นโยบายการคลัง (Fiscal policy) 

หนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญของรัฐบาลสำหรับการบริหารประเทศ โดยหากเปรียบเทียบประเทศไทย เป็นที่ดินผืนหนึ่งที่ใช้สำหรับปลูกข้าวแล้ว นโยบายการคลังเสมือนวาวเปิด-ปิดท่อส่งนำ้ที่คอยกำหนดปริมาณของนำ้ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมในช่วงนั้นๆ ส่วน

คนที่คอยกำหนดการเปิด-ปิดวาวท่อนี้ก็คือรัฐบาลนั่นเอง เราคงรู้กันว่านำ้ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญในต่อการเจริญเติบโตของผืนดินแห่งนี้ ฉะนั้นแล้ว นโยบายที่ว่า จะเป็นกลไกที่สำคัญในการกำหนดทิศทางหลายๆอย่างของประเทศ ผ่านการจัดการของรัฐบาล เราลองไปดูกัน

ความหมาย

เป็นเครื่องมือหลักในการบริหารจัดการเงินและทรัพยากรของประเทศให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านการกำหนดมาตราการต่างๆ ที่ส่งผลถึง รายรับ-รายจ่ายของรัฐบาล เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจที่ตั้งเอาไว้ เช่น การจ้างงาน และการกระตุ้นเศรษฐกิจ

โดยวัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง มี 4 ข้อคือ

1.การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ -เพื่อจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดไปยังภาคส่วนต่าง ๆ ของเศรษฐกิจ อย่างเหมาะสม เช่น การศึกษา สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐาน

2.การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม-เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ผ่านการกระจายรายได้จากผู้มีรายได้สูงไปยังผู้มีรายได้น้อย เช่น การเก็บภาษีแบบก้าวหน้า และการจ่ายเงินสวัสดิการ

3.การมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ-เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

4.การเติบโตทางเศรษฐกิจ -เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม ให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมในขณะนั้น เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด

ประเภทของนโยบายการคลัง

1.นโยบายการคลังแบบขยายตัว(Expansionary Fiscal Policy)

มีจุดมุ่งหมายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาล และลดภาษี เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น

2.นโยบายการคลังแบบหดตัว(Contractionary Fiscal Policy)

มีจุดมุ่งหมายเพื่อการลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจโดยการลดรายจ่ายของรัฐบาล และเพิ่มภาษี เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจน้อยลง

เครื่องมือของนโยบายการคลัง มี 3 ประเภท คือ

1.รายจ่ายของรัฐบาล เป็นการเพิ่ม-ลด รายจ่ายของรัฐบาลประเภทการลงทุน เช่น การพัฒนาสาธารณูปโภค เช่น สร้างถนน และโรงพยาบาล เป็นต้น

2.ภาษีอากร เป็นการปรับอัตราภาษีชนิดต่างๆ ให้เข้ากับวัตถุประสงค์ในขณะนั้น เช่น การปรับเพิ่ม-ลดภาษี และลดหย่อนภาษี เป็นต้น

3.การก่อหนี้สาธารณะ เป็นการกู้ยืมเงินของรัฐบาลเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ ผ่านการกู้ยืมเงิน จากแหล่งต่างๆ เช่น ตั๋วเงินคลัง เป็นต้น

สุดท้ายนโยบายการคลังเป็นเครื่องมือที่สำคัญของรัฐบาลในการบริหารประเทศเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่คาดหวังไว้ โดยรัฐบาลก็ต้องคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม และคิดให้รอบด้าน ต่อความเสี่ยงในอนาคตที่จะเกิดขึ้นตามหลังได้