หลังจากที่เราเข้าใจพื้นฐานของงบการเงินไม่ว่าจะเป็น Income statement, Balance sheet, และ Cash flow statement กันไปแล้ว คราวนี้จะเป็นการนำงบทั้งหมดมาคำนวณเป็นอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์การดำเนินของบริษัทในทุกๆด้าน แบ่งอัตราส่วนได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้:

  1. Activity ratios เป็นอัตราส่วนที่บ่งบอกเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้งานสินทรัพย์ของบริษัท รวมถึงอัตราส่วนการหมุนเวียนซื้อขาย (Turnover ratios) และระยะเวลาในการใช้สินทรัพย์แต่ละชนิดให้หมดไป ซึ่งบริษัทในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมจะมีตัวเลขที่เหมาะสมไม่เท่ากัน จึงไม่สามารถนำอัตราส่วนนี้จากหุ้นคนละกลุ่มอุตสาหกรรมมาเทียบกันได้โดยตรง

ตัวอย่างอัตราส่วนประเภท Activity ratios

Source: https://www.elearnmarkets.com/school/units/ratio-analysis/activity-ratios

  1. Liquidity ratios เป็นอัตราส่วนที่วัดความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้นเมื่อถึงครบกำหนดชำระ ตัวแปรส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินหมุนเวียน

ตัวอย่างอัตราส่วนประเภท Liquidity ratios

Source: https://www.elearnmarkets.com/school/units/ratio-analysis/liquidity-ratios

  1. Solvency ratios มีความคล้ายคลึงกับ Liquidity ratios แต่เป็นอัตราส่วนที่วัดความสามารถในการชำระหนี้สินระยะยาว ตัวแปรส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินไม่หมุนเวียน

ตัวอย่างอัตราส่วนประเภท Solvency ratios

Source: https://www.elearnmarkets.com/school/units/ratio-analysis/solvency-leverage-ratios

  1. Profitability ratios เป็นอัตราส่วนสำหรับวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ซึ่งจะมีทั้งกำไรขั้นต้น (Gross profit), กำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit), และกำไรสุทธิ (Net profit) ที่นำมาคำนวณเป็นอัตราส่วน

ตัวอย่างอัตราส่วนประเภท Profitability ratios

Source: https://www.elearnmarkets.com/school/units/ratio-analysis/profitability-ratios

  1. Valuation ratios เป็นอัตราส่วนที่ใช้สำหรับการประเมินมูลค้าหุ้นโดยดารเปรียบเทียบกับหุ้นตัวอื่นที่ทำธุนกิจแบบเดียวกัน และเปรียบเทียบหุ้นตัวเดียวแต่ต่างช่วงเวลากัน

ตัวอย่างอัตราส่วนประเภท Valuation ratios

Source: https://www.elearnmarkets.com/school/units/ratio-analysis/valuation-ratios

นี่คือภาพรวมของอัตราส่วนทางการเงินทั้ง 5 ชนิด นอกจากนี้ยังมีอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆที่ไม่ได้จัดอยู่ในประเภทเหล่านี้อีกด้วย เช่น อัตราส่วนการจ่ายเงินปันผลที่เราสามารถนำมาใช้คำนวณอัตราการเติบโตของบริษัทได้ และอัตราส่วนที่คำนวณความเสี่ยงของบริษัท ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดของอัตราส่วนแต่ละประเภทกันในบทความถัดๆไป

บทความที่เกี่ยวข้อง