หากจะพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องเงินเฟ้อในปัจจุบัน ผู้คนส่วนมากก็คงคุ้นหูกันมาบ้างแล้ว เนื่องจากการขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve หรือ Fed) ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ส่วนหนึ่งก็มาจากตัวเลขเงินเฟ้อนั่นแหละ แต่เงินเฟ้อก็ไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียวนะ ยังคงมี Hyperinflation ด้วยนะ ลองไปดูความหมายกันเลย

ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง หรือ Hyperinflation คือ สภาวะที่ ระดับราคาสินค้าและบริการพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ จนไม่สามารถควบคุมได้ โดยทั่วไปนักเศรษฐศาสตร์มักกำหนดว่าภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงกว่า 50% ต่อเดือน

แล้วอะไรคือสาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อที่รุนแรงขนาดนี้

1.การพิมพ์เงินมากเกินไป เมื่อรัฐบาลเผชิญกับปัญหาการขาดดุลงบประมาณ จากการมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ ก็มักจะแก้ปัญหาด้วยการพิมพ์ออกมาเงินเพิ่ม แต่ก็จะส่งผลเสียในระยะยาว

ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว→ มูลค่าของเงินลดลงเมื่อเทียบกับสินค้าและบริการ

2.วิกฤตการณ์ค่าเงิน จากค่าเงินที่อ่อนตัวอย่างรวดเร็ว จะทำให้ประชาชนภายในประเทศสูญเสียความเชื่อมั่นในค่าเงินของตน แล้วจะเร่งให้เกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง

ค่าเงินอ่อนตัวอย่างรวดเร็ว→ผู้คนหลีกเลี่ยงการถือครองเงินของประเทศตนเอง→เกิดการขายเงินสกุลตนเองที่กำลังอ่อนค่า→ราคาสินค้าและบริการพุ่งสูง หากไม่ขึ้นราคาก็เหมือนกับการลดราคาสินค้า

3.ความไม่เสถียรทางการเมืองและเศรษฐกิจ

ความไม่แน่นอนทางการเมืองทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น→เศรษฐกิจที่อ่อนแอทำให้ค่าเงินลดลง→ประชาชนและนักลงทุนอาจหันไปใช้สกุลเงินอื่นที่มั่นคงกว่า→ค่าเงินยิ่งอ่อนค่าลง

ตัวอย่างการเกิด Hyperinflation ในประวัติศาสตร์โลก

1.ประเทศเยอรมนีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จากที่เยอรมนีต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล ทำให้ต้องพิมพ์เงินเพิ่มขึ้นมาก จนเกิดภาวะ Hyperinflation ที่รุนแรง

2.ประเทศซิมบับเวในปี 2000: การจัดการเศรษฐกิจที่ไม่ดีและความไม่เสถียรทางการเมือง ทำให้เกิด Hyperinflation รุนแรง โดยในปี 2008 อัตราเงินเฟ้อสูงถึง 89.7 เซ็กซ์ติลเลียนเปอร์เซ็นต์ต่อเดือนเลยทีเดียว

วิธีการจัดการกับ Hyperinflation

1.การลดการพิมพ์เงิน: รัฐบาลต้องหยุดการพิมพ์เงินเพิ่ม และพยายามรักษาสมดุลของงบประมาณ ไม่ให้เกิดการขาดดุลงบประมาณที่ไม่สมเหตุสมผล

2.การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ: ต้องมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่เพื่อเพิ่มความมีเสถียรภาพและความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุน

สุดท้ายแล้วการเกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรงหรือ Hyperinflation ถือว่เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ร้ายแรง ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของสังคม ต้องได้ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน จึงจะเป็นเกราะป้องกันชั้นดี ที่จะไม่ทำให้เกิดสภาวะเช่นนี้