หลังจากที่บทความที่แล้วเราได้อธิบายว่าการบันทึกต้นทุนขาย (Cost of goods sold) และสินค้าคงเหลือ (Inventory) ด้วยวิธี LIFO ในภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืด จะส่งผลให้ COGS และ Inventory มีค่าต่างไปจากวิธีแบบ FIFO ดังนั้นเราจำเป็นต้องนำบริษัทที่ใช้วิธี LIFO แปลงมาเป็น FIFO ให้ได้ก่อนที่จะนำงบการเงินมาเปรียบกัน

Source: https://www.investopedia.com/articles/02/060502.asp

ในการแปลงจาก LIFO มาเป็น FIFO ตามมาตรฐาน U.S. GAAP บริษัทจำเป็นต้องรายงานตัวเลข LIFO reserve ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่าง Inventory ตามวิธี LIFO และ FIFO ซึ่งเมื่อเรานำ LIFO Reserve บวกกับ LIFO Inventory ก็จะได้เป็น FIFO Inventory

FIFO inventory = LIFO reserve + LIFO inventory

ในภาวะเงินเฟ้อ บริษัทที่ใช้วิธีแบบ LIFO จะจ่ายภาษีน้อยกว่าแบบ FIFO เนื่องจากมีตัวเลขกำไรน้อยกว่า ดังนั้นในการแปลงเป็น FIFO จะต้องบวกกำไรสะสม (Retained earnings) เพิ่มเข้าไปในส่วนของผู้ถือหุ้น ตามปริมาณ LIFO reserve ด้วยเช่นกัน มีสูตรดังนี้

Additional retained earnings = LIFO reserve x (1-tax)

ส่วนปริมาณเงินสดก็จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนตาม LIFO reserve ด้วยเช่นกัน โดยการนำ LIFO reserve คูณด้วยอัตราภาษี เนื่องจากบริษัทที่ใช้วิธีแบบ LIFO จะเสียภาษีน้อยกว่าแบบ FIFO ในภาวะเงินเฟ้อ คำนวณได้ดังนี้

Additional cash = LIFO reserve x tax

และส่วนสุดท้ายคือต้นทุนขาย (COGS) ที่แปลงเป็นแบบ FIFO ได้โดยการนำ COGS ของวิธี LIFO ลบด้วยปริมาณ LIFO reserve ที่เปลี่ยนแปลงไป

FIFO COGS = LIFO COGS – (Ending LIFO reserve – Beginning LIFO reserve)

เพียงเท่านี้เราจะจะนำบริษัทที่ใช้วิธีแบบ LIFO มาเปรียบเทียบกับบริษัทที่ใช้วิธี FIFO ได้แล้ว อย่างไรก็ตามในประเทศไทยไม่อนุญาตให้บริษัทรายงานงบด้วยวิธี LIFO มีเพียงแค่สหรัฐฯที่ใช้มาตรฐาน U.S. GAAP เท่านั้น เราจึงไม่ค่อยได้เห็นวิธีบันทึกดังกล่าวมากนัก

ในเมื่อวิธีบันทึกต้นทุนขาย (COGS) แบบ LIFO ในภาวะเงินเฟ้อ จะส่งผลให้มี COGS สูงกว่าวิธี FIFO และทำให้ตัวเลขกำไรออกมาต่ำกว่าด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงส่งผลต่อค่าของอัตราส่วนทางการเงินต่างๆด้วย โดยแยกอัตราส่วนออกเป็นกลุ่มดังนี้

Profitability Ratios

จากการที่วิธีแบบ LIFO จะมีค่า COGS ที่สูงกว่าวิธี FIFO ในภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ของเศรษฐกิจ ส่งผลให้บริษัทมีตัวเลขกำไรที่ต่ำกว่า FIFO ดังนั้นอัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไร (Profitability ratios) ต่างๆ เช่น Profit margins และ Return ratios ต่างๆ จึงมีค่าต่ำกว่าในวิธี FIFO ไปด้วยเช่นกัน

Liquidity Ratios

ในภาวะเงินเฟ้อ ปริมาณสินค้าในคลัง (Inventory) ของวิธีแบบ LIFO จะถูกใช้ออกไปเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าแบบ FIFO เนื่องจากมี COGS ที่สูงกว่า จึงส่งผลให้อัตราส่วนสภาพคล่อง เช่น Current ratio ซึ่งเกิดจากการนำสินทรัพย์หมุนเวียน (Current assets) ซึ่งมี Inventory รวมอยู่ด้วย หารด้วยหนี้สินหมุนเวียน (Current liabilites) มีค่าต่ำกว่าวิธีแบบ FIFO ส่วน Working Capital ที่นำ Current assets ลบด้วย Current liabilities ก็มีค่าต่ำกว่าในวิธี FIFO ด้วยเช่นกัน

Activity Ratios

ค่า Inventory turnover ratio ซึ่งคำนวณจากการนำ COGS หารด้วย Average inventory ในวิธี LIFO จะมีค่าสูงกว่าใน FIFO เนื่องจาก COGS เป็นค่าที่เกิดขึ้นจากการซื้อสินค้าครั้งล่าสุด ต่างจาก Average inventory ที่เป็นการเฉลี่ยปริมาณสินค้าในคลังของทั้งงวด ดังนั้นการเปลี่ยนจากวิธี LIFO มาเป็น FIFO จะทำให้ค่านี้ต่ำลง รวมถึง Days of inventory on hand ที่เป็นการหาจำนวนวันที่ Inventory ค้างในคลัง (365/Inventory turnover ratio) สูงขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง