หลังจากที่พาร์ทที่แล้วเราทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Cash flow statement ในภาพรวมกันไปแล้วว่ามันคืองบสำหรับดูการเคลื่อไหวของกระแสเงินสดของบริษัท ในพาร์ทนี้เราจะมาอธิบายว่ารายการเงินสดแต่ละอย่างควรจะไปอยู่ใน Cash flow from operating activites (CFO), investing activities(CFI), หรือ financing activities (CFF) โดยที่ระบบการบันทึกบัญชีจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ U.S. GAAP ที่ใช้ในสหรัฐฯเท่านั้น และ IFRS ที่ใช้กันทั่วโลก ซึ่ง 2 ระบบนี้มีวิธีบันทึกที่แตกต่างกัน
Source: https://quickbooks.intuit.com/r/midsize-business/statement-of-cash-flows/
Cash Flow from Operating Activities (CFO)
Statement of cash flow ส่วนนี้เป็นการบันทึกเงินสดจากผลของธุรกรรมต่างๆใน Net profit ของบริษัท ระบบ U.S. GAAP มีรายการบันทึกใน CFO ดังนี้:
เงินไหลเข้า
- เงินสดที่ได้รับจากลูกค้า
- ดอกเบี้ยและเงินปันผลรับ
- เงินที่ได้รับจากการขายสินทรัพย์สำหรับเทรด
เงินไหลออก
- เงินสดที่จ่ายให้กับพนักงานและซัพพลายเออร์
- เงินใช้จ่ายอื่นๆ
- เงินที่จ่ายเพื่อซื้อสินทรัพย์สำหรับเทรด
- ดอกเบี้ยจ่าย
- ภาษีจ่าย
Cash Flow from Investing Activities(CFI)
เป็นกระแสเงินสดส่วนที่มาจากการซื้อขายสินทรัพย์ระยะยาวต่างๆ ระบบ U.S. GAAP มีรายการบันทึกใน CFI ดังนี้:
เงินไหลเข้า
- เงินจากการขายสินทรัพย์ถาวร
- เงินจากการปล่อยกู้และลงทุนในหุ้น
- เงินต้นได้รับจากการปล่อยกู้
เงินไหลออก
- เงินซื้อสินทรัพย์ถาวร
- เงินรับจากการกู้และลงทุนในหุ้น
- เงินปล่อยกู้
Cash Flow from Financing Activities (CFF)
เป็นกระแสเงินสดส่วนที่มาจากธุรกรรมจากโครงสร้างเงินทุนของบริษัท ระบบ U.S. GAAP มีรายการบันทึกใน CFF ดังนี้:
เงินไหลเข้า
- เงินต้นรับจากหนี้สินที่ปล่อยออกไป (ตราสารหนี้)
- เงินรับจากการออกหุ้น
เงินไหลออก
- เงินต้นจ่ายจากหนี้สิน (ตราสารหนี้)
- เงินจ่ายในการซื้อหุ้นคืน
- เงินปันผลจ่ายให้กับผู้ถือหุ้น
สำหรับระบบ IFRS ที่ใช้กันทั้วโลกจะมีความยืดหยุ่นมากกว่า U.S. GAAP เล็กน้อย เช่น เงินปันผลจ่ายสามารถจัดอยู่ใน CFO หรือ CFF ก็ได้ ส่วนภาษีจ่ายจะยังอยู่ใน CFO เหมือนกับในระบบ U.S. GAAP หากว่าไม่ใช่ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือการจัดหาเงิน ตัวอย่างเช่น หากบริษัทขายที่ดินสำหรับโรงงานราคา 1 ล้านบาท มีภาษี 1 แสนบาท ระบบ U.S GAAP จะแยกบันทึก 1 ล้านบาทที่ได้จากการขายลงใน CFI ส่วนภาษี 1 แสนบาทบันทึกลง CFO แจ่ว่าหากเป็นระบบ IFRS จะหักราคาที่ดินด้วยภาษีออกไปเหลือ 9 แสนบาทแล้วบันทึกลงใน CFI เพียงอย่างเดียว
เราจะเห็นว่าวิธีการบันทึก Cash flow statement มีความซับซ้อนอยู่พอสมควร ทั้งการแยกบันทึกลงในส่วนต่างๆ และ 2 ระบบที่มีวิธีการบันทึกที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามหากนักลงทุนใช้เวลาทำความเข้าใจแล้วจะสามารถใช้เหตุผลในการดูได้ว่าเหตุใดแต่ละรายการจึงจัดไปอยู่ในแต่ละส่วนได้ และจะสามารถวิเคราะห์กระแสเงินสดของแต่ละบริษัทได้อยู่ถูกต้อง
หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 1) บทนำ
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 2) องค์ประกอบ
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 3) Direct และ Indirect Method
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 4) การนำงบกระแสเงินสดไปใช้
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 5) Common-Size Cash Flow Statement
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 6) อัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสด