สรุปหนังสือ My Money My Way
การเงินฉันมันแย่ เลยพลิกชีวิตเป็นตัวแม่ด้านการเงิน
สุขภาพการเงินคือสุขภาพจิต และนั่นคือสิ่งที่ไม่เคยถูกสอนกันมา รู้สึกผิดเรื่องเงิน มีปัญหาเรื่องการเก็บเงิน จะขอเงินทีหนึ่งก็มีเรื่องทีหนึ่ง จ่ายเงินเวลารู้สึกดี และก็จ่ายเงินเวลารู้สึกแย่ แล้วก็ไม่รู้ว่าจะจัดการมันยังไง หรือต้องทำอะไรกับมันไหม ไม่รู้ว่ามีเงินเหลืออยู่เท่าไหร่ และที่แน่ ๆ ไม่รู้ว่าต้องการใช้เงินเท่าไหร่
นั่นเป็นเพราะว่า หลายช่วงเวลาที่ตัดสินใจควักเงินจ่าย มันขึ้นอยู่กับว่าในเวลานั้นกำลังรู้สึกอะไร กำลังจ่ายเงินออกจากความขวัญเสีย กลัว รู้สึกไม่ปลอดภัย นับถือตัวเองต่ำ กังวลสงสัย อับอาย และอารมณ์ซับซ้อนอื่น ๆ ของมนุษย์ ที่เอาตรง ๆ เวลามีอารมณ์เข้ามาทำให้คุณภาพชีวิตเละเทะไปหมด นั่นแหละคือสิ่งที่จะมีในหนังสือเล่มนี้
ไม่ว่าจะมีเงินเดือนหรือหนี้บัตรเครดิตเท่าไหร่ สมควรที่จะได้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีค่าพอที่จะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี สมควรที่จะได้จ่ายเงินซื้อของที่ฝันว่าอยากได้มานาน โดยรวมมันคือการที่รู้ตัวว่าต้องการอะไรจริง ๆ มากกว่าการบอกตัวเองว่าไม่ควรซื้ออะไร เริ่มจากการตั้งคำถามว่าอยากให้เงินทำอะไรให้ อยากจะให้เงินช่วยอย่างไร แล้วการทำงบประมาณเป็นวิธีที่ให้เกียรติตัวเอง แทนการปฏิเสธความอยากของตัวเอง
เรื่องของเรื่องคือคนที่มีความกังวลเรื่องการเงิน จะไม่ค่อยรู้จักตัวเอง ไม่ค่อยรู้ว่าอยากจะได้อะไร หรืออะไรที่จะมาทำให้รู้สึกว่าชีวิตได้รับการถูกเติมเต็ม ไม่รู้ว่าอะไรที่ทำให้มีความสุขด้วยเหตุนี้ พวกเขาเลยจ่ายเงินไปกับสิ่งของหรือประสบการณ์ ด้วยความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย แบบไม่รู้ตัวด้วยความอยากที่ต้องการจะเข้าพวก หรือต้องการไปเป็นแบบคนอื่น หรือพวกเขาก็ไม่รู้จริง ๆ ว่าอะไรที่ทำให้เขารู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า พวกเขาไม่รู้ว่าชีวิตที่มีอิสระและเหลือกินเหลือใช้คืออะไร เพราะพวกเขายังไม่เคยระบุสิ่งนี้ให้กับตัวเอง
ในหนังสือเล่มนี้จะมาบอกว่าให้คิดเรื่องเงินด้วยมุมมองที่เปลี่ยนไป เพื่อที่จะได้ตัดสินใจได้ถูก จะได้ทำการตัดสินใจจากสถานการณ์เฉพาะส่วนบุคคลของตัวเอง สิ่งใดที่มีค่า สิ่งไหนที่กระตุ้นอารมณ์ สิ่งที่ต้องการ เมื่อตีโจทย์เรื่องพวกนี้ออกมาแล้ว แผนการเงินเพื่อเอาไว้ให้ปฏิบัติตาม มันจะก่อตัวขึ้นมาเอง มันไม่ใช่การลดความเป็นอยู่ที่ดี แต่มันคือความปรารถนาที่ต้องการ ตัวเราไม่ใช่ตัวปัญหา ความละอายใจ ความรู้สึกผิด และความคาดหวังทางสังคมคือตัวปัญหา ตัวเราคือวิธีแก้ปัญหาต่างหาก หนังสือเล่มนี้จะมอบความมั่นใจให้เชื่อมั่นในตัวเอง ได้รับแสงสว่างพร้อมหัวใจที่เปิดกว้างว่าจะลองดูอีกสักตั้ง มันจะทำให้เปล่งประกายขึ้นมา
บทที่ 1
ไอศกรีมโคนที่เปลี่ยนชีวิต
เรื่องเกี่ยวกับงบประมาณที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ มันไม่ได้เกี่ยวกับเงิน มันเกี่ยวกับตัวเอง การทำงบประมาณคือการมีพัฒนาการในชีวิตส่วนตัวแบบเนียน ๆ ถ้ารู้ว่าต้องการอะไรจากเงิน ขั้นตอนที่ให้ได้เงินมาจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะมีมากหรือน้อยเท่าไร เรื่องของเรื่องก็คือคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าต้องการอะไรจากเงิน การกำหนดงบประมาณบังคับให้เข้าใจตัวเองใหม่หมด เพราะมันจะถามว่าต้องการจะเอาเงินไปบรรลุเป้าหมายอะไรที่มากกว่าแค่จ่ายใบแจ้งหนี้
จึงต้องมากำหนดว่าความสำเร็จ มันรู้สึกและมีหน้าตาเป็นอย่างไร สำหรับชีวิตและเรียนรู้ที่จะพูดถึงปัญหาที่ซุกอยู่ใต้พรม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ยั้งมือตัวเองในการซื้อของไม่ได้ เมื่อมีเป้าหมายที่เริ่มชัดเจนมากยิ่งขึ้น ก็จะเริ่มทำงบประมาณการเงินของตัวเองเปลี่ยนไป พร้อมออกแบบปฏิทินคุมงบประมาณที่จับต้องได้ เพราะมันทำให้เห็นภาพสถานะทางการเงินทุกรายได้ที่เข้ามา ลงในงบประมาณที่กำหนดไว้จนเหลือ 0 นี่คือส่วนที่เรียกว่าการคุมงบจากรายรับ เมื่อเอาความต้องการมาออกแบบการเงิน และกลับมาเป็นผู้ควบคุมการใช้ชีวิตของตัวเอง
ให้มองเงินเป็นเครื่องมือแทนศัตรู เหตุผลที่การวางแผนทางการเงินต่าง ๆ ไม่รอด เพราะให้ความสนใจกับตัวเลข และลืมเรื่องที่สำคัญจริง ๆ ไปนั่นคือ ตัวเอง ชีวิตครอบครัว อะไรที่ทำให้เบิกบานใจ มีความสุข มีความมั่นใจ และรู้สึกมีอิสระ ไม่ใช่แค่อิสรภาพทางการเงิน แต่เป็นความอิสระที่จะใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพชีวิตมากกว่าเงิน การมีโอกาสได้เลือกนั้นดีกว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ในบัญชี การได้ใช้เวลาอยู่กับลูก การได้ให้อะไรกลับไปให้ครอบครัว การสร้างความทรงจำที่ไม่มีวันลืมร่วมกัน การใช้ชีวิตโดยปราศจากความกังวลด้านการเงิน การเชื่อมั่นในตัวเอง และการได้มีชีวิตอยู่ชั่วขณะ ที่จะทำให้วันที่เหลือมีแต่เรื่องดี ๆ
การทำงบประมาณไม่ใช่การเข้มงวดเรื่องการใช้จ่าย มันคือการขยายขอบเขตตัวเลือก มันคือคุณภาพชีวิต มันคือความสงบสุข ความพึงพอใจ และการฉลองชัยชนะ มันคือความรู้สึกที่ได้เติมเต็ม และสร้างความทรงจำขนาดใหญ่ที่สวยงาม ไม่ว่างบจะน้อยมากแค่ไหน
บทที่ 2
ความกลัวเรื่องเงินไม่ได้เกิดจากเงิน
บาดแผลทางใจแผลนั้นจะมีอิทธิพลกับวิธีที่มองทุกสิ่งบนโลก โดยเฉพาะวิธีที่คิดถึงเรื่องเงิน เพราะความรู้สึกว่าปลอดภัยแค่ไหน มีผลกระทบต่อแนวคิดเรื่องเงิน ความกังวลเรื่องเงินไม่ได้มาตอนนาทีที่เปิดบัญชีหรือสมัครบัตรเครดิต มันเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ถูกทำให้รู้สึกกลัว ไม่ว่าจะแข็งแกร่งแค่ไหน อารมณ์จะเข้ามาเล่นงานได้ตลอด เมื่อความกลัวและความเหงาบุกเข้ามาในจิตใต้สำนึก จะรู้สึกเหมือนอยู่ในสมรภูมิรบอยู่คนเดียว ไม่มีอะไรง่ายเลย และทุกอย่างก็เหมือนแล้วแต่ดวง มันเหนื่อยมาก และความท้อนั้นจะกัดกร่อนความเชื่อมั่น จะเริ่มคิดว่าชีวิตมันยาก
มันไม่ได้เกี่ยวกับจำนวนเงิน
การที่มีเงินเยอะไม่ได้แปลว่ามีทางออกที่ดี การมีกลยุทธ์ต่างหากคือทางออก ความจริงคือเงินไม่ได้ทำให้ร่ำรวย แต่มันไม่สำคัญเลยว่าทำเงินได้เท่าไหร่ถ้าบริหารมันไม่เป็น ตัวเงินอย่างเดียวไม่เท่ากับชีวิตที่มีความสุขและประสบความสำเร็จ การบริหารเงินจนวันหนึ่งสามารถมีชีวิตในแบบที่รับได้นั่นต่างหากคือความสำเร็จ เมื่อบริหารเงินจะเริ่มใช้มันช่วยทำเรื่องที่รู้สึกว่าสำคัญต่อชีวิตจริง ๆ ได้ แน่นอนว่าไม่เชื่อการตัดสินใจเรื่องการเงินของตัวเอง ไม่เชื่อว่าชีวิตที่อยู่ได้อย่างไร้กังวลมันเป็นไปได้ ก็เลยถมหลุมในชีวิตด้วยอะไรก็ได้ ที่มันง่ายกับการซื้อของครั้งถัดไป ที่กันออกห่างจากความจำเป็น ความต้องการ และความฝัน มันกันออกห่างจากภาพในหัว และการสร้างชีวิตที่มีเหลือกินเหลือใช้
ชีวิตที่เหลือกินเหลือใช้
ขั้นตอนหนึ่งของการมีชีวิตที่มีพอกินพอใช้และมีความสุขคือ การยอมรับให้ได้ว่าชีวิตที่ไม่ต้องลำบากเรื่องการเงินมีอยู่จริง แต่ถ้าหากว่าสิ่งที่สำคัญคือการกลายไปเป็นคนที่มีชีวิตดีขึ้น และใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย ตอนนั้นจำนวนเงินไม่ว่าจะมากหรือน้อย จะไม่ใช่ประเด็นเลย สิ่งที่สำคัญคือเปลี่ยนแปลง โตขึ้น ลงมือทำ และสร้างชีวิตที่รัก
วิธีที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย
- ค้นหาทำไมให้เจอ จุดมุ่งหมายสูงสุดจะได้เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิต และภาพที่อยากจะเป็น เพื่อเป็นแรงบันดาลใจสำหรับวินัยทางการเงิน
- สร้างความตระหนักเรื่องการเงิน และหาว่ากำลังรู้สึกอะไรอยู่ แล้วความเชื่ออะไรที่ทำให้มีรูปแบบการใช้จ่ายที่สุ่มเสี่ยง
- จัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายทางการเงิน และเรียงลำดับมันตามความสำคัญในชีวิต
- ออกแบบปฏิทินคุมงบประมาณ และใช้งบตามความต้องการ เงินเดือน และวิธีการใช้ชีวิต
- สร้างงบที่ทำได้จริง และเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงอาการหมดไฟ
- สร้างความสัมพันธ์กับวิธีการใช้เงิน และเรียนรู้ที่จะแยกแยะระหว่างความจำเป็นกับความต้องการ
- สร้างแผนการจัดการหนี้ และหาว่าอะไรที่ทำให้มีพลังงานไปต่อสู้กับหนี้
- สร้างเส้นทางเกษียณ และปฏิบัติกับการเกษียณให้เป็นมากกว่าเส้นชัยปลายทาง
- ลงทุนในเป้าหมายตัวเอง และอนุญาตให้สร้างอนาคตของตัวเองขึ้นมา
แผนนี้จะช่วยให้สร้างพื้นฐานทางอารมณ์ที่มั่นคง และสอนทักษะที่ต้องการเพื่อให้ไปต่อยอด
บทที่ 3
เริ่มจากการตอบคำถามพวกนี้ให้ได้ก่อน
ถ้าแต่งงานแล้ว ที่ปรึกษาชีวิตคู่อาจเคยบอกว่า อย่าเอาอารมณ์มาเป็นตัวตั้งเวลาคุยกันเรื่องเงินกับคู่สมรส เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้ง แนวคิดก็คือว่าการเอาอารมณ์ออกจากสมการ จะช่วยให้ตัดสินใจเรื่องเงินได้ดีขึ้น สุขุมขึ้น และตรงเป้าหมายมากขึ้น แต่วิธีการคุมงบจากรายรับนั้นใช้วิธีการต่างไปอีกแบบ อารมณ์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริหารเงิน
วิธีหาทำไมให้เจอ
ทุกคนสามารถอนุญาตตัวเองให้มีแรงบันดาลใจจากสิ่งที่ตัวเองสนใจได้ ต้องรู้ว่าเป้าหมายคืออะไร ก็จะได้รู้ว่าเส้นทางการเงินจะวิ่งไปทางไหน ซึ่งขั้นตอนที่จะบอกจุดมุ่งหมายของตัวเองได้คือ
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นจากการตั้งเป้าหมายแล้วถามคำถามถัดไป ตัวอย่างเช่น บางทีเป้าหมายอาจจะเป็นการจ่ายหนี้ค้างชำระให้หมด แล้วทีนี้ให้ถามคำถามถัดไป แล้วมันทำไม ทำไมต้องอยากจ่ายหนี้ให้หมด มันจะทำให้วิถีการใช้ชีวิตดีขึ้นหรือเปล่า มันจะทำให้กลายเป็นคนที่มีความสุขขึ้นหรือเปล่า หรืออย่างอื่นที่ดีกว่า อะไรคือเหตุผลเบื้องหลังเหตุผล
ขั้นตอนที่ 2 ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่กว่าตัวเอง ถามตัวเองว่าใครหรืออะไรในชีวิต ที่การเงินของฉันส่งผลกระทบไปถึงนอกจากตัวเอง มันคือคำถามสร้างความกระจ่าง มันจะช่วยได้มากถ้าทำไมของคุณเป็นสิ่งที่นอกเหนือจากตัวเอง เป้าหมายที่ลึกลงไปขยายขอบเขตออกไป เป็นส่วนสำคัญในการสร้างทำไมที่คงทนถาวร
ขั้นตอนที่ 3 จินตนาการให้เห็นภาพ รู้สึกถึงภาพนั้นเหมือนมันเป็นของจริง ภาพนั้นคือสิ่งที่บันดาลใจให้เก็บออม และต้านทานความรู้สึกอยากซื้อของ พอไปอยู่ในจุดที่มองเห็นค่าเป้าหมายของตัวเองสำเร็จ ตอนที่สัมผัสภาพนั้นได้จะเห็นว่ากำลังสู้เพื่ออะไร มันจะทรงพลังยิ่งกว่าชีวิตปลอดหนี้มาก
อะไรที่ต้องหลีกเลี่ยงตอนหาทำไม
ทำไมอาจหมายถึงคนอยากไปเที่ยว อยากที่จะสามารถทุ่มทุนกับการเดินทางที่สวยงามขนาดใหญ่สักปีละครั้ง นี่เป็นการตั้งโจทย์ง่ายเกินไป พวกเขาไม่ได้ขุดหาทำไมในระดับที่ลึกพอ หากทำไมเปลี่ยนตามเวลาที่เปลี่ยนไปมันก็ไม่เป็นไรเลย ขอแค่ยังมีวันที่ระบุไว้ชัดเจน เช่น จะออกเดินทางวันไหน หรือเป้าหมายในการออมอยู่ที่เท่าไหร่ แต่ทำไมอย่างแรกควรบอกใบ้พาไปหาทำไมอันถัดไปที่ลึกขึ้น
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าข้ามขั้นตอนหาเหตุผลว่าทำไม
การมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จทางด้านการเงิน มีความหมายหลาย ๆ แบบกับคนหลาย ๆ คน มันเลยเป็นเรื่องสำคัญที่ควรเข้าใจว่า เรื่องนี้มีความหมายอย่างไร การทำแบบฝึกหัดเพื่อหาทำไม และจินตนาการให้เห็นเป็นภาพในหัว จะกลายเป็นเส้นแบ่งครึ่งระหว่างความสำเร็จกับความล้มเหลว หากพูดถึงเรื่องเงินมีหลายคนมากที่ข้ามขั้นตอนนี้ไป พวกเขาไม่ใช้เวลาที่จะสะท้อนทำไมของตัวเอง หรือหาแรงจูงใจในระดับลึก และน่าเสียดายมากที่นั่นคือวิธีการเร็วสุดในการล้มเหลวเรื่องการเงิน เพราะไม่เข้าใจว่าจะอยากมีเงินไปเพื่ออะไร
บทที่ 4
เหตุผลจริง ๆ ที่ซื้อ
นิสัยการใช้เงินถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ที่ยังเป็นเด็ก ปัญหาการใช้เงินมักอยู่ภายใต้การใช้จ่ายเกินตัว เมื่อกำลังสู้กับความมั่นใจในตัวเอง ความรู้สึกไม่สบายใจในรูปลักษณ์ จึงทำให้รู้สึกเป็นทุกข์กับหน้าตา ไม่รู้สึกว่าเข้าพวก ไม่แน่ใจว่าเป็นใครและต้องการอะไร
ชีวิตที่ไม่รู้ตัวก็เหมือนใช้จ่ายเงินในความมืด
การใช้จ่ายเงินกลายเป็นนิสัยและรางวัล ต้องทำเวลาเบื่อ หรือต้องการจะหลีกหนีจากความวุ่นวาย นิสัยการจ่ายเงินจริง ๆ มันเกิดขึ้นจริงภายใต้นิสัยการใช้จ่ายเหล่านั้น หากเป็นความขัดแย้งทางอารมณ์ที่ไม่ได้รับการแก้ไขกับเงิน มันจะเป็นเรื่องที่ลึกลงไปกว่านั้นเสมอ และการใช้จ่ายเกิดจากการเชื่อมต่ออารมณ์
ขั้นตอนแรกในการที่จะชนะศึกการเงินครั้งนี้คือ มองเข้าไปในกระจกและเผชิญหน้ากับความเป็นจริง จ่ายไปเท่าไหร่แล้ว จ่ายไปกับของประเภทไหน หากรู้สึกว่าการใช้จ่ายมันเกินกว่าที่จะควบคุมมันได้ ค้นพบว่าไม่ว่าจะตั้งเป้าหมายการเงินอะไรให้ตนเอง แล้วเจอว่ามักวนกลับมาที่เดิมเสมอ มันก็เป็นไปได้ว่ากำลังสู้กับความขัดแย้งทางอารมณ์ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
ขั้นต่อมาปัญหาจากอารมณ์กำลังควบคุมกระเป๋าเงินอยู่ เรียกกระบวนการนี้ว่า เป็นการพัฒนาความรู้ตัวเวลาตัดสินใจ มันคือการเข้าใจว่าทำไมแสดงออกในแบบที่ทำ และอะไรที่ต้องเปลี่ยนบ้าง ให้ระบุรูปแบบและปรับเปลี่ยนโดยอิงจากสิ่งที่เกิดขึ้น และเริ่มเข้าไปแก้ปัญหาที่แท้จริงที่เกิดขึ้นภายในใจ และนั่นคือเรื่องที่ต้องระบุให้ได้ตั้งแต่แรก
หากต้องการที่จะให้การเงินเข้าที่เข้าทาง หาให้เจอว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เครียดตลอดเวลา แล้วนิสัยการใช้จ่ายเกินตัวจะค่อย ๆ อาการดีขึ้น และวิธีการที่ดีที่สุดที่จะสร้างมันขึ้นมาคือ ต้องซื่อสัตย์และไม่ตัดสินตัวเอง ตัวเราจะควบคุมการเงินของตัวเองไม่ได้เลย ถ้าไม่ตระหนักถึงความรู้ตัวในชีวิตการเงิน
เป็นนักจ่ายแบบไหน
ให้ลองพิจารณาตัวเองดูว่าเป็นนักจ่ายประเภทไหน อะไรในรายการที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของตนเองมากที่สุด
นักจ่ายรีไซเคิล คนประเภทนี้จะชอบซื้อของมาแล้วรู้สึกผิดทีหลัง เลยเอาของไปคืนแล้วมันก็กลายเป็นวงจรซื้อแล้วก็คืน วงจรนี้วิ่งบนความรู้สึกผิด ถ้าเป็นคนประเภทนี้ลองถามตัวเองดูว่า ที่มาของความรู้สึกผิดนี้น่าจะเกิดจากอะไร
นักกักตุน คนประเภทนี้จะเป็นฝ่ายเก็บเงิน และไม่เอาไปใช้จ่าย หรือเอาไปลงทุนด้วย พวกเขาจะซื้อของหรือแม้แต่กับของราคาสูงด้วยเงินสด
นักซื้อแบบหยุดไม่ได้ บุคคลเหล่านี้ซื้อเพื่อมาตอบโจทย์ความต้องการหรือปัญหาในใจ หลายครั้งปัญหาก็มักจะเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยเงิน
นักซื้อใจเร็ว คนประเภทนี้อยากได้ปุ๊บจ่ายปั๊บ พอเจออะไรที่ต้องตาก็จะหยิบบัตรเครดิตขึ้นมา
นักจ่ายกลัวตกข่าว นักช้อปเหล่านี้จะไปที่ร้านมือสองหรือร้านลดราคา เพราะสำหรับพวกเขาถูกที่สุดคือดีที่สุด และจะกลัวมากหากพลาดโอกาสในการซื้อของราคาดีไป
นักช้อปเล่นใหญ่ คนประเภทนี้จ่ายเงินเพื่อเฉลิมฉลอง ทำให้บรรยากาศในวันนั้นพิเศษและน่าจดจำ พวกเขาอยากจะรู้สึกยิ่งใหญ่ผ่านการจ่ายเงิน
นักช้อปขี้เบื่อ คนประเภทนี้ซื้อเพราะต้องการเรื่องเบี่ยงเบนความสนใจ หรือทำให้เขารู้สึกสนุกอยู่
ทั้งนี้มีโอกาสสูงที่จะเห็นภาพตัวเองอยู่ในหมวดนักจ่าย และนั่นเป็นเรื่องปกติสุด ๆ นักจ่ายทั้งหมดมีสิ่งหนึ่งที่มีร่วมกัน และทุกคนก็เป็นคือพวกเขาเป็นนักจ่ายตามอารมณ์
บทที่ 5
การชี้เป้าจุดบอด
เพื่อสำรวจลึกขั้นถึงปัญหาภายใต้การตัดสินใจใช้จ่าย ถึงวิธีการตรวจสอบความสัมพันธ์กับเงิน มันเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก แต่มีปัจจัยหลัก ๆ อยู่ 2 ปัจจัยที่จะตีกรอบวิธีการ ที่จะได้เงิน จ่ายเงิน หรือบริหารเงิน
ปัจจัยแรกคือ สารที่ได้รับตอนเป็นเด็กเกี่ยวกับคุณค่าของเงิน ข้อมูลมากมายแทรกเข้ามาในจิตใต้สำนึกในเรื่องเกี่ยวกับเงิน และข้อความเหล่านั้นก็ติดตัวมาตลอดชีวิต มันสอนว่าต้องรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องเงิน และต้องใช้เงินอย่างไร
ปัจจัยที่ 2 มุมมองที่มีต่อเงินคือ รูปแบบประสบการณ์ที่ได้รับจากช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต พอเริ่มที่จะบริหารจัดการเงินเอง จะทำอะไรให้มีเงินพอจ่ายสำหรับสิ่งที่ต้องการบ้าง ที่อาจจะไม่เคยตั้งคำถามกับกระแสเงินสด เพราะครอบครัวหรือคู่ชีวิตอาจเป็นคนสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ ทำให้กลายเป็นคนใช้จ่ายแบบไม่ค่อยคิดอะไร ดร.ไอลีน เอฟ. แกลโล รอสส์ พูดถึงสิ่งที่เรียกว่าเงิน 3 มิติที่มีความเกี่ยวข้องกับเงิน ดังนี้
มิติแรกคือ การได้เงินมา ได้รับเงินมาด้วยวิธีไหน ต้องมีเงินเยอะแค่ไหน ถึงจะรู้สึกว่าชีวิตมีความปลอดภัยมั่นคง บางทีอาจจะเชื่อว่าเงินคือรากฐานของความชั่วร้ายทั้งปวง เลยไม่ได้ใช้เวลากับมันมากในการหาเงินเข้า หรือถ้าไปให้สุดอีกทางอาจเชื่อว่า ไม่มีทางมีเงินเพียงพอ ก็เลยใช้เวลาทั้งหมดตามล่าหาเงิน
มิติที่ 2 คือ การจ่ายเงินออกไป พอหาเงินได้แล้วก็เกิดคำถามใหม่ว่า จะทำอะไรกับเงินก้อนนี้ดี ฝั่งนึงอาจจะเป็นสะสมเพื่อความมั่งคั่ง ส่วนอีกฝั่งจะเป็นจ่ายอย่างยั้งมือไม่ได้
มิติที่ 3 คือ การบริหารจัดการเงิน ฝั่งหนึ่งพวกเขาจะมีความเป็นระเบียบมากกว่าคนปกติ และควบคุมการเงินของตัวเอง อีกฝั่งพบกับคนที่ไร้ระเบียบอย่างสมบูรณ์ และไม่ทราบว่าสภาพการเงินของตัวเองตอนนี้เป็นอย่างไร
การจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเงิน ล้วนต้องการความสมดุลในทั้ง 3 มิติ ควรสร้างชีวิตที่รู้สึกพึงพอใจและสงบสุข เพราะฉะนั้นลองสำรวจความสัมพันธ์กับเงิน
วิธีที่ทำให้ตัวเองรู้ตัวเวลาจ่ายเงิน
ขั้นที่ 1 บันทึกค่าใช้จ่าย ให้รวบรวมใบเสร็จและรายการบัญชีทั้งหมดมา นั่งไล่รายการฝั่งซ้ายมือ เขียนจำนวนเงินของแต่ละรายการที่จ่าย และฝั่งขวามือลงมือระบุรายละเอียดค่าใช้จ่าย อย่าลืมเขียนไล่รายจ่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นที่เกิดจากบัตรเครดิต บัตรเดบิต และเงินสด
ขั้นที่ 2 สร้างหมวดหมู่งบประมาณ อย่างแรกระบุหมวดหมู่สำหรับงบประมาณ เป็นการแบ่งกลุ่มประเภทค่าใช้จ่าย อาจจะแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ของกินของใช้ ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษา เสื้อผ้า หากพบว่าตนเองใช้เงินไปจำนวนมากกับสินค้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็นพิเศษ นั่นก็อาจเป็นสัญญาณว่าต้องสร้างหมวดหมู่เฉพาะสำหรับของรายการนั้น ถ้ามีหมวดหมู่เยอะเกินไป และไม่รู้ว่าต้องตั้งงบไว้ที่จำนวนเท่าไหร่ เวลาได้รับเช็คเงินค่าจ้างลองยุบให้มันไปอยู่ในหมวดที่ใหญ่ขึ้น
ขั้นที่ 3 ตั้งข้อสงสัยกับการจ่ายเงินของตนเอง ถึงคราวที่ต้องตอบคำถามว่าในสถานการณ์แบบไหนที่จ่ายเงินบ่อย หลังจากที่บันทึกค่าใช้จ่ายมาสักพัก ก็จะค้นพบอะไรที่เกี่ยวกับมิติการจ่ายเงินของตัวเอง รู้สึกว่ามันสมดุลดีแล้วหรือเปล่า ลองใช้เวลาจดบันทึกสะท้อนนิสัยตัวเอง
บทที่ 6
หาว่าอะไรสำคัญสำหรับตัวเอง
การจัดลำดับความสำคัญไม่เพียงแต่บอกว่า ต้องเดินไปทางไหน แต่มันยังให้ความมั่นใจด้วย บางนิสัยที่รั้งไว้จากการใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด แต่ก็ไม่มีวิธีที่ถูกต้องในการใช้จ่ายเงินเช่นกัน เพราะชีวิตแต่ละคนต่างกัน ทุกคนจะจัดลำดับความสำคัญที่ต่างกันออกไป เมื่อถึงเวลาต้องจ่ายเงินสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องจ่ายเงินให้กับสิ่งที่รู้สึกว่ามันมีค่า และสามารถซื้อสิ่งของที่ต้องการได้ ที่แย่คือทั้งหมดที่ฟังดูสำคัญหมด รู้สึกว่าตัวเลือกมันเยอะไปหมดเลย พาตัวเองออกจากความมึนงงและข้อมูลที่ท่วมเข้ามาคือ การทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่า เวลาใช้เงินส่วนตัวให้ความสำคัญกับเรื่องไหนก่อน แต่ก่อนอื่นต้องรู้ตัวก่อนว่า จริง ๆ แล้วต้องการอะไร
เงินทุนสำรองฉุกเฉิน
มันจะไม่เหมือนเงินทุนในการตั้งเป้าหมายการออม ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถวางแผนได้ล่วงหน้า หรือเก็บเงินไว้เพื่อทำกิจกรรมที่ต้องการ แต่เงินทุนฉุกเฉินมีไว้สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดและไม่ได้วางแผนในชีวิต มันคือเงินที่ไม่ได้ถูกจัดสรรไปให้งบประมาณส่วนไหนเลย มันจะอยู่ในบัญชีจนกว่าจะถึงคราวที่ต้องการ เงินทุนฉุกเฉินถือเป็นเป้าหมายระยะสั้นเสมอ ดังนั้น เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นขอแนะนำให้รวมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น แล้วคูณทั้งหมดด้วย 3 นั่นเป็นเหตุผลที่ต้องเริ่มต้นกับสิ่งที่เรียกว่าเงินทุนฉุกเฉิน
ความต้องการกับความจำเป็น
อันดับความสำคัญด้านการเงิน จะกลายมาเป็นภาพใหญ่ตอนที่ทำงบประมาณ กลายเป็นเป้าหมายที่ต้องการทำให้สำเร็จเมื่อเวลาผ่านไป ลำดับความสำคัญด้านการเงินควรจะเป็นเรื่องการชำระหนี้ทั้งหลาย และการตั้งเป้าหมายการออม ทุกเรื่องเรื่องที่ไม่ได้ใช้เงินที่มาจากรายรับแต่ละเดือนจ่าย อาจจะติดขัดตรงขั้นตอนรายการที่ดูสำคัญไปเสียหมด และไม่รู้ว่าจะจัดลำดับความสำคัญให้แต่ละรายการอย่างไร ให้หาความแตกต่างระหว่างความต้องการกับความจำเป็น ความจำเป็นจะระบุได้ง่ายมาก ถ้าละเลยชีวิตจะตกอยู่ในความโกลาหล จนกว่าจะจัดการเรื่องนั้นได้ ส่วนความต้องการนั้นจะมีเยอะกว่าที่จะจ่ายไหวเสมอ ความต้องการอาจเป็นเรื่องเล็ก ๆ ถ้าอยากพึงพอใจในการใช้ชีวิต พร้อมความมั่นคงทางการเงิน ต้องระบุเรื่องที่รู้สึกว่าสำคัญที่สุด เรื่องที่รู้สึกว่าอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีสิ่งนี้
คำถามที่ควรถามตอนที่แยกความต้องการของตัวเองออกจากความจำเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายนี้มีประโยชน์อย่างไรต่อชีวิต? นี่คือสิ่งที่สามารถรอได้หรือไม่? มีของแบบเดียวกันที่ราคาไม่แพงเท่านี้ไหม? อะไรคือสิ่งที่ต้องแลกหากจ่ายเงินซื้อของชิ้นอื่นที่ใกล้เคียงกัน? จะมีผลกระทบอะไรตามมาไหมถ้าไม่จ่ายเงินกับสิ่งนี้?
วิธีจัดลำดับความสำคัญ
เคล็ดลับในการจัดลำดับความสำคัญคือ การกำหนดเส้นเวลาให้กับเป้าหมาย สิ่งเหล่านี้คือย่างก้าวที่สำคัญสำหรับเส้นทางทางการเงิน
เป้าหมายระยะสั้นคือ เป้าหมายทางการเงินที่เร่งด่วนที่สุด ซึ่งต้องการทำให้สำเร็จภายใน 1 ปีถึง 3 ปี พอครบ 3 ปีหรือบรรลุเป้าหมายระยะสั้นแล้ว ก็จะผ่านก้าวสำคัญไปสู่เป้าหมายระยะกลาง
เป้าหมายระยะกลางไม่เร่งด่วนเท่าเป้าหมายระยะสั้น แต่ก็มีความสำคัญอยู่ เป้าหมายเหล่านี้จะเป็นตัวสนับสนุนเป้าหมายระยะยาวที่ใหญ่ขึ้น มักใช้เวลา 3 ถึง 7 ปีในการทำให้สำเร็จ เป้าหมายเหล่านี้เริ่มพุ่งเป้าไปที่อนาคต
เป้าหมายระยะยาวคือเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดและมีพลังที่สุด สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องการบรรลุใน 7 ถึง 10 ปีหรือมากกว่านั้น สำหรับเป้าหมายระยะยาวพยายามตั้งเป้าให้สูงที่สุดเท่าที่จะจินตนาการได้ ความอยากนี้จะเป็นสิ่งที่ดึงสติไว้ จำไว้ว่านี่คือเรื่องที่เป็นไปได้ จำนวนเงินในตอนนี้ไม่ได้จำกัดความสามารถในการหารายได้ การตั้งเป้าหมายที่สูงเกินยังดีกว่าการไม่ตั้งเป้าหมายอะไรเลย อย่าได้ดูแคลนตัวเองโดยเด็ดขาด ฝันให้ใหญ่แล้วไปให้ถึง
การจัดการทีละหลายเป้าหมาย
มันเป็นเรื่องจริงที่ว่า วิธีการเห็นผลที่เร็วที่สุดในการบรรลุเป้าหมายคือ การทุ่มเงินส่วนที่เกินมาทั้งหมดใส่เข้าไปในเป้าหมายเดียว อย่างไรก็ตาม ไม่ควรทุ่มเงินทั้งหมดเพื่อรีบออมเป้าหมายเดียว และย่อมสละเป้าหมายอื่น ๆ ในชีวิตจนกว่าจะเก็บเงินเพื่อเป้าหมายแรกสำเร็จ การตั้งเป้าหมายว่าจะออมเพื่อเป้าหมายใหญ่เพียงรายการเดียว อาจเป็นการบังคับให้ต้องทิ้งเป้าหมายอื่นที่จะนำพาเรื่องสำคัญที่มีคุณค่ามาสู่ชีวิต
การออมสำหรับหลายเป้าหมายพร้อมกันมักมีความจำเป็น มันก็เป็นเรื่องยากที่จะมีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายตามความต้องการและความจำเป็นทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าการจัดลำดับจะมีความสำคัญมากกว่าที่เคย การมีความเข้าใจพื้นฐานที่แน่นไม่ได้เป็นเพียงแค่การเรียนรู้วิธีที่จะออมเงินเพื่อซื้อของหนึ่งสิ่ง แต่เป็นการเรียนรู้วิธีจัดการกับเป้าหมายทางการเงินมากกว่าหนึ่งเป้าหมายในแต่ละครั้ง
บทที่ 7
งบประมาณสำหรับชีวิตจริง
คนส่วนใหญ่มักเหมารวมว่า งบประมาณคือหมวดหมู่ของการใช้จ่าย และกลุ่มของกฎเกณฑ์ว่าสามารถจ่ายค่าอะไรได้เท่าไหร่ จริง ๆ หลักการคือใช้จ่ายเงินให้น้อยกว่ารายได้ที่หาได้ โดยวางแผนล่วงหน้าว่าเงินจำนวนเท่าไหร่ที่จะลงที่ไหน แผนดูดีแต่เอาไปใช้งานจริงไม่ได้ ชีวิตจริงซึ่งเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยกิจกรรม และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้วางแผนไว้ในแต่ละวัน แล้วทั้งหมดนี้ก็ต้องใช้เงิน
ดังนั้น เมื่อจำกัดงบประมาณให้อยู่ในวงเงินของใบแจ้งหนี้ต่าง ๆ เป็นการตั้งงบประมาณสำหรับบางอย่างที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้นเอง แล้วค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ก็งอกขึ้นมา งบประมาณที่มีไว้เพื่อเป็นตัวช่วยให้บริหารจัดการชีวิตได้อย่างสง่างาม และผ่านการตรึกตรองมาแล้ว พร้อมความสบายใจ เบิกบาน และรู้สึกสงบ แน่นอนว่าจ่ายเงินให้ตรงเวลาเป็นเรื่องสำคัญ แต่งบประมาณที่มีคุณภาพนั้น รวมความสนุกและความสมจริงอยู่ในนั้นด้วย ชีวิตจริงมีมากกว่าแค่เรื่องใบแจ้งหนี้ และงบประมาณก็ควรครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนอื่นด้วย พื้นฐานส่วนนี้เป็นส่วนที่ปฏิวัติการทำงบประมาณ และช่วยให้ทุกอย่างดูสมเหตุสมผล ในที่สุดสิ่งนี้เรียกว่า ปฏิทินคุมงบประมาณ
วิธีการทำปฏิทินคุมงบประมาณ
ปฏิทินคุมงบประมาณคือ แผนที่สำหรับเส้นทางการเงินที่จะช่วยนำทางในชีวิตจริง และเตรียมให้พร้อมสำหรับการทำงบประมาณให้สำเร็จ ปฏิทินคุมงบประมาณก็หน้าตาเหมือนกับปฏิทินปกติ แต่มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์เดียวคือ เอาไว้ติดตามว่าเงินวิ่งไปทางไหน ใช้ปฏิทินนี้เพื่อช่วยให้วางแผนเหตุการณ์ชีวิตที่บางครั้งก็ลืมไปแล้ว จนบางครั้งมันสายเกินไป หรือที่เรียกว่าการต้องใช้ชีวิตจริงระหว่างที่มีใบแจ้งหนี้ไปด้วย
ขั้นตอนที่ 1 บันทึกเงินที่เข้ามา อย่างแรกเริ่มต้นด้วยปฏิทินสดใหม่ 1 เล่ม ให้จดจำนวนเงินที่จะได้รับนับตามวันที่เงินวิ่งเข้ามาอยู่ในบัญชีธนาคาร หลายคนอาจมีรายได้ที่ไม่ได้เท่ากันทุกเดือน ในกรณีนั้นให้จัดงบประมาณจากสถานการณ์ที่แย่ที่สุด หมายถึงจำนวนเงินเข้าที่น้อยที่สุด และจำนวนเงินออกที่มากที่สุด เพื่อให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด พอจบขั้นตอนนี้ก็จะทราบจำนวนเงินที่สามารถวางใจได้
ขั้นตอนที่ 2 บันทึกเงินที่ไหลออกไป ลองดูหมวดหมู่การใช้จ่ายที่ลองจัดไว้แล้วเพื่อเตรียมรับมือกับชีวิตจริง ประเภทการใช้จ่ายทั้งหมดนี้จะไปอยู่บนปฏิทิน การได้เห็นทั้งวิธีการใช้จ่ายและเหตุการณ์ที่กำลังจะใกล้เข้ามาบนปฏิทิน เป็นการฝึกจิตสำนึกเพื่อเตรียมรับมือกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในชีวิตจริง จะได้รับรู้ว่านิสัยตัวเองในปัจจุบันจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไร
ค่าใช้จ่ายคงที่เป็นรายจ่ายหรือใบแจ้งหนี้ที่สม่ำเสมอ ใส่เข้าไปในการทำงบประมาณตั้งแต่รอบแรก มันคือใบแจ้งหนี้ที่เรียกเก็บเงินจำนวนเท่ากันเป็นประจำ พอถึงวันที่ครบกำหนดชำระให้เขียนจำนวนเงินที่ต้องจ่ายลงในปฏิทิน
ค่าใช้จ่ายผันแปรเรียกได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่คาดเดาไม่ได้มากที่สุด จึงทำให้มันเป็นงบประมาณที่จัดการได้ยากที่สุด ค่าใช้จ่ายผันแปรไม่ได้เป็นค่าใช้จ่ายที่อยู่นิ่ง ๆ จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละสัปดาห์หรือเดือน ก็ขึ้นอยู่กับสัปดาห์หรือเดือนนั้น ๆ จะสามารถควบคุมการใช้จ่ายประเภทนี้ได้มากกว่า นอกเหนือจากปฏิทินคุมงบ ยังใช้วิธีบันทึกเป้าหมายการออมรายปี และตารางจดรายการบันทึกกิจกรรม หลักการมันก็ยังคงเหมือนเดิม เอาเลขจำนวนเงินสำหรับเป้าหมายหารด้วยเลขจำนวนเดือนที่ต้องการจะออม
ขั้นตอนที่ 3 วิธีการคุมงบจากรายรับ การวางแผนสำหรับระยะเวลาหนึ่งเดือนนั้นมันยากเกินไป และมีแนวโน้มที่จะต้องรับมือกับปัญหาที่ไม่คาดฝันอาจจะเกิดขึ้น ซึ่งไม่สามารถรับได้ไหว มันมีตัวแปรมากเกินไปในนั้น หรือพูดอีกอย่างก็คือเหตุการณ์ในชีวิตจริงที่แทรกเข้ามา ลองจับคู่รายจ่ายหมายความว่า จะจ่ายค่าใช้จ่ายได้เพียงส่วนหนึ่งด้วยรายรับที่จับคู่ไว้แล้ว และปล่อยให้ค่าใช้จ่ายอื่นเข้าคิวรอไปก่อน ทุกครั้งที่ได้รับเงินเข้าฝึกให้เป็นนิสัยที่จะดูปฏิทินบ่อย ๆ และเพิ่มกิจกรรมตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมระบุว่ากิจกรรมนั้นคู่กับรายได้ก้อนไหน
ประโยชน์ของการใช้ปฏิทินคุมงบประมาณ
ปฏิทินคุมงบประมาณจะช่วยให้เดินไปสู่ความสำเร็จ และยิ่งทำก็ยิ่งรู้สึกเพลิดเพลินไปกับมัน ปฏิทินคุมงบประมาณช่วยให้จัดระเบียบชีวิต ไม่เพียงแค่มันจะดูสวยงาม แต่มันยังช่วยให้บริหารจัดการเงิน ขจัดความประหลาดใจที่ไม่อยากเจอ และจัดระเบียบเงินไว้ในที่เดียว และยังสามารถช่วยให้ปรับปรุงกระบวนการได้อีกด้วย สามารถช่วยให้เห็นหนี้ก้อนเล็ก ๆ ที่สามารถจ่าย และกำจัดออกไปได้ก่อน และรายการอื่น ๆ ที่สามารถตั้งจ่ายอัตโนมัติจากธนาคารจะได้ ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าลืมจ่ายหรือเปล่า
สุดท้ายช่วยให้สร้างนิสัยการออม เมื่อเริ่มเห็นผลมันจะช่วยกระตุ้นให้เปลี่ยนพฤติกรรม และอยากทำต่อไป ในทำนองเดียวกันพอจัดการใบแจ้งหนี้ได้ตรงเวลา มีเงินไหลเข้า เหลือออม และหนี้ทยอยลดลงเรื่อย ๆ มันก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี การให้เขียนงบประมาณด้วยมือ จะช่วยให้เรียบเรียงความคิด และจัดเก็บข้อมูลที่ได้ในเชิงลึกขึ้น และมีความหมายมากขึ้น
บทที่ 8
หลีกเลี่ยงการใช้งบประมาณจนขาดความสุข
เตรียมความพร้อมไว้แล้ว ทำให้มีตัวเลือกที่มากขึ้นไม่ใช่น้อยลง การวางแผนและการทำงบประมาณช่วยให้แน่ใจว่า จะไม่เกิดภาวะต้องสู้จนหลังชนฝา และสามารถที่จะเลือกได้ตามต้องการ ความมั่นคงทางการเงินจะทำให้รู้สึกวางใจ ความมั่นคงทางการเงินอนุญาตให้ใช้เงินกับเรื่องที่รู้สึกว่าสำคัญ ความมั่นคงทางการเงินช่วยให้มีชีวิตที่ดีขึ้นในแบบที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน สิ่งที่กักขังจริง ๆ ในชีวิตคือใบแจ้งหนี้ที่ไม่ได้เตรียมรับมือ เหตุฉุกเฉินที่ดูมีความสำคัญกว่าเรื่องอื่น ๆ การชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งเหล่านี้ดักไว้ เพราะมันบังคับให้จัดลำดับชีวิตใหม่ และบังคับให้ต้องพึ่งพาหนี้ที่หนักขึ้น วงเงินสินเชื่อเป็นเพียงทางเลือกเดียวที่มอบให้ตัวเอง และทันใดนั้นเองก็ไม่เหลือเงินสำหรับสิ่งที่ต้องการจริง ๆ และที่แน่ ๆ คือหาความเพลิดเพลินไม่ได้เลย
การกำหนดงบประมาณให้สมจริง
แผนงบประมาณทั้งหมดไม่ได้ถูกสร้างมาให้ได้ผลดีเท่านั้น ในการพัฒนางบประมาณต้องมองโลกบนพื้นฐานตามความเป็นจริงในทุกแง่มุม งบประมาณที่สมจริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่หวังหรือต้องการจะใช้จ่ายแต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ใช้จ่ายจริงเห็นว่าจริง ๆ แล้วจ่ายเงินออกไปเท่าไหร่กับสิ่งที่ไม่ได้ใช้ ไม่ได้ชอบ ไม่ได้ต้องการจริง ๆ ทำให้อยากตัดงบทิ้งออกไปเยอะ ๆ จะรู้สึกตื่นเต้นเพราะต้องการที่จะบรรลุเป้าหมาย แต่อย่าเพิ่งเสี่ยงกับแผนที่ล้มและพังไม่เป็นท่าจะดีกว่า
งบประมาณที่สามารถดูแลเราได้ก็ต่อเมื่อมันเป็นไปได้จริง และการยึดติดกับเป้าหมายที่คิดไว้ตอนแรก จะยิ่งทำให้เรื่องนี้ยากขึ้น เพราะกำหนดงบประมาณเป็นตัวเลขที่ไม่สมจริง จะท้อแท้และไม่ดำเนินการใด ๆ ต่อ อาการนี้เรียกว่าการทำงบประมาณจนขาดความสุข คือการไม่สนใจรูปแบบการใช้จ่ายจริงเมื่อตอนทำงบ โชคดีที่มีทุกสิ่งที่จำเป็นแล้วในการสร้างงบประมาณตามความเป็นจริง ทุกพื้นฐานที่ได้รับคือรากฐานที่จะใช้สร้างสิ่งนี้ นั่นคือการสร้างงบประมาณของตัวเอง กลับมาดูที่ปัจจัยทั้ง 4 ด้านของงบประมาณ และกำหนดจำนวนเงินให้กับแต่ละรายการ เพื่อให้มีความมั่นคงทางการเงินมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้ง 4 ส่วนตามลำดับได้แก่
ค่าใช้จ่ายคงที่
นี่คือหมวดหมู่ที่ตรงไปตรงมาที่สุด และพอเดาได้มากที่สุด ค่าใช้จ่ายคงที่คือค่าใช้จ่ายในงบประมาณทุกเดือน ซึ่งจำนวนไม่เคยเปลี่ยน ควรจะรวบรวมรายการที่ต้องการชำระเงินขั้นต่ำที่ต้องทำตอนนี้ รวมถึงการตัดบัญชีอัตโนมัติเพื่อการออมหรือการลงทุน บวกจำนวนทั้งหมดและให้รายได้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก่อน
ค่าใช้จ่ายผันแปร
พอรวบรวมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทั้งหมดแล้ว จะต้องไปหาว่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่กับค่าใช้จ่ายผันแปร โปรดจำไว้ว่างบประมาณไม่ได้ถูกสร้างขึ้นสำหรับใบแจ้งหนี้เท่านั้น อันที่จริงแล้วงบประมาณที่มีผลกระทบมากที่สุด ต่อการใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละเดือนนั้นเป็นค่าใช้จ่ายผันแปร
การออม
ส่วนที่สำคัญที่สุดในที่นี้คือ การตั้งชื่อเป้าหมายการออมต่าง ๆ และจัดลำดับความสำคัญสำหรับช่วงเวลาที่ได้รับการจ่ายเงินนี้ ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพยายามเก็บออมสำหรับทุกอย่างพร้อมกันทีเดียว บางทีอาจจะลองพุ่งเป้าไปที่การเก็บเงินสำหรับเงินทุนสำรองฉุกเฉิน นี่ไม่เพียงแต่จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น แต่ยังช่วยให้มีความสงบ และความมั่นคงทางการเงิน ในสภาวะที่ตลาดคาดการณ์ไม่ได้อีกด้วย
การชำระหนี้ การเกษียณ หรือการลงทุน
จนกว่าจะบันทึกค่าใช้จ่ายและสร้างงบประมาณ จะไม่รู้ว่าต้องใช้เงินเพิ่มเท่าไหร่ ในการนำเงินมาชำระหนี้ เกษียณ หรือลงทุน นั่นเป็นเหตุผลที่นี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย
วิธีสร้างความมั่นคงบนความไม่แน่นอน
ความมั่นคงทางการเงินและงบประมาณที่แท้จริง ล้วนเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมทางการเงิน แม้จะรู้สึกว่าชีวิตคาดเดาไม่ได้แค่ไหนก็ตาม นี่คือกลวิธีและเคล็ดลับบางประการ ในการช่วยให้งบสมจริงมากขึ้น
ช่วยงบประมาณที่กำหนดไว้จนเหลือ 0
เพื่อสร้างความมั่นคงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ต้องใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ให้ทำหน้าที่ของมัน หากไม่ได้ตั้งใจแบ่งพื้นที่จัดสรรให้เงินอยู่ ให้ใช้งบประมาณที่กำหนดไว้จนเหลือ 0 แค่เอารายรับลบรายจ่ายเท่ากับศูนย์ เมื่อทำงบประมาณเสร็จแล้ว ควรมีเงินเหลือในงบประมาณเป็น 0 นั่นเป็นเหตุผลที่มันถูกเรียกว่าจนเหลือเป็น 0 ไม่ได้หมายความว่าควรไปซื้อของอย่างสนุกสนาน เพื่อบังคับตัวเองให้ใช้จ่ายทั้งหมดกับการใช้งบประมาณที่กำหนดไว้จนเหลือ 0 แต่หมายความว่าสามารถบันทึกเงินได้ทั้งหมด และทำให้เงินเหล่านั้นทำงานให้ รวมถึงจัดสรรลงเงินไว้ในที่ที่ต้องการ เหตุผลหลักที่วิธีนี้ยอดเยี่ยมสำหรับการจัดทำงบประมาณก็คือ สามารถติดตามทั้งหมดที่ใช้ไปได้ โดยการกำหนดหน้าที่ให้กับเงินไว้แล้ว จะเห็นภาพรวมทางการเงินได้อย่างเต็มที่ และทำการปรับเปลี่ยนได้ นอกจากนี้ยังทำให้ง่ายต่อการดูว่า มีส่วนใดบ้างที่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้
เก็บหมวดหมู่เบ็ดเตล็ดไว้
ในการใช้จ่ายผันแปรอย่าลืมรวมหมวดหมู่เบ็ดเตล็ด ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการแบ่งหมวดหมู่ เพื่อจัดการกับค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้วางแผน หรือไม่คาดคิดระหว่างช่วงที่ต้องจ่ายเงิน ค่าใช้จ่ายเมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่เหตุฉุกเฉินนั่นคือหมวดหมู่งบประมาณเบ็ดเตล็ดนี่เอง ขอให้แน่ใจว่าได้ตั้งงบประมาณสำหรับหมวดหมู่เบ็ดเตล็ดทุกครั้งที่ได้รับเงิน
หัดเป็นนักสืบ
ค่าสาธารณูปโภค ค่าโทรศัพท์มือถือ และค่าสมาชิกบริษัทที่ให้บริการรายเดือนทั้งหลายล้วนทำกำไรจากตารางงานสุดยุ่ง พวกเขาค่อย ๆ แอบเพิ่มราคาขึ้นทีละเล็กทีละน้อย และคาดหวังว่าลูกค้าจะยุ่งเกินกว่าจะลงมาจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ถึงเวลาแล้วที่จะได้ใช้เวลาทบทวน และต่อรองยอดค่าใช้จ่ายคงที่ ตอนดูค่าใช้จ่ายคงที่ให้แน่ใจว่าไม่ได้นับแค่ค่าใช้จ่ายรายเดือนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายรายไตรมาส รายครึ่งปี และรายปีด้วย ตอนนี้เป็นเวลาที่จะสวมบทเป็นนักสืบแล้ว ไปรวบรวมราคาโปรโมชั่นและโฆษณาทั้งหมดของบริการที่ใช้ พอรวบรวมสิ่งที่ค้นคว้ามาหมดแล้ว ค้นหาช่องทางการติดต่อ แล้วโทรไปขอจ่ายราคาแพ็คเกจที่ถูกลง
สร้างกิจวัตรในตอนเช้า
งบประมาณจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมีข้อมูลถูกต้อง และช่วยให้มองเห็นอนาคตได้ ดูปฏิทินและงบประมาณให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ สิ่งที่ทำแล้วได้ผลคือการทำให้เป็นกิจวัตร ตอนเช้าสัก 15 นาที กิจวัตรในการทำงบประมาณไม่ควรครอบงำเวลาชีวิต คอยทำให้เสร็จเร็ว มีประสิทธิภาพ และสม่ำเสมอ
ให้รางวัลตัวเองบ้าง
อีกวิธีหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจและทำตามเป้าหมายคือ การให้รางวัลกับตัวเอง ซึ่งไม่ได้หมายถึงการซื้อของหรูหราฟุ่มเฟือย ความบันเทิง และความสุขไม่ได้อยู่ที่สิ่งของที่ราคาแพงที่สุด ความจริงแล้วความสุขที่แท้จริงและแรงจูงใจมาจากรางวัลที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนั้น การจัดงบสันทนาการให้ตัวเองในการใช้ซื้อรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยเฉพาะ เป็นการจ่ายเพื่อตัวเอง ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากมาย การจัดทำงบประมาณแบบสมจริง ไม่ได้หมายความว่าจะต้องละทิ้งทุกสิ่งที่ทำให้มีความสุข นั่นไม่ใช่การจัดทำงบประมาณ การจัดทำงบประมาณช่วยให้ใช้จ่ายเงินไปกับสิ่งที่ทำให้มีความสุข ซึ่งเป็นการใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด และมีการเตรียมความพร้อม
บทที่ 9
ฝึกเป็นคนที่ใช้จ่ายอย่างมีจุดประสงค์
เมื่ออยู่ในความคิดที่ตึงเครียด ก็ไม่ต้องการแม้แต่จะคิดถึงเรื่องเงิน ฝั่งสติไว้และพยายามหลอกตัวเองให้คิดว่า ไม่เป็นไรทั้งหมดนี้มันไม่เป็นไรจริง ๆ แต่รู้ดีว่าลึก ๆ แล้วมันไม่โอเคเลย เมื่อหาความสงบไม่ได้และหวาดกลัว บางครั้งประโยชน์สูงสุดของการได้เรียนรู้ วิธีการจัดงบประมาณไม่ได้อยู่ที่เงินด้วยซ้ำ แต่คือความสงบ
ระบบซองจดหมายเงินสด
ถ้าบอกว่ามีวิธีที่ได้ผลแน่นอน ที่จะช่วยทำให้คุมงบประมาณให้ได้อยู่หมัด และสัมผัสประสบการณ์ความสงบ มีวิธีนี้แน่นอน แต่วิธีนี้จะขอให้จ่ายเงินในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง นั่นคือการจ่ายแบบเงินสด 100% เพราะบัตรเดบิตและบัตรเครดิตมาพร้อมกับปัญหาที่ซ่อนอยู่ การรูดบัตรและรับใบเสร็จไม่มีทางรู้ว่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่ เพราะจากทั้งหมดเท่าที่รู้เงินที่มองไม่เห็น การไม่ได้เห็นเงินจริงหลุดลอยไปจากมือ ก็จะรู้สึกว่ามีเงินเยอะเหลือเฟือ และก็จะจ่ายเงินแบบที่รู้สึกเช่นกัน
บัตรพลาสติกทำให้เงินจับต้องไม่ได้ ด้วยเหตุผลนี้หลายคนไม่รู้เลยว่าจริง ๆ เขาใช้จ่ายไปเท่าไหร่กันแน่ โดยเฉพาะกับค่าใช้จ่ายผันแปร ในทางตรงกันข้ามใช้วิธีที่แตกต่างออกไป อย่างน้อยก็จนกว่าจะกลับมายืนบนลำแข้งของตัวเองได้ และต้องการทำให้มันกลายเป็นของที่จับต้องได้ เพื่อที่จะควบคุมมัน จึงใช้ระบบซองจดหมายเงินสด และนั่นคือจุดพลิกเกมสำหรับการทำงบประมาณทุกอย่าง การใช้จ่ายด้วยเงินสดเพื่อให้การทำงบประมาณได้ผล และใช้ธนบัตรเป็นใบ ๆ ช่วยให้วางแผนได้ด้วย วิธีนี้จะทราบแบบแน่ชัดว่าสามารถใช้จ่ายในเท่าไหร่ และเมื่อเงินในซองจดหมายหมดแล้ว การใช้จ่ายในหมวดนั้นก็หมดเช่นกัน
การเห็นเงินจริง ๆ จากระบบซองจดหมายจะช่วยให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มีเงินเหลืออยู่เท่าไหร่เพื่อใช้จ่ายให้อยู่ภายในขีดจำกัดทางรายได้ หากยึดอยู่ในระบบซองจดหมายเงินสด จะไม่มีทางใช้จ่ายเกินตัวได้ คนเราไม่ได้ใช้จ่ายเกินตัว เพราะมีรายได้ไม่เพียงพอ แต่เป็นเพราะพวกเขาไม่สามารถมองเห็นภาพใหญ่ของการใช้จ่ายได้ กับการใช้เงินสดจะสัมผัสการใช้จ่ายในรูปแบบที่แตกต่างออกไป ถ้าเห็นผลลัพธ์โดยรวมจากการใช้จ่าย
ขั้นตอนการทำซองจดหมายเงินสด
ถ้าได้ลองทำตามขั้นตอนในหนังสือเรื่อย ๆ จนมาถึงขั้นตอนนี้ จะทราบได้อย่างชัดเจนแล้วว่ามีใบแจ้งหนี้อยู่เท่าไหร่ และรายรับไหนบ้างที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ดังนั้น หยิบงบประมาณที่มีตามความเป็นจริงมาไว้ข้างหน้า เพื่อให้มีข้อมูลทั้งหมดพร้อม แล้วมาเริ่มกันเลย
ขั้นตอนที่ 1 ชำระค่าใช้จ่ายคงที่ออนไลน์ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับระบบซองจดหมายเงินสดคือ ใช้เงินสดสำหรับทุกสิ่ง แต่มันไม่ใช่แบบนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ธนบัตรกับค่าใช้จ่ายคงที่ อันที่จริงขอแนะนำให้ตั้งค่าการชำระเงินอัตโนมัติหากทำได้ ยิ่งปรับวิธีการชำระเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และคงที่เหล่านี้ให้ง่ายได้มากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น ส่วนเงินสดของระบบซองจดหมาย เงินสดมีไว้สำหรับค่าใช้จ่ายผันแปรที่ผันผวนในแต่ละเดือน มันเป็นค่าใช้จ่ายที่มีอำนาจในการควบคุมสูงสุด แต่กลับรู้จักเกี่ยวกับมันน้อยที่สุด แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับกฎนี้ อาจต้องการเก็บงบประมาณค่าอาหาร ค่าน้ำมันไว้ในบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ให้จัดงบประมาณสำหรับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดสำหรับสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้มีเงินเพียงพอในบัญชีเสมอสำหรับค่าใช้จ่าย
ขั้นตอนที่ 2 ติดฉลากซองจดหมายตามแต่ละหมวดค่าใช้จ่ายผันแปร ซองจดหมายเหล่านี้จัดไว้เป็นพิเศษสำหรับหมวดหมู่ที่ใช้จ่ายเกินตัว เช่น อาหาร ความงาม ความบันเทิง ครัวเรือน กีฬา การบำรุงรักษารถยนต์ เป็นต้น ตัดสินใจจะใช้หมวดหมู่ค่าใช้จ่ายผันแปรประเภทไหนบ้าง ให้หาซองจดหมายสัก 2-3 ซองแล้วจ่าหน้าประเภทหมวดหมู่บนแต่ละซองด้วยปากกา
ขั้นตอนที่ 3 ตัดสินใจว่าเมื่อใดควรถอนเงินสดออกมา เอาออกมาและใส่ซองประเภทต่าง ๆ ทุกครั้งที่ได้รับเงิน ปริมาณเงินที่ดึงออกมาถูกกำหนดโดย สมุดบันทึกการควบคุมงบประมาณจากรายรับ
ขั้นตอนที่ 4 เติมเงินในใส่ซองจดหมาย หลังจากคำนวณแล้วว่า เมื่อไหร่ที่ต้องการถอนเงินสดออกมาใส่ซองจดหมาย ก็ถึงเวลาบรรจุเงินใส่ซองจดหมาย งบประมาณเป็นตัวกำหนดว่า ต้องการเงินสดเท่าไหร่ไปใส่ในซองจดหมายแต่ละซอง
ขั้นตอนที่ 5 ใช้เฉพาะเงินสดในแต่ละซอง สำหรับหมวดหมู่เฉพาะนั้น ๆ ประเด็นทั้งหมดของการที่ต้องวางแผนและเดินทางไปธนาคาร และจัดการกับเงินสดและเหรียญคือ จะได้ข้อมูลปัจจุบันล่าสุดเลยว่า ใช้จ่ายเท่าไหร่และมีเงินเหลือจำนวนเท่าไหร่ มันเป็นไปได้ที่จะเห็นความเชื่อมโยงแบบที่จับต้องได้กับปริมาณเงินที่ใช้ไป
อุปสรรคต่อระบบซองจดหมายเงินสด
การเปลี่ยนแปลงมันมักตามมาด้วยความหวาดหวั่น กังวลใจ และนี่คือคำถามที่มักจะได้ยินอยู่เสมอคือ
- จะแบ่งใช้เงินข้างในซองกับคู่ครองได้อย่างไร การใช้วิธีการจัดทำงบประมาณด้วยเงินสดทั้งหมด อาจเป็นเรื่องยากเมื่อพยายามใช้กัน 2 คน วิธีหนึ่งคือใครเป็นคนออกค่าใช้จ่ายหลักในความสัมพันธ์ ให้คน ๆ นั้นถือซองจดหมายส่วนใหญ่ นอกเหนือจากนี้อีกสองสามซองทิ้งไว้ที่บ้าน เพื่อที่ทั้งสองคนจะได้หยิบซองได้ อีกวิธีหนึ่งคือกำหนดซองจดหมายเงินสดให้กับแต่ละคนไปเลย ทุกความสัมพันธ์และสถานการณ์การเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ต้องหาวิธีที่จะใช้ระบบซองจดหมายเงินสด แล้วทั้งสองฝ่ายยังมีความสุข
- แล้วถ้าต้องการซื้อของออนไลน์ทำอย่างไร บางครั้งการซื้อสินค้าออนไลน์ก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เวลาต้องซื้อของออนไลน์ใช้บัตรเครดิตสะสมแต้ม แล้วดึงจำนวนเงินที่เท่ากันจากหมวดหมู่ซองจดหมายที่ถูกต้อง ไปยังซองจดหมายที่มีป้ายกำกับว่าซื้อของออนไลน์
- หากไม่ใช่คนประเภทที่จะใช้เงินสดจริง ๆ หากไม่มีเงินสดที่เป็นธนบัตรจริง สิ่งสำคัญที่ต้องทำก็คือบันทึกค่าใช้จ่ายให้ได้ครบทุกครั้งที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นทุกรายการ ใช้ใบบันทึกเวลาไม่ใช้เงินสดทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้เงินสด เพื่อดูจำนวนเงินที่เหลืออยู่สำหรับใช้ในหมวดหมู่ที่กำหนด จากรายการธุรกรรมในบัญชีธนาคารทุกวัน ใบบันทึกเวลาไม่ใช้เงินสดคือเครื่องมือติดตามการใช้เงินมีขนาดเล็ก พอที่จะพกติดกระเป๋าเงินแทนซองจดหมายเงินสดนี้ คล้ายกับการเซ็นเช็ค แต่สำหรับหมวดหมู่เดียวในงบประมาณเท่านั้น
พร้อมที่จะเริ่มเชื่อถือแผนแล้ว ต่อไปนี้คือเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยให้ผ่านขั้นตอนที่ยุ่งยากนี้ไปสู่ชีวิตที่ประสบความสำเร็จด้านการเงิน
เคล็ดลับที่ 1 อย่าพกซองจดหมายทั้งหมดไปทุกที่ ถ้าไม่มีแผนที่จะใช้จ่ายเงินในหมวดหมู่ไหนเป็นพิเศษ เก็บมันไว้ในที่ปลอดภัยที่บ้าน นี่ยังเป็นการดีหากมีการใช้ซองจดหมายร่วมกับคู่สมรส อย่าลืมทิ้งซองค่าใช้จ่ายหลักไว้ที่บ้าน หากไม่ได้วางแผนที่จะใช้เงิน
เคล็ดลับที่ 2 แตกย่อยเงินสดเมื่อคุ้นเคยกับระบบซองจดหมายเงินสดแล้ว ควรพิจารณาว่าใบแจ้งหนี้ประเภทใด เหมาะที่จะไปอยู่กับการใช้จ่ายหมวดหมู่ใด
เคล็ดลับที่ 3 สร้างแผนสำรองสำหรับบัญชีกระแสรายวัน พอหันมาใช้วิธีจ่ายจากซองจดหมายเงินสด เป็นเรื่องปกติที่ยอดเงินในบัญชีกระแสรายวันจะลดลง หากจัดการงบประมาณที่กำหนดไว้จนเหลือ 0 ได้อย่างถูกต้อง ยอดเงินในบัญชีกระแสรายวันควรจะต่ำหรือเกือบเป็นศูนย์ทุกเดือน เงินส่วนที่เหลือควรจะถูกแบ่งเข้าซองจดหมายเงินสดซองใดซองหนึ่ง โดยไม่เหลืออะไรไว้ในบัญชีกระแสรายวัน การเก็บบัญชีกระแสรายวันไว้เป็นแผนสำรองลดแรงปะทะ
บทที่ 10
เอาชนะหนี้
พอเริ่มจัดการค่าใช้จ่ายรายวันของตัวเองได้ เรื่องถัดมาที่ควรจัดการคือวางแผนเกษียณ เอาเงินไปลงทุน หนี้บัตรเครดิต เงินทุนสำรองฉุกเฉิน ข่าวดีคือมีประโยชน์อย่างมากในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสักครู่เพื่อพิจารณาว่า ตอนนี้กำลังสัมผัสประสบการณ์อะไรอยู่ หากไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายรายเดือนเหล่านี้ จะไขว่คว้าเป้าหมายอะไร หากเงินเป็นของตัวเองจริง ๆ ที่สามารถนำไปใช้จ่ายได้
วิธีสร้างแผนการโจมตี
หากไม่มีแผนก็จะรู้สึกสูญเสีย หนักใจ และพยายามที่จะหลีกเลี่ยงทั้งหมดรวม ๆ กัน นั่นเป็นเหตุผลที่กำลังอ่านหนังสือเล่มนี้ นี่คือ 4 ขั้นตอนในการโจมตีหนี้
- เผชิญหน้ากับหนี้ การรู้ว่ากำลังต่อสู้กับอะไร เพื่อจะได้เตรียมเครื่องมือที่เหมาะสม และทำสิ่งต่อไปนี้ ทำรายการง่าย ๆ ของทุกสิ่งที่เป็นหนี้ จดยอดคงเหลือ เจ้าหนี้ และอัตราดอกเบี้ย พร้อมวันครบกำหนดชำระและยอดชำระขั้นต่ำ ตรวจรายการให้แน่ใจว่าไม่ได้ลืมอะไร มันมีประโยชน์มากที่จะเก็บสำเนารายงานข้อมูลไว้
- จัดลำดับความสำคัญของหนี้ ซึ่งมี 2 วิธีที่สามารถใช้ในการพิจารณาว่า หนี้ใดต้องถูกจัดการให้สิ้นซากก่อน
วิธีแบบหิมะถล่ม วิธีนี้ถล่มพุ่งเป้าหมายไปที่หนี้ ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดก่อน โดยไม่คำนึงถึงยอดหนี้คงเหลือ พอหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดถูกชำระหมดแล้ว ก็ใช้เงินก้อนที่เหลือจัดการกับหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดถัดไปในรายการ แผนการชำระหนี้ประเภทนี้เรียกว่าการชำระหนี้ทีละกอง ช่วยให้ชำระหนี้ได้ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด และช่วยให้ประหยัดเงินค่าดอกเบี้ยได้มากที่สุดด้วย
วิธีแบบปั้นก้อนหิมะ วิธีการนี้จะชำระหนี้ตามลำดับ จากยอดน้อยที่สุดไปหายอดมากที่สุด โดยไม่คำนึงถึงอัตราดอกเบี้ย วิธีการนี้สามารถกำจัดหนี้จำนวนเล็กจำนวนน้อยได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดแรงจูงใจและความพึงพอใจในทันที เพราะจะเห็นความก้าวหน้าเดี๋ยวนั้นเลย เมื่อหนี้ก้อนเล็ก ๆ หมดแล้ว ก็เริ่มจัดการกับหนี้ก้อนใหญ่ ตัวเราก็จะมีกระแสเงินสดมากกว่าแต่ก่อนในการกำจัดหนี้
ท้ายที่สุดแล้ววิธีที่เลือกจัดการกับหนี้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความชอบของตัวเอง
- ใช้วิธีการค่อย ๆ ม้วนทบเก็บหนี้ไปทีละรายการ จะไม่สามารถทำแผนการชำระหนี้ได้สำเร็จ จนกว่าจะรู้ว่าต้องใช้เงินเท่าไหร่ และไม่รู้จำนวนเงินจนกว่าจะบันทึกค่าใช้จ่าย แล้วสร้างงบประมาณในชีวิตจริงของตนเอง เพื่อกำหนดว่าต้องมีเงินเหลือจำนวนเท่าไหร่ ในแต่ละงวดการชำระ ให้ชำระเงินขั้นต่ำรายเดือนต่อไป แต่ใช้เงินเสริมที่เตรียมไว้สำหรับการชำระหนี้ตามลำดับความสำคัญของหนี้ที่เลือก เมื่อชำระหนี้ที่มีความสำคัญอันดับแรกเสร็จแล้ว สามารถนำเงินไปใช้กับหนี้ลำดับความสำคัญอันดับ 2 ได้
- ปรับปรุงและตรวจสอบ แค่ดำเนินการตามแผนมันไม่เพียงพอ ต้องหมั่นทบทวนแผนการชำระหนี้เป็นประจำ ดังนั้น การตรวจสอบว่าแผนการเปลี่ยนไปตามสถานการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ
ใช้เคล็ดลับเหล่านี้เพื่อให้ตัวเองไม่มีหนี้
ไม่สร้างหนี้ใหม่ ขณะที่กำลังชำระหนี้ที่มีอยู่อย่าสร้างหนี้เพิ่ม บางครั้งการรวมหนี้ให้อยู่ที่เจ้าหนี้เจ้าเดียว หรือใช้บัตรใบเดียวเพื่อชำระหนี้อื่น อาจเป็นประโยชน์สูงสุด นี่เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการรักษาอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำ
อย่าแอบใช้เงินจากเงินก้อนที่เตรียมไว้เกษียณอายุเพื่อชำระหนี้ การนำเงินเกษียณมาใช้เป็นเรื่องต้องห้าม ไม่มีข้ออ้างเมื่อตัดสินใจนำเงินเกษียณไปใช้หนี้ จะศูนย์เสียเงินในสัดส่วนจำนวนมาก บางครั้งเกือบถึงครึ่งหนึ่งของเงินจำนวนนั้น ไปเป็นเบี้ยปรับภาษีและค่าธรรมเนียม
เจรจาต่อรองหนี้ บางครั้งสามารถเคลียร์หนี้โดยชำระเงินก้อนเหมา และได้ข้อตกลงใหม่ที่ดียิ่งขึ้น เมื่อโทรหาหน่วยงานติดตามหนี้ และเสนอที่จะชำระบัญชีด้วยการจ่ายเงินทั้งหมดเป็นก้อนเดียว อาจประหยัดเงินได้มากถึง 50% หรือมากกว่าจากก้อนหนี้ทั้งหมด สามารถเจรจาต่อรองและถือไพ่เหนือกว่าได้ หากเต็มใจที่จะเดินทางกลับไปกลับมา เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีที่สุด สิ่งที่ต้องทำทั้งหมดก็คือแค่ลองถาม
ต่อต้านชีวิตติดฟุ้งเฟ้อ ยิ่งมีมากขึ้นก็ยิ่งใช้จ่ายมากขึ้น เมื่อใช้ชีวิตแบบนี้ การก้าวไปข้างหน้าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ไม่ว่าจะทำเงินได้มากแค่ไหนก็ตาม
ต้องใช้กลยุทธ์ว่าจะเอาเงินนั้นไปทำอะไร แทนที่จะทำให้ไลฟ์สไตล์สูงเกินฐานะ ลองเพิ่มสัดส่วนเงินให้กับสิ่งที่สำคัญจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความหวัง ความฝัน นำเงินที่เหลือเพิ่มส่วนเกินนี้ไปลงในส่วนที่ต้องการมากที่สุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ไม่เพียงแค่กับเรื่องการเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงไลฟ์สไตล์ของตัวเองด้วย
ระวังการจ่ายเงินครั้งละมากๆ
หากพบว่าตัวเองมีเงินก้อนหนึ่ง มันอาจจะล่อตาล่อใจให้ใช้เงินทั้งก้อนในการลดหนี้ในทันที แม้ว่าดูเผิน ๆ แล้วจะมีประโยชน์ แต่ขอเตือนว่าการลงเงินไปจำนวนมากเพื่อชำระหนี้ แล้ววนกลับเข้ามาแบบเดิม เพราะการชำระหนี้ทีละเล็กละน้อยเป็นการฝึกเพื่อพัฒนาตนเอง การจัดการเงินไม่ได้เกี่ยวกับตัวเงิน แต่เป็นเรื่องของการเติบโต เกี่ยวกับการคุมสติ เกี่ยวกับการยกระดับ เกี่ยวกับการพัฒนาของตัวเอง
บทที่ 11
เริ่มวางแผนเกษียณสำหรับตัวเอง
การได้เกษียณตอนอายุ 65 นั้นไม่ใช่เป้าหมาย การดูแลเงินให้พอที่จะทำตามความฝันได้ต่างหาก นี่คือตัวอย่างแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องเกษียณที่ได้รับความนิยม อายุ 65 คือสุดยอดเส้นชัย นั่นคือเวลาที่จะได้หยุดทำงาน ควรทำงานหนักตอนนี้ เพื่อที่จะได้เล่นสนุกสุดเหวี่ยงในภายหลัง แต่สิ่งที่เจอแทบเรียกได้ว่าเกือบจะเอาตัวไม่รอด เพราะจริง ๆ แล้วควรเริ่มเก็บออมตั้งแต่ตอนที่ยังอายุน้อย แต่กลับล้มเหลวอย่างน่าเวทนา และตอนนี้กังวลว่าชาตินี้คงเกษียณไม่ได้
มุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับการเกษียณอายุ ซึ่งอาจไม่ได้ยินบ่อยนักนั่นคือ อย่าทิ้งความฝันอันยิ่งใหญ่ไว้กับเหล่าเศรษฐี สังคมหล่อหลอมว่าการเกษียณ เป็นชีวิตที่หรูหราสำหรับคนรวยที่สามารถจ่ายได้ คนบางส่วนที่เหลือต้องอดทน และก้มหน้าก้มตาทำงานต่อ หลายคนยอมรับความจริงว่า จะต้องทำงานไปตลอดชีวิต ในระหว่างนี้แค่ต้องใช้ชีวิตต่อไปวัน ๆ และหวังว่าผลจะออกมาดีที่สุด ความจริงก็คือไม่จำเป็นต้องมีเงินเพิ่มมากมาย แค่ต้องมีแผน เพราะการมีแผนที่ถูกต้องจะช่วยให้ทำเรื่องอะไรก็ได้ ที่ต้องการทำในชีวิต และจะนำหน้าคนอื่นที่ไม่ได้ทำเช่นนั้นไปแล้ว 99%
ฉะนั้นถ้าไม่นับเรื่องเงิน ให้ลองจินตนาการถึงโลกที่สามารถเกษียณได้ อยากให้การเกษียณอายุนั้นเป็นอย่างไร ปรารถนาจะทำอะไร เพราะความลับคือความฝันที่ยิ่งใหญ่ ไม่ได้มีไว้สำหรับเศรษฐีแต่มีไว้สำหรับคนที่วางแผน และไม่จำเป็นต้องรอจนถึงอายุ 65 ไม่จำเป็นต้องรอจนเข่าอ่อนแรงก่อน ถึงจะอนุญาตให้ตัวเองพักได้ แต่จะต้องสร้างแผนการเกษียณอายุในฝันเองแทน และมันจะเริ่มต้นด้วยสิ่งที่รู้คำตอบอยู่แล้ว ซึ่งก็คือทำไมของคุณ ให้นึกถึงภาพในหัวที่ผูกมากับทำไม คิดถึงสิ่งเหล่านี้เสมอ ฝันให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ วิธีที่จะไปให้ถึงฝันนั้นคือการวางแผนเกษียณ ไม่ใช่แค่การมุ่งไปที่เส้นชัยเท่านั้น แต่เป็นการลงทุนในตัวเอง ในชีวิตแบบที่ต้องการ
พื้นฐานของการเกษียณ
เมื่อพูดถึงการเกษียณอายุ จะมีคำถามพื้นฐานสองสามข้อที่ต้องถามตัวเอง
- ต้องออมเท่าไหร่ จำนวนเงินที่ควรเก็บออมต้องใช้กฎ 25 เท่า ซึ่งเป็นสูตรที่ง่ายมาก นำสิ่งที่คิดว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายประจำปีในวัยเกษียณแล้วคูณด้วย 25 แน่นอนว่ามีปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาประกอบ จำไว้ว่าการวางแผนสำหรับสิ่งที่เลวร้ายที่สุด และคาดหวังว่าจะเกิดสิ่งที่ดีที่สุด ก็ต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ และอย่าลืมปรับเปลี่ยนวิธีตามเป้าหมายของตัวเองด้วย
- สถานที่ทำงานมีการสมทบเงินให้หรือไม่ กองทุนสำหรับการเกษียณอายุที่ทำงานร่วมกับสถานที่ทำงาน เป็นบัญชีเพื่อการเกษียณอายุที่มีการสมทบเงินจากนายจ้างอีกฝ่าย เงินจำนวนนี้จะถูกนำไปลงทุนในตลาด และงอกเงยตามกาลเวลา
- มีตัวเลือกอะไรอีกบ้าง ข่าวดีคือมีตัวเลือกมากกว่าแค่บัญชีเกษียณอายุที่นายจ้างสนับสนุน
- ภาษีจะสูงขึ้นหรือต่ำลงเมื่อเกษียณอายุ ตอนนี้ทราบแล้วว่าบัญชีจะถูกหักภาษีเมื่อใด ให้เปรียบเทียบผลตอบแทนบัญชีเหล่านั้นกับสถานการณ์ เพื่อพิจารณาว่าบัญชีเกษียณอายุประเภทไหนที่ดีที่สุด เพื่อเก็บเงินให้ได้มากที่สุด ต้องหาวิธีลดการจ่ายภาษีให้เหลือน้อยที่สุด ลองดูว่าอะไรที่เหมาะสุด โดยพิจารณาจากสถานการณ์ทางภาษีของตัวเอง
- สามารถเปิดบัญชีออมทรัพย์เพื่อสุขภาพได้ มันไม่ใช่บัญชีเพื่อการเกษียณอายุ แต่เป็นบัญชีออมทรัพย์เพื่อการรักษาพยาบาลที่มีข้อได้เปรียบด้านภาษี แต่ข้อเสียคือไม่ใช่ทุกคนที่มีสิทธิ์ได้สมัคร นั่นเป็นเหตุผลที่จะต้องทำการค้นข้อมูล เพื่อดูว่ามีสิทธิ์สมัครได้หรือไม่
- โดยกฎหมายแล้วลงเงินในบัญชีเพื่อการเกษียณได้เท่าไหร่ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านรายได้และข้อจำกัดด้านเงินที่สามารถฝากได้ อายุก็มีผลต่อเรื่องนี้ การลงทุนเพื่อการเกษียณอายุยิ่งเร็วยิ่งสร้างความแตกต่างในระยะยาว ต้องทุ่มเงินในส่วนนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพื่อไปสู่ความรุ่งโรจน์ ควรเก็บออมรายได้กรณีที่ดีที่สุดคือ ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 10-15%ของรายได้ก่อนถูกหักภาษี แต่ตราบใดที่วางแผนและสามารถออมบางอย่างได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำตามกฎใด ๆ แม้จะเป็นแค่ 5 เหรียญต่อเดือนก็ตาม ให้สร้างนิสัยที่ดี และจำนวนเงินก็มีความสำคัญน้อยกว่าการลงมือทำ
บทที่ 12
ลงทุนในตัวเอง
เป้าหมายระยะยาวเป็นเป้าหมายที่ใหญ่ และมีความเฉพาะเจาะจง ซึ่งกิจกรรมนี้จะเกิดขึ้นก่อนที่จะเกษียณ เช่น ซื้อบ้าน 1 หลังหรือจ่ายค่าเล่าเรียนของลูก มีเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่สามารถช่วยให้ไปถึงเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น สิ่งนั้นเรียกว่าการลงทุน ทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานในการลงทุน แม้ว่าจะยังไม่พร้อมที่จะเริ่มลงทุนก็ตาม มันมีขั้นตอนที่สามารถทำได้เลยในวันนี้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเส้นทางเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย เพราะนั่นคือความหมายของการลงทุน
การลงทุนมีความเสี่ยง การลงทุนเป็นกระบวนการของการซื้อของบางสิ่ง (เรียกว่าสินทรัพย์) ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่การลงทุนก็สามารถสูญเสียเงินได้เร็วกว่าเช่นกัน นั่นทำให้การลงทุนมีความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม หากทำได้อย่างถูกต้อง การลงทุนจะกลายเป็นตัวคูณเงินที่แท้จริงได้ การลงทุนที่แตกต่างกันมาพร้อมกับระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน หากรับความเสี่ยงได้มากขึ้น อัตราการเติบโตของการลงทุนก็จะเร็วขึ้น การออมเงินไม่เหมือนกับการลงทุน เงินออมยังเข้าถึงได้ง่ายกว่าเงินที่ลงทุน เงินลงทุนไม่ได้มีไว้เพื่อเหตุฉุกเฉิน เงินลงทุนมีไว้เพื่อเป้าหมายระยะยาว
รู้ได้อย่างไรว่าพร้อมที่จะลงทุน
การเตรียมความพร้อมในการลงทุน ที่จะช่วยให้เห็นว่ามีสภาพจิตใจ และสภาพการเงินที่พร้อมจะลงทุน มีดังนี้
- มีเงินทุนสำรองฉุกเฉินแล้ว เวลาพูดถึงการลงทุนอย่างน้อยควรมีตาข่ายนิรภัยไว้ในมือ ขอให้แน่ใจว่ามีเงินทุนสำรองฉุกเฉินในระดับที่แข็งแรงก่อน
- ได้ชำระหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงหมดแล้ว
- กำลังบรรลุเป้าหมายการเกษียณอายุ พิจารณาว่าแผนการเกษียณอายุมีความก้าวหน้า และเริ่มรู้สึกดีกับแผนการเกษียณอายุของตัวเอง แล้วค่อยมองหาการลงทุนเพื่อสิ่งอื่น
- มีเงินลงทุน ประเมินว่ามีเงินเหลือที่จะลงทุนหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องมีมาก สามารถเริ่มลงทุนด้วยเงินเพียงเล็กน้อย ลงทุนได้ถี่ขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ด้วยแนวคิดที่วางแผนระยะยาว
- ระบุกลยุทธ์ทางการลงทุนที่ต้องการ ในวงการการเงินมีรูปแบบกลยุทธ์อยู่สองอย่างคือการลงทุนเชิงรุก และการลงทุนเชิงรับ ซึ่งทั้งคู่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
- รู้จักระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของตัวเอง ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้เป็นมาตรวัดว่า ความเสี่ยงระดับไหนที่จะไม่มีผลกระทบต่ออารมณ์
- ระบุขอบเขตเวลา หากเป้าหมายเป็นเป้าหมายระยะสั้น การลงทุนก็อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ด้วยลักษณะของเป้าหมายระยะยาว ความสามารถในการรับความเสี่ยงอาจเป็นไปได้มากขึ้น
วิธีลงทุนอย่างชาญฉลาด
ปรัชญาการลงทุนนั้นเรียบง่าย อย่าทำให้การลงทุนกลายเป็นเรื่องซับซ้อน ความจริงเกี่ยวกับการลงทุนคือ การลงทุนระยะยาวนั้นน่าเชื่อถือที่สุด มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับการขึ้นและลงของตลาดทุกวัน แต่ค่อย ๆ ลาดเอียงขึ้นอย่างสม่ำเสมอเมื่อเวลาผ่านไป หมายความว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ อะไรก็ตามที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้น มันไม่ได้ส่งผลอะไรเลย ถ้าอยู่ในตลาดนั้นเป็นเวลานาน ดอกเบี้ยทบต้นจะเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ ซึ่งหมายถึงเร็วกว่าดอกเบี้ยธรรมดามาก
เชื่อในสิ่งที่ใหญ่ ให้ความสนใจในสิ่งที่เล็ก
มันสำคัญมากที่จะฝันให้ใหญ่ เพราะหากไม่เชื่อมั่นในความสามารถตัวเอง จะบั่นทอนโอกาสในการประสบความสำเร็จตั้งแต่เริ่มต้น สิ่งที่กระทำในตอนนี้ ส่งผลต่อวิสัยทัศน์นั้น คนที่เราเป็นในวันนี้เป็นตัวกำหนดว่า จะเป็นใครในอนาคต
บทที่ 13
ใช้ชีวิตในแบบที่รัก
คนเราเคยชินกับการโทษตัวเองเวลาที่เกิดข้อผิดพลาด มองให้ชีวิตเส้นทางการเงินว่ามันเป็นการทดลอง ขจัดความกดดันที่จะต้องทำให้ถูกต้องในครั้งแรก สิ่งที่ต้องทำคือการทดลองกับตัวแปรต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ เหมือนกับที่นักเคมีเขาทำกัน สิ่งนี้ไม่ได้สะท้อนถึงคุณค่าในฐานะบุคคล แต่เป็นเพียงส่วนผสมที่ต้องปรับเปลี่ยน และทั้งหมดนี้ไม่มีเรื่องไหนถือเป็นความล้มเหลวเลย ครั้งเดียวที่ล้มเหลวอย่างแท้จริงคือ ถ้าเลือกที่จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
การจัดทำงบประมาณไม่ควรเป็นเพียงการจดตัวเลข โดยปราศจากการมองเห็นที่ชัดเจนว่า ตัวเลขจะช่วยทำอะไร การออมไม่ควรเป็นเพียงการนำเงินไปทิ้งโดยไม่มีจุดประสงค์ การลงทุนในตลาดหุ้นไม่ควรทำเป็นเหมือนเป็นค่ามาตรฐาน โดยปราศจากความเข้าใจในระดับความเสี่ยงที่ตัวเองยอมรับได้ไหว การชำระหนี้ไม่ควรเกี่ยวกับการรีบจัดการให้จบ ๆ ไป ต้องจัดการกับสาเหตุที่แท้จริงว่า ทำไมถึงเป็นหนี้ตั้งแต่แรก ไม่สำคัญว่าจะเริ่มต้นที่ตรงไหน สิ่งสำคัญคือต้องใส่ใจในบทเรียน แล้วความผิดพลาดจะช่วยให้ก้าวไปข้างหน้าได้
ความละอายใจเป็นตัวกระตุ้นการใช้จ่ายที่ใหญ่มาก คนเราถูกล่อลวงให้ยอมซื้อสิ่งที่ไม่สามารถจะจ่ายได้ไหว เพื่อให้เข้ากับสังคมได้ ตามทัน หรือเพียงแค่ทำให้จิตใจได้หยุดพักจากความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้มากเกินไป ยอมทำทุกอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกอับอาย เครื่องหมายที่ใหญ่ที่สุดของชีวิตที่ประสบความสำเร็จด้านการเงินคือ ความสามารถของบุคคลในการให้เวลาใส่ใจ และให้พลังงานอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับคนที่พวกเขารัก ความสมหวังทางการเงินที่แท้จริงไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่มีหรือหามาได้
ความมั่นคงทางการเงิน
ความสมหวังทางการเงินที่แท้จริงคือ ความมั่นคงทางการเงิน เมื่ออยู่ในจุดที่มีความมั่นคงทางการเงินก็จะมีทางเลือก ไม่ต้องถูกบังคับให้พึ่งพาสินเชื่ออีกต่อไป และจะมีอิสระในการเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตมากที่สุด
ความชัดเจนทางการเงิน
ความสมหวังทางการเงินที่แท้จริงนั้น เกี่ยวข้องกับความชัดเจนด้วย แค่ทางเลือกไม่พอ แต่ทางเลือกนั้นต้องชัดเจน จะรู้ว่าอะไรที่สำคัญกับตัวเองจริง ๆ จะรู้ว่าต้องการอะไรจริง ๆ และจะรู้และสามารถควบคุมอารมณ์ที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจใช้จ่าย จะรู้ว่าอะไรที่ทำให้มีความสุขจริง ๆ เมื่อสัมผัสได้ถึงความชัดเจนแล้ว การเปรียบเทียบโดยไม่จำเป็นจำนวนมากจะหยุดลง
ความมั่นใจทางการเงิน
ความสมหวังทางการเงินที่แท้จริงนั้น เกี่ยวกับความมั่นใจ การเปลี่ยนแปลงตัวเองนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเงิน ไม่ต้องสงสัยอีกต่อไปว่ามีคุณสมบัติเพียงพอที่จะตัดสินใจในเส้นทางการเงินของตัวเองหรือไม่ ตัวคุณคือคนถือกุญแจสู่ชีวิตทางการเงินของตัวเอง อยู่ในที่นั่งคนขับและยังรู้อยู่แก่ใจว่า คือคนที่ดีที่สุดสำหรับงานนี้ เพราะมันคือชีวิตของตัวเอง ความมั่นคง ความชัดเจน และความมั่นใจ นี่คือการประสบความสำเร็จทางด้านการเงิน
ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเส้นชัย
ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ จะต้องจัดการกับเงินไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จะมีเงินที่ต้องหา ใช้จ่าย หรือจัดการ จะมีเงินส่งต่อหรือให้คนอื่น จะเกิดความต้องการ และความต้องการเหล่านั้นจะต้องเสียเงิน ไม่สามารถหนีจากเงินได้ ดังนั้น สิ่งที่ตั้งเป้าไว้จึงไม่ใช่เส้นชัย แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง จากคนที่เคยเป็นสู่คนที่อยากเป็น และจากสิ่งที่ชีวิตเคยเป็นไปสู่สิ่งที่ต้องการให้ชีวิตเป็น แล้วกำลังพุ่งเป้าไปที่การเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเอง
การเชื่อมั่นในตัวเองและออกแบบชีวิตที่สามารถเพลิดเพลินได้อย่างแท้จริง ในที่สุดแล้วชีวิตที่สมบูรณ์ทางการเงิน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีมันเกี่ยวกับวิธีที่ใช้ชีวิต มันเกี่ยวกับการมีตัวเลือก มันเกี่ยวกับการสร้างโอกาสให้ตัวเอง มันเกี่ยวกับการวางแผนและความสุข มันเกี่ยวกับการได้เก็บออมและการใช้จ่าย มันเกี่ยวกับการขยายเวลาที่มีอยู่ออกไปให้ได้มากที่สุด โดยใช้เงินที่ได้รับ มันเกี่ยวกับการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี โดยการใช้จ่ายอย่างรู้คุณค่า ไม่ใช่ใช้จ่ายให้น้อยลง ขอแค่มีความสุข นั่นคือเป้าหมายที่แท้จริง พยายามใช้กฎ 25 เท่ากับเรื่องใช้เงิน และใช้มันให้ดี ใช้เงินให้ฉลาด เป็นคนที่รอบคอบ อยู่กับปัจจุบัน จงเป็นคนตั้งใจและเป็นตัวเอง ไปหาสิ่งที่ต้องการในชีวิต ออกแบบแผนเพื่อตามความฝัน แล้วดำเนินการตามนั้น เงินจะสนับสนุนมันเมื่อมันมีทิศทาง นั่นคืองานที่แท้จริง.