52 วิธีฝึกสมองให้จำอะไรก็ได้ง่าย ๆ โดยอัตโนมัติ และจำได้นาน

สั่งซื้อหนังสือ 52 วิธีฝึกสมองให้จำอะไรก็ได้ง่าย ๆ โดยอัตโนมัติ และจำได้นาน ได้ที่นี่ : คลิ๊ก

สรุปหนังสือ 52 วิธีฝึกสมองให้จำอะไรก็ได้ง่าย ๆ โดยอัตโนมัติ และจำได้นาน

เชื่อว่าคนเราทุกคนล้วนมีโอกาส และมีศักยภาพที่จะเป็นแชมป์ความจำ เพราะความจำนั้นเป็นศักยภาพที่พัฒนาได้ตลอดเวลา โดยการฝึกบ่อย ๆ ซึ่งไม่เพียงช่วยให้จำข้อมูลได้เท่านั้น แต่ยังช่วยลับสมองให้คม เพื่อทำให้จำอะไรก็ได้ง่าย ๆ โดยอัตโนมัติ และจำได้นาน เป็นประโยชน์ต่อการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน

บทที่ 1 ประเมินความจำของคุณและเรียนรู้วิธีฝึกสมองอย่างง่าย ๆ

ขั้นตอนการจำของคนเรานั้นมี 3 ประการคือ 1. ทำให้สิ่งที่จะจำนั้นน่าจดจำ 2. จัดเก็บสิ่งนั้นเอาไว้ในสมองหรือจินตนาการ และ 3. พอจะใช้ก็ดึงออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

ก่อนเริ่มฝึกสมองให้จำอะไรก็ได้ให้ดีขึ้นและจำได้นานนั้น ต้องมีความเชื่อมั่นก่อนว่าตัวเองมีศักยภาพที่จะฝึกสมองให้จำได้ดีขึ้น เคยมีคนพูดว่าความจำก็คือตะแกรงร่อน เพื่อกรองและเก็บข้อมูลที่ต้องการจำ ซึ่งจะทำให้จำได้แม่นยำโดยเทคนิควิธีการต่าง ๆ ในหนังสือเล่มนี้

Step 01 ประเมินความจำของคุณในปัจจุบันว่าดีมากน้อยแค่ไหน

คนบางคนมักจะคิดไปเองว่าความจำของตนนั้นแย่ อาจเป็นได้ว่าเพราะคงไม่เคยรู้วิธีในการเข้าถึงศักยภาพที่แท้จริงของมัน จึงทำให้เกิดอาการสงสัยตัวเองขึ้น เลยทำให้เข้าใจเหมารวมไปเองว่าความจำไม่ดี

ขั้นตอนแรกนี้จะประเมินดูว่าความสามารถในการจำในปัจจุบันนั้นอยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่ดี โดยใช้แบบทดสอบนี้

ทดสอบความสามารถในการจำคำให้เวลา 3 นาทีดูคำ 20 คำต่อไปนี้ ต้นไม้ เวลา ใบหน้า ท่อน้ำ นาฬิกา หนู เครื่องยนต์ ดาวเคราะห์ สายฟ้า สร้อยคอ เสื้อผ้า หนอนผีเสื้อ สวน น้ำเชื่อม รูปภาพ บังเหียน นอนหลับ ลูกแอปเปิ้ล มหาสมุทร หนังสือ แล้วให้เขียนคำตอบ และรวมคะแนนใส่สมุดบันทึกที่ได้เตรียมเอาไว้

Step 02 วิธีฝึกสมองให้จินตนาการเป็นภาพและฝึกการสังเกต

การจำโดยจินตนาตาการวาดภาพในใจหรือนึกเป็นภาพ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ ใบหน้า และสถานที่การจินตนาสร้างภาพขึ้นในใจหรือดวงตาของจิต ไม่จำเป็นต้องสร้างภาพให้เหมือนเป๊ะ ๆ ราวกับการถ่ายสำเนา เพียงแค่จินตนาการเห็นส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังพยายามนึกภาพอยู่ก็พอ คำว่า จินตนาการไม่ได้หมายความแค่ว่าการสร้างภาพขึ้นในใจเท่านั้น แต่มันยังหมายถึงการคิดขึ้นใหม่ หรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ได้อีกด้วย และภาพที่สร้างขึ้นมามีความหมายเฉพาะเจาะจง หมายความว่าภาพดังกล่าวจะอยู่ภายในสมอง ซึ่งมันจะไม่ตรงกับสิ่งที่มีอยู่จริงในโลกภายนอกก็ได้

ขั้นตอนและวิธีฝึกจินตนาการเป็นภาพ โดยใช้การสังเกตเพื่อเพิ่มศักยภาพ เพิ่มความสามารถในการจินตนาการนึกภาพเพื่อจำ

  1. เริ่มจากการหยิบของใช้ในบ้านที่ใกล้มือ สมมุติว่าหยิบกาต้มน้ำมา ให้ใช้เวลาประมาณ 15-20 วินาที สังเกตดูรายละเอียดของกาต้มน้ำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  2. จากนั้นให้หลับตาและนึกภาพสิ่งที่เลือกหยิบมา ด้วยดวงตาของจิตหรือการจินตนาการสร้างภาพขึ้นในใจ พอนึกอะไรไม่ออกแล้วให้ลืมตา และสำรวจดูรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม
  3. ให้หลับตาอีกครั้งและเพิ่มรายละเอียดที่สังเกตเห็นได้ใหม่ ใส่ลงในภาพเดิมที่นึกจินตนาการสร้างไว้ในใจ จากนั้นให้ลืมตาอีกครั้งเพื่อเก็บรายละเอียดเพิ่มอีก ให้ทำแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมา ลืมตา สังเกต หลับตา ตรวจทาน จนกระทั่งเก็บรายละเอียดของกาต้มน้ำได้ครบทุกแง่ทุกมุมเท่าที่สามารถทำได้
  4. ตอนนี้ให้วาดรูปพร้อมรายละเอียดที่จำได้ลงบนกระดาษโดยไม่กลับไปดูมันอีก

เมื่อวาดรูปกาต้มน้ำเท่าที่จำได้เสร็จแล้ว ให้ตรวจทานดูรอบสุดท้าย ว่ามีรายละเอียดอะไรที่จะเพิ่มใส่ภาพในใจอีก

Step 03 วิธีจำอักษรย่อ

อักษรย่อ คือ คำที่ถูกสร้างขึ้นจากอักษรตัวแรก หรืออักษรตัวแรกของคำหลาย ๆ คำ เช่น NATO คืออักษรย่อของ North Atlantic Treaty Organization เมื่อใช้พูดสื่อสารอักษรย่อก็คือ คำศัพท์หนึ่งคำแทนการอ่านออกเสียงพยัญชนะทีละตัว

วิธีจำอักษรย่อโดยใช้วิธีขยายส่วน รูปแบบการใช้อักษรย่อที่นิยมกันรูปแบบหนึ่งคือ การสร้างประโยคหรือโคลงบทหนึ่งขึ้นจากอักษรตัวแรกของคำแต่ละคำ เพื่อช่วยให้จำส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อมูลเรียงตามลำดับได้อย่างถูกต้อง รูปแบบนี้เรียกว่าอักษรย่อแบบขยายส่วน เช่น  Sergent Major Hates Eating Onions อักษรย่อที่ใช้จำชื่อทะเลสาบใหญ่ทั้ง 5 ในทวีปอเมริกาเหนือคือ Superior (ทะเลสาบซูพีเรีย) Michigan (ทะเลสาบมิชิแกน) Huron (ทะเลสาบฮูรอน) Erie (ทะเลสาบอิรี) และ Ontario (ทะเลสาบออนตาริโอ)

Step 04 วิธีแปลงตัวเลขให้เป็นประโยคภาษา

สามารถใช้เทคนิคนี้สร้างอักษรย่อแบบขยายส่วน เพื่อจำตัวเลขชุดสั้น ๆ ได้ ตัวเลขแต่ละตัวจะบอกถึงจำนวนตัวอักษรที่ใช้สะกดคำแต่ละคำในชุดตัวเลขนั้น ๆ เช่น ใช้วิธีช่วยจำหลักทศนิยมเจ็ดแปดหลักของค่า Pi เพื่อจำให้ได้

ค่า Pi =  3.1415926

HOW (3) I (1) WISH (4) I (1) Could (5) ENUMERATE (9) PI (2) EASILY (6)

Step 05 วิธีจำโดยใช้ส่วนของร่างกาย

ขั้นตอนนี้เป็นวิธีลัดสำหรับการจำแบบเร่งด่วน หากต้องการจำอะไรขึ้นมากะทันหัน นั่นคือวิธีการจำโดยใช้ส่วนของร่างกาย ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพดีเยี่ยม เช่น รายการซื้อของ วิธีนี้ใช้หลักการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้ากับภาพจินตนาการของสิ่งที่ต้องการจะจำ ยิ่งเห็นภาพในใจชัดเจนหรือเกินจริงมากเท่าไหร่ ก็จะจำได้แม่นมากขึ้นเท่านั้น จำกัดสิ่งที่จะจำไม่เกิน 10 อย่าง

สมมุติว่าจำเป็นต้องจำรายการซื้อของ 10 อย่างต่อไปนี้ สีทาบ้านสีน้ำเงิน อาหารสุนัข หนังสือพิมพ์ ไฟฉาย ใบสั่งยา เนื้อไก่ ยาสีฟัน  กล้วย แชมพู และถ่านใส่นาฬิกาปลุก จินตนาการเป็นภาพว่า กำลังจุ่มเท้าลงไปในถังสีทาบ้านสีน้ำเงินที่เปิดฝาทิ้งไว้ จินตนาการว่าสุนัขกำลังกระโดดมาเกาะที่หัวเข่า หนังสือพิมพ์ที่ถูกม้วนโผล่ออกมาจากกระเป๋ากางเกงต้นขา ลำแสงไฟส่องออกมาจากสะดือ ใบสั่งยาติดอยู่ที่หน้าอก  เนื้อไก่แปะอยู่ที่หัวไหล่ ละเลงยาสีฟันไว้ทั่วปาก จมูกดูเหมือนกล้วย เส้นผมเต็มไปด้วยฟองแชมพู ในมือมีนาฬิกาปลุกที่ส่งเสียงดังอยู่ นี่เป็นการใช้จินตนาการเล็กน้อย ทำให้จำรายการเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว

Step 06 เรียนรู้ทักษะสำคัญหลักที่ 1 การใช้วิธีเชื่อมโยงสิ่งที่จะจำเข้าด้วยกัน

การใช้วิธีเชื่อมโยงเป็นหัวใจสำคัญในการฝึกสมองให้มีความจำที่ดี สมองของคนเราประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทนับพันล้านเซลล์เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ช่วยให้เกิดการจัดเรียงตัวของความคิดและความจำไม่รู้จบ ดังนั้นจึงพูดได้ว่าความคิดไอเดียถ้อยคำตัวเลขหรือสิ่งของใด ๆ 2 อย่าง จะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างง่ายดายและเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ แม้ว่าของ 2 อย่างนั้นจะต่างชนิดต่างสายพันธุ์กัน สิ่งที่ต้องทำคือปล่อยให้ความคิดและจินตนาการขยายตัวอย่างเป็นอิสระ ตัวอย่างจะเชื่อมโยงคำว่ากบและคำว่าหิมะเข้าด้วยกัน ทำได้โดยจินตนาการถึง กบที่ปั้นจากหิมะ กบที่กำลังกระโดดฝ่าหิมะ หรือกบที่กำลังเล่นสกี อาศัยการจินตนาการการเรียงตัวกันเป็นห่วงโซ่ ความคิดก็จะไม่มีที่สิ้นสุด

Step 07 วิธีการจำแบบลูกโซ่

วิธีการจำแบบลูกโซ่ เป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ สำหรับใช้จำข้อมูลที่เรียงลำดับกัน ไม่ว่าจะเป็นรายการซื้อของ ความคิด สิ่งของ ทิศทาง และเรื่องอื่น ๆ สิ่งที่ต้องทำคือปลดปล่อยจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นไปอย่างอิสระ ตัวอย่างเช่น จะจำสิ่งของ 4 อย่างต่อไปนี้คือ มือ เนย แม่เหล็ก และแผนที่โดยเรียงตามลำดับ ด้วยวิธีการจำแบบลูกโซ่ ให้จินตนาการว่าเอามือจุ่มลงไปในเนย แล้วก็ดึงแม่เหล็กออกมาจากเนย ตัวแม่เหล็กก็ดูดเข้าหาหนังสือ ซึ่งเป็นหนังสือแผนที่ ตอนนี้สิ่งของทั้ง 4 อย่างก็จะจำได้ง่ายแล้ว เพราะได้สร้างห่วงโซ่ที่เชื่อมสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกัน

Step 08 เรียนรู้ทักษะสำคัญหลักที่ 2 การใช้สถานที่มาช่วยกำหนดตำแหน่ง

สถานที่คือทักษะสำคัญอันที่ 2 ที่จะทำให้ความจำสมบูรณ์มากขึ้น สถานที่จะสร้างแผนที่ความจำขึ้น สถานที่เหล่านี้เปรียบเสมือนตู้เก็บเอกสาร วิธีนี้เป็นวิธีเก็บข้อมูล คืนความจำที่เป็นธรรมชาติและมีประสิทธิภาพ ตำแหน่งสถานที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการจำครั้งแรกนานกว่า 2,000 ปีแล้ว ชาวกรีกโบราณและชาวโรมันพบว่า วิธีที่ดีที่สุดที่จะจำสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ก็คือจัดมันให้เป็นระเบียบ

สถานที่คือสิ่งที่สำคัญเหมือนเสาเข็มหลักที่ขาดไม่ได้สำหรับการฝึกความจำ เพราะมันผสมผสานเข้ากันได้ดีกับวิธีการเชื่อมโยง ซึ่งใช้เป็นเทคนิคในการจำตัวเลข และมันเป็นเนื้อหาหลักของเทคนิควิธีการจำแบบวาดเส้นทาง

Step 09 เรียนรู้ทักษะสำคัญหลักที่ 3 การใช้จินตนาการสร้างภาพให้จำได้ง่ายๆ

จินตนาการไม่ใช่เพียงแค่พลังในการสร้างภาพในใจเท่านั้น มันยังเป็นพลังความคิดที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย เช่น จินตนาการไม่ได้สงวนไว้สำหรับศิลปิน นักดนตรี หรือนักกวีเท่านั้น แต่ยังเป็นพลังที่เราทุกคนมีอยู่ในตัวเอง จินตนาการมีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของคลื่นสมองธีต้า ซึ่งโดยปกติแล้วจะตื่นตัวยามที่เรากำลังฝัน เด็ก ๆ โดยเฉพาะทารก จะสร้างคลื่นสมองชนิดนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง ระหว่างที่พวกเขารู้สึกตัวและตื่นอยู่ ซึ่งนั่นอธิบายได้ว่า ทำไมจินตนาการของเด็ก ๆ จึงพลุ่งพล่านได้ดีไม่มีเส้นขีดกั้นระหว่างความเป็นจริงและจินตนาการ แต่พอโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่จินตนาการที่ครั้งหนึ่งเคยพลุ่งพล่านกลับถูกควบคุมไว้ แต่เราสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยการฝึกฝน

Step 10 เทคนิควิธีการจำแบบวาดเส้นทาง Journey method

ตอนนี้ได้เวลาที่จะนำเอาทักษะสำคัญ ในการฝึกความจำทั้ง 3 อย่างมารวมเข้าไว้ด้วยกันนั่นคือทักษะสัมพันธ์ที่ 1. สร้างการเชื่อมโยง 2. การใช้สถานที่ และ 3. การใช้จินตนาการ การนำทักษะเหล่านี้มาประกอบรวมกัน ซึ่งเป็นเทคนิคที่ได้ผลและดีเยี่ยมสำหรับการจำข้อมูลทุกเรื่อง วิธีการจำแบบวาดเส้นทางเริ่มจากการเลือกสถานที่ที่คุ้นเคย ซึ่งประกอบไปด้วยตำแหน่งสถานที่ หรือจุดพักตลอดเส้นทาง ตำแหน่งสถานที่เหล่านั้นจะถูกใช้เป็นที่เก็บสิ่งที่ต้องการจำไว้ในสมอง ทั้งนี้เส้นทางที่เลือกใช้จะต้องเรียงตามลำดับก่อนหลัง ตามสิ่งที่ต้องการจะจำ

Step 11 วิธีฝึกให้มีสมาธิ

ในวันที่รู้สึกว่าไม่มีสมาธิ อาจรู้สึกเครียดหรือเหนื่อย แต่บางวันก็รู้สึกกระปรี้กระเปร่ามาก ตื่นตัวและเปี่ยมไปด้วยพลังอีกครั้ง ควบคุมทุกอย่างได้ดี เป็นสภาวะที่มีสมาธิสูง ซึ่งถูกนำมาใช้อธิบายถึงสภาวะทางจิตใจของนักกีฬา ที่เล่นกีฬาได้ดีเยี่ยม การวัดค่าความถี่หลายรูปแบบของกระแสไฟฟ้าที่สมอง สร้างขึ้นด้วยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง คนเราสร้างความถี่ได้หลากหลายแบบ ไล่เรียงตั้งแต่คลื่นไฟฟ้าเดลตาที่เป็นคลื่นช้าหรือมีความถี่ต่ำ ซึ่งเชื่อมโยงกับการพักผ่อน การควบคุมความเครียด และการนอนหลับไปจนถึงคลื่นบีต้าที่เป็นคลื่นเร็วและหรือมีความถี่สูง ซึ่งเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานจิตใจ เช่น การตัดสินใจและการแก้ปัญหาความถี่ที่หลากหลาย แบบนี้ต่างก็มีหน้าที่ของมัน และมีบทบาทเชิงบวกกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสร้างคลื่นบีต้าจะช่วยให้เราต่อสู้กับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าเราเอาแต่สร้างคลื่นดังกล่าวนี้ตลอดเวลา ก็จะไม่มีเวลาคิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ หรือจำอะไรได้อย่างมีประสิทธิภาพคลื่นผสมระหว่างคลื่นแอลฟากับคลื่นธีต้า ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ระดับกลาง เป็นคลื่นที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการเรียนจดจำและฟื้นความจำ จะสามารถสร้างคลื่นความถี่ลักษณะนี้ได้ โดยการฝึกความจำเป็นประจำ

Step 12 วิธีแปลงตัวเลขให้เป็นภาษาภาพ

เพื่อให้จำได้ง่าย ๆ หรือเรียกว่าภาษาของตัวเลข

ทำได้โดยกำหนดรหัสพิเศษให้แก่ตัวเลข ซึ่งรหัสจะแปลงตัวเลขเหล่านี้ ให้มีความหมายและเป็นภาพที่จดจำได้ เรียกว่าภาษาของตัวเลข วิธีการใช้เทคนิคแปรตัวเลขให้เป็นรูปทรง เพื่อให้จำอะไรก็ได้ง่าย ๆ ระบบรูปแบบตัวเลขนั้นคือการแปลงตัวเลขหนึ่งตัว ให้เป็นภาพที่มีลักษณะคล้ายกับตัวเลขของมันตัวอย่าง เช่น เลข 8 หากใช้จินตนาการเล็กน้อย ก็จะเห็นเป็นรูปตุ๊กตาหิมะ ดังนั้น การที่จะจำว่าออกซิเจนมีเลขอะตอมเท่ากับ 8 ก็ให้วาดภาพตุ๊กตาหิมะที่ใส่หน้ากากออกซิเจน แม้ดูจะเป็นภาพที่ประหลาด แต่จะไม่ลืมมัน ตอนนี้ตัวเลขก็มีชีวิตขึ้นมาแล้ว ตัวเลขเหล่านี้เคลื่อนไหวได้ ให้เลือกใช้ลักษณะที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และเป็นที่น่าจดจำได้ทันที ให้นึกทบทวนภาพดังกล่าวนี้ในใจหลาย ๆ ครั้ง แล้วจะไม่มีวันลืมรหัสประจำตัวเมื่อต้องใช้มันขึ้นมา

Step 13 วิธีจำแบบใช้เสียงที่คล้องกับตัวเลข

ทางเลือกอีกหนึ่งทางถ้าไม่ใช้การแปลงตัวเลขให้เป็นรูปภาพก็คือ การใช้เสียงที่พร้อมกับตัวเลขวิธีนี้มีหลักการคือ สร้างภาพหลักของตัวเลขโดยใช้เป็นคำที่ออกเสียงที่คล้องกับตัวเลขนั้น ๆ เช่น Door (ดอร์-ประตู) ก็อาจใช้เป็นเสียงที่คล้องกับเลข 4 (ฟอร์-สี่) หลังจากนั้นภาพประตูก็จะกลายเป็นภาพหลักสำหรับเลขดังกล่าว และสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยจำข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเลข 4 ได้

Step 14 วิธีจำโดยใช้พยัญชนะ

การออกเสียงพยัญชนะจริง ๆ แล้วก็เป็นเทคนิคช่วยจำที่มีประโยชน์ในตัวมันเอง หากมีข้อมูลอะไรที่ต้องก็ตามที่ต้องจำให้ได้ ซึ่งเป็นตัวอักษรเดี่ยว ๆ จะแทนด้วยสัญลักษณ์ที่เทียบเท่ากันโดยอัตโนมัติ หากต้องจำรหัสที่ประกอบไปด้วยตัวอักษรใด ๆ 3 ตัว เช่น Z G H ให้วาดเห็นเป็นภาพ Zulu (ซูลู) กำลังตี Golf (ลูกกอล์ฟ)  อยู่ที่ Hotel (โรงแรม)

บทที่ 2 ฝึกใช้เทคนิคและวิธีทำสิ่งต่างๆ รอบตัว

สำหรับเนื้อหาบทนี้จะฝึกใช้เทคนิควิธีการ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ดีขึ้น เช่น การเชื่อมโยงการจินตนาการ วิธีการจำแบบลูกโซ่ วิธีการจำแบบราดเส้นทาง โดยนำมาประยุกต์ใช้จำข้อมูลร้อยแปดพันเก้า

Step 15 วิธีง่าย ๆ ในการจำชื่อและใบหน้าคน

ให้บรรดาปัญหาเกี่ยวกับความจำทั้งหมด ปัญหาอันดับหนึ่งคือ การจำชื่อและใบหน้าบุคคล มนุษย์เรามีกลไกสำหรับจดจำใบหน้าติดตัวมาแต่กำเนิด หากความจำใบหน้าไม่ใช่เรื่องยากแล้ว ทำไมหลายคนยังคงมีปัญหาในการจำ คำตอบก็คือเพราะว่าชื่อของคนเรานั้น ไม่ได้อธิบายถึงลักษณะใบหน้าของคนเรานั่นเอง

ใช้วิธีกำหนดสถานที่ให้แก่ใบหน้าคน วิธีที่ดีที่สุดคือให้เชื่อมโยงบุคคลเข้ากับสถานที่ที่หนึ่งที่เฉพาะเจาะจง สถานที่นี้แหละที่จะปลดปล่อยความทรงจำที่เชื่อมโยงอยู่กับตัวบุคคลนี้ ซึ่งคาดว่าจะรวมถึงชื่อของเขาหรือเธอเอาไว้ ใช้วิธีเน้นไปยังรูปลักษณ์ของใบหน้า ถ้าเจอใครสักคนซึ่งมีรูปลักษณ์เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ถ้าเชื่อมโยงชื่อเข้ากับรูปลักษณ์ที่มองเห็นไปเลยจะง่ายกว่ามาก ตัวอย่างเช่น มีคนแนะนำให้รู้จักกับ ปีเตอร์ เบิร์ด (Peter Byrd) ก็ให้เชื่อมโยงชื่อของเขากับใบหน้าของเขา เพราะเขามีจมูกที่งุ้มซึ่งดูเหมือนจะงอยปากนก สมองก็สามารถเชื่อมโยงได้มากกว่า และยึดจับเอาไว้ได้รวดเร็วกว่าด้วย

Step 16 วิธีจำทิศทาง

เมื่ออยู่ในย่านแปลกถิ่น แล้วหยุดถามทางกับคนที่เดินผ่านไปมา จำเป็นต้องพึ่งความจำล้วน ๆ เพราะไม่มีปากกาและกระดาษ เทคนิคการจำมันก็เหมือนกับการจำสิ่งของที่ต้องซื้อ ที่มีการเรียงลำดับเอาไว้แล้ว เลือกใช้วิธีการจำแบบวาดเส้นทาง เพื่อเก็บข้อมูลอย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าจำเป็นต้องมีเส้นทางที่เตรียมเอาไว้แล้ว

Step 17 วิธีจำคำศัพท์ที่มักสะกดผิดบ่อยๆ

เคล็ดลับก็คือให้มองหาจุดเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบของตัวอักษรและความหมายของคำศัพท์จากนั้นให้ใช้วิธีการวาดภาพและการเชื่อมโยง เพื่อสร้างจุดเชื่อมต่อที่ทำให้เข้าใจได้ง่าย เช่น สังเกตเห็นความสมดุลของตัวอักษร E ทั้งสามตัวที่อยู่ในคำว่า c E m E t E ry นี้ไหม มันตั้งเด่ราวกับเป็นป้ายหลุมศพ  (Cemetery แปลว่าสุสาน) กลไกช่วยให้สมองทำงานอย่างกระตือรือร้นก็คือ การเชื่อมโยงไม่ว่าจะคิดคำไหนก็ตาม สักตำแหน่งหนึ่งในคำ ๆ นั้น จะมีจุดเชื่อมต่อที่ถูกหลอมรวมอยู่ระหว่างการสะกดคำและความหมายของคำ

Step 18 วิธีจำประเทศและชื่อเมืองหลวง

วิธีที่จะจำว่า แคนเบอร์รา (Canberra) คือเมืองหลวงของออสเตรเลียอย่างสนุก ๆ ก็คือ ให้มองดูรูปร่างของประเทศออสเตรเลีย ที่มีรูปร่างคล้ายกล้องถ่ายรูป (Camera)  ซึ่งจะช่วยให้จำได้ว่าเมืองหลวงของออสเตรเลียคือ แคนเบอร์รา เทคนิคช่วยจำนี้คือวิธีที่ดีเยี่ยม ที่จะขจัดความน่าเบื่อในการเรียน ซึ่งอาศัยการท่องจำแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากมันใช้การเชื่อมต่อกันระหว่างส่วนต่าง ๆ ของข้อมูล ให้เป็นลูกโซ่ทำให้สามารถย้อนรอยกลับไปได้ จึงทำให้จำได้ง่ายมันใกล้เคียงกับการเดินทางลัด โดยไม่ผ่านความจำระยะสั้น ใช้จินตภาพที่ถูกเชื่อมโยงไว้ด้วยสัญลักษณ์ที่ชัดเจน

Step 19 วิธีเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว

วิธีเรียนคำศัพท์ภาษาต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว หัวใจสำคัญคือการสร้างภาพโดยหาจุดเชื่อมต่อระหว่างเสียงของภาษาต่างประเทศ ความหมายของคำศัพท์นั้น ๆ ในภาษาตัวเอง เช่น เบคอน ในภาษาเยอรมันใช้คำว่า สเป็ค การสร้างจุดเชื่อมต่อคือ ให้นึกถึงภาพชิ้นเบคอน ที่มีรอยเปื้อนเป็นจุดดูแล้วไม่น่ากิน

Step 20 วิธีจำเรื่องสำคัญในอดีต

ความทรงจำในวัยเด็กที่เหลืออยู่จำนวนเล็กน้อยนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าต่อเรามาก เป็นดั่งเหตุการณ์สำคัญในช่วงแรกของชีวิต ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ทำให้ความทรงจำติดอยู่ในจิตใจ ความทรงจำเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการหล่อหลอมตัวเรา มันคือส่วนหนึ่งของตัวตนเรา วิธีที่ใช้เพื่อย้อนความทรงจำในอดีตเรียกว่า การเดินทางข้ามเวลา ไอเดียก็คือการกลับไปยังสถานที่ในอดีต ซึ่งจะเป็นตัวจุดชนวนความทรงจำให้ออกมาเป็นชุด ๆ สถานที่ว่าก็เช่น โรงเรียน บ้านญาติ หรือหมู่บ้านที่ครั้งหนึ่งเคยอาศัยอยู่ จะสังเกตได้ว่าแต่ละครั้งที่ย้อนกลับไปยังฉากในอดีต จะเริ่มต้นด้วยภาพรวมที่ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อการเชื่อมโยงกับสถานที่และเวลาค่อย ๆ ดีขึ้น จะพบว่าความทรงจำเรื่องหนึ่งผุดขึ้นในความฝัน และชิ้นส่วนจิ๊กซอในจิตใจที่ครั้งหนึ่งเคยหล่นหายไป ก็จะถูกกู้คืนกลับมาได้

Step 21 วิธีจําตารางธาตุสำหรับนักเรียน

วิธีการจําตารางธาตุของนักเรียน ให้ใช้จินตนาการปลุกธาตุต่าง ๆ เหล่านี้ให้มีชีวิตขึ้นมา และสร้างการเชื่อมโยงกับสถานที่ที่คุ้นเคย เช่น เริ่มต้นที่ประตูหน้าบ้าน ตรงนี้ให้จินตนาการถึงการระเบิดเล็ก ๆ จะช่วยให้จำชื่อธาตุอันแรกได้ นั่นคือไฮโดรเจน แล้วทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ตลอดทาง เมื่อหยุดเดินตรงไหนก็ให้คิดสร้างการเชื่อมโยงตรงนั้น

Step 22 วิธีจำขั้นตอนต่าง ๆ จากคู่มือหรือครูผู้สอน

วิธีพัฒนาความจำเชิงประกาศ (Declarative Memory)

การพัฒนาความจำแบบใช้สติระลึกถึงข้อมูล หรือความจำแบบมีสติสำนึก จะช่วยเพิ่มความสามารถในการซึมซับข้อมูลใหม่ ๆ ให้เร็วขึ้นได้เรียกว่า ความจำแบบใช้สติระลึกถึงข้อมูล สามารถซึมซับและฟื้นคืนข้อมูลหรือคำสั่งต่าง ๆ ได้ทันที วิธีการวาดเส้นทางสามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของความจำ แบบใช้สติระลึกถึงข้อมูลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวพันกับท่าทางเคลื่อนไหวเป็นลำดับก่อนหลัง วิธีนี้จะช่วยให้เริ่มต้นได้เป็นอย่างดี

Step 23  เทคนิคและวิธีการใช้ระบบโดมินิคระดับที่ 1

ระบบโดมินิค (DOMICIC) ซึ่งย่อมาจาก Decipherment of Mnemonically Interpreted Numbers Into Characters ระบบมีความซับซ้อนกว่ารูปร่างของตัวเลขหรือเสียงที่พ้องกับตัวเลข แต่ถ้าใช้เวลาเล็กน้อยเพื่อเรียนรู้มัน ก็จะเข้าใจว่านี่คือวิธีแปลงตัวเลขให้เป็นภาพ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

ขั้นตอนและวิธีการใช้ระบบโดมินิค ให้เริ่มต้นด้วยการเขียนตัวเลข 100 ตัวจาก 00 ถึง 99 ลงบนสมุดลงในคอลัมน์แรก จากนั้นต้องมีอีก 3 คอลัมน์ ใส่ชื่อคอลัมน์ว่า ตัวอักษร ชื่อบุคคล ท่าทางและอุปกรณ์ ต่อมาให้ดูตัวเลขเหล่านี้ว่าตัวเลขไหนมีนัยสำคัญ เช่น เลข 10 จะทำให้คิดถึงนายกเทศมนตรีอังกฤษทันทีเพราะว่าเลขนั้นคือบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวน์นิ่งสตรีท ซึ่งเป็นบ้านพักของนายก ฯ พักอาศัยอยู่ หรืออย่าง เช่น เลข 49 ทำให้คิดถึงทีม 49ers ชื่อทีมอเมริกันฟุตบอลระดับซูเปอร์โบวล์ เป็นต้น

มาดูวิธีใช้ระบบนี้กัน สมมุติว่าเราเลือกตัวเลือกใด ๆ มา 2 ตัว เช่น 72 จากนั้นก็แปลงตัวเลขนี้ให้เป็นตัวอักษรตามตารางตัวอักษรระบบโดมินิค ก็จะได้เป็น GB (7=G, 2=B) แล้วคิดถึงใครที่มีชื่อย่อว่า GB ได้อาจเป็น George Bush (จอร์จ บุช) ตอนนี้ให้จอร์จ บุชเป็นภาพหลัก หรือเรียกว่าเป็นบุคคลสำคัญ โดยมีตัวเลขเป็น 72 ไม่จำเป็นต้องนึกเห็นภาพคนเหล่านี้ให้เป๊ะ ๆ ราวกับว่าเป็นภาพถ่าย ขอแค่ให้จำคนเหล่านี้ได้ว่าเป็นตัวแทนของเลขอะไร วิธีที่ดีที่สุดคือให้กำหนดท่าทางและอุปกรณ์ให้บุคคลด้วย ท่าทางและอุปกรณ์ของจอร์จ บุช คือกำลังโบกธงอเมริกัน

Step 24 วิธีจำเรื่องตลกเรื่องขำๆ

ต้องสร้างพื้นที่ไว้เก็บเรื่อง สรุปและฝึกซ้อมเล่าเป็นครั้งเป็นคราว จนกระทั่งจำมันได้อัตโนมัติ วิธีสร้างพื้นที่เก็บให้ใช้วิธีวาดเส้นทาง บ้านหรืออพาร์ทเม้นท์ของตัวเองที่มีห้อง 10 ห้อง และเพิ่มบ้านหรืออพาร์ทเม้นท์ของเพื่อนเข้าไปอีก เพื่อให้ได้ 20 ห้องหรือ 20 ตำแหน่งที่อยู่ในเส้นทาง จากนั้นให้นำภาพจำผูกกับเรื่องตลกเรื่องใหม่ที่ได้ฟังมา แล้ววางภาพนั้นไว้ในห้องถัดไป ให้จินตนาการว่าเดินทางไปรอบบ้านตามลำดับการเดินซึ่งได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว

เรื่องตลกขำขันโดยมากจะอยู่ในรูปแบบของเรื่องเล่าสั้น ๆ กรณีนี้การใช้ภาพจำเพียง 1 ภาพอาจไม่เพียงพอที่จะช่วยให้จำได้ วิธีแก้ไขก็คือภายในเรื่องตลกเรื่องเดียวกัน อาจจะต้องใช้ภาพจำแยกกันเป็นแต่ละตอน แล้วค่อยเชื่อมโยงภาพแต่ละภาพไว้กับสิ่งของที่โดดเด่นที่อยู่ภายในห้องที่เลือกใช้จำเรื่องตลกดังกล่าว

Step 25 วิธีจำนิยายที่สนุกๆของคุณ

การอ่านนิยายเป็นการพักผ่อนที่ดีเยี่ยมสำหรับวันหยุด ธุระมากมายทำให้ยากที่จะแบ่งเวลาครั้งละมากกว่าครึ่งชั่วโมง หรือบางทีเจียดเวลาได้ไม่มากไปกว่า 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ดังนั้น จึงง่ายมากที่จะลืมตอนต้นเรื่องของหนังสือก่อนที่จะอ่านไปถึงครึ่งเล่ม ในการจำนิยายโดยใช้วิธีวาดเส้นทาง แต่ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ดีและง่ายนั่นคือ วิธีใช้แผนภูมิความคิด (Mind Map) เพื่อช่วยในการจำให้ง่ายขึ้น เทคนิคนี้เป็นประโยชน์ที่สุดคือ ใช้เวลาอยู่กับหนังสือและใช้จินตนาการให้มาก นึกภาพฉากและสิ่งที่อ่านเจอให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้พยายามเข้าใจสภาพของตัวละคร เพื่อช่วยให้จินตนาการเห็นภาพตัวละครได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ บุคลิก หรือสภาพชีวิตของตัวละคร

Step 26 วิธีอ่านได้เร็วและจำได้มาก

เราต่างก็อาศัยอยู่ในยุคของข้อมูล ในแต่ละวันเราไม่มีเวลามากพอที่จะอ่านทุกคำที่อยู่ในสื่อที่นำเสนอให้เราได้ ข่าวดีก็คือเราไม่จำเป็นต้องอ่านทุกคำที่อยู่ในหน้ากระดาษ เพื่อที่จะเข้าใจเนื้อหาของมัน การใช้อุปกรณ์ชี้แบบใดแบบหนึ่ง เช่น ปากกา หรือนิ้วมือจะช่วยนำสายตาได้อย่างราบรื่น แล้วไล่ไปตามเส้นบรรทัด วิธีนี้ช่วยให้พัฒนาจังหวะการอ่านที่ต่อเนื่องกัน โดยปราศจากการศึกษา สามารถอ่านบทความหรือเรื่องสั้นได้รวดเร็วโดยไม่มีการสะดุด ช่วยให้อ่านแต่ละประโยคเพียงหนึ่งครั้ง และรับเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นเอาไว้เท่านั้น

Step 27 วิธีจำคำคมเพื่อช่วยให้คุณมีเสน่ห์

การที่สามารถเสริมแทรกคำคมระหว่างการสนทนาได้ มั่นใจได้เลยว่าได้สร้างความประทับใจหรือช่วยให้ได้เปรียบในการโต้แย้งแน่นอน วิธีที่ดีที่สุดที่จะฝังคำคมลงสู่ความจำก็คือ การเชื่อมโยงมันกับภาพแต่มีข้อแตกต่างอยู่ 2 ข้อด้วยกัน ข้อแรก สำหรับคำคมแล้วต้องจำได้ชนิดคำต่อคำ ข้อ 2. ต้องจำได้ว่าใครเป็นผู้เขียนหรือพูดคำคมนั้น ๆ

Step 28 วิธีใช้แผนภูมิความคิด (Mind Map) เพื่อช่วยในการทำให้ง่ายขึ้น

แผนภูมิความคิดเป็นการนำเสนอเรื่องราวในรูปแบบของแผนภาพรวมแบบง่าย ๆ และเป็นวิธีที่ดีมากสำหรับการนำเสนอข้อมูลออกมาเป็นภาพ เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์ในการบันทึกบทสรุปสิ่งที่ได้อ่านจากหนังสือ แผนภูมิความคิดนั้นเป็นวิธีการที่ใช้ประโยชน์จากสมองซีกซ้ายและซีกขวาในเวลาเดียวกันและทำงานร่วมกัน

Step 29 วิธีจำบทพูดและนำเสนองานต่อหน้าชุมชน

สำหรับคนบางคนแค่คิดที่จะยืนและพูดต่อหน้ากลุ่มคนไม่กี่คนก็ทำให้รู้สึกกลัวแล้ว   ในการนำเสนองานและการกล่าวสุนทรพจน์บนเวทีที่ดีที่สุดนั้น จะต้องตระเตรียมมาอย่างดี และต้องถ่ายทอดออกมาจากความจำ ผู้พูดต้องคอยสบตากับผู้ฟังอยู่ตลอดเวลา แต่ความประหม่าก็บ่อนทำลายความรื่นรมย์ในการถ่ายทอด  ส่วนการตื่นเวทีคือหัวขโมยความจำอันเลวร้าย ที่จะทำให้ลืมเนื้อหาที่จะพูดได้ วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง ในการเตรียมบทพูดหรือการนำเสนองานก็คือ การนำประเด็นสำคัญใส่ลงไว้ในแผนภูมิความคิด จากนั้นก็จำลำดับการพูดในใจ และพูดไปตามลำดับที่ได้วางเรียงไว้ในแผนภาพ

Stage 30 วิธีทบทวนและทำให้จำได้นานที่สุด

เพื่อให้แน่ใจได้ว่าข้อมูลยังคงอยู่ในความจำระยะยาว มันจึงสำคัญมากที่จะรู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะทบทวนความจำ และต้องทำบ่อยแค่ไหน การทบทวนข้อมูลที่ทำแล้วได้ผลดีมาก เรียกมันว่ากฎการทบทวนความจำ 5 ครั้ง การทบทวนครั้งแรกให้ทำทันที การทบทวนครั้งที่สอง 24 ชั่วโมงผ่านไป การทบทวนครั้งที่สาม 1 สัปดาห์ผ่านไป การทบทวนครั้งที่สี่ 1 เดือนผ่านไป  การทบทวนครั้งที่ห้า 3 เดือนผ่านไป

บทที่ 3 ขั้นตอนและวิธีเพิ่มพลังความจำให้ดีกว่าเดิม

เนื้อหาบทนี้จะประกอบไปด้วยขั้นตอนระดับสูง สำหรับเทคนิคและวิธีการฝึกสมองเพื่อพัฒนาความจำ จำเป็นต้องนำเทคนิคหลายอย่างมาใช้ร่วมกัน เพื่อจำข้อมูลให้ได้มากขึ้น

Step 31 เทคนิคและวิธีใช้ระบบโดมินิคระดับที่ 2

สมมุติว่าต้องจำตัวเลข 20 คู่แรกให้ได้อย่างคล่องแคล่วแล้วจาก 00-19 โดยใช้เทคนิคภาษาของตัวเลข ให้ดูตัวเลขและดูว่าอักษรย่อที่ใช้คืออะไรบ้าง แต่ละคนจะมีอุปกรณ์และ/หรือท่าทางอะไรสักอย่างประกอบ ผู้อ่านทุกคนย่อมมีกรอบอ้างอิงเป็นของตัวเอง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรม เชื้อชาติ อายุ ความชอบส่วนตัว ประสบการณ์ และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย สิ่งที่สามารถเชื่อมโยงได้ ก็ให้คิดชื่อบุคคลขึ้นเอง รวมถึงท่าทางและอุปกรณ์สำหรับชื่อย่อนั้น ๆ

Step 32 วิธีการจำบทสนทนาทางโทรศัพท์

การจำสิ่งที่ได้ยินมานั้นแตกต่างจากการจำสิ่งที่อ่าน เพราะมันเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมข้อมูลที่ไหลเข้ามา ต้องมีวิธีการควบคุมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขอให้อีกฝ่ายหนึ่งที่กำลังคุยด้วยพูดให้ช้าลง หรือให้พูดทวนอีกครั้ง ทำนองเดียวกัน ก็สามารถพูดทวนข้อมูลกลับไปอีกที เพื่อให้อีกฝ่ายตรวจสอบว่าได้ยินถูกต้องไหม นอกเหนือจากวิธีวาดเส้นทางแล้ว จะต้องใช้เทคนิคอื่นร่วมด้วยเช่น วิธีกำหนดรูปทรงของตัวเลข เสียงที่พ้องกับตัวเลข ระบบโดมินิค การจำชื่อ และการจำทิศทาง

Step 33 เทคนิคและวิธีใช้ระบบโดมินิคระดับที่ 3

ให้กำหนดท่าทางและอุปกรณ์ที่ใช้ให้ตัวละคร จดจำไว้ว่าสามารถเลือกใช้ตัวละครอะไรก็ได้ หมายรวมถึงเพื่อน ญาติ นักการเมือง นักแสดงตลก นักแสดง นักกีฬาชาย/หญิง ตัวละครในภาพยนตร์ หรืออะไรก็ได้ แล้วใส่ท่าทางและอุปกรณ์ให้กับตัวละครนั้น ๆ

Step 34 วิธีจำสำรับไพ่

เทคนิควิธีจำไพ่ตัวเลข ต้องกำหนดบุคคลให้ไพ่แต่ละใบระหว่างไพ่เอชและไพ่เลข 10 เราจะจัดการกับไพ่ขอบ ที่หลังไพ่ก็เหมือนกับตัวเลข วิธีที่ง่ายที่สุดในการกำหนดบุคคลให้ไพ่แต่ละใบก็คือ การแปลงไพ่ให้เป็นอักษร 2 ตัว ซึ่งจะใช้เสมือนเป็นชื่อย่อ ตัวเลขบนไพ่ก็คืออักษรตัวแรก ใช้ 1 แทนไพ่เอช ซึ่งจะแทนมันด้วยตัว A ไปเลย ไพ่เลข 2 ก็จะเป็นตัว B ไพ่เลข 3 ก็จะเป็นตัว C ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ และเพื่อทำให้มันง่ายขึ้นไพ่เลข 10 ก็จะใช้ตัว O ส่วนสัญลักษณ์ของหน้าไพ่ จะใช้เป็นตัวอักษรตัวที่ 2 ดังนี้  CLUBS  ดอกจิก = C DIAMONDS ข้าวหลามตัด= D HEARTS โพแดง = H SPADES โพดำ = S

Step 35 วิธีจำวันเวลาของปฏิทิน

วิธีหลักในการจำที่เคยใช้ไปแล้วมีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การเชื่อมโยง 2. การใช้สถานที่ และ 3. การใช้จินตนาการเพื่อนำทาง

Step 36 วิธีจำวันที่ในประวัติศาสตร์

สามารถใช้ระบบโดมินิครวมกับวิธีการจำหลัก 3 วิธีนั่นคือ 1. การเชื่อมโยง 2. การใช้สถานที่ และ3. การใช้จินตนาการ ในการจำปีคริสตศักราชในศตวรรษที่ 20 ได้นั้น สิ่งที่ต้องทำก็คือแปลงตัวเลขให้เป็นบุคคล ใส่ท่าทาง และเชื่อมโยงมันกับเหตุการณ์นั้น ๆ

  1. กำหนดให้รายละเอียดของเหตุการณ์เป็นภาพจำหลัก
  2. ให้ดูวันที่และแปลงเลข 2 ตัวสุดท้ายของปี ค.ศ. ให้เป็นชื่อย่อของคน โดยใช้ระบบโดมินิค ไม่จำเป็นต้องแปลงเลข 2 ตัวแรก เพราะรู้อยู่แล้วว่าวันที่ทั้งหมดนั้นอยู่ในศตวรรษที่ 20
  3. ให้รวมภาพจำหลักกับบุคคลและท่าทางกลายเป็นภาพที่อยู่ในใจ ซึ่งรวมข้อมูลสองส่วนนี้เข้าด้วยกันแล้ว

Step 37 วิธีจำเบอร์โทรศัพท์และวันที่สำคัญ

เทคนิคจำเบอร์โทรศัพท์ ให้ลองจินตนาการว่าต้องการจำเบอร์โทรศัพท์ของร้านเสริมสวยร้านประจำ ก่อนอื่นขอให้นึกภาพภายในร้านเสริมสวย จากนั้นใช้ระบบโดมินิคแปลงเบอร์โทรศัพท์ โดยแบ่งตัวเลขออกเป็น 3 คู่ ซึ่งจะกลายเป็นตัวละครที่คุ้นเคย และสุดท้ายให้ใช้รูปทรงตัวเลข เพื่อใช้จำตัวเลขเดียวที่เหลืออีกหนึ่งตัว และสิ่งที่ต้องทำคือเชื่อมโยงตัวละครเหล่านี้เข้าด้วยกัน ให้เป็นฉากเรื่องราวสั้น ๆ

Step 38 วิธีจำข่าว

ข่าวคือข้อมูลที่เกิดขึ้นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ซึ่งมีคุณค่าให้นำมาใช้เพื่อฝึกเทคนิคการจำได้  โดยใช้วิธีจำแบบวาดเส้นทางและวิธีเชื่อมโยง ข่าวทั่วไปนั้นจะประกอบด้วยวันที่ ชื่อ  พรรคการเมือง ความร่วมมือระหว่างประเทศ สถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย

Step 39 วิธีจำคนที่ได้รับรางวัลออสการ์

การที่จะจำรายชื่อรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม 30 เรื่อง สิ่งที่ต้องทำคือ วาดเส้นทางที่มีฉาก 30 ฉาก หากนี่คือข้อมูลที่ต้องการเก็บไว้ในความจำระยะยาว ให้คิดเส้นทางที่จะนำมาใช้สำหรับการนี้โดยเฉพาะเลยดีกว่า

Step 40 วิธีจำบทกวี

จุดประสงค์ของจังหวะและเสียงที่พร้อมกันคือ จุดเด่นที่ทำให้บทกวีเป็นที่น่าจดจำ วลีที่ว่าคือการเรียนรู้ด้วยใจ  ซึ่งเป็นวลีที่เหมาะสมกับหัวข้อนี้ ต้องเป็นผู้ที่ชื่นชอบบทกวีจริง ๆ จนทำให้รู้สึกได้ เข้าใจ และได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงออกมา มีแนวโน้มที่จะจำมันได้คำต่อคำ เมื่อได้ลองอ่านบทกวีสัก 1 ท่อนให้ตัวเองหรือให้ผู้อื่นฟัง แต่ก็น่าเสียดายที่มีคนจำนวนเพียงหยิบมือเท่านั้น ที่ชื่นชอบการเรียนรู้ด้วยใจ ใช้วิธีจำแบบวาดเส้นทางเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจำบทกวี ให้แปลงเฉพาะคําบางคําจากแต่ละบรรทัดให้เป็นภาพ ที่สามารถเชื่อมโยงเข้าด้วยกันแล้ว จึงค่อยนำไปวางไว้ในแต่ละฉากบนเส้นทาง

บทที่ 4 ขั้นตอนและวิธีฝึกสมองเพื่อเพิ่มความสามารถในการจำให้สูงสุด

เป็นบทสุดท้ายของหนังสือ ได้เวลาขยายกล้ามเนื้อความจำไปให้ถึงขีดสุดแล้ว ในบางขั้นตอนจะต้องผนวกรวม และขยายเทคนิคที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมด เพื่อแสดงให้เห็นว่าความสามารถในการจำนั้น ได้พัฒนาจากขั้นตอนที่ 1 ไปมากแค่ไหน

Step ที่ 41 วิธีการจำแบบโรมัน

วิธีการจำแบบห้องโรมันคือ การเลือกสิ่งของที่ต่างชนิดกัน หรือบริเวณที่เฉพาะเจาะจงภายในห้อง มาใช้เสมือนเป็นตะขอหรือหมุดปัก เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลที่ต้องการจำเข้าไว้ด้วยกัน สามารถเรียกมันว่าเส้นทางที่อยู่ภายในเส้นทางก็ได้ ตอนนี้ถ้าอยู่ในห้อง ให้มองไปรอบตัวจากซ้ายไปขวา นับสิ่งของได้กี่ชิ้น บางทีอาจมีโต๊ะ เก้าอี้ หน้าต่าง โทรทัศน์ หรือรูปสองสามใบที่แขวนบนผนัง ถ้านึกให้ดีบางทีมันอาจมีเป็นร้อย ๆ ชิ้น ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า ของประดับกระจุกกระจิก ช้อนส้อม หนังสือ และสิ่งของอื่น ๆ อีกมากมาย ที่สามารถนำมาใช้เชื่อมโยงข้อมูลได้เป็น 100 รายการ

Step 42 วิธีจำวันที่ในประวัติศาสตร์และในอนาคต

การจำดังกล่าวนี้ ใช้ระบบโดมินิคแบบซับซ้อนเพื่อแปลงปี ค.ศ. ให้เป็นภาพแบบซับซ้อน จากนั้นหาวิธีเชื่อมโยงภาพนี้เข้ากับเหตุการณ์ที่เป็นภาพหลัก หรือบางครั้งก็เป็นคีย์เวิร์ดจากแต่ละเหตุการณ์ออกมา เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับปี ค.ศ. มาทดลองใช้เหตุการณ์สมมติกัน เป็นตัวอย่างให้ลองจินตนาการว่าในปี ค.ศ 1808 ลิงซิมแปนซีตัวหนึ่งได้กลายเป็นสัตว์ชนิดแรกที่จำไพ่ได้ 1 สํารับ

ก่อนอื่นก็จะแปลงปี ค.ศ. 1808 ให้เป็น อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler AH=18) กำลังสวมหมวกทรงโบว์เลอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ของโอลิเวอร์ ฮาร์ดี้ (Oliver Hardy OH=08) จากนั้นก็เลือกใช้ภาพหลักเป็นลิงซิมแปนซีกำลังถือไพ่ 1 สำรับเป็นตัวแทนของเหตุการณ์ ต่อมาต้องเลือกสถานที่ที่เหมาะสม เพื่อเก็บภาพจำเหล่านี้ และเชื่อมโยงมันให้เป็นฉากเข้าไว้ด้วยกัน เก็บภาพอดอล์ฟฮิตเลอร์กำลังสวมหมวกทรงโบว์เลอร์ อยู่ในกรงลิงซึ่งในกรงลิงชิมแปนซีกำลังถือไพ่ไว้ 1 สำรับ กระบวนการสร้างภาพจำเช่นนี้ เหตุการณ์และวันที่จะฝังลงสู่ความจำอย่างชัดเจน และเป็นไปได้น้อยมากที่จะลืมมัน เพื่อช่วยให้ฟื้นคืนความจำประเภทนี้ให้ได้ในครั้งเดียวต่อไปในอนาคต ก็อาจจำเป็นต้องสร้างเส้นทางขึ้นมา เพื่อใช้เก็บเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์

Step 43 วิธีเก็บความจำเอาไว้ในความจำ

เรียนรู้การใช้วิธีจำแบบห้องโรมัน เสมือนการวาดเส้นทางที่อยู่ภายในอีกเส้นทางหนึ่ง วิธีนี้เลือกใช้สิ่งของต่าง ๆ กันที่อยู่ภายในห้อง ให้ทำหน้าที่เป็นตะขอหรือหมุดปักเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลที่ต้องการจำ ตอนนี้จะนำข้อมูลจริงจากสิ่งที่ต้องการจำใช้เป็นตะขอ เพื่อเชื่อมโยงกับสิ่งของอีกอย่าง หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือจะเก็บความจำเอาไว้ในความจำอีกทีหนึ่ง

Step 44 วิธีจำตัวเลขฐานสอง

ตัวเลขฐานสองคือภาษาคอมพิวเตอร์ ในทางคณิตศาสตร์แล้วมันคือ ระบบตัวเลขพื้นฐาน 2 ตัว โดยการรวมตัวเลข 0 และ 1 เข้าด้วยกัน แล้วใช้แทนค่าต่าง ๆ นี่คือ วิธีที่ง่ายที่สุดในการแทนค่าข้อมูล เพราะมีสัญลักษณ์เพียง 2 ตัวเท่านั้นคือ 0 และ 1 ระบบต่อไปนี้จะช่วยให้คุณจำตัวเลขฐานสองได้ 12 หลักโดยใช้ระบบโดมินิคแบบซับซ้อนสร้างภาพเดี่ยว ๆ ขึ้นมา วิธีจำรหัสเลขฐานสอง เมื่อเราเห็นตัวเลข 0 และ 1 เรียงต่อกันเป็นเส้นเป็นสาย ก่อนอื่นเราต้องแยกมันออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยตัวเลข 3 หลัก จัดให้แต่ละกลุ่มเท่ากับตัวเลขฐานสิบจำนวน 1 ตัว รหัสสำหรับเลข 0-3 นั้นจำได้ง่ายเช่นเลข 1 2 ตัวเท่ากับ 2 (011) เลข 1 3 ตัวเท่ากับ 3 (111) แต่รหัสสำหรับเลข 4-7 อาจจะยากสักหน่อย สามารถใช้การจำเป็นภาพเพื่อจำรหัสเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น 110 ก็ให้คิดนึกถึงลูกกอล์ฟกำลังกลิ้งไปข้างหน้าเข้าหาคนสองคน

Step 45 วิธีจำคำศัพท์ในพจนานุกรม

ดร.ยิป สวี ซอย ซึ่งเป็นแชมป์ความจำระดับประเทศมาเลเซีย ได้สาธิตวิธีการจำพจนานุกรม ซึ่ง ดร.ยิปเองก็ได้ค้นพบพลังของการใช้วิธีวาดเส้นทางเพื่อจำข้อมูล เพียงแต่เขาเลือกที่จะสร้างเส้นทางที่ยาวเป็นพิเศษ การสาธิตของเขาคือบทพิสูจน์ให้เห็นถึงธรรมชาติของความจำมันไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์ และทำให้เราได้เห็นข้อพิสูจน์ที่ชัดแจ้งเกี่ยวกับพลังมหัศจรรย์ของวิธีการจำแบบวาดเส้นทาง

Step 46 วิธีจำไพ่หลายสำรับ

วิธีจำไพ่หลายสำรับใช้วิธีวาดเส้นทางรวมกับระบบโดมินิคแบบซับซ้อน ก่อนอื่นจะเตรียมเส้นทางไว้ 27 เส้นทาง ซึ่งแต่ละเส้นทางจะมีฉาก 52 ฉาก หรือจะเป็นจุดหยุดพักก็ได้ ต่อมาในแต่ละฉากจะจินตนาการเป็นภาพบุคคลและท่าทาง ซึ่งใช้แทนไพ่ 2 ใบหรือจะพูดอีกนัยหนึ่งว่ามีฉาก 1,404 ฉาก และแต่ละฉากจะเก็บภาพที่ซับซ้อนที่มีไพ่ 2 ใบเอาไว้

Step 47 วิธีจำคนที่อยู่กันเต็มห้อง

สิ่งแรกที่ต้องทำคือให้เลือกเส้นทางที่เหมาะสม ที่มีจำนวนฉากที่ถูกต้อง สมมติว่าเป็น 50 ฉากถ้ารายชื่อของทั้ง 50 ชื่อถูกแบ่งเป็นกลุ่มมาให้แล้ว เช่น เป็นแผนผังที่นั่งโต๊ะละ 5 คน หรือคนเข้าประชุมบริษัทละ 5 คน หรือประเทศละ 5 คน ก็อาจใช้ 10 เส้นทาง ที่แต่ละเส้นทางมี 5 ฉาก โต๊ะที่ 1 ก็จะเป็นห้องที่ 1 ในเส้นทาง โต๊ะที่ 2 ของห้องที่ 2 ในเส้นทาง ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ถ้ารายชื่อแบ่งตามชื่อบริษัทก็ให้นึกภาพบริษัท เช่น บริษัท Shipping Tiger ก็อาจนึกเป็นรูปเรือที่ทาสีเป็นลายเสือสีดำและสีส้มถูกปักติดอยู่ที่ประตูห้อง เป็นต้น

Step 48 ทำให้ร่างกายแข็งแรง

การออกกำลังกายจะทำให้การฝึกสมองเพื่อพัฒนาความจำมีประสิทธิภาพมากที่สุด สมองของเราเรียกร้องต้องการออกซิเจน วิธีที่ได้ผลดีเยี่ยมเพื่อช่วยในการลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์สมองก็คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ขอให้ออกกำลังกายอะไรก็ได้ที่ช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจทีละเล็กน้อย และทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยจนหายใจไม่ทัน ยังดีกว่าไม่ได้ออกกำลังกายเลย ให้ตั้งเป้าว่าจะออกกำลังกายอะไรก็ได้ทุกวัน วันละ 20 นาที

การรับประทานอาหารก็เป็นส่วนสำคัญ ในการช่วยให้ความจำทำงานได้อย่างเต็มที่ อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเยอะ ๆ เช่น วิตามิน เอ ซี และอี มีส่วนช่วยในเรื่องความจำ วิตามินจะช่วยกวาดล้างสารเคมีซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่าอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวการในการทำลายเซลล์สมอง ส่วนน้ำมันปลามีกรดโฟลิกและกรดไขมันที่จำเป็นอยู่หลายชนิด สารอาหารต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นในการคงไว้ซึ่งสมอง และระบบประสาทที่แข็งแรง

ความเครียดและแรงกระตุ้น สิ่งสำคัญที่ปรากฏให้เห็นเกี่ยวกับเรื่องความจำกดถอยก็คือ ความเครียดในชีวิตประจำวันที่เพิ่มสูงขึ้นมาก การใช้ชีวิตอยู่ในความเครียดเป็นระยะเวลานาน หรือไม่มากเกินไปจะเป็นอันตราย และเป็นการทำลายความจำอย่างมาก ผลจากความเครียดไม่เฉพาะทำให้สมองหยุดสร้างเซลล์ประสาท ยังทำให้ขาดการกระตุ้นทางจิตใจ เป็นเหตุให้เซลล์ประสาทที่มีอยู่เดิมตายไปด้วยเช่นกัน

Step 49 วิธีเอาชนะการแข่งขันตอบปัญหา

วิธีพื้นฐานที่จะต้องนำมาใช้มีอยู่ 3 ขั้นตอนคือ 1. ให้ดูคีย์เวิร์ดที่อยู่ในคำถามสัก 1 คำหรือหลายคำก็ได้ ซึ่งคีย์เวิร์ดดังกล่าวจะช่วยนำทางไปยังสถานที่หนึ่ง 2. คำตอบจะทำให้เกิดภาพขึ้นในใจ จินตนาการที่ชัดเจนจะเชื่อมโยงทั้งสถานที่และภาพในใจเข้าด้วยกัน

Step 50 เกมเสริมพลังความจำ

การรวมความจำใส่ลงในเกม คือวิธีที่ดีในการลับคมสมาธิ และพัฒนาสมองให้ฟื้นคืนความจำ เกมความจำอีกหนึ่ง ซึ่งเป็นเกมที่เล่นสนุกได้เป็นชั่วโมง ๆ ก็คือเกมไพ่ชื่อว่าเกมส์จับคู่ ไพ่เกมส์นี้เล่นโดยให้จั่วไพ่ออกมาทั้ง 52 ใบ คว่ำหน้าแล้วเรียงไว้เป็นแถว ๆ ละ 13 ใบ จุดประสงค์ของเกมคือการจับคู่ไพ่ให้ได้มากกว่าคู่แข่ง ผู้เล่นผลัดกันเปิดไพ่ 2 ใบ ถ้าไพ่ที่เปิดมาเป็นคู่กันก็ได้คะแนนและเก็บไพ่คู่นั้นไป จากนั้นก็ให้เปิดต่อ ถ้าผู้เล่นเปิดไพ่ 2 ใบแต่ไม่เข้าคู่กัน ก็ให้คว่ำไพ่ 2 ใบนั้นกลับไปเหมือนเดิมที่ตำแหน่งเดิม แล้วก็เปลี่ยนให้ผู้เล่นอีกฝ่ายเปิดต่อ ผู้เล่นคนไหนจำตำแหน่งไพ่ได้มากที่สุดจากการเปิดไพ่ครั้งที่แล้ว ๆ มา ก็จะจับคู่ไพ่ได้มากที่สุด และชนะเกมไปในที่สุด

Step 51 ขั้นตอนพิเศษแบบฝึกหัดเพื่อฝึกการจำตัวเลข

ให้ดูตัวเลขแล้วแปลงตัวเลขแต่ละตัวให้เป็นรูปร่างที่ถูกต้อง หรือแปลงให้เป็นเสียงที่พ้องกับตัวเลข ไม่จำเป็นต้องเขียนอะไร แค่ให้พยายามนึกถึงภาพ และตั้งชื่อให้ภาพที่เห็น เช่น เมื่อเห็นตัวเลข 7 ให้พูดว่าบูมเมอร์แรง และพยายามนึกภาพบูมเมอร์แรงเอาไว้ วิธีแปลงตัวเลข 2 หลัก ถ้าได้เรียนระบบโดมินิคครบทั้งหมด จำตัวเลข 2 หลักตั้งแต่ 00 ถึง 99 ในรูปแบบของบุคคล พร้อมด้วยท่าทางเฉพาะคนนั้นหรืออุปกรณ์นั้นได้แล้ว สิ่งแรกคือให้ดูตัวเลขแล้วนึกภาพบุคคล สำหรับตัวเลข 2 หลักนั้น ๆ ทั้งนี้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับท่าทางหรืออุปกรณ์ เดี๋ยวเราค่อยพูดถึงเรื่องนี้ ไม่ต้องเขียนอะไร ไม่ต้องพยายามจำตัวเลขสิ่งที่ต้องทำคือ ให้พยายามนึกภาพบุคคลสำหรับตัวเลข 2 หลักนั้น ๆ

Step 52 ขั้นตอนพิเศษประเมินว่าความจำของคุณพัฒนาได้ดีเยี่ยมแค่ไหน

ขั้นตอนที่ 1 การได้ทำแบบทดสอบหลายอย่าง เพื่อประเมินความสามารถในการจำที่ยังไม่ได้รับการฝึกว่าเป็นอย่างไร

บทสรุปบางทีเหตุผลเพียงอย่างเดียวในการอ่านหนังสือเล่มนี้ก็คือ รู้สึกว่าจำชื่อและใบหน้าคน ในการซื้อของ วันเกิด เบอร์โทรศัพท์ หรือรหัสส่วนตัวไม่ค่อยได้ หรืออาจรู้สึกกังวลว่าเริ่มมีอาการหลงลืมเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ว่าแรงจูงใจจะเป็นอะไรก็ตาม การฝึกสมองให้จำอะไรก็ได้ง่าย ๆ และจำได้นานนั้น มีประโยชน์ที่ไม่เคยมีใครบอก นอกเหนือจากการฝึกฝนแล้ว น่าจะเริ่มสังเกตได้ว่าความจำค่อย ๆ มีประสิทธิภาพขึ้น และนั่นทำให้มีความมั่นใจในตัวเอง เกี่ยวกับการจำมากขึ้น การจำนั้นเป็นสิ่งสำคัญ มันทำให้เราเป็นตัวเรา และหากปราศจากการจดจำ ชีวิตเราคงสับสนวุ่นวายน่าดู การฝึกฝนความจำเป็นการลงทุนเกี่ยวกับสุขภาพทางจิตใจในอนาคต และเชื่อมั่นในทฤษฎีที่ว่า ใช้มันหรือไม่ก็สูญเสียมันไป ดังนั้น จงให้เวลาสักเล็กน้อยในแต่ละวันเพื่อฝึกความจำ

สั่งซื้อหนังสือ 52 วิธีฝึกสมองให้จำอะไรก็ได้ง่าย ๆ โดยอัตโนมัติ และจำได้นาน ได้ที่นี่ : คลิ๊ก