หลังจากที่เราเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์ Cash flow statement แต่ละส่วนแล้ว คราวนี้จะเป็นเรื่องงบกระแสเงินสดแบบ Common-size ซึ่งจะคล้ายกับ Common-size income statement และ balance sheet โดยที่ Common-size cash flow statement เป็นการแปลงรายการต่างๆให้กลายเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ ดังตัวอย่างด้านล่างนี้
Source: https://365financialanalyst.com/knowledge-hub/accounting/what-is-a-common-size-cash-flow-statement/
จากงบจะเห็นว่า CFO ที่บริษัท ABC ทำได้มีสัดส่วนสูงกว่า CFI ที่ใช้ลงทุนไปมาก รวมถึงมีสัดส่วนระหว่าง Net profit และ CFO ที่ค่อนข้างคงที่ จึงพูดได้ว่า ABC เป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานที่ดีบริษัทหนึ่ง
เราสามารถใช้ Common-size cash flow statement ในการดูแนวโน้มของกระแสเงินสดว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และคาดการณ์รูปแบบของกระแสเงินสดในอนาคตจากแนวโน้มดังกล่าว ซึ่งเมื่อเราประมาณการรายได้ที่คาดว่าบริษัทจะสามารถทำได้ในอนาคต แล้วนำรายได้นี้มาคูณด้วยเปอร์เซ็นต์สัดส่วนของกระแสเงินสดแต่ละรายการที่เราคาดเอาไว้ก็จะได้ออกมาเป็นงบกระแสเงินสดจากการคาดการณ์
Source: https://365financialanalyst.com/knowledge-hub/accounting/what-is-a-common-size-cash-flow-statement/
กำหนดให้บริษัท XYZ ทำธุรกิจแบบเดียวกับ ABC เมื่อนำ Common-size cash flow statement มาเทียบกันแล้วจะเห็นว่าในปี 2018 ทั้งสองบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรพอๆกัน แต่ว่าผ่านมาถึงปี 2020 บริษัท XYZ มี Net profit margin สูงกว่า ABC มาก มีการลงทุนอย่างหนักในปี 2018 ที่มีการใช้ CFI ไปถึง 7% แต่ไม่มีการลงทุนต่อเลยหลังจากนั้น ต่างกับ ABC ที่มีการลงทุนต่อเนื่องทุกๆปี
ผลสุดท้ายทั้งสองบริษัทมีเงินสดในมือราว 24 ล้าน USD เท่าๆกัน แต่จะเห็นว่ามีสไตล์การดำเนินธุรกิจต่างกัน บริษัท ABC เติบโตโดยการจ่ายเงินเพื่อลงทุนเพิ่ม เช่น การเข้าซื้อบริษัทอื่น ในขณะที่บริษัท XYZ เติบโตด้วยกิจการเดิมของตัวเอง (organic growth) แต่แลกมาด้วยค่าเสื่อมราคาที่สูงกว่า ABC มาก ซึ่งนักลงทุนต้องตัดสินใจเอาเองว่าสไตล์ของบริษัทไหนที่ตอบโจทย์สไตล์การลงทุนของตัวเอง
ก่อนหน้านี้เราเคยอธิบายเกี่ยวกับวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF ซึ่งเป็นการคิดลดกระแสเงินสดอิสระ (Free cash flow) ในอนาคตกลับมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน ในพาร์ทหน้าเราจะมาทวบทวนเกี่ยวกับ Free cash flow และจะอธิบายเกี่ยวกับอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญจาก Cash flow statement
หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 1) บทนำ
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 2) องค์ประกอบ
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 3) Direct และ Indirect Method
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 4) การนำงบกระแสเงินสดไปใช้
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 5) Common-Size Cash Flow Statement
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 6) อัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสด