกจะถูกนับว่าเป็นฐานที่ 1 (base 1) และเมื่อหุ้นเริ่มพุ่งออกจากฐานที่ 1 หรือ ฐานที่ 2 หลังจากที่ตลาดปรับฐานเสร็จ นี่คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเข้าซื้อหุ้นที่เริ่มแนวโน้มขาขึ้นครั้งใหม่ ส่วนฐานที่ 3 และ 4 ก็ใช้ได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าหุ้นที่วิ่งออกจากฐานท้ายๆ นั้นควรถูกจับตาดูอย่างระมัดระวังมากกว่ามองว่าเป็นโอกาสในการเทรด และยิ่งถ้าเป็นฐานที่ 5 หรือ 6 ด้วยแล้ว ก็มีโอกาสสูงมากที่ราคาหุ้นจะล้มเหลวลงมา

หุ้น DECK ช่วงปี 2006-2008 หุ้นสร้างฐานราคา 4 ครั้งในช่วงที่อยู่ในขาสเตจ 2 ก่อนที่จะเริ่มถูกเทขายอย่างแรงในช่วงปลายปี 2008 และ เข้าสู่แนวโน้มขาสเตจ 4

สัญญาณเตือนที่ต้องจับตาดู

  • ราคาหุ้นทำ new high จากฐานที่ 4 หรือ 5 ซึ่งเป็นฐานระยะท้ายแล้ว (late-stage)
  • P/E ขยายตัวขึ้นมาแล้วหนึ่งเท่าตัว (เมื่อเทียบกับช่วงเริ่มต้นขาขึ้น) หรือมากกว่านั้นตอนที่หุ้นวิ่งขึ้นออกจากฐานระยะท้าย
  • หุ้นทำ climax top หรือพุ่งขึ้นไปจบรอบอย่างรุนแรง (ราคาขึ้น 25-50% หรือมากกว่านั้นในระยะเวลา 1-3 สัปดาห์)
  • หุ้นที่ราคาเริ่มลอย (extended) ให้จับตาดูช่วงที่จำนวนวันที่หุ้นปิดบวกมีประมาณ 70% หรือมากกว่านั้นในระหว่าง 7 ถึง 15 วันล่าสุด
  • เมื่อราคาหุ้นลอยสูงจากฐานพอสมควร ให้จับตาดูตอนที่หุ้นเริ่มขึ้นอย่างเร่งตัว เช่น ปิดบวก 6 วันใน 10 วันล่าสุด โดยมีวันที่ปิดลบเพียง 2-3 วัน
  • (ส่วนเสริม) ระหว่างที่หุ้นเริ่มขึ้นอย่างเร่งตัว ให้จับตาดูวันที่หุ้นพุ่งขึ้นแรงที่สุดตั้งแต่จุดเริ่มต้นของขาขึ้นรอบนั้น
  • (ส่วนเสริม) สังเกตวันที่ราคาหุ้นมีสเปรดราคาจาก high ถึง low กว้างที่สุด (ราคาหุ้นเหวี่ยงในวันมากที่สุด)
  • (ส่วนเสริม) จับตาดูการเกิด exhaustion gap ครั้งล่าสุด

บทที่ 10 : กุญแจ 8 ข้อ เพื่อปลดล๊อคผลตอบแทนระดับสุดยอด

  • ข้อที่ 1 : จังหวะการเทรด (Timing)
  • ข้อที่ 2 : อย่ากระจายพอร์ตมากเกินไป
  • ข้อที่ 3 : การปรับพอร์ตบ่อยไม่ใช่เรื่องเลวร้าย
  • ข้อที่ 4 : รักษาอัตราส่วน reward/risk เอาไว้
  • ข้อที่ 5 : ขายตอนที่ราคาหุ้นยังแข็งแกร่ง
  • ข้อที่ 6 : เริ่มเทรดจากขนาดเล็กน้อยจะเทรดขนาดใหญ่
  • ข้อที่ 7 : เทรดตามแนวโน้มหลักเสมอ
  • ข้อที่ 8 : ปกป้องจุดคุ้มทุนของคุณ เมื่อได้กำไรพอสมควรแล้ว

บทที่ 11 : ความคิดของเทรดเดอร์ระดับแชมป์เปี้ยน

กับดักสุดอันตราย 3 อย่างที่เทรดเดอร์พึงระวัง

  1. อารมณ์ ทำให้คุณลงมือทำสิ่งต่างๆ อย่างไม่มีเหตุผล
  2. ความคิดเห็น ทำให้เกิดกรอบความคิดที่จำกัดมุมมองของคุณ
  3. อีโก้ ทำให้คุณไม่ยอมรับและแก้ไขข้อผิดพลาด

สั่งซื้อหนังสือ คิดและเทรดอย่างแชมป์เปี้ยน โดย Mark Minervini ได้ที่นี่ : คลิ๊ก