วิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องคน

สรุปหนังสือ PLAYS WELL WITH OTHERS

วิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องคน

มนุษย์มีความซับซ้อนเช่นเดียวกับหมากรุก 3 มิติ และคงไร้เดียงสาเกินไปที่คิดว่า สิ่งที่ซับซ้อนขนาดนั้น จะมีกุญแจไขปัญหาทุกอย่างได้โดยง่าย สิ่งที่เคยทึกทักเอาเองเกี่ยวกับวิธีรับมือกับคนเป็นความคิดที่ผิด สิ่งที่นักบำบัดชีวิตแต่งงานทุกคนเชื่อเป็นความคิดที่ผิด และหลายสิ่งที่คิดว่าตัวเองรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ก็เป็นความคิดที่ผิด ทุกคนได้รับข้อมูลที่ขัดแย้งกันเองในทำนองนี้มาตลอดชีวิตอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่งจริงหรือ แต่ก็มีบางคนบอกว่าอย่าตัดสินคนจากภายนอก กาเข้าฝูงกา หงส์เข้าฝูงหงส์จริงหรือเคยได้ยินว่าคนที่แตกต่างกันมักจะดึงดูดกันไม่ใช่หรือ ควรเป็นตัวของตัวเองหรือว่าเข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตามกันแน่

แน่นอนว่ามันทำให้สับสนจนหลงเชื่อเรื่องไร้สาระ จะไม่ให้สับสนได้อย่างไร แต่เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง และไม่ได้มีประโยชน์แค่ใช้เป็นคำคม หรือข้อความหวานเลี่ยนบนการ์ดอวยพรเท่านั้น ลองพิจารณากรณีนี้ดูก็ได้ การศึกษาแกรนต์ (Grant Study) ที่โรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาดได้ติดตามเก็บข้อมูลผู้ชายจำนวน 268 คนเป็นเวลานานกว่า 80 ปี ข้อมูลที่รวบรวมได้นั้นมีปริมาณมหาศาล แถมยังมีข้อมูลเชิงลึกมากมาย เกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้ชีวิตยืนยาวและมีความสุข แต่พอ จอร์จ เวลแลนด์ ซึ่งเป็นผู้นำการศึกษาครั้งนี้มาเกือบทั้งชีวิต ถูกถามถึงสิ่งที่เขาเรียนรู้จากผู้ชายเหล่านี้มานานหลายทศวรรษ เขากลับตอบคำถามแค่ประโยคเดียวว่า สิ่งเดียวที่สำคัญที่สุดในชีวิตคือความสัมพันธ์

ไม่นึกว่าจะนึกถึงช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุด หรือเจ็บปวดที่สุด มันก็มักเกี่ยวข้องกับผู้คนเสมอ ความสัมพันธ์เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์หรือทำลายชีวิตได้เลยทีเดียว มนุษย์ต้องรับมือกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันมาหลายพันปีแล้ว แต่ก็ยังทำมันให้ถูกต้องไม่ได้ สิ่งสำคัญที่สุดเพียงหนึ่งเดียวในชีวิต ถูกปล่อยให้เป็นเรื่องของความสามารถโดยกำเนิด ซิกมันด์ ฟรอยด์ กล่าวไว้ว่า ความรักและการงานเป็นรากฐานสำคัญแห่งความเป็นมนุษย์

คนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ความโอนอ่อนผ่อนตาม เป็นหนึ่งใน 5 คุณลักษณะพื้นฐาน ที่นักจิตวิทยาใช้เพื่อประเมินบุคลิกภาพของใครบางคน ไม่ว่าจะต้องการคำตอบเหล่านี้มากแค่ไหน ไม่ว่าจะเคยล้มเหลวกับความสัมพันธ์อยู่อย่างโดดเดี่ยว ถูกกันออกนอกวง หรือเป็นแค่คนที่ไม่เคยเข้ากับใครได้เลยมากแค่ไหน จะได้เห็นว่าโดยเนื้อแท้แล้ว ความสัมพันธ์ก็คือเรื่องราวที่สมองเรียบเรียง เพื่อสร้างตัวตนตัวแทนและสังคมขึ้นมาอีกครั้ง ยังได้เห็นว่าเรื่องราวเหล่านั้น ไม่เพียงแต่ผูกเข้าไว้ด้วยกัน แต่ยังสามารถแยกออกจากกันได้หากไม่ระวัง

ความสัมพันธ์ทำให้ขึ้นสู่จุดสูงสุด และลงสู่จุดต่ำสุด ชนิดที่ต้องบอกว่าไม่น่าเชื่อ ทุกคนกลัวว่าตัวเองจะอ่อนแอหรืออับอาย บางครั้งยังอดสงสัยไม่ได้ว่าตัวเองอาจถูกสาปให้ต้องพบแต่ความผิดหวัง คนเราไม่สามารถหยุดคลื่นได้ แต่เรียนรู้ที่จะโต้คลื่นได้ ไม่ว่าจะเข้ากับคนอื่นได้ดี หรือเป็นคนเก็บตัวที่กังวลเรื่องการเข้าสังคม ก็สามารถสร้างมิตรภาพที่ดีขึ้น มีความรัก จุดไฟรักขึ้นมาใหม่ และสนิทสนมกับคนอื่นมากขึ้น ในยุคที่ความห่างเหินทางอารมณ์ และความเหงามีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บ่อยครั้งเวลาที่มีปัญหากับคนอื่น มักมีจุดเริ่มต้นจากการรับรู้ที่ไม่ถูกต้อง ทุกคนล้วนเคยพลาดพลั้งจากการพยายามตัดสินคนอื่น มีทางไหนไหมที่จะช่วยให้ประเมินคนอื่นได้อย่างแม่นยำ การใช้วิทยาศาสตร์จับโกหก หรืออ่านภาษากายได้ดียิ่งขึ้น พูดง่าย ๆ ก็คือสามารถตัดสินคนจากภายนอกได้หรือไม่

ส่วนที่ 1 ตัดสินคนจากภายนอกได้หรือไม่

การวิเคราะห์บุคลิกภาพของผู้คน เป็นมาตรฐานสำคัญสูงสุดในการแยกแยะพฤติกรรมของคนอื่น การทำโปรไฟล์อาชญากรใช้ไม่ได้ผล มันคือวิทยาศาสตร์เทียม ทำไมระบบที่ได้รับความไว้วางใจระดับสูงสุด ในการสืบสวนคดีร้ายแรงอย่างการฆาตกรรม ถึงแทบจะไร้ประโยชน์ ทุกคนถูกหลอกได้อย่างไร ปรากฏว่าเรื่องนี้ไม่ได้น่าแปลกใจอย่างที่คิด ในเมื่อคนจำนวนมากยังหลงเชื่อเรื่องของโหราศาสตร์ และผู้มีญาณทิพย์จอมปลอมได้เลย มันคือเรื่องที่มีอะไรที่เหมือนกัน จนแทบจะเรียกได้ว่าไม่ผิดเพี้ยนเลย ในทางจิตวิทยาเรียกสิ่งนี้ว่า ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ (Forer effect)หรือมีอีกชื่อหนึ่งที่สื่อความหมายได้มากกว่าคือ ปรากฏการณ์บาร์นัม (Barnum effect) ชื่อนี้ตั้งตามชื่อของ พี. ที. บาร์นัม จอมลวงโลกผู้ฉาวโฉ่นั่นเอง

ปรากฏการณ์บาร์นัมปรากฏให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่าในหลาย ๆ การวิจัย นี่นับเป็นข้อผิดพลาดจากสมองที่พบเห็นได้บ่อยเอามาก ๆ โทมัส กิโลวิช นักจิตวิทยาชื่อดังจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์อธิบายว่า ปรากฏการณ์บาร์นัมหมายถึง แนวโน้มที่คนเรามักยอมรับว่า การประเมินโดยใช้ถ้อยคำเหมารวม เป็นคำบรรยายที่ตรงกับตัวเองอย่างน่าประหลาด ตราบใดที่พวกเขาเชื่อว่าคำบรรยายนั้นถูกเขียนขึ้นมาสำหรับตัวเองโดยเฉพาะ บนพื้นฐานของเครื่องวินิจฉัยบางอย่าง เช่น คำทำนายดวงชะตา หรือแบบสำรวจบุคลิกภาพ ประเด็นสำคัญในที่นี้คือ สิ่งที่นักสถิติเรียกว่า อัตราฐาน (Base rate) อธิบายง่าย ๆ ก็คืออัตราฐานจะบอกว่า บางสิ่งบางอย่างเป็นที่แพร่หลายแค่ไหนโดยเฉลี่ย ตัวอย่างเช่น อัตราฐานของการติดต่อทางโทรศัพท์อยู่ในระดับสูงลิ่ว ส่วนอัตราฐานของการเดินสำรวจอวกาศให้นาซ่าอยู่ในระดับต่ำมาก

ผู้คนไม่ได้หันมาพึ่งพาลูกแก้วพยากรณ์ และไพ่ทาโร่เพื่อหาคำตอบกันจริง ๆ แต่เพื่อให้รู้ชะตาล่วงหน้า เพราะอยากรู้สึกว่ามีอำนาจควบคุมชีวิตของตัวเอง ผู้มีญาณทิพย์จอมปลอมและนักมายากลบนเวที อาศัยวิธีที่เรียกว่าการอ่านใจแบบเย็น (cold reading) ซึ่งใช้ประโยชน์จากปรากฏการณ์บาร์นัม และอัตราฐานเพื่อให้เชื่อว่า พวกเขาสามารถอ่านใจและทำนายอนาคตได้ ส่วนสมองเองก็รู้เห็นเป็นใจ ที่จะทำให้เชื่อเรื่องที่พวกเขาบอก

ความท้าทายที่แท้จริงในการวิเคราะห์ผู้คน มักไม่ได้อยู่ที่คนอื่นแต่อยู่ที่ตัวเราต่างหาก การถอดรหัสพฤติกรรมของคนอื่นเป็นเรื่องยากก็จริง แต่ปัญหาที่ซ่อนอยู่ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่ค่อยตระหนักถึง และไม่เคยกล่าวถึงก็คือ สมองนี่เองที่คอยขัดขวางไม่ให้ทำเช่นนั้นได้ คิดว่าเคล็ดลับในการอ่านใจคือ การเรียนรู้ตัวชี้วัดพิเศษเกี่ยวกับภาษากายหรือการจับโกหก แต่สิ่งสำคัญแรกสุดที่ต้องเผชิญคือ อคติทางความคิดของตัวเองต่างหาก นั่นคือสิ่งที่จำเป็นต้องเอาชนะให้ได้

คนเราชอบคิดไปเองว่าอ่านใจคนอื่นได้แม่นมาก เป็นอีกครั้งที่สมองจอมบงการกล่อมด้วยถ้อยคำหวานหู เมื่อขอให้ผู้คนประเมินความพึงพอใจในตนเองของคนรัก และยิ่งอยู่ด้วยกันมานานเท่าไหร่ ความมั่นใจในคำตอบก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แล้วความแม่นยำบอกตามตรงว่าไม่ได้ดีขึ้นเลย แต่ที่แน่ ๆ คือดูจะมั่นใจมากขึ้นเรื่อย ๆ คนเราคิดผิดไปไกลขนาดนั้นได้อย่างไร แถมยังมั่นอกมั่นใจในความไม่แม่นยำของตัวเองเสียยกใหญ่ เรื่องนี้อธิบายได้ด้วยศัพท์เทคนิคที่เรียกว่า การยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง (egocentric anchoring)

ทว่าเป็นเพราะหนึ่งในสิ่งที่ช่วยให้ทุกคนอ่านใจได้เก่งขึ้น ซึ่งก็คือแรงจูงใจนั่นเอง เมื่อทำการศึกษาลึกลงไป เพื่อค้นหาต้นสายปลายเหตุ สิ่งที่หลายคนค้นพบก็คือ โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงมีแรงจูงใจมากกว่าผู้ชาย ในการอ่านใจคนอื่นได้อย่างแม่นยำ โดยมีทั้งความสนใจ และความพยายามที่จะทำมันมากกว่า วิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า เมื่อคนเรามีแรงจูงใจ ไม่ว่าจะเป็นแรงจูงใจจากภายใน อย่างการรักในสิ่งนั้น ๆ หรือแรงจูงใจจากภายนอก อย่างการได้รับรางวัลตอบแทนจะทำได้ดีกว่า

ในการควบคุมการทำงานของสมองให้มีความสม่ำเสมอ รวมถึงพร้อมรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิดอยู่ตลอดเวลา สิ่งนี้มีชื่อว่า สัจพจน์ของสมองอันเกียจคร้าน (The Lazy Brain Axiom)  สรุปว่า ขั้นตอนแรกในการอ่านใจคนได้ดียิ่งขึ้นคือ ต้องมีความอยากรู้อยากเห็น ถ้าจะให้ดีต้องหาแรงจูงใจให้ตัวเอง ด้วยการเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก แรงจูงใจช่วยเพิ่มความแม่นยำแต่ก็เฉพาะกับคนที่ชอบแสดงออก และคนที่อ่านง่ายมาก ๆ เท่านั้น ถ้าเจอกับคนที่หน้าตาย และการจูงใจจะช่วยอะไรไม่ได้มากนัก

ระดับความเป็นคนที่อ่านง่าย มีความสำคัญมากกว่าทักษะการอ่านใจ เพราะทักษะการอ่านใจของคนเราไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่ละระดับความยากง่ายในการอ่านใจแต่ละคนนั้นแตกต่างกันอย่างมาก ส่วนใหญ่สมองก็เป็นตัวปัญหา มีแนวโน้มที่จะใส่ใจสัญญาณที่ไม่ถูกต้องนี่นำไปสู่ประเด็นเรื่องของภาษากาย คนเรามักให้คุณค่ากับการตั้งใจ วิเคราะห์ภาษากายสูงเกินจริงไปมาก สัญญาณบอกใบ้โดยไม่ใช้คำพูดนั้น มีความซับซ้อนขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อม และแตกต่างกันไปในแต่ละคน ไม่มีทางแน่ใจได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของอะไร

ภาษากายเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์อย่างสิ้นเชิง ถ้าไม่มีข้อมูลพื้นฐาน มันจึงบอกอะไรได้มากมาย หากไม่รู้ว่าพื้นฐานแล้วอีกฝ่ายเป็นคนอย่างไร สมองก็จะกลับไปคิดเองเออเองเหมือนเดิม วิทยาศาสตร์บอกว่าโดยธรรมชาติแล้ว ไม่ถนัดในการอ่านใจคนรอบข้าง แต่มันก็บอกเคล็ดลับบางอย่างที่ช่วยให้ทำเรื่องนี้ได้ดีขึ้น แล้วถ้าเป็นตอนที่พบเจอคนใหม่ ๆ พร้อมจะเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของความประทับใจแรกพบ และวิธีขัดเกลาทักษะด้านนี้แล้วหรือยัง ความประทับใจแรกพบเป็นส่วนสำคัญของการตัดสินคนจากภายนอก แต่ถ้าอยากเข้าใจปัญหาหลัก ๆ เกี่ยวกับความประทับใจแรกพบจริง ๆ จำเป็นต้องย้อนกลับไปเรียนรู้เรื่องของความจำกันก่อน

สมองของคนเรานั้นมีอคติ และบางครั้งก็เป็นอคติเพื่อประโยชน์ของเราเอง คนจำนวนมากทึกทักเอาเองว่า ความจำทำงานเหมือนกับกล้องวีดีโอที่สมบูรณ์แบบ แต่ความจริงก็คือความจำบิดเบือนไปตามกาลเวลา หลงลืมรายละเอียด สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงเรื่องราว เพื่อให้กลายเป็นวีรบุรุษผู้ชอบธรรม หรือเป็นเหยื่อผู้บริสุทธิ์ ลืมสิ่งเลวร้ายและจดจำสิ่งที่ดี การทำแบบนี้ช่วยให้เยียวยา และปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ

ความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างความประทับใจแรกพบ ของเจ้าหน้าที่สรรหาบุคลากรที่มีต่อผู้สมัครงาน ก่อนการสัมภาษณ์และหลังการสัมภาษณ์บ่งชี้ว่า การพบกันครั้งแรกอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ที่ตัดสินว่าจะได้งานใหม่นั้นหรือไม่ มีคำสอนว่าอย่าตัดสินคนจากภายนอก และไม่ว่าจะถูกหรือผิด การให้คำแนะนำแบบนั้นก็มีเหตุผลรองรับอยู่ เนื่องจากตัดสินคนจากภายนอกจริง ๆ อดไม่ได้ที่จะทำแบบนั้นตามสัญชาตญาณ และคำว่าภายนอกที่ว่านั้น ก็มักจะเป็นใบหน้าคนลงความเห็น เกี่ยวกับความอวดดี ความงาม ความสามารถ ความน่าคบ และความน่าเชื่อถือของใครบางคน ภายในเวลาไม่ถึงวินาที

เช่นเดียวกับการอ่านใจ เวลาที่มากขึ้นไม่ได้เปลี่ยนความคิดเห็นเลย มันแค่ทำให้มีความมั่นใจเพิ่มขึ้นเท่านั้น แล้วจุดหักมุมมันคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความประทับใจแรกพบมักจะแม่นยำอย่างน่าประหลาดใจ คนเราไม่เพียงมีความประทับใจแรกพบตรงกันเท่านั้น แต่ความประทับใจแรกพบยังคาดเดาได้ง่ายอย่างน่าทึ่ง ความไม่แม่นยำจำนวนมาก เกิดจากการที่สมองมีอคติ แต่เป็นอคติทางความคิดขั้นพื้นฐาน ที่เชื่อมโยงกับสมองเนื้อเทา อคติเหล่านี่มักจะเป็นทางลัด เพราะวิวัฒนาการปรับเปลี่ยนสมองให้ทำงานได้อย่างรวดเร็ว หรือไม่ก็เน้นการประหยัดพลังงานมากกว่าความแม่นยำ

จากนั้นสมองก็ขยายขอบเขตความคิดที่เรียกว่า การด่วนสรุป (overgeneralization) คนเรามีแนวโน้มที่จะเกิดอคติทางความคิดมากมายนับไม่ถ้วน และไม่มีทางที่จะกล่าวถึงอคติทั้งหมดได้อย่างรวบรัด แต่เมื่อพูดถึงความประทับใจแรกพบ สิ่งสำคัญที่ต้องต่อสู้คืออคติ เพื่อยืนยันความเชื่อ (confirmation bias) ซึ่งมีแนวโน้มที่จะแสวงหา และชื่นชอบแนวคิดที่สอดคล้องกับความเชื่อที่ยึดถืออยู่แล้ว ไม่ทดสอบทฤษฎีของตัวเอง แต่มองหาข้อมูลเพื่อส่งเสริมจุดยืนที่ยึดมั่นไปแล้ว เรียกมันว่าเรื่องย้อนแย้งของความประทับใจแรกพบ (The First Impression Paradox)

ความประทับใจแรกพบมักจะแม่นยำ แต่เมื่อปักใจเชื่อไปแล้ว การเปลี่ยนแปลงพวกมันก็เป็นเรื่องยากมาก ไม่มีวันต่อต้านสิ่งนี้ได้อย่างสิ้นเชิง แต่สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ตัวเองได้โดยอาศัยความพยายาม แต่สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือ การต่อต้านหลุมดำอันน่าสะพรึงกลัวของการติดอยู่ในอคติเพื่อยืนยันความเชื่อ แล้วจะต่อต้านอคติเพื่อยืนยันความเชื่อได้อย่างไร ขั้นตอนสำคัญมีอยู่ 3 ประการ

  1. รู้สึกถึงความรับผิดชอบ ถ้าความคิดเห็นเกี่ยวกับใครบางคน อาจส่งผลให้พวกเขาได้รับโทษประหารชีวิต ก็คงจะไม่รีบร้อน และคิดอย่างละเอียดรอบคอบมากขึ้น
  2. เว้นระยะห่างก่อนการตัดสินใจ การเว้นระยะห่างช่วยให้มีเหตุผลมากขึ้น และมีอคติน้อยลง ให้ถอยออกมาหนึ่งก้าว แล้วจินตนาการถึงสถานการณ์จากมุมมองที่กว้างมากขึ้น จะลงความเห็นและประเมินสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ทั้งยังประเมินตนเองได้ดีขึ้น และมีปฏิกิริยาทางอารมณ์ลดลง ทักษะเหล่านี้เป็นลักษณะที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในการประเมินคนที่พึ่งรู้จักได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
  3. พิจารณาฝ่ายตรงข้าม เนื่องจากสมองมักจะจดจำส่วนที่ถูก และลืมส่วนที่ผิด ต้องบังคับตัวเองให้พิจารณาข้อผิดพลาดเหล่านั้น ถ้าอยากเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง

ในระยะยาวยังสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกัน ด้วยการทำความรู้จักกับอคติส่วนตัวให้ดีขึ้น การปรับตัวตามอคติที่พบเห็นได้บ่อย ถือเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น มีข้อคิดสำคัญ 2 ประการ เกี่ยวกับมนุษย์ในเรื่องอคติ เพื่อยืนยันความเชื่อ

ข้อแรก สร้างความประทับใจแรกพบที่ดี จงแสดงให้คนอื่นเห็นบุคลิกภาพ ในด้านที่อยากให้พวกเขาจดจำและยึดติด

อีกข้อหนึ่งที่ควรจดจำไว้ก็คือ จงให้โอกาสคนอื่นอีกครั้ง ถ้าไม่มีกลยุทธ์ดังกล่าว จะเป็นฝ่ายถูกเต็มที่แค่ 70% ของทุกครั้ง และจะคิดผิดเกี่ยวกับคนอื่นอย่างน้อย 3 ใน 10 คนที่พบเจอ ตอนนี้สัญชาตญาณความประทับใจแรกพบน่าจะดีขึ้นแล้ว แต่โดยรวมแล้วการช่วยอ่านใจคนอื่นให้เหมือนกับหนังสือ ก็ยังอยู่บนพื้นฐานที่ไม่มั่นคง และรู้ว่าการอ่านใจคนอื่นในเชิงรับ ค่อนข้างจะล้าสมัย เมื่อไหร่ก็ตามที่พยายามเรียนรู้เกี่ยวกับใครบางคน มีความเป็นไปได้ที่คนคนนั้นจะชักนำให้เข้าใจผิด จะจัดการกับคนโกหกอย่างไรดี

เมื่อบอกให้จัดอันดับลักษณะบุคลิกภาพ การเป็นคนโกหกอยู่ในอันดับท้ายสุด สำหรับผู้ใหญ่พวกเขาโกหกประมาณหนึ่งในห้า และจับโกหกได้แย่มาก มนุษย์พยายามจะเชี่ยวชาญเรื่องการจับโกหกมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว และก็ประสบความล้มเหลวอย่างน่าสังเวช วิทยาศาสตร์แนะนำให้ใช้วิธีการอันแนบเนียนและแยบยล ซึ่งมนุษย์ไม่เคยลองใช้มาก่อนในช่วง 5,000 ปีที่ผ่านมา เวลาพยายามจับโกหกนั่นคือ ทำตัวเป็นมิตร จะเรียกระบบใหม่ว่า วิธีการแบบนักข่าวที่เป็นมิตร (The Friendly Journalist Method)

นักข่าวที่เป็นมิตรทำให้พวกเขาชื่นชอบ ยอมเปิดใจ ยอมเปิดปาก และพลาดพลั้งเปิดเผยการโกหกของตัวเอง

ขั้นตอนแรกคือ ทำการบ้าน ยิ่งมีข้อมูลก่อนจะสนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องสงสัย ว่าเป็นเรื่องโกหกมากขึ้นเท่าไหร่ เครื่องจับเท็จภายในตัวก็จะได้รับการตั้งค่าได้ดีขึ้นเท่านั้น และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น เทคนิคที่มีประสิทธิภาพที่สุด บางอย่างที่จะใช้ในภายหลัง จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐาน จึงไม่สามารถข้ามขั้นตอนนี้ได้

ส่วนที่เป็นมิตร วิธีการแบบตำรวจดีใช้ได้ผล ทุกคนอยากได้รับการปฏิบัติอย่างให้เกียรติ และเมื่อคนเราได้รับการปฏิบัติแบบนั้น พวกเขาก็น่าจะยอมเปิดปากพูดคุยมากขึ้น

ตั้งคำถามปลายเปิด คำถามจำนวนมากที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า อะไร หรืออย่างไร ไม่ใช่คำถามที่ตอบได้ด้วยคำคำเดียว

ต้องทำตัวเป็นมิตร และพูดเท่าที่จำเป็น เพื่อกระตุ้นให้พวกเขาพูดไปเรื่อย ๆ การปล่อยให้พวกเขาพูดคนเดียว จะทำให้พวกเขารู้สึกว่าเป็นฝ่ายกุมอำนาจ พวกเขาจะรู้สึกผ่อนคลาย ต้องทำให้พวกเขาพูดออกมาหมดเปลือก และต้อนตัวเองจนมุม ปัญหาในการรับมือกับคนเหลี่ยมจัดอยู่ตรงนี้

วิธีการเหล่านี้ไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่ถือว่าได้ผลค่อนข้างดี ถ้าฝึกฝนเทคนิคทั้งหลายนี้ จะช่วยให้ตัดสินคนจากภายนอกได้หรือไม่ เรื่องนั้นคงจะยากหน่อย นี่ไม่ใช่กระบวนการง่าย ๆ เลย และมันจะได้ผลก็ต่อเมื่อมีเวลา และอีกฝ่ายเต็มใจที่จะอดทนกับคำถามเท่านั้น

เป็นธรรมดาที่เรื่องทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมถึงอ่านใจคนอื่นไม่เก่ง ทำไมสิ่งมีชีวิตที่ชอบอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ถึงมีข้อบกพร่องในสิ่งที่ดูเหมือนมีค่าอย่างยิ่ง เหตุผลข้อ 1 ก็คือ ความแม่นยำที่เลวร้ายอาจไม่ใช่ข้อบกพร่องเลยแม้แต่น้อย การอ่านใจคนได้อย่างแม่นยำเกินไป อาจเป็นฝันร้ายก็ได้ ทุกคนล้วนมีความรู้สึกในแง่ลบอยู่ชั่วขณะ เกี่ยวกับคู่ชีวิต เพื่อน และความสัมพันธ์ของตัวเอง นั่นเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าสังเกตเห็นความคิดแง่ลบทุกอย่างที่ใครก็ตามมีต่อตัวเอง มันจะยิ่งทำให้มีความคิดวิตกกังวลมากขึ้น

โดยส่วนใหญ่แล้ว การไม่รับรู้ประเด็นที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะเหล่านี้ย่อมดีกว่า และนั่นคือสิ่งที่การศึกษาค้นพบ ความแม่นยำในการเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น ไม่ใช่เรื่องดีไปเสียทั้งหมด มันคือดาบสองคม การมองโลกได้อย่างแม่นยำไม่ใช่เป้าหมายเดียว จริงอยู่ว่าต้องการข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ดี แต่ก็อยากมีความสุข มีแรงบันดาลใจ และมีความมั่นใจอยู่เสมอ แม้แต่ตอนที่สิ่งต่าง ๆ ดูเหมือนจะไม่ดีนัก

การสันนิษฐานว่า คนเรามักจะซื่อตรงถือเป็นแนวทางเริ่มต้นที่ดีกว่า ข่าวดีคือมันไม่ใช่แค่ทำให้รู้สึกดีขึ้นเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วมันยังเป็นทางออกที่ดีกว่าในระยะยาวด้วย แทนที่จะเพ่งความสนใจไปกับการไม่ตัดสินคนจากภายนอก สิ่งที่เป็นประโยชน์มากกว่าคือการบอกว่า น่าจะทุ่มเทความพยายามมากขึ้นไป กับการทบทวนการตัดสินใจที่จะทำอย่างไม่ต้องสงสัย

ส่วนที่ 2 เพื่อนแท้คือเพื่อนในยามยากจริงหรือ

คงไม่มีใครเถียงว่าเพื่อนเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต แต่เรื่องของมิตรภาพก็ยังมีปริศนา ที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง บางแนวคิดเกี่ยวกับมิตรภาพอาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แต่ก็มีหลายอย่างที่คล้ายคลึงกันทั่วโลก เรื่องหนึ่งที่แน่ชัดก็คือ มิตรภาพเป็นสิ่งสากล นอกจากนี้การมีเพื่อนสนิทยังไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในสังคมมนุษย์ หรือแม้แต่สัตว์ในกลุ่มไพรเมทด้วย การศึกษาส่วนใหญ่จะแสดงให้เห็นว่า คุณภาพมีความสำคัญมากกว่าปริมาณ เมื่อเป็นเรื่องของการคบเพื่อน แต่ปริมาณก็ยังสำคัญอยู่ดี มีแนวโน้มมากขึ้น 60% ที่จะมองว่าตัวเองมีความสุข

คนที่มีเพื่อนให้พูดคุยปรับทุกข์ด้วยอย่างน้อย 5 คน ประเด็นที่ไม่น่าแปลกใจเลยก็คือ มีเพื่อนมากที่สุดตอนที่ยังเป็นเด็ก และตัวเลขมักจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น เพื่อนยังมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาชีวิตอีกด้วย ความเหงาส่งผลกระทบต่อสุขภาพเทียบเท่าการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน นี่เป็นอีกครั้งที่มิตรภาพครองอิทธิพลสูงสุดเหนือสายสัมพันธ์อื่น ๆ ถึงตรงนี้คงเข้าใจตรงกันแล้วว่า เพื่อนเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องตอบคำถามที่เฉพาะเจาะจงกว่านั้นว่า เพื่อนแท้คือเพื่อนในยามยากจริงหรือ

ทว่าความสัมพันธ์ที่แสนสำคัญ ทรงพลัง นำมาซึ่งความสุข และช่วยรักษาชีวิตนี้กลับตกเป็นรองอยู่เสมอ มิตรภาพไม่เหมือนกับความสัมพันธ์อื่น ๆ ตรงที่มันไม่มีสถาบันรองรับอย่างเป็นทางการ ทั้งยังไม่มีกฎหมาย ศาสนา นายจ้าง หรือสายเลือดมาช่วยสนับสนุน และเนื่องจากไม่มีใครลุกขึ้นมาต่อสู้ เพื่อผลประโยชน์ของมิตรภาพอย่างจริงจัง มันจึงลงเอยด้วยการตกเป็นรองอยู่เสมอ มิตรภาพเกิดจากความสมัครใจ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจน และแทบไม่มีความคาดหวังที่เห็นพ้องร่วมกันในสังคม เมื่อปราศจากข้อผูกมัดในความเป็นสถาบัน การรักษามิตรภาพเอาไว้จึงต้องอาศัยความตั้งใจอย่างมาก และในโลกอันแสนยุ่งเหยิง มันก็ดูเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่น่าจะรับมือไหว

ในสาขาจิตวิทยาสิ่งนี้เรียกว่าทฤษฎีการขยายตัวตน (self-expansion theory) ซึ่งมองว่าขยายความคิดเกี่ยวกับตัวเองให้ครอบคลุมคนที่สนิทสนมด้วย การทดลองต่อเนื่องชุดหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ยิ่งสนิทสนมกับเพื่อนมากขึ้นเท่าไหร่ เส้นแบ่งระหว่างคนสองคนก็ยิ่งเลือนรางลงเท่านั้น คนเราสับสนระหว่างองค์ประกอบของตัวตนพวกเขากับตัวตนเรา เมื่อสนิทสนมกับเพื่อนคนหนึ่งอย่างแนบแน่น ที่จริงแล้วสมองจะต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อแยกแยะความแตกต่างระหว่างสองคน

ผลงานที่ช่วยฟันธงเรื่องนี้คือการศึกษา ทางประสาทวิทยาศาสตร์ที่นำผู้คนเข้าเครื่องสแกน MRI  แล้วตั้งคำถามเกี่ยวกับเพื่อน แน่นอนว่าสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ด้านบวกสว่างขึ้น แล้วรู้ไหมว่าส่วนไหนตื่นตัวอีก คำตอบคือสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลตนเอง เมื่อผู้หญิงได้ยินชื่อของเพื่อนสนิทตอบสนองแบบเดียวกับเวลาที่ได้ยินชื่อของตัวเอง จากผลงานชิ้นนี้มีการพัฒนามาตรวัด IOS ย่อมาจาก Inclusion of Other in the Self  หรือการรวมคนอื่นมาอยู่ในตัวตนขึ้นมา ซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างมากจนสามารถนำคะแนนที่ได้มาทำนายเสถียรภาพของความสัมพันธ์ได้อย่างแม่นยำ

ในปี 1980 แดเนียล เวกเนอร์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาดกล่าวไว้ว่า ความเข้าอกเข้าใจอาจมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความสับสนระหว่างตัวเราเองกับคนอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ดูเหมือนว่าในที่สุดก็ได้คำจำกัดความที่แสวงหาแล้ว ความเข้าอกเข้าใจคือตอนที่เส้นแบ่งเลือนรางลง เมื่อสับสนว่าตัวตนสิ้นสุดตรงไหน และอีกคนเริ่มต้นตรงไหน ความสนิทสนมคือตอนที่มโนภาพเกี่ยวกับตัวตน ขยับขยายและเปิดที่ว่างเพื่อให้คนอื่นเข้ามาอยู่ในนั้นด้วย เพื่อนคืออีกตัวตนหนึ่งและเป็นส่วนหนึ่ง ตอนนี้รู้แล้วว่ามิตรภาพ ความสนิทสนม และความเข้าอกเข้าใจคืออะไร เพื่อนเป็นส่วนหนึ่งแต่จะผูกมิตรได้อย่างไร มีผลงานมากมายเกี่ยวกับหัวข้อนี้

กลุ่มคนพิเศษคนที่เป็นมิตรมากที่สุดในโลก คนเหล่านี้เป็นคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักพวกเขา ชื่นชอบผู้คนอย่างแท้จริง และไว้ใจคนอื่นอย่างแทบไม่มีขีดจำกัด ทั้งยังไม่มีความวิตกกังวลในการเข้าสังคมเลย พวกเขาจะโปรยคำชม คำถาม และความเอื้อเฟื้อให้ ทั้งหมดนี้มาจากความจริงใจล้วน ๆ ไม่มีการเสแสร้งใด ๆ

กลุ่มอาการวิลเลี่ยมซินโดรม (Williams syndrome) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม น่าจะเป็นความผิดปกติที่น่ารักที่สุดเลยก็ว่าได้ สิ่งที่น่าทึ่งก็คือ ถึงแม้คนที่มีอาการนี้จะนับว่าเป็นผู้ทุพพลภาพ แต่พวกเขากลับมีความสามารถเหนือมนุษย์ ในแง่ของความเอื้อเฟื้อ ความเข้าอกเข้าใจ และการเข้าสังคม กลุ่มอาการวิลเลี่ยมเกิดขึ้นกับคนเพียงหนึ่งในหมื่นคนทั่วโลก โดยสาเหตุเกิดจากยีนส์ประมาณ 28 ยีนส์ขาดหายไปในโครโมโซมคู่ที่ 7 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับทารกในครรภ์ ซึ่งรวมถึงส่วนสูงที่หดสั้นลง ปัญหาเนื้อเยื่อเกี่ยวกับเกี่ยวพัน และลักษณะใบหน้าที่เป็นเอกลักษณ์

โชคร้ายที่กลุ่มอาการวิลเลี่ยม ยังทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญาด้วย คนที่มีอาการนี้จะมี IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 69 แต่จากมุมมองทางวิทยาศาสตร์ ความบกพร่องทางสติปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ คนที่มีกลุ่มอาการวิลเลียมส์ มีสิ่งที่เรียกกันในแวดวงวิชาการว่า คุณสมบัติทางการรู้คิดที่ไม่สม่ำเสมอ คนเหล่านี้มีปัญหาในบางเรื่อง แต่มีพลังพิเศษในเรื่องอื่น ๆ

พวกเขามีปัญหาอย่างยิ่งในเรื่องคณิตศาสตร์และการไขปริศนา แต่เมื่อถามพวกเขาเรื่องอะไรสักอย่างจะเจอกับนักเล่าเรื่องผู้น่าทึ่ง ที่ใช้ถ้อยคำสละสลวย และเปี่ยมด้วยอารมณ์ พวกเขาทำผลงานในภารกิจที่เป็นนามธรรม หรือเกี่ยวข้องกับพื้นที่ได้ย่ำแย่มาก แต่พวกเขาเก่งภารกิจที่เกี่ยวข้องกับคำพูด อารมณ์ หรือแม้แต่ดนตรี

คนที่มีกลุ่มอาการวิลเลี่ยมส์ไว้ใจคนอื่นมากเกินไป พวกเขามักจะถูกเอาเปรียบ ราวกับว่าพวกเขาไม่มีระบบภูมิคุ้มกันทางสังคมที่จะปกป้องตัวเอง นี่คือปัญหาสำหรับผู้ปกครองของเด็กที่มีกลุ่มอาการวิลเลี่ยมส์ ถึงแม้เด็กที่เป็นมิตรขนาดนั้น จะเป็นสิ่งสวยงาม แต่การที่เด็กขึ้นรถไปกับคนแปลกหน้าอย่างน่าชื่นตาบานไม่ใช่สิ่งสวยงามเลย เด็กเหล่านี้ต้องได้รับการสอนให้ไม่ไว้ใจคนอื่น แต่พวกเขาก็มักจะไม่หลาบจำ ความไม่ไว้ใจไม่ใช่ธรรมชาติของพวกเขา

ถึงแม้ภัยคุกคามดังกล่าวจะทำให้การเป็นแม่ของลูก ที่มีกลุ่มอาการวิลเลี่ยมเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ในบางครั้งตอนนี้ยังไม่แน่ใจเต็มร้อยว่า ควรตีความคำสอนที่ว่าเพื่อนแท้คือเพื่อนในยามยากอย่างไร แต่ใกล้จะได้เห็นมากขึ้นว่า ลองหาเวลาว่างให้อีกฝ่ายแบ่งปันความคิด เพื่อเผยจุดอ่อนและเพิ่มเดิมพัน หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี พวกเขาก็จะทำแบบเดียวกัน สิ่งนี้ทำให้ออกห่างจากความสัมพันธ์แบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ เมื่อเกิดความไว้ใจแล้ว ย่อมสามารถมองข้ามต้นทุนในระดับที่สูงขึ้น และพวกเขาก็เช่นกัน

อาจมีวิธีดึงความดีออกจากคนไม่ดีก็ได้ ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ทุกครั้งที่หาเพื่อนได้ 10 คน จะมีศัตรูรายใหม่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1 คน ศัตรูในคราบมิตรมักเลวร้ายยิ่งกว่าศัตรู ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าเพื่อนแบบกึ่งดีกึ่งร้าย ครองสัดส่วนครึ่งหนึ่งในความสัมพันธ์ทั้งหมด และการศึกษาพบว่าพบเจอพวกเขาบ่อยพอ ๆ กับเพื่อนที่คอยสนับสนุนทีเดียว บางครั้งศัตรูในคราบมิตรก็เป็นแค่คนที่เข้ากันไม่ได้ แต่บางครั้งก็เป็นเพราะพวกเขาเป็นพวกหลงตัวเอง

ทุกคนล้วนมีชีวิตในจินตนาการที่ร่ำรวย ดีเลิศ และเป็นที่ยกย่อง นั่นคือนิสัยของมนุษย์ เพลิดเพลินกับความฝัน แต่คนหลงตัวเองเสพติดความฝัน การขาดความเข้าอกเข้าใจถือเป็นหัวใจสำคัญของความผิดปกตินี้ ในความคิดของคนหลงตัวเอง การเหนือกว่าคนอื่นสำคัญกว่าการเข้ากับคนได้ดี แล้วเรื่องเพื่อนแท้คือเพื่อนในยามยาก ในความคิดของคนหลงตัวเองเพื่อนในยามยากเป็นแค่คนอ่อนแอเท่านั้น

คนหลงตัวเองมักจะมีท่าทีอ่อนลงเมื่ออายุมากขึ้น ตลอดเวลาหลายปีความเป็นจริงจู่โจมเรื่องราวในหัวของพวกเขา ความผิดปกติต่าง ๆ เพิ่มพูนจนสังเกตเห็นได้ หรือไม่คนที่เคยถูกพวกเขาข่มเหงในอดีต ก็ลงมือต่อต้านพวกเขา ไม่อยากหยิบยกเรื่องกรรมขึ้นมากล่าวถึงในที่นี้ แต่บ่อยครั้งพวกเขาจะโดนกรรมตามทัน แทบไม่มีใครรักษาภาพลวงตาของตัวเองได้ตลอดไป

ความเข้าอกเข้าใจเกิดขึ้นเมื่อเส้นแบ่งเลือนรางลง ความสนิทสนมเกิดขึ้นเมื่อมโนภาพเกี่ยวกับตัวตนเปิดที่ว่างให้คนอื่นเข้ามาอยู่ในนั้นด้วย เพื่อนแท้ก็คืออีกตัวตนหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่ง มิตรภาพอาจถูกนิยามโดยความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ไม่ได้ตามนับบุญคุณกับเพื่อน สมองบอกว่าเพื่อนเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อนในยามที่ทุกข์ยากคือเพื่อนที่แท้จริง

เพื่อนในยามที่ทุกข์ยากจะแสดงตัวให้เห็นด้วยการกระทำ พวกเขาเคลื่อนที่ทุกอย่าง จะทำตัวเหมือนกับเป็นเพื่อนเพื่อนที่ทุกข์ยาก คือเพื่อนที่ลงมือกระทำ มิตรภาพสมควรได้รับการเอาใจใส่มากขึ้นอีกนิด แม้แต่ในเวลาที่ไม่มีใครทุกข์ยาก เมื่อไม่มีสถาบันคอยสนับสนุนมิตรภาพก็ไม่มีทางเทียบได้กับวันครบรอบแต่งงาน งานรวมญาติ หรือจดหมายแสดงความขอบคุณ สำหรับระยะเวลา 10 ปีที่ทำงานกับบริษัท ความสุขในชีวิตมันสมควรได้รับการเอาใจใส่มากขึ้น เวลาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ควรจดจำไว้อาจเป็นความรู้สึกขอบคุณ

ส่วนที่ 3 ความรักชนะทุกสิ่งจริงหรือ

เรื่องของเซ็กซ์ ความรัก และชีวิตแต่งงานนั้นแสนซับซ้อน แถมยังหาความชัดเจนหรือความเรียบง่ายไม่ได้เลยสักนิด ส่วนใหญ่แล้วประสบการณ์ความรักมักสอดคล้องกัน ไม่ว่าจะศึกษาจากประเทศ อายุ เพศสภาพ รสนิยมทางเพศ หรือกลุ่มชาติพันธุ์ใดก็ตาม ความรักแทบจะเป็นสิ่งที่คนเรามีมาแต่กำเนิด ที่รู้เพราะเมื่อดูจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาหลายวัฒนธรรม ต่างก็พยายามที่จะเก็บกดความรักโรแมนติกเอาไว้ ทว่าก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า

คนเรามักมองการแต่งงานเป็นรูปแบบของความรักที่ยืนยาว กระทั่งก่อให้เกิดความเชื่อที่ผิดมหันต์ ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน หลายคนคงเคยเห็นบทความมากมาย ที่บอกว่าการแต่งงานทำให้คนเราสุขภาพดีขึ้น และมีความสุขมากขึ้น แต่นั่นไม่จริงเลย งานวิจัยจำนวนมากสำรวจแค่คนโสดกับคนที่แต่งงานแล้ว เพื่อเปรียบเทียบระดับความสุข เมื่อพบว่าคนที่แต่งงานแล้วมีชีวิตที่ดีกว่า ก็จะป่าวประกาศว่าการแต่งงานทำให้คนเราสุขภาพดีและมีความสุข แต่นั่นนับเป็นความผิดพลาด

เนื่องจากอคติจากการเลือกรับข้อมูลเฉพาะผู้อยู่รอด (survivor bias) หากอยากรู้ว่าการแต่งงานทำให้มีความสุขมากกว่าหรือไม่ ต้องนับรวมคู่รักที่แยกกันอยู่ คนที่หย่าร้าง และคนที่เป็นหม้าย ในกลุ่มคนที่แต่งงานแล้ว ไม่ใช่ในกลุ่มคนที่ไม่ได้แต่งงาน

เมื่อตรวจสอบกลุ่มคนทั้งหมดที่เคยเข้าสู่ประตูวิวาห์ โดยเทียบกับคนที่ไม่เคย ผลลัพธ์ด้านสุขภาพและความสุขก็แตกต่างออกไปอย่างมาก พูดง่าย ๆ คือชีวิตแต่งงานไม่ได้ทำให้คนเราสุขภาพดีและมีความสุข ชีวิตแต่งงานที่ดีต่างหากที่ทำให้คนเราสุขภาพดีและมีความสุข

ส่วนชีวิตแต่งงานที่เลวร้าย อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบอย่างมาก แม้จะหย่าร้างกันไปแล้วก็ตาม การแต่งงานส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ผลกระทบด้านบวกก็มีอยู่มากมาย อัตราการเกิดอาการหัวใจวาย โรคมะเร็ง ภาวะสมองเสื่อม ความเจ็บป่วย ความดันโลหิตสูง หรือแม้กระทั่งโอกาสที่จะเสียชีวิตล้วนลดลงทั้งหมด

อย่างไรก็ตามหากแต่งานแล้วไม่มีความสุข ก็มีแนวโน้มที่สุขภาพจะย่ำแย่กว่ากรณีที่อยู่เป็นโสดอย่างเห็นได้ชัด ชีวิตแต่งงานที่เลวร้ายทำให้มีโอกาสล้มป่วยมากขึ้น 35% และอายุขัยลดลง 4 ปี ผู้ที่หย่าร้างและเป็นหม้ายมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น 20% และที่น่าประหลาดใจที่สุดคือ แม้จะแต่งงานใหม่ผลกระทบบางอย่างก็ไม่หายไปไหน คนที่แต่งงานเป็นครั้งที่ 2 มีปัญหาสุขภาพร้ายแรงกว่าคนที่ไม่เคยหย่าร้างถึง 12% แถมผู้หญิงที่ผ่านการหย่าร้าง มีโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น 60% แม้จะได้เข้าสู่ประตูวิวาห์อีกรอบก็ตาม

เมื่อพิจารณาทุกคนที่ผ่านการแต่งงานมาแล้ว ไม่ว่าจะลงเอยแบบไหน ไม่มีใครท้อแท้สิ้นหวังมากไปกว่าคนที่ไม่มีความสุขกับชีวิตแต่งงานอีกแล้ว ดังนั้น ถ้าจะต้องเหงาสู้เหงาอยู่คนเดียวยังดีกว่า สรุปว่า การแต่งงานไม่ใช่เครื่องรับประกันสุขภาพหรือความสุข แต่เป็นเหมือนการเดิมพันมากกว่า โดยถ้าไม่ได้มากก็เสียมาก แถมยังเป็นการเดิมพันที่มีโอกาสชนะไม่ถึงครึ่ง

ที่จริงอาจมีชีวิตแต่งงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่เคยมีมา เมื่อเทียบกับชีวิตแต่งงานในสมัยก่อน ชีวิตแต่งงานในปัจจุบันต้องอาศัยความทุ่มเท และการทะนุถนอมมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ชีวิตแต่งงานมีความเสี่ยงที่จะซึมเศร้า และจืดจางในสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถ้าคู่แต่งงานทุ่มเทเวลา และพลังที่เพียงพอให้กับความสัมพันธ์ พวกเขาก็จะสามารถบรรลุถึงระดับความสมปรารถนาในชีวิตแต่งงาน แบบที่คนยุคก่อน ๆ เอื้อมไม่ถึง ดังนั้น ถ้ากำลังประสบปัญหาความรักในช่วงนี้ ไม่ได้บ้า ไม่ใช่แค่ที่เจออยู่คนเดียว และมันไม่ใช่ความผิดพลาดเสมอไป ตอนนี้รู้แล้วว่าปกติแล้วความรักไม่ได้ชนะทุกสิ่ง แต่ความรักจะชนะทุกสิ่งได้ถ้าทำอย่างถูกต้อง

อันที่จริงคนสมัยโบราณไม่ได้แค่มองว่าความรักเป็นสิ่งเลวร้ายเท่านั้น แต่ยังมองว่ามันคือความเจ็บป่วยอีกด้วย การเป็นไข้ใจไม่ใช่แค่คำเปรียบเปรย แต่เป็นคำวินิจฉัยโรคที่เป็นที่ยอมรับ การตกหลุมรักในความหมายก็คือ ความเจ็บป่วยและความฟั่นเฟือน มันเป็นเพียงภาพลวงตาและความมืดบอด ที่ทำให้ไม่เห็นว่าแท้จริงแล้วคนรักเป็นอย่างไร และแนวคิดที่ว่าความรักคือโรคร้าย ก็ยังคงอยู่ โดยเรียกการผิดหวังในความรักว่าไข้ใจ แล้วก็ยังมีสำนวนที่เรียกคนโรแมนติกมาก ๆ ว่าโรแมนติกเกินเยียวยา

การหาเหตุผลมาสนับสนุนว่าความรักคือ ความเจ็บป่วยร้ายแรงทางการแพทย์เป็นเรื่องง่ายกว่าที่คิด อย่าลืมว่ามีคนมากมายแค่ไหนที่ฆ่าตัวตาย หรือฆ่าคนอื่นเพราะความรัก แต่น่าแปลกใจที่ผู้คนกลับไม่ได้มองความรักเป็นโรคร้ายอย่างจริงจัง และโดยทั่วไปก็ไม่เพียงแค่มองว่ามันไม่มีพิษมีภัย แต่ยังเห็นดีเห็นงามและสนับสนุนกันอย่างกว้างขวางอีกด้วย ความยากลำบากของชีวิตแต่งงานเริ่มขึ้นตอนนิยายจบ และอย่างที่ได้เห็นแล้วว่า นิยายรักชักนำให้หลงทาง

การเชื่อว่าความรักควรจะง่ายดาย และมหัศจรรย์โดยไม่ต้องทำอะไรเลยเป็นปัญหาใหญ่ เมื่อได้รู้ว่าต้องลงมือทำเพื่อต่อต้าน การเสื่อมสลายห้วงรักโรแมนติกอันแสนทรมานเป็นสิ่งเสพติด แต่ในบางแง่มุมมันก็เป็นเรื่องที่รับมือได้ง่ายกว่า เพราะควบคุมมันไม่ได้อยู่แล้ว ทว่าความรักในชีวิตแต่งงาน เป็นทางเลือกที่ต้องอาศัยความขยัน และความพยายามอย่างสม่ำเสมอ รักเป็นคำกิริยา ถ้าอยากดูดีและมีสุขภาพแข็งแรง ก็ต้องตั้งใจที่จะดูแลร่างกาย ความรักก็ไม่ต่างกัน

ในเรื่องของความสัมพันธ์ ทุกคนล้วนมีปัญหาเวลาต้องเลือกระหว่างอารมณ์หรือเหตุผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการสื่อสาร เมื่ออารมณ์อันแสนร้อนแรงมอดดับไป จะมุ่งเน้นไปที่การจุดไฟขึ้นมาใหม่ หรือสร้างระบบอันรอบคอบที่สามารถประคับประคองครอบครัว และชีวิตอันแสนยุ่งเหยิงเป็นเรื่องยาก ที่จะค้นพบหนทางแห่งความสมดุล ระหว่างทักษะทางวิทยาศาสตร์กับความรู้สึกของหัวใจ

ผู้แต่งงานที่ไม่มีความสุข ล้วนทำข้อผิดพลาด 4 ประการ และถ้าได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดเหล่านี้ ก็สามารถหลีกเลี่ยงมันได้ เรียกปัญหาเหล่านี้ว่าจะตุรอาชา (Four Housemen)

  1. การตำหนิ การบ่นมักขึ้นต้นด้วย ฉัน ส่วนการตำหนิมักขึ้นต้นด้วย คุณ และถ้าประโยคขึ้นต้นด้วย คุณเป็นแบบนี้ตลอด แต่ไม่ได้ลงท้ายด้วย ทำให้ฉันมีความสุขมาก มันก็อาจเป็นการตำหนิ และคาดการณ์ได้เลยว่าคนรักจะตอบโต้ด้วยอารมณ์เดือดขั้นสุด ดังนั้น จงเปลี่ยนการตำหนิให้กลายเป็นการบ่น พูดถึงเหตุการณ์แทนตัวบุคคล หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้น จงมองว่าการบ่นคือเป้าหมายที่ต้องบรรลุ หรือปัญหาที่ต้องแก้ไข การตำหนิเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทำบ่อยกว่าผู้ชายมาก
  2. การไม่พูดไม่จา นี่คือสิ่งที่ผู้ชายมักทำเวลามีเรื่องโต้เถียง การไม่พูดไม่จาคือการที่ตอบสนองต่อประเด็น ที่คนรักกล่าวถึงด้วยการปิดปากเงียบ หรือเพิกเฉย การทำเช่นนี้ไม่ได้ช่วยลดความขัดแย้ง แถมยังทวีความรุนแรงขึ้น ในกรณีส่วนใหญ่สำหรับผู้ชายจำนวนมาก
  3. การปกป้องตัวเอง โดยธรรมชาติแล้วการทำเช่นนี้ จะทำให้ความขัดแย้งรุนแรงขึ้น ซึ่งก็เหมือนกับการชวนคนชอบวางเพลิงไปดับไฟ ไม่ว่าจะเป็นการปรับความรับผิดชอบ การหาข้ออ้างและการพูดย้ำ ๆ หรือการพูดประโยคไม่น่าฟังทั้งหมดนี้ เป็นตัวอย่างของการปกป้องตัวเอง จงอย่าโต้กลับหรือหลบเลี่ยง แต่ให้ตั้งใจฟัง รับรู้ปัญหาของอีกฝ่าย และรอให้ถึงตาพูดเพื่อป้องกันไม่ให้เรื่องบานปลาย
  4. การดูถูก การดูถูกเป็นตัวทำนายการหย่าร้างที่สำคัญที่สุด มันคืออะไรที่ก็ตามที่สื่อความหมายเป็นนัยว่า อีกฝ่ายด้อยกว่าตัวอย่างเช่นการด่าทอการเยาะเย้ยหรือการกดอีกฝ่ายให้ต่ำต้อย แทบไม่เคยพบการดูถูกในชีวิตแต่งงานที่มีความสุขเลย สิ่งนี้เรียกว่าเป็นกรดกัดกร่อนรัก พูดง่าย ๆ คือมันเป็นหนทางสู่เอ็นเอสโอ ดังนั้นอย่าหาทำ

ส่วนที่ 4 ไม่มีมนุษย์คนใดอยู่ตัวคนเดียวได้จริงหรือ

ทุกคนล้วนเคยนึกฝันเป็นบางครั้งบางคราวว่า อยากหนีไปให้ไกล โยนสมาร์ทโฟนทิ้งไป และหลีกหนีจากการรับมือกับสารพัดปัญหาจุกจิก ไม่เว้นแต่ละวันอย่างไร้จุดหมาย ออกไปเที่ยวและเห็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความงดงามของธรรมชาติ แล้วก็เพ้อฝันถึงการไม่กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมอีก แต่ก็ยังกลับไปอยู่ดี ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่คนเรารักษาสมดุลได้ดี ระหว่างการเข้าสังคมกับการใช้เวลาอยู่คนเดียว บ้านในสมัยก่อนมีคนอยู่เป็น 10 คน ผู้คนจึงมีเวลาพบกันแบบเห็นหน้า แต่ก็ยังได้ออกไปเดินเที่ยวเล่นนอกบ้านบ่อย ๆ อีกด้วย พวกเขาจึงมีเวลาสำรวจ

แต่ทุกวันนี้คนเราไม่ค่อยไว้ใจความสันโดษ มันกลายเป็นภาพลักษณ์ของอาชญากรโรคจิต ในโลกสมัยใหม่ผู้ชายเงียบ ๆ ที่ชอบเก็บเนื้อเก็บตัวดูไม่ค่อยเหมือนปรมาจารย์เซ็นเท่าไหร่ แต่คิดว่าใครดูเป็นผู้ใหญ่กว่ากัน ระหว่างคนที่สามารถใช้เวลามากมาย อยู่ตามลำพังได้อย่างสบายใจ หรือคนที่ทนอยู่คนเดียวไม่ได้เลย ผู้คนประเมินการอยู่คนเดียวอย่างไม่เป็นธรรม ความโดดเดี่ยวไม่สนใจว่าอยู่คนเดียวจริงหรือไม่ ความโดดเดี่ยวเป็นความรู้สึกส่วนตัว ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับการแยกตัวออกมาอยู่คนเดียวทางกายภาพเสมอไป

ทุกคนล้วนเคยรู้สึกโดดเดี่ยวท่ามกลางฝูงชนมาแล้ว โดยเฉลี่ยแล้วคนโดดเดี่ยวใช้เวลาอยู่กับคนอื่นมากพอ ๆ กับคนที่ไม่โดดเดี่ยว ดังนั้น การอยู่คนเดียวจึงไม่ใช่ผู้ร้ายตัวจริง มันคืออาการไม่ใช่สาเหตุ แม้ว่าการไม่ได้พูดคุยแบบเห็นหน้ากัน สามารถก่อให้เกิดปัญหาได้อย่างแน่นอน แต่มันก็เป็นจุดที่ทำให้เข้าใจผิดในแง่ของความโดดเดี่ยว โดยภาพรวมจากที่เคยคิดว่า มีใครบางคนใส่ใจก็เปลี่ยนเป็นไม่มีใครใส่ใจ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะมองข้ามจำนวนของแนวคิดอันลึกซึ้ง

การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมากมาย ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19  ไม่ว่าจะเป็นเรี่องการเมือง ปรัชญา ศาสนา หรือเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้แนวคิดแบบปัจเจกนิยม ก้าวขึ้นมาอยู่หัวแถว และทำให้เรื่องของชุมชนย้ายไปอยู่ท้ายแถว ทั้งฆราวาสนิยม (Secularism) ประโยชน์นิยม (Utilitarianism) แนวคิดแบบดาร์วิน (Darwinism) แนวคิดแบบฟรอยด์ (Freudianism) ทุนนิยม (Capitalism) และบริโภคนิยม (Consumerism) สัญญาประชาคมเปิดทางให้กับความเป็นอิสระ เปลี่ยนจากการทำเพื่อชุมชนไปเป็นการแข่งขัน และประเด็นนี้ก็เปลี่ยนแปลงขึ้นอีก

ในศตวรรษที่ 20 มีแนวคิดเพื่อขึ้นมา เช่น อัตถิภาวนิยม (Existentialism) และแนวคิดหลังยุคนวนิยม (Postmodernism) แล้วก็ปักใจเชื่อแนวคิดเหล่านั้นมาก เสียจนยากที่จะพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ยอมรับแนวคิดดังกล่าวว่าเป็นวิถีของโลกไปเสียแล้ว คนเราเปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับปัจเจกบุคคลในฐานะหน่วยพื้นฐาน ข้อดีคือเป็นอิสระ แต่สิ่งที่สมองรับรู้คือตอนนี้อยู่ตัวคนเดียวจริง ๆ และนั่นเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมคนเราถึงรู้สึกโดดเดี่ยวท่ามกลางฝูงชนได้

นึกถึงประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงนี้ได้มากมาย แต่กลับมีปัญหาในการระบุสิ่งที่สูญเสียไป แค่รู้สึกไม่สบายใจอย่างบอกไม่ถูก และวิตกกังวลตลอดเวลา รู้สึกดีที่มีอำนาจตัดสินใจเอง และเป็นอิสระโดยไม่ถูกผูกมัดด้วยหน้าที่ทางสังคม แต่สมองรู้ว่านั่นความหมายความว่า คนอื่นก็เป็นอิสระและไม่ได้มีหน้าที่มาคอยดูแลเช่นกัน และวิวัฒนาการตลอดหลายล้านปี ก็ได้สอนร่างกายให้รู้ว่า เรื่องดังกล่าวหมายถึงสิ่งเดียวนั่นคือ จะไม่มีใครมาช่วยทั้งนั้น ต้องพึ่งตัวเอง เคยถูกบังคับให้อยู่ร่วมกันเพราะความจำเป็น แต่เมื่อร่ำรวยขึ้น และไม่จำเป็นต้องเชื่อมสัมพันธ์กันเพื่อความอยู่รอดอีกต่อไป ก็พอเข้าใจได้ที่รู้จักอยากมีอิสระ และอำนาจตัดสินใจมากขึ้น

ความสัมพันธ์ของมนุษย์ เมื่อพูดถึงข้อดีของเกมจีบหนุ่มนั้น มันเป็นเรื่องราวความรักในอุดมคติ พวกเขาต้องการอำนาจควบคุมที่ไร้ความขัดแย้ง และความสะดวกสบายที่มีเพียงเทคโนโลยีเท่านั้น ที่ให้ได้กับใครสักคนที่ไม่ใช่มนุษย์ คนรักเสมือนจริงไม่มีความคาดหวังที่ไม่สมเหตุสมผล เขาจะไม่ปฏิเสธ ทิ้ง หรือทำให้กังวลใจ แล้วถ้าเกิดปัญหาขึ้นมา ก็สามารถเริ่มเกมใหม่ได้โดยไม่ต้องมีการบอกเลิกให้อึดอัดใจ ไม่มีเรื่องให้ทุกข์ใจ และมีข้อดีอยู่บ้าง

เด็กที่ได้รับความนิยมชมชอบจะเรียนเก่งกว่า ต่อมาก็จะมีชีวิตแต่งงานที่มั่นคงกว่า มีความสัมพันธ์ที่ดีกว่า และหาเงินได้มากกว่าเมื่อเป็นผู้ใหญ่ พวกเขามีความสุขมากกว่า และอายุยืนกว่า ความนิยมชมชอบเป็นตัวทำนายผลลัพธ์ที่ดีเหล่านี้ได้มากกว่าระดับ IQ ภูมิหลังครอบครัว หรือปัญหาทางจิตใจ แล้วถ้าถามถึงคนที่ไม่ค่อยมีใครชอบ คงเดาถูก คนเหล่านี้มีความเสี่ยงมากกว่าที่จะเจ็บป่วย มีอาการซึมเศร้า ใช้สารเสพติด และฆ่าตัวตาย

แต่ไม่ว่าอย่างไร ทุกคนล้วนต้องการสถานะเป็นธรรมดา ทุกคนอยากบรรลุสิ่งที่นักจิตวิทยาเรียกว่า เป้าหมายภายนอก ได้แก่ อำนาจ อิทธิพล และการควบคุม สิ่งนี้ฝังรากลึกในสมอง และประเด็นนั้น นำมาสู่ความนิยมทอีกประเภทหนึ่งนั่นคือ ความน่าคบหา ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับเป้าหมายภายใน คนน่าคบหาอาจไม่ได้มีอิทธิพลเหมือนคนสถานะสูง แต่คนเหล่านี้คือคนที่ไว้ใจ และรู้สึกอบอุ่นเมื่ออยู่ใกล้พวกเขา ให้ความร่วมมือ และมีน้ำใจ และความนิยมประเภทนี้ต่างหากที่นำไปสู่ความสุข

หากพรุ่งนี้โดนระเบิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโจมตี สมาร์ทโฟนจะถูกทำลาย แต่นั่นก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางวัฒนธรรมได้อยู่ดี คนเรากำลังเติมเต็มช่องว่างด้วยเทคโนโลยี สถานะ และการควบคุม เพราะไม่มีสิ่งที่ดีกว่านี้ ความกระหายอำนาจคือการพยายามหลีกหนีความโดดเดี่ยว อย่างไรก็ตาม อำนาจไม่เคยทำให้อิ่มเอมใจได้เท่าความรัก มันเป็นเรื่องไร้สาระ แต่ในความไร้สาระทั้งหมดนั้น จะพบความลับที่ว่า ทำไมโลกสมัยใหม่ถึงได้กลายเป็นปัญหานัก รวมถึงเรื่องที่ว่าจะพบความหวัง อันจำเป็นยิ่งสำหรับอนาคต ที่ต้องการในตอนนี้ได้จากที่ไหน

ถ้าร่างกายคนเราสามารถดับความเจ็บปวดได้เอง แล้วทำไมมันถึงไม่ทำ อะไรคือเหตุผลทางวิวัฒนาการที่อยู่เบื้องหลังคำถามที่ว่า ทำไมบางครั้งความรู้สึกอบอุ่นเหล่านั้น ถึงสำคัญพอ ๆ กับการรักษาจริง ๆ ลองคิดอีกมุมว่า ความเจ็บปวดไม่ใช่แค่ผลลัพธ์โดยตรงของการบาดเจ็บ มันบอกให้รู้ว่ามีบางอย่างผิดปกติ และต้องได้รับการแก้ไข ความโดดเดี่ยวทำให้ใส่ใจอารมณ์ด้านลบมากขึ้น เนื่องจากไม่ปลอดภัย ไม่มีใครคอยดูแล และร่างกายก็รู้ว่าเรื่องนี้เลวร้ายอย่างยิ่งต่อคนเราในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นในโลกที่ให้ความสำคัญอย่างมากกับสถานะ และเป้าหมายภายนอก และแทบไม่สนใจความห่วงใย และเป้าหมายภายในเลย จะมีอาการซึมเศร้า ระดับความสุขในโลกตะวันตก ลดลงในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา และอัตราการเกิดโรคซึมเศร้าสูงขึ้น แม้จะประสบความสำเร็จทางวัตถุอย่างยิ่งใหญ่ก็ตาม

การหลอมรวมระหว่างความต้องการส่วนบุคคล และความต้องการของสังคม ทำให้ผู้คนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ทั้งยังได้รู้สึกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งหาได้ยากในสถานการณ์ปกติ ด้วยเหตุนี้จึงกลับสู่ธรรมชาติของความต้องการ ที่จะเชื่อมสัมพันธ์ ฝังรากลึกกว่าความต้องการความสะดวกสบาย และเมื่อสิ่งต่าง ๆ เลวร้ายที่สุดเท่าที่เป็นจริงได้ มนุษย์จะกลายเป็นคนดีที่สุด

ชีวิตมนุษย์ในยุคแรกเริ่ม มีภัยพิบัติเกิดขึ้นเป็นประจำ และไม่สามารถรอดชีวิตได้ หากปราศจากความช่วยเหลือ ไม่มีความเป็นปัจเจกให้เลือกด้วยซ้ำ มีเหตุผลมากมายมหาศาลที่อยากให้เรื่องนั้นกลายเป็นอดีต ไม่จำเป็นต้องพึ่งพากันอีกต่อไป แต่ธรรมชาติยังคงเป็นแบบนั้น ยังคงต้องการกันและกัน แม้แต่ตอนที่จะไม่จำเป็นต้องพึ่งพากัน ถ้าความต้องการของลูกได้รับการตอบสนองหมดแล้ว พ่อแม่ก็คงอยากทำสิ่งต่าง ๆ ให้เขาอยู่ดี จะอยากปกป้องเขาแม้ปลอดภัยแล้ว และอยากหาอาหารให้เขาแม้มีเหลือเฟือ ถ้าลูกมีทุกอย่างที่ต้องการแล้ว ก็ยังคงปรารถนาที่จะดูแลเขาในฐานะวัฒนธรรมหนึ่ง

สถานะที่สูงขึ้น เงินที่มากขึ้น อำนาจที่มากขึ้น และภาระหน้าที่ที่น้อยลง จะไม่ทำให้มีความสุขมากขึ้น ถ้าอยากมีความสุขมากขึ้น ต้องพยายามช่วยเหลือผู้อื่น แล้วความพยายามนั้นจะสำเร็จได้มากขึ้น        ยิ่งคิดว่าความสุขเป็นเรื่องทางสังคมมากเท่าไหร่ ก็จะมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น คนเราสามารถมีความสุขมากขึ้นได้ แต่ถ้าอยากมีความสุขมากขึ้นไปอีก ก็ต้องคิดเสียก่อนว่า จะช่วยยกระดับผู้อื่นไปด้วยอย่างไร

ความโดดเดี่ยวนั้นห่วยแตก และก็โดดเดี่ยวยิ่งกว่าครั้งไหน ๆ ทว่าสาเหตุไม่ใช่เพราะขาดผู้คน แต่เป็นเพราะขาดความเป็นชุมชนมากกว่า และความโดดเดี่ยวเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งมาจากแนวคิดแบบปัจเจกนิยมที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นานนัก ที่จริงยังสามารถตั้งใจที่จะอยู่อย่างสันโดษได้บ้าง เพื่อเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ ค้นหาปัญญา และกลับมาใส่ใจตัวเอง ความนิยมชมชอบเป็นเรื่องดี แต่วัฒนธรรมกำลังเลือกความนิยมผิดประเภท โดยเลือกสถานะ อำนาจ และชื่อเสียงมากกว่าการเป็นคนน่าคบหา

ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่ได้นำไปสู่สิ่งที่ดีเลย การขาดความเป็นชุมชนทำให้สมองเนื้อเทารู้สึกไม่ปลอดภัย และกระตุ้นให้ต้องการมีอำนาจควบคุมมากขึ้น ทั้งในด้านชีวิตและความสัมพันธ์ สิ่งนี้นำไปสู่การเลือกมีความสัมพันธ์ แบบกึ่งมีส่วนร่วมทางสังคมกับเทคโนโลยี ซึ่งไม่อาจเติมเต็มความพึงพอใจได้ โซเชียลมีเดียไม่ใช่สิ่งเลวร้าย แต่เนื่องจากมักใช้โซเชียลมีเดียเพื่อแทนที่ความสัมพันธ์และชุมชนของจริง บ่อยครั้งอันตรายของมันจึงมีมากกว่าข้อดี

การที่ความสุขลดลงและภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้นนั้น เป็นผลมาจากสังคมที่มีความเป็นปัจเจกสูง พยายามอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ตัวเองมีอิสระ และอำนาจควบคุมที่มากขึ้น ซึ่งเพราะรู้ตัวดีแต่ลึก ๆ แล้ว การฉายเดี่ยวไม่ใช่ธรรมชาติของมนุษย์ เพราะถ้าเป็นแบบนั้นจริง ปรากฏการยาหลอกก็คงไม่ได้ผล คนเราต้องการให้ใครสักคนพูดว่า ทุกอย่างจะเรียบร้อย ฮีโร่ต้องคอยช่วยเหลือผู้อื่นก็จริง แต่บางครั้งเขาเองก็ต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นด้วย

สรุปได้ว่า ความหมายของชีวิตคือสิ่งที่ต้องเชื่อมโยงทุกสิ่งในชีวิต แทบจะตรงกับคำจำกัดความเลย ภายใต้เปลือกนอกอันผิวเผิน ความหมายของชีวิตต้องเป็นแรงผลักดันเบื้องหลังการกระทำส่วนใหญ่ ทำให้มีความสุขเมื่อได้ดำเนินชีวิตไปตามนั้น และไม่มีความสุขเมื่อไม่ได้ทำ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ช่วยเพิ่มความหมายในชีวิต การเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคือเหตุผลว่า ทำไมพลังพิเศษของสายพันธุ์จึงเป็นการร่วมมือกัน ได้เห็นมาแล้วว่า การติดยาเสพติดได้เข้ามาควบคุมสมองส่วนที่ให้ความสุข เมื่อเข้าสังคมและยังได้เห็นแล้วว่า ปรากฏการณ์ยาหลอกรักษาอาการป่วยด้วยการบอกร่างกายว่า มีคนคอยห่วงใย

คนเราสามารถเป็นส่วนหนึ่งของเผ่าเดียวกัน และแบ่งปันเรื่องราวของการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มได้เสมอ หาวิธีเชื่อมสัมพันธ์ได้นับไม่ถ้วนถ้าพยายาม ไม่จำเป็นต้องพึ่งสงครามหรือภัยพิบัติ เพื่อกู้คืนภาวะของการร่วมมือกัน ในศตวรรษที่ 19 เรื่องราวที่ครองอิทธิพลเปลี่ยนแปลงไป แต่สามารถเปลี่ยนมันอีกครั้งได้ถ้าต้องการ หากถึงเวลาแล้วที่จะต้องใช้วิทยาศาสตร์ให้น้อยลง และใช้เรื่องราวให้มากขึ้น

การวิจัยในปี 2020 เผยว่า พบว่าหลักฐานโดยเรื่องเล่าโน้มน้าวใจได้มากกว่าหลักฐานทางสถิติ เมื่อการมีส่วนร่วมทางอารมณ์อยู่ในระดับสูง อย่างเช่น ตอนที่ประเด็นปัญหาเป็นเรื่องของภัยคุกคามรุนแรง สุขภาพ หรือใครสักคน จะไม่พบความหมายของชีวิตด้วยทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ จำเป็นต้องมีเรื่องราวของการรวมเป็นหนึ่ง ที่เป็นมากกว่าแค่เรื่องปัจเจกบุคคล เรื่องราวที่ทำให้รู้สึกได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม มาร์ก ทเวน เขียนไว้ว่า จงอย่าละทิ้งภาพลวงตา เมื่อภาพลวงตาหายไป อาจจะยังมีชีวิตอยู่แต่หยุดใช้ชีวิตไปแล้ว การต้องเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และทุกคนล้วนต้องมีเรื่องราวเพื่อรวมใจกัน ดังนั้น นี่ไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นจุดเริ่มต้น