ในความเป็นจริง เป็นเรื่องยากที่บริษัทจะได้รับการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีนิติบุคคล แต่หากเกิดขึ้นจะส่งผลให้มูลค่า Deferred tax assets (DTA), deferred tax liabilities (DTL), และยังทำให้ Income tax expense เปลี่ยนไปอีกด้วย จากสูตร:
Income tax expense = Taxes payable + DTL – DTA
DTL คือ Deferred tax liabilities ที่เปลี่ยนแปลงไป
DTA คือ Deferred tax assets ที่เปลี่ยนแปลงไป
เมื่ออัตราภาษีที่รัฐเรียกเก็บปรับตัวสูงขึ้น ทั้ง DTA และ DTL ก็จะมีมูลค่าสูงขึ้นตาม หากอัตราภาษีปรับตัวต่ำลง DTA และ DTL ก็จะมีมูลค่าต่ำลงทั้งคู่เช่นกัน เราจะพิสูจน์ด้วยตัวอย่างการคำนวณด้านล่างนี้
กำหนดให้บริษัทซื้อเครื่องจักรมามูลค่า 6,000,000 บาท ใน Income statement มีการคิดค่าเสื่อมราคาด้วย Straight-line method อายุการใช้งาน 3 ปี ส่วนใน Tax return คำนวณด้วยวิธีแบบเร่งความเร็ว โดยมีค่าเสื่อมราคาในปีที่ 1, 2, และ 3 ที่ 3,000,000 บาท, 2,000,000 บาท, และ 1,000,000 บาท ตามลำดับ ส่งผลให้ค่าเสื่อมราคาในปีที่ 1 และ 3 มีค่าไม่เท่ากัน ค่า Income tax expense กับ Taxes payable จึงมีค่าต่างกันไปด้วย กำหนดอัตราภาษีที่ 40% ในปีที่ 1 แล้วปรับเหลือ 30% ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นมา จงคำนวณ Deferred tax liabilities ในแต่ละปี
ในปีที่ 1 บริษัทมี Deferred tax liabilities เท่ากับ (4,000,000 Carrying value – 3,000,000 Tax base) x 40% = 400,000 บาท
ในปีที่ 2 บริษัทมี Deferred tax liabilities เท่ากับ (2,000,000 Carrying value – 1,000,000 Tax base) x 30% = 300,000 บาท
ในปีที่ 3 บริษัทคืน Deferred tax liabilities จนเหลือ 0 เนื่องจากทั้ง Carrying value และ Tax base มีค่าเป็น 0 ทั้งคู่
จากตัวอย่างจะเห็นว่าในปีที่ 1 และ 2 ถึงแม้ว่าจะมีส่วนต่างระหว่าง Carrying value กับ Tax base 1,000,000 บาทเท่ากัน แต่ด้วยอัตราภาษีที่ต่างกัน ส่งผลให้ Deferred tax liabilities ต่างกันไปด้วย
ในการเกิดทั้ง Deferred tax assets และ liabilities ที่เราอธิบายกันมาจนถึงบทความนี้เรียกว่าเป็น Temporary difference หรือว่าเป็นความแตกต่างระหว่าง Taxes payable และ Income tax expense อย่างชั่วคราวที่จะกลับไปสมดุลกันในอนาคต เหมือนกับในปีที่ 3 ของตัวอย่างที่ Deferred tax liabilities ถูกชดเชยไปจนหมด แต่ในบทความต่อไปเราจะมาพูดถึง Permanent difference ซึ่งจะเป็นความแตกต่างแบบถาวร จะเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์แบบไหนได้บ้าง รอติดตามกันได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Income Taxes (Part 1) บทนำ
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Income Taxes (Part 2) Deferred Tax Assets and Liabilities
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Income Taxes (Part 3) Tax Base
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Income Taxes (Part 4) Changes in Tax Rates
- หลักการวิเคราะห์งบการเงิน: Income Taxes (Part 5) Permanent Differences