Breadth Indicator คือ
Breadth Indicator คือเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ได้มาจาก Price และ Volume (อินดิเคเตอร์ส่วนมากมักจะมาจากส่วนนี้) โดยจะเป็นการนับจำนวนหุ้นขึ้น/ลงในตลาดทั้งหมด ว่ามีกี่ตัว แล้วนำมาสร้างเครื่องมือนี้
จุดเด่นหลักของการใช้งานของ Breadth indicator คือเพิ่ม “มิติ” การวิเคราะห์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทำให้เราได้มุมมองที่แตกต่างฉีกออกมา (เครื่องมือ Technical ทั่วไปจะมาจาก “ราคา” กันเกือบหมด) เป็นการเสริมประสิทธิภาพในการเทรดของเราให้ดีมากยิ่งขึ้น
Breadth Indicator เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Technical Indicators
ประโยชน์ของ Breadth Indicator
- ช่วยยืนยันแนวโน้มของตลาด เช่นว่า การขึ้นรอบนี้แข็งแกร่งจริงไหม หรือ มีโอกาสเป็นจุดกลับตัวหรือเปล่า
- ช่วยหาจุดกลับตัวของตลาดในช่วง Panic
- ช่วยเตือนในกรณีที่ตลาดขึ้นมามากเกินไป
Breadth Indicator มีอะไรบ้าง
จริงๆแล้ว Breadth Indicator นั้นมีมากมาย อาทิเช่น
- Advance/Decline Line
- OBV (On Balance Volume)
- Arms Index
- Up/Down Volume Ratio
- Percentage of Member With New X Week Lows
- Percentage of Member With New X Week Highs
- Percentage of Member With Px > X Day Moving Avg
- Percentage of Member With Px < X Day Moving Avg
- Percentage of Member With Px > RSI(X)
- Percentage of Member With Px < RSI(X)
- Percentage of Member With Px > MACD( )
- Percentage of Member With Px > MACD( )
- และอื่นๆ อีกมากมาย
หลักการของ Breadth Indicator คือเป็นเครื่องมือที่ไว้นับจำนวนหุ้นแต่ลงตัวว่าเป็นอย่างไร เช่นอย่าง NewHigh52Weeks ก็นับว่ามีจำนวนหุ้นกี่ตัวในตลาดช่วงนี้ที่ทำ New high ในรอบ 52 สัปดาห์ เป็นต้น โดยหุ้นทุกตัวในตลาดจะมี 1 สิทธิ์ 1 เสียง ไม่มีตัวไหนได้สิทธิ์มากกว่า ซึ่งจะนับ 1 สิทธิ์ 1 เสียง หากเครื่องมือไหนที่มีการคำนวณลักษณะนี้เค้าจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ Breadth Indicator นั่นเองครับ
ตัวอย่าง Breadth Indicator
ตัวอย่าง 1 : Percentage of Member with Px > 100 Day Moving Avg
ด้านบน : SET Index
ด้านล่าง : Percentage of Member with Px > 100 Day Moving Avg
โดย Breadth Indicator ตัวนี้ เป็นการนับจำนวนหุ้นในตลาดบ้านเราว่า มีจำนวนหุ้นกี่ตัวบ้างที่อยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 100 วัน (SMA) โดยจะคิดในแบบเปอร์เซ็นต์
ไว้สามารถช่วยดูความแข็งแกร่งในการขึ้นของตลาดในแต่ละรอบได้ อย่างตัวอย่างในช่วงจังหวะที่เกิดสัญญาณ Bearish divergence สะท้อนให้เห็นว่า ดัชนีปรับตัวสูงขึ้น แต่จำนวนหุ้นที่อยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 100 วัน นั้นต่ำลง ชี้ให้เห็นได้ว่า ตลาดขึ้นด้วยความอ่อนแอ ไม่ค่อยมีหุ้นที่เป็นแนวโน้มขาขึ้นมาก เหมือนรอบก่อนหน้า ทำให้สุดท้ายตลาดก็ปรับตัวลง และเข้าสู่รอบแนวโน้มขาลงในที่สุด
ตัวอย่างที่ 2 : Percentage of Members with New 52 Week Lows
ด้านบน : SET Index
ด้านล่าง : Percentage of Members with New 52 Week Lows
อีกหนึ่ง Breadth Indicator โดยตัวนี้ เราจะใช้นับจำนวนหุ้นที่ทำ New lows ในรอบ 52 สัปดาห์ โดยคิดในรูปแบบเปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกัน
เครื่องมือนี้ไว้ช่วยเราหาจุดกลับตัวของดัชนีได้ โดยตามสี่เหลี่ยมสีฟ้า เป็นช่วงที่ Indicator โดดขึ้นเหนือระดับ 15% ซึ่งในอดีตมักจะเป็นช่วงกลับตัวของดัชนี
สรุป
ต้องเรียนตามตรงว่าในไทยตอนนี้ไม่ค่อยมีเครื่องมือที่ให้ดู Breadth Indicators แบบฟรี ๆ (ส่วนตัวใช้ Bloomberg ของที่ทำงานดู) โดยตอนนี้ที่หาได้ก็จะมีของ Thaiquants.com ที่ทางดร.ได้นำเสนอ โดยการใช้การ Coding เพื่อสร้าง Indicator นี้ขึ้นมา (บนโปรแกรม Amibroker)
ปล. คอร์สของ Thaiquants คุ้มมากจริงๆครับ การ Coding ระดับสากลเลย ใครสนใจสาย Quants แนะนำเลยครับ (ผมไม่ได้ค่านายหน้าอะไรทั้งสิ้นครับ ชอบจริงๆ)
แหล่งข้อมูลที่มา