Indicator redundancy

การใช้ Indicator ซ้ำซ้อน (Indicator redundancy)

ในการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค เห็นนักเทคนิคบางคนใช้ Indicator หลายตัว ดูซับซ้อน ดูอลังการงานสร้างมาก … เส้นขึ้นมาเต็มกราฟไปหมด จนงงว่าตัวไหนเป็นตัวไหน ซึ่งการใช้ Indicator หลายตัวเพื่อมา Confirm สัญญาณกันนั้นก็เป็นเทคนิคที่ดีอย่างหนึ่ง แต่บางคนใช้ Indicator ในการวิเคราะห์ที่เป็นประเภทเดียวกัน เพื่อมายืนยันสัญญาณกันเอง ! … ซึ่งฟังดูไม่ค่อยสมเหตุสมผลสักเท่าไร่ …

เช่นว่า เอา MACD มา Confirm กับเส้น EMA (ที่มีค่าเฉลี่ยแถวๆ 10-30 อะไรประมาณนี้) ซึ่งหากไปดูสูตร MACD จริงๆแล้วมันก็คือเส้น EMA นั่นแหละ … โดยวิธีคำนวณมันเหมือนกัน ผลที่ได้มันก็จะตามกัน

ในการเลือกใช้ Indicator นั้น อย่างแรกควรจะรู้ว่า เครื่องมือนั้นๆทำหน้าที่อะไร … บางตัวใช้วัด Trend บางตัวใช้วัด Momentum บางตัววัดความผันผวน เป็นต้น … ถ้าจะนำมาใช้ร่วมกันก็ควรเลือกที่ต่างประเภทกันออกไป จะทำให้การวิเคราะห์มิติมากขึ้น และจะได้ไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการใช้เครื่องมือต่างๆ

คร่าวๆสามารถแบ่งประเภท Indicators ได้ออกเป็น 4 ประเภท
Trend Indicators – ใช้วัดแยกแยะแนวโน้ม เช่นพวก MACD , Parabolic SAR และเส้นค่าเฉลี่ยต่างๆ เป็นต้น
Momentum Indicators – ใช้วัดพวก Overbought / Oversold เช่น RSI , Stochastic และ CCI
Volume Indicators – วัดปริมาณการซื้อขายต่างๆ เช่น OBC , Chaikin Money Flow, Force Index และ Money Flow Index เป็นต้น
Volatility Indicators – วัดความผันผวน เช่น Bollinger Bands, Average True Range และพวก Envelopes ต่างๆ เป็นต้น

ยังไงลองเอาไอเดียไปปรับใช้กันดูครับ