อัตรากำไร (Profit Margin) คืออะไร
Profit Margin คือ อัตรากำไร (Profit Margin) คือ เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่วัดเปอร์เซ็นต์ของกำไรที่บริษัทได้รับเมื่อเทียบกับรายได้ของบริษัท แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ อัตรากำไรบ่งบอกถึงกำไรที่บริษัททำได้สำหรับทุกดอลลาร์ของรายได้ที่สร้างขึ้น อัตรากำไรมีความสำคัญเพราะเปอร์เซ็นต์นี้ให้ภาพรวมที่ครอบคลุมของประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจหรืออุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงทุกๆ ในอัตรากำไรให้ข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับการประเมินศักยภาพในการเติบโต ความเป็นไปได้ในการลงทุน และความมั่นคงทางการเงินของบริษัทเมื่อเทียบกับคู่แข่ง การรักษาอัตรากำไรที่สุขภาพดีจะช่วยให้มั่นใจในความสำเร็จทางการเงินของธุรกิจ ซึ่งจะช่วยในการปรับปรุงความสามารถในการได้รับเงินกู้ ความสำคัญ Profit Margin อัตรากำไรในเศรษฐกิจสะท้อนถึงความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ และช่วยให้เกิดการเปรียบเทียบที่เท่าเทียมระหว่างธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มันเป็นมาตรฐานในการประเมินศักยภาพและความสามารถของธุรกิจในการสร้างกำไร อัตรากำไรเหล่านี้ช่วยให้ธุรกิจตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์การกำหนดราคาสินค้าและบริการ การกำหนดราคานี้ถูกหนุนด้วยต้นทุนของผลิตภัณฑ์และอัตรากำไรที่คาดหวัง ข้อผิดพลาดในการกำหนดราคาที่ทำให้เกิดปัญหาด้านกระแสเงินสดสามารถตรวจจับได้โดยใช้แนวคิดของอัตรากำไร และช่วยป้องกันปัญหาและการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในบริษัท อัตรากำไรยังถูกใช้โดยธุรกิจและบริษัทในการศึกษาแบบแผนและการเปลี่ยนแปลงในผลการดำเนินงาน และยังช่วยตรวจจับความท้าทายทางการดำเนินงาน...
ประเมินมูลค่าหุ้นด้วย DDM ทำอย่างไร? เหมาะกับหุ้นแบบไหน?
หลายๆครั้งที่เราสนใจที่จะลงทุนในหุ้นที่เน้นการจ่ายเงินปันผล หรือกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) แต่ไม่รู้ว่าจะทราบได้อย่างไรว่าราคาตลาดในปัจจุบันนั้นถูกหรือแพงเกินไป เนื่องจาก REITs ก็ไม่มีค่า P/E สำหรับเปรียบเทียบกับกองที่ใกล้เคียงกัน วันนี้เราจึงมาเสนอ DDM (Dividend discount model) ซึ่งเป็นวิธีการประเมินมูลค่าที่เหมาะกับสินทรัพย์ประเภทดังกล่าว วิธีการประเมินมูลค่าด้วย DDM วิธีนี้เป็นการคิดลดการแสเงินสดจากเงินปันผลที่คาดว่าจะได้ในอนาคตมีสูตรการคำนวณดังนี้: ตัวอย่างเช่น หากถือหุ้น A ที่ได้รับปันผลปีละ 20 บาท และจะขายในปีที่ 2 คาดว่าจะมีราคา...
ประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF ทำอย่างไร? เหมาะกับหุ้นแบบไหน?
นักลงทุนหลายๆคนคงจะเคยได้ยินการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF (Discounted cash flow models) แต่อาจไม่เคยลองนำมาใช้อย่างจริงจัง ด้วยความที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าวิธีอื่นๆ เช่น การเทียบค่า P/E หรือ Asset-based model อย่างไรก็ตาม DCF ก็เป็นวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับหุ้นที่มีผลดำเนินการสม่ำเสมอ ไม่เป็นวัฏจักรขึ้นๆลงๆ การประเมินด้วย DCF มีอีกชื่อหนึ่งคือ Present value models เนื่องจากเป็นการคิดสดกระแสเงินสดในอนาคตกลับมาเป็นมูลค่าในปัจจุบันเพื่อหามูลค่าที่แท้จริง...
WACC คืออะไร? มีวิธีคำนวณอย่างไร?
WACC คือ Weighted Average Cost of Capital (WACC) คือต้นทุนเฉลี่ยของกิจการ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆในฝั่งของนักลงทุนว่าเป็นผลตอบแทนที่คาดหวังจากบริษัทนั้นๆนั่นเอง ซึ่งจะมาจากส่วนของเงินลงทุน (captial) ประกอบด้วย หนี้สิน, หุ้นบุริมสิทธิ, และหุ้นสามัญ โดยมีสูตรคำนวณดังนี้ kd = Cost of Debt (ต้นทุนจากหนี้สิน) ต้นทุนของบริษัทในการไปกู้เงินมาลงทุน (kd) ก็คืออัตราดอกเบี้ย (Interest...
อุตสาหกรรมไหนปัง อันไหนแป้ก ต้องดูอะไรบ้าง!?
ในการคัดเลือกหุ้นแบบ Top-down approach คือการที่เราวิเคราะห์เศรษฐกิจในภาพใหญ่ก่อน จากนั้นจึงเจาะลึกลงไปสู่การเลือกอุตสาหกรรมและหุ้นที่เหมาะสมแก่การลงทุน โดยการเลือกอุตสาหกรรมที่ดีนั้นเราจะต้องวิเคราะห์จากปัจจัยหลายๆด้านที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมเติบโตขึ้นหรือหดตัวลง วันนี้เราจะพามาดูกลยุทธ์ที่จะช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจได้ว่าเราควรจะเลือกลงทุนในอุตสาหกรรมใด อุตสาหกรรมวัฏจักรและไม่ใช่วัฏจักร อุตสาหกรรมที่เป็นวัฏจักร (Cyclical industries) คืออุตสาหกรรมที่ผลประกอบการขึ้นกับรอบของเศรษฐกิจเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น บริษัทเทคโนโลยีต่างๆซึ่งเป็นสินค้าที่ยังไม่จำเป็นต้องซื้อในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ต่างจากอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่วัฏจักร (Non-cyclical industries) ที่ผลประกอบการค่อนข้างจะคงที่ในสภาวะเศรษฐกิจแบบต่างๆ เนื่องจากเป็นสินค้าและบริการที่ลูกค้าจำเป็นต้องใช้อยู่ตลอดเวลา อาทิ สินค้าอุปโภคบริโภค และบริการสุขภาพต่างๆ ส่งผลให้หุ้นในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่วัฏจักรมีความมั่นคงสูงกว่าในเวลาที่เศรษฐกิจถดถอยลง อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว หุ้นในอุตสาหกรรมที่เป็นวัฏจักรก็จะได้รับประโยชน์มากกว่าเนื่องจากมีความผันผวนต่อเศรษฐกิจสูงกว่านั่นเอง วงจรชีวิตของอุตสาหกรรม เราจำเป็นที่ต้องวิเคราะห์วงจรชีวิตของอุตสาหกรรม...