Pivot points คือ

Pivot points คือระดับแนวรับแนวต้านที่เป็นตัวช่วยในการดูทิศทางการแกว่งตัวของราคา โดยจะใช้ระดับ High, Low และ Close จากวันก่อนหน้าในการคำนวณ

Pivot points คือ

โดยต้นกำหนดของ Pivot points มาจากพวก Floor trader หรือนักเทรดรุ่นเก่าที่ซื้อขายหุ้นบนกระดาน (สมัยก่อนไม่มีโปรแกรมเทรด จะใช้ดูการขึ้นลงของราคาเป็นกระดาน) ในพวกสาย Day trade เค้าจะดูราคา High, Low และ Close ของวันก่อนหน้ามาคำนวณ Pivot point เพื่อจุดเข้าจุดออกในวันถัดมา

การคำนวณ

โดยทั่วไปในกราฟพวกราย 1 นาที, 5 นาที และ 15 นาที จะคำนวณค่า High, Low และ Close จากวันก่อนหน้า 

กราฟราย 30, 60 และ 120 นาที จะคำนวณค่า High, Low และ Close จากสัปดาห์ก่อนหน้า

กราฟรายวัน จะคำนวณค่า High,Low และ Close จากเดือนก่อนหน้า

และกราฟรายสัปดาห์และเดือนจะคำนวณค่า High, Low และ Close จากปีก่อนหน้า

โดยระดับ Pivot points ในปัจจุบันจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะเข้าสู่รอบการคำนวณใหม่ เช่น วันถัดไป, สัปดาห์ถัดไป, เดือนถัดไป และ ปีถัดไป

การคำนวณ pivot points

สูตรการคำนวณ

ค่า Standard Pivot Points จะเริ่มต้นคำนวณจากค่าเฉลี่ยของ High, Low และ Close จากนั้นนำมาคำนวณต่อเพื่อหาระดับแนวรับและแนวต้าน

Pivot Point (P) = (High + Low + Close)/3
Support 1 (S1) = (P x 2) – High
Support 2 (S2) = P  – (High – Low)
Resistance 1 (R1) = (P x 2) – Low
Resistance 2 (R2) = P + (High  – Low)

ทั้งนี้ค่า High, Low และ Close จะใช้ ณ ทั้งช่วงของรอบการคำนวณ เช่น ในกราฟราย 5 นาที ก็จะใช้ High, Low และ Close ของวันก่อนหน้า ส่วนในกราฟรายวัน ก็จะใช้ High, Low และ Close ของเดือนก่อนหน้า เป็นต้น

Fibonacci Pivot Points

การคำนวณ Pivot Points ที่ใช้ลำดับค่าของ Fibonacci ในการคำนวณ จะแตกต่างจาก Standard Pivot Points อยู่เล็กน้อย

Pivot Point (P) = (High + Low + Close)/3
Support 1 (S1) = P – {.382 * (High  – Low)}
Support 2 (S2) = P – {.618 * (High  – Low)}
Support 3 (S3) = P – {1 * (High  – Low)}
Resistance 1 (R1) = P + {.382 * (High  – Low)}
Resistance 2 (R2) = P + {.618 * (High  – Low)}
Resistance 3 (R3) = P + {1 * (High  – Low)}

Fibonacci Pivot Points

Demark Pivot Points

เป็นการคำนวณ Pivot Points ในอีกรูปแบบหนึ่งเช่นเดียวกัน โดยจะใช้ความสัมพันธ์ระหว่าง Close และ Open เข้ามาเป็นเงื่อนไขในการคำนวณ

If Close < Open, then X = High + (2 x Low) + Close
If Close > Open, then X = (2 x High) + Low + Close
If Close = Open, then X = High + Low + (2 x Close)

Pivot Point (P) = X/4
Support 1 (S1) = X/2 – High
Resistance 1 (R1) = X/2 – Low

Demark Pivot Points

การใช้งาน

ดูความแข็งแกร่ง

การใช้ระดับ Pivot Point สามารถดู Price action ของราคา โดยสังเกตจากระดับ Pivot Point (P) ถ้าราคาสามารถขึ้นผ่านระดับดังกล่าวได้ แสดงถึงความแข็งแกร่งของราคาในช่วงนั้น มีโอกาสที่จะได้เห็นการปรับตัวขึ้นต่อเพื่อทดสอบแนวต้านระดับแรก (R1) และถ้าราคายังสามารถทะลุ R1 ได้อีก ก็มีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นต่อสู่ R2 

ในทางตรงกันข้าม ถ้าราคาอ่อนตัวหลุดระดับ P ลงมาก็แสดงถึงแนวโน้มที่อ่อนแอ มีโอกาสลงแตะระดับ S1 และถ้ายังหลุด S1 อีก ก็มีโอกาสลงแตะ S2 ในอนาคต

แนวรับแนวต้าน

ระดับ Pivot Points สามารถแนวมาใช้เหมือนกับการดูแนวรับแนวต้านทั่วไปเลย โดยเมื่อราคาอ่อนตัวใกล้แนวรับ ก็มีโอกาสเด้งกลับ หรือ เมื่อราคาขึ้นชนแนวต้าน ก็มีโอกาสชะลอตัว 

ทั้งนี้ควรมีการดูแนวโน้ม หรือ การยืนยันการกลับตัวประกอบอื่นด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรด

Overbought/Oversold

ในแนวรับแนวต้านระดับที่ 2 (S2 / R2) สามารถบ่งชี้ถึงสัญญาณ Overbought และ Oversold ได้เช่นเดียวกัน 

Pivot points S2

สรุป 

Pivot Points เป็นเครื่องมือที่ไว้ช่วยหาระดับแนวรับแนวต้าน เพื่อดูพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคา โดยระดับ Pivot Points จะใช้เป็นตัวกำหนดทิศทางราคาในอนาคต ถ้าหากราคาขึ้นผ่านระดับ P ก็แสดงถึงโมเมนตัมเชิงบวก แต่ถ้าราคาลงผ่านระดับ P ก็แสดงถึงโมเมนตัมเชิงลบ และในส่วนแนวรับแนวต้านก็สามารถใช้เป็นเป้าหมายในการขึ้นลงของราคาในรอบนั้นได้ ซึ่ง Pivot Points สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลาย Timeframes

อีกทั้งการยืนยันสัญญาณการกลับตัวจาก Indicator หรือ เครื่องมืออื่นๆ เช่น รูปแบบการกลับตัวของแท่งเทียน, RSI เกิด Overbought/Oversould หรือ MACD ยืนยันรอบการขึ้น เป็นต้น จะช่วยให้การเทรด Pivot Points มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง