สารบัญ
Technical Analysis คืออะไร ?
Technical Analysis คือการวิเคราะห์กราฟ เพื่อที่จะคาดการณ์การเคลื่อนไหวทิศทางของราคาในอนาคต โดยอาศัยข้อมูลจากการเคลื่อนไหวของราคาในอดีตที่ผ่านมา คล้ายๆกับการพยากรณ์อากาศที่ว่า อาจจะไม่ถูกต้อง 100% มีผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อนกันได้ โดย Technical Analysis จะเป็นตัวช่วงให้เทรดเดอร์หรือนักลงทุน สามารถเทรดหรือลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้การวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้ง หุ้น , ดัชนี , ทองคำ , น้ำมัน , Forex , Futues , พันธบัตร และอื่นๆอีกมากมาย และยังสามารถกำหนดช่วงระยะเวลาที่เราต้องการวิเคราะห์ได้อีกด้วย เช่น นักลงทุนเล่นสั้น ก็จะดูกราฟ ราย 5 นาที , เล่นระยะกลางก็จะดูกราฟ รายชั่วโมง หรือ รายวัน , หากเล่นยาวก็จะไปดูกราฟรายสัปดาห์ หรือ รายเดือน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าระยะเวลาในการลงทุนเรานานขนาดไหน
สมมติฐานของ Technical Analysis
กราฟจะใช้งานได้ดี ก็ต่อเมื่อ ราคาที่ปรากฏบนกราฟนั้นมาจาก อุปสงค์ (Supply) และ อุปทาน (Demand) เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เกิดโดยการซื้อขายของคนในตลาด ที่มีแรงซื้อ และแรงขาย มาบรรจบกัน ณ ราคานั้นๆ ในแต่ละช่วงละเวลา … แต่กรณีที่ว่า หากมีคนกลุ่มใดกลุ่มนึงสามารถควบคุมราคาได้ การใช้การวิเคราะห์กราฟก็จะไม่มีประสิทธิภาพเลยในทันที … ซึ่งสินค้าที่ดีที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค ต้องประกอบไปด้วย 3 สิ่งนี้ คือ
- สภาพคล่องสูง (High Liquidity) : สภาพคล่อง หรือ ปริมาณการซื้อขาย ยิ่งหุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายสูง ก็จะดีต่อการเทรด สามารถซื้อและขายได้คล่อง และยิ่งหุ้นมีปริมาณการซื้อขายสูงมากเท่าไหร่ โอกาสการเกิดการควบคุมราคาก็ยากมากเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม หุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายน้อย จะทำให้ซื้อและขายหุ้นลำบาก และง่ายต่อการควบคุมราคา
- ราคาที่ปรากฏต้องไม่โดนแทรกแซง (No Artificial Price Changes) : เช่น การปันผล , แตกพาร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นตัวทำให้ราคาบนกราฟเปลี่ยนแปลงไป แต่มูลค่าการลงทุนเท่าเดิม ยกตัวอย่าง หุ้น A ราคา 10 บาท อีกวันจ่ายปันผล 2 บาท พอรุ่งขึ้นอีกวัน หุ้น A ราคาเหลือ 8 บาท ส่วนปันผลที่ได้เข้าพอร์ตนักลงทุนไปแล้ว ซึ่งในทางมูลค่านี้เท่าเดิม แต่ราคาที่ปรากฏบนกราฟเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การวิเคราะห์ถูกบิดเบือน … โปรแกรมดูกราฟส่วนมากจะปรับราคาให้เมื่อหุ้นทำการ แตกพาร์ , แต่ส่วนมากจะไม่มีการปรับราคาให้เมื่อหุ้นจ่ายปันผล
- ไม่มีข่าวร้ายแรง (No Extreme News) : การวิเคราะห์กราฟทางเทคนิคไม่สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้ เช่น CEO ตาย , เกิดเหตุการณ์ก่อการร้าย เป็นต้น คนที่ดูกราฟจะทำได้เพียงดูราคาที่สะท้อนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร และคอยจับจังหวะการเทรดให้เหมาะสมกับภาวะตลาดนั้น
ซึ่งถ้าหากหุ้นหรือสินค้าที่ทำการวิเคราะห์นั้นขาดองค์ประกอบของ 3 สิ่งนี้ ก็จะทำให้การวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นด้อยประสิทธิภาพลง
พื้นฐานของ Technical Analysis
ทฤษฎีดาว (Dow Theory) โดยนักเทคนิคมากมายล้วนยกให้เป็นรากของการวิเคราะห์ทางเทคนิค เพราะว่าหลักเทคนิคคอลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ล้วนแต่ถูกพัฒนามาจากทฤษฎีดังกล่าว ซึ่งในทฤษฎีดาวนั้นจริงๆแล้วประกอบไปด้วยหลักหลายข้อมากมาย แต่จะมี 3 หัวข้อหลักที่สำคัญมาก คือ
- Price discounts everthing – ราคาได้สะท้อนข้อมูลทุกอย่างไว้หมดแล้ว
- Price movements are not totally random – ราคาเคลื่อนไหวอย่างมีแนวโน้ม ไม่เป็นแบบสุ่ม
- “What” is more important than “Why” – “อะไร” สำคัญกว่า “ทำไม” … นักเทคนิคจะสนที่ราคาปรากฎบนกราฟ ไม่ได้สนเหตุผลว่าทำไม
Price discounts everthing – ราคาได้สะท้อนข้อมูลทุกอย่างไว้หมดแล้ว
นักเทคนิคเชื่อจะว่าราคาที่ปรากฏบนกราฟ ณ ขณะนั้น ได้สะท้อนข้อมูลทุกอย่างไว้หมดแล้ว เชื่อว่าทุกคนในตลาดนั้นตอบสนองข้อมูลทุกอย่าง ไว้ที่ระดับราคาดังกล่าว โดยข้อมูลต่างๆ จะประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐาน , งบการเงิน , ข่าวต่างๆ , ภาวะอารมณ์ของผู้ซื้อ ผู้ขาย (ความกลัว ความโลภ) และอื่นๆอีกมากมาย … โดยนักเทคนิคจะวิเคราะห์จากพฤติกรรมราคา เพื่อดูว่าตลาดกำลังทำอะไรอยู่ และคาดการณ์ทิศทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
Price movements are not totally random – ราคาเคลื่อนไหวอย่างมีแนวโน้ม ไม่เป็นแบบสุ่ม
เราเชื่อว่าตลาดจะเคลื่อนไหวไปอย่างมีแนวโน้ม เช่น ขาขึ้น ราคาก็จะขึ้นต่อเนื่อง หรือ ขาลง ราคาก็จะลงอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น โดยถ้าจะกำหนดการซื้อขายบนเงื่อนไขของแนวโน้ม โดยถ้าแนวโน้มขาขึ้น จะซื้อ แต่ถ้าแนวโน้มเป็นลง จะขาย
แต่ในบางครั้งที่ว่า ในแนวโน้มขาขึ้น ก็อาจจะมีช่วงการพักตัวของราคา เกิดขึ้นได้เหมือนกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับนักเทคนิคแต่ละคนว่าจะมองในช่วง Time frame ใด (รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ …)
“What” is more important than “Why” – “อะไร” สำคัญกว่า “ทำไม”
โดยทั่วไปนักเทคนิคคอลจะพิจารณาแค่ 2 สิ่งนี้เท่านั้น
- ตอนนี้ระดับราคาเท่าไหร่ ?
- ในอดีตที่ผ่านมาพฤติกรรมของราคาเคลื่อนไหวเป็นอย่างไร ?
บางคนเคยสงสัยไหมว่า หุ้นพื้นฐานดี แต่ราคาลง แล้วก็ลงอยู่นั่นแหละ … หรือ หุ้นแย่ แต่ราคากลับขึ้น แล้วก็ขึ้นอยู่นั่นแหละ … นี่แหละ เป็นเหตุผลว่าทำไมนักเทคนิคถึงดูแต่ราคา ณ ปัจจุบัน กับ พฤติกรรมของราคาอดีต เพื่อมาคาดการณ์ทิศทางของราคาในอนาคต … ก็เพราะว่า … ณ ราคาที่ปรากฏ คือการสิ้นสุดลงระหว่างแรงซื้อและแรงขาย ที่แสดงถึงผลลัพธ์ว่าฝั่งไหนเป็นคนชนะ … เหมือนกับว่า เราวิเคราะห์จากการกระทำ ไม่ใช่จากคำพูด นั่นเอง อย่างเช่น บางคนพูดดี แต่กลับไปขโมยของคนอื่น นักเทคนิคก็จะตัดสินคนนี้จากการกระทำของเขา แล้วจะคาดการณ์ได้ว่าเขาเป็นโจร เป็นต้น
การวิเคราะห์กราฟ (Chart Analysis)
การวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค มีหลากหลายรูปแบบมาก ตั้งแต่ระดับง่าย จนถึง ระดับยาก เลยก็มี … กราฟด้านล่างนี้จะเป็นตัวอย่างเบื้องต้นในการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค
- แนวโน้มเดิมเป็นขาขึ้น
- เห็นการฟอร์มตัวในกราฟสี่เหลี่ยมของราคา
- เกิดการ Breakout เกิดขึ้น
- MACD เป็นบวก
- เป็นจังหวะในการเข้าซื้อ
Top-Down Technical anlysis
เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐาน เราก็จะต้องวิเคราะห์จากภาพใหญ่ก่อน อาทิ วิเคราะห์กราฟของดัชนีก่อน ค่อยไปวิเคราะห์กราฟของ Sector ต่อ สุดท้ายไปดูกราฟของหุ้น ว่าสอดคล้องกันหรือไม่ ถ้าสอดคล้องกันก็เป็นจังหวะที่น่าลงทุน และสิ่งนี้ยังสามารถแบ่งการวิเคราะห์ได้อีกในบริบทของมิติเวลา เช่น Long term (ภาพรายเดือน รายสัปดาห์) , Mid term (ภาพรายวัน) และ Short-term (ภาพรายชั่วโมง รายนาที) เป็นต้น
จุดแข็งของ Technical Analysis
- สามารถบ่งชี้ถึงจุดเข้าออกของราคาได้ ซึ่งการวิเคราะห์พื้นฐานไม่สามารถบอกถึงจุดเหล่านี้ได้
จุดอ่อนของ Technical Analysis
- ไม่สามารถซื้อได้ที่จุดต่ำสุด และไม่สามารถขายได้ที่จุดสูงสุด เพราะว่าเราต้องรอการสร้างรูปแบบของราคาก่อน เพื่อที่จะสามารถนำมาคาดการณ์ต่อได้