โดยปกติแล้วใน Income statement ของแต่ละบริษัทจะมีวิธีการบันทึกที่เรียกว่า Accrual basis ซึ่งเป็นการบันทึกงบที่รวมทั้งรายรับรายจ่ายที่เป็น Cash และ Non-cash เอาไว้ด้วยกัน ส่งผลให้เราไม่ทราบว่ามีส่วนที่เป็นเงินสดเพียงอย่างเดียวอยู่เป็นจำนวนเท่าไหร่กันแน่ Cash flow statement จึงมีเอาไว้เพื่อดูทิศทางการไหลของเงินสดแต่ละประเภทของบริษัทโดยเฉพาะ ประกอบด้วยข้อมูล เช่น เงินสดที่ได้รับและจ่ายไปในแต่ละช่วง และรายละเอียดกิจกรรมการดำเนินงาน, ลงทุน, และจัดหาเงินของบริษัท
โครงสร้างเบื้องต้นของ Cash flow statement
Source: https://www.investopedia.com/investing/what-is-a-cash-flow-statement/
จากที่เราอธิบายไปเมื่อบทความที่แล้วว่าเราสามารถใช้อัตราส่วนต่างๆจาก Balance sheet เพื่อตรวจสอบความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นและยาวได้ Cash flow statement จะเป็นการลงรายละเอียดในด้านนี้ไปอีกขั้น โดยเราสามารถตรวจสอบ:
- รายได้จากการดำเนินงานปกติว่าเพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจหรือไม่
- เงินสดสำหรับชำระหนี้มีเพียงพอหรือไม่
- ความต้องการในการกู้เงินเพิ่มของบริษัท
- ความสามารถในการจ่ายให้ภาระผูกพันที่เหนือความคาดหมายต่างๆ
- ความสามารถในการขยายไปธุรกิจใหม่เมื่อมีโอกาส
ส่วนประกอบของ Cash Flow Statement
Cash flow statement เป็นการบันทึกกระแสเงินสดโดยมีข้อมูลมาจากทั้ง Income statement และ Balance sheet ประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้:
- กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Cash flow from operating activities (CFO)) เป็นกระแสเงินสดไหลเข้าและออกจากผลของธุรกรรมต่างๆใน Net profit ของบริษัท
- กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน (Cash flow from investing activities (CFI)) เป็นกระแสเงินสดไหลเข้าและออกจากการซื้อขายสินทรัพย์ระยะยาวต่างๆ
- กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงิน (Cash flow from financing activities (CFF)) เป็นกระแสเงินสดไหลเข้าและออกจากธุรกรรมจากโครงสร้างเงินทุนของบริษัท
Source: https://corporatefinanceinstitute.com/resources/accounting/statement-of-cash-flows/
เมื่อนำทั้ง 3 ส่วนมารวมกันจะได้เป็นตัวเลขเงินสดที่เปลี่ยนแปลงไปของบริษัทในแต่ละงวด เราสามารถนำเงินสดคงเหลือของบริษัทในแต่ละปีมาเปรียบเทียบเพื่อดูว่าบริษัทมีสภาพคล่องที่เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง เมื่อเราเข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมของ Cash flow statement กันแล้ว ในบทความต่อไปเราจะมาอธิบายเกี่ยวกับวิธีการคำนวณงบนี้ ซึ่งมีขั้นตอนที่จำเป็นต้องจำและมีตวามซับซ้อนเล็กน้อย แต่หากเรารู้วิธีทำแล้วก็จะเข้าใจและนำ Cash flow statement ไปวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี
หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 1) บทนำ
หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 2) องค์ประกอบ
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 3) Direct และ Indirect Method
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 4) การนำงบกระแสเงินสดไปใช้
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 5) Common-Size Cash Flow Statement
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Cash Flow Statement (Part 6) อัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสด