Source: https://financetrain.com/characteristics-financial-system
ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แบ่งเป็น (1) Pre-trade transparent เป็นข้อมูลราคาและจำนวนคำสั่งที่แจ้งให้นักลงทุนทราบก่อนที่ะทำการเทรด (2) Post-trade transparent เป็นข้อมูลราคาและขนาดของหลักทรัพย์ที่ดำเนินการเทรดเสร็จสิ้นแล้วให้นักลงทุนทราบ ซึ่งนักลงทุนต้องการให้ตลาดเปิดเผยข้อมูลมากที่สุดเพื่อประเมินมูลค่าหลักทรัพย์และต้นทุนในการเทรด อย่างไรก็ตามฝั่งผู้ขาย (Dealers) ต้องการเปิดเผยข้อมูลให้น้อยที่สุดเพื่อให้มีข้อได้เปรียบทางด้านข้อมูล การปิดบังข้อมูลส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างราคา Bid และ Ask (Offer) สูงขึ้น
ระบบการเงินที่ดีคือระบบที่ทำให้แต่ละบุคคลสามารถบรรลุเป้าหมายของตัวเองได้ โดยตลาดที่สมบูรณ์แบบ (Complete markets) จะมีลักษณะดังนี้:
– นักลงทุนสามารถฝากเงินได้อัตราผลตอบเทนที่เหมาะสม
– บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีเครดิตดีสามารถขอกู้เงินได้
– ผู้ป้องกันความเสี่ยง (Hedgers) สามารถบริหารความเสี่ยงของตัวเองได้
– นักเทรดสามารถซื้อขายสกุลเงิน, สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities), และสินทรัพย์อื่นๆได้ตามต้องการ
ถ้าหากตลาดสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้โดยใช้ต้นทุนที่ต่ำ หมายความว่าตลาดมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ (Operational efficient) และหากราคาหลักทรัพย์ในตลาดสะท้อนข้อมูลปัจจัยพื้นฐานทั้งหมดก็จะถือว่าระบบการเงินมีประสิทธิภาพด้านข้อมูล (Informationally efficient)
นอกจากนี้ระบบทางการเงินที่ดีจะต้องมีตัวกลางทางการเงิน (Financial intermediaries) ที่มีคุณสมบัติดังนี้:
– มีการบริหารจัดการระบบซื้อขาย เช่น ตลาดหลักทรัพย์
– เพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบการเงิน
– รับการค้ำประกันสินทรัพย์เพื่อการลดต้นทุนในการกู้ยืม
– มีธนาคารที่ใช้เงินฝากในการปล่อยเงินกู้
– มีบริษัทประกันภัยที่นำความเสี่ยงที่ไม่เกี่ยวข้องกันมารวมกัน (Pool unrelated risks)
– มีบริการบริหารกองทุนให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้ด้วยต้นทุนที่ถูก
– มี Clearing house จัดการคำสั่งซื้อขาย
– มีระบบฝากเงินเพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สิน
ระบบการเงินที่ดีจะส่งผลดีต่อคนทุกๆฝ่าย ตัวอย่างเช่น คนที่ฝากเงินกับธนาคารก็ให้ประโยชน์ต่อเจ้าของกิจการที่ต้องการกู้เงินเงินเพื่อมาลงทุน ซึ่งผลประโยชน์ต่างๆเกิดขึ้นได้จากธุรกรรมระหว่างคนที่ไม่รู้จักกัน ส่งผลให้เกิดโอกาสในวงที่กว้างขึ้นกว่าการธุรกรรมเฉพาะกับบุคคลที่รู้จักกัน
นอกจากนี้ในตลาดที่มีประสิทธิภาพด้านข้อมูล เงินทุนจะถูกจัดสรรไปในทางที่เกิดประโยชน์สูงสุด เรียกว่ามีประสิทธิภาพด้านการจัดสรรเงินทุน (Allocationally efficient) ซึ่งจะเกิดจากนักลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ตามข้อมูลที่ได้รับมา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้กระทบต่อปัจจัยพื้นฐานและมูลค่าของหลักทรัพย์ และหากตลาดมีประสิทธิภาพด้านการดำเนินการ ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพด้านข้อมูล เนื่องจากมีต้นทุนในการซื้อขายที่ต่ำ ทำให้นักลงทุนสามารถซื้อขายตามข้อมูลที่มีได้บ่อยยิ่งขึ้นนั่นเอง
ตลาดที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีมาตรการกำกับดูลเพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังนี้:
– การฉ้อโกงรูปแบบต่างๆ
– การเทรดด้วยข้อมูลภายในบริษัท
– ข้อมูลที่มีราคาแพง
– การผิดนัดชำระหนี้
– ปกป้องนักลงทุนหน้าใหม่เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของตลาด
– สร้างมาตรการเพื่อความง่ายต่อการวิเคราะห์ผลประกอบการ
– ป้องกันบุคคลภายในบริษัทควบคุมนักลงทุนภายนอก
– กำหนดมาตรฐานในการรายงานงบการเงินเพื่อลดต้นทุนในการหาข้อมูลของนักลงทุน
มาตรการข้างต้นสามารถกำหนดขึ้นได้โดยภาครัฐ หรือกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเมื่อใดที่องค์กรเหล่านี้ล้มเหลวในการกำกับดูแลปัญหาต่างๆ จะส่งผลให้ตลาดไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ, สภาพคล่องลดลง, บริษัทต่างๆหลีกเลี่ยงโครงการที่มีความเสี่ยงสูง, และเศรษฐกิจเติบโตช้า
บทความที่เกี่ยวข้อง
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 1) บทนำ
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 2) Positions and Leverage
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 3) Order Execution
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 4) Primary and Secondary Market
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 5) Quote-Driven, Order-Driven, and Brokered Markets
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: Financial System (Part 6) ลักษณะของระบบการเงินที่ดี