“ARM” ผู้ออกแบบชิป

ARM เป็นบริษัทพัฒนา และออกแบบชิป CPU ที่อยู่ภายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันสมาร์ทโฟนเกือบทุกเครื่องบนโลกทำงานอยู่บนพื้นฐานของ ARM Central Processing Unit (ARM CPU) ซึ่งถือเป็นไอเดียสถาปัตยกรรมต้นแบบที่ทำให้ชิป และระบบปฏิบัติการต่างๆสามารถทำงานได้ เปรียบเสมือนส่วนสมองของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ARM CPU ครองตลาดด้วยจุดเด่นเรื่องการประหยัดพลังงาน จนถึงขั้นเคลมตัวเองว่าเป็น platform ที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก เป็นที่แพร่หลายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ เห็นได้จาก

  • 70% ของประชากรโลกใช้ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์บนพื้นฐานของ ARM CPU
  • ยอดจัดส่ง ARM CPU จำนวนมากกว่า 300,000 ล้านชิ้นนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท
  • 99% ของสมาร์ทโฟนบนโลกทำงานบนพื้นฐานของ ARM CPU
  • 50% ของชิปโปรเซสเซอร์ทั้งหมดบนโลกใช้เทคโนโลยีของ ARM CPU
  • ลูกค้าของ ARM ยกตัวอย่างเช่น Apple, Nvidia, Google, Microsoft, Amazon, Samsung, Intel และบริษัทผลิตชิปของประเทศไต้หวัน เรียกได้ว่าแต่ละรายเป็นชื่อที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกด้านชิป และเทคโนโลยี

บริษัท ARM ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร โดยมี Soft Bank เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ประมาณ 90% โดยหุ้นของ Arm holding ได้ออก IPO ในวันที่ 14 กันยายน 2023 ที่ราคา 51 USD/หุ้น เป็นจำนวน 95.5 ล้านหุ้น บริษัทได้รับการประเมินมูลค่ามากกว่า 54 พันล้าน USD และด้วยอัตราส่วน P/E กว่า 100 เท่า (ประมาณ 104 เท่า อ้างอิงจากการคำนวนผลกำไรของงบประมาณจนถึงปี 2023) จึงถือเป็นการเปิดตัวหุ้นเทคฯที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานทั่วโลกกว่า 7,000 คน, มีพันธมิตรกว่า 1,000 บริษัท และมูลค่าหุ้นที่จุดสูงสุดเติบโตกว่า 100%

Arm Holdings อดีต – ปัจจุบัน

ARM (Advanced RISC Machines Ltd,) ถูกก่อตั้งโดยผู้ออกแบบชิป 12 คน ได้แก่ Jamie Urquhart, Mike Muller, Tudor Brown, Lee Smith, John Biggs, Harry Oldham, Dave Howard, Pete Harrod, Harry Meekings, Al Thomas, Andy Merritt, and David Seal. บริษัทถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1990 เกิดจากการรวมทุมระหว่าง Apple, Acorn Computers, และ VLSI Technology (NXP Semiconductors ในปัจจุบัน)

ปี 1993 Apple เปิดตัวผลิตภัณฑ์ The Apple Newton เป็นอุปกรณ์สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ touchscreen แบบพกพา ที่ประหยัดพลังงาน และทำงานบนแบตเตอรี่ ต่อมาได้บรรลุข้อตกลงกับ Nokia ในการที่จะใช้ชิปโปรเซสเซอร์ในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดการครองตลาดสถาปัตยกรรมต้นแบบในสมาร์ทโฟนมาจนถึงทุกวันนี้

ปี 1998 ARM จดทะเบียนบริษัทมหาชน และเสนอขายหุ้น IPO เป็นครั้งแรก บริษัทฯเติบโตอย่างรวดเร็วจากการที่ Apple เปิดตัว Iphone รุ่นแรกในปี 2007 และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมต่อภายในบ้านในปี 2010

CEO SoftBank: Masayoshi Son และ ประธานบริษัท ARM: Stuart Chambers

ปี 2016 SoftBank จากประเทศญี่ปุ่นได้เข้าซื้อกิจการของ ARM ด้วยจำนวนเงิน 32 พันล้าน USD และถอนหุ้น ARM ออกจากตลาดหลักทรัพย์ ดำเนินการอัดฉีดต้นทุนในส่วน R&D พัฒนา ARM ให้ตอบโจทย์ความต้องการ และเพิ่มขีดจำกัดความสามารถที่จะเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆในอนาคตได้มากยิ่งขึ้น,  ARM มีสิทธิบัตรกว่า 6,800 ฉบับ และ 2,700 แอพพลิเคชั่นรอดำเนินการอยู่ทั่วโลก

CEO ARM: Rene Haas

ปี 2020 SoftBank ประสบปัญหาทางการเงินจากการลงทุนที่ผิดพลาดในบริษัท WeWork และ Uber จนกระทั่งในปี 2022 สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐรุนแรงขึ้นส่งผลให้ให้รายได้จากจีนหดหายคิดเป็น 20% ของรายได้ทั้งหมด และยอดขายสมาร์ทโฟนลดลงต่ำสุดในรอบ 9 ปี, มีข่าว Nvidia จะเข้าซื้อกิจการ ARM ด้วยจำนวนเงิน 40 พันล้าน USD แต่ดีลล่ม เพราะถูกระงับโดยหน่วยงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลทางการค้า, กฎระเบียบการผูกขาด และสมาคมลูกค้าของ ARM ที่เป็นคู่แข่งกับ Nvidia หลังจากนั้น SoftBank ก็ได้นำ ARM เข้าสู่ตลาดหุ้นอีกครั้งในปี 2023

ARM ตีตลาด PC และ Data center

ครั้งนึง APPLE เคยจีบ Intel ให้ผลิตชิปสำหรับสมาร์ทโฟน แต่ไม่สำเร็จ เลยหันมาใช้ชิป CPU ของ ARM แทน

แต่เดิมคู่แข่งของ ARM คือ x86 ซึ่งเป็นผู้ออกแบบสถาปัตยกรรม sever ของคอมพิวเตอร์แบบยุคก่อนสำหรับ PC, laptop ซึ่งเป็นที่แพร่หลายอย่างมาก อีกทั้งมีผู้พัฒนาและลูกค้ารายใหญ่อย่าง Intel และ Advanced Micro Devices Inc. (AMD), Intel มี software support มากมายสำหรับ x86 และ sever ส่วนใหญ่ก็ support x86 แต่ x86 นั้นมีข้อเสียคือเปลืองไฟ และไม่เหมาะที่จะใช้กับสมาร์ทโฟน เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ตลาด sever ถูกแบ่งย่อยออกเป็นส่วนที่เล็กลง และง่ายกว่าเมื่อใช้ ARM

ปี 2021 APPLE เปิดตัว Macbook M1 ซึ่งทำงานบน ARM CPU ที่ประหยัดไฟสามารถใช้งานได้นาน มาคู่กับ Rosetta 2 ที่สามารถแปลง program ที่ทำงานบน x86 ให้มาทำงานบน ARM ได้ ส่งผลให้มีผู้คน และ Developer เริ่มหันมาใช้ผลิตภัณฑ์บนพื้นฐานของ ARM CPU มากขึ้นเรื่อยๆ

ปี 2023 Apple เปิดตัว MacBook Pro M3 ด้วยแบตเตอรี่ที่สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 22 ชม. และเซ็นต์สัญญาข้อตกลงในเทคโนโลยีชิปร่วมกันกับ ARM อย่างเป็นทางการ อีกทั้ง ARM มีโครงการที่กำลังพัฒนาความสามารถในการขับขี่แบบไร้คนขับ (self-driving) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต่อไปในอนาคต

“จำนวนของ software support & network effect ระดับโลก เป็นสิ่งที่จะตัดสินความสำเร็จในอนาคตระยะราวของ ARM”

รายได้ของ ARM

ARM ทำรายได้จาก 2 ช่องทางหลัก ได้แก่

  1. License business: ขายใบอนุญาต [ประมาณ 40% ของรายได้ทั้งหมด]

ARM ออกใบอนุญาตขาย License ให้บริษัทต่างๆที่เป็นลูกค้า เพื่อให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีของ ARM และนำเทคโนโลยีนั้นไปออกแบบ พัฒนา และสร้างชิปต่อไปได้

  1. Royalty fee: ขายลิขสิทธิ์ [ประมาณ 60% ของรายได้ทั้งหมด]

ลูกค้าของ ARM ซื้อ License และใช้เวลาออกแบบพัฒนาประมาณ 3-4 ปี (ตามข้อ 1.) ก่อนที่จะส่งให้โรงงานผลิตชิป โดยจะมีสัญญาประมาณว่า ARM จะได้ส่วนแบ่งเป็นเงินกี่ USD ต่อการผลิตชิปออกมา 1 อัน หรือตกลงเป็น % ส่วนแบ่งจากยอดขาย แล้วแต่รายละเอียดในสัญญาที่ทางลูกค้าทำไว้กับ ARM ซึ่งรายได้จากลิขสิทธิ์ในส่วนนี้มีแนวโน้มที่จะเติบโต และทำให้ได้ส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้นในอนาคต

รูปภาพแสดงสัดส่วน 50% ของรายได้จากลิขสิทธิ์ในปัจจุบันมาจากผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวตั้งแต่ +10 ปีที่แล้ว

ARM จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นโดย

  • ชิปมีความซับซ้อนมากขึ้น
  • จำนวนชิปมากขึ้น
  • ได้ส่วนแบ่งตลาดจาก x86 มากขึ้น
  • Reinvest จ้างคนเพิ่ม เติบโต และขยายกิจการ

References: