โดย Pawel Kosinski, PhD, MEng อาจารย์ที่ University of Bergen ประเทศ Norway

เค้าได้พูดถึงการเทรดด้วยรูปแบบ Breakaway Gap โดยทดสอบในแง่มุมต่างๆ ทั้ง ความกว้างของ Gap, ปริมาณ Vol. ตอนจังหวะทะลุ และต่างๆ เพื่อมาดูกันว่า การเทรดรูปแบบนี้ จะสามารถสร้างกำไรในตลาดจริงได้หรือไม่นั่นเอง

Breakaway Gap คือ Gap ที่เริ่มต้นแนวโน้มการขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยส่วนมักจะเกิดในตอนจังหวะที่ทะลุแนวต้านสำคัญ อาทิ High สำคัญ, Downtrend line หรือ รูปแบบราคาต่างๆ เป็นต้น แสดงถึงแรงซื้อที่หนาแน่นอย่างมาก มีโอกาสที่จะได้เห็นการปรับตัวขึ้นต่อในอนาคต

Breakaway Gap

หน้าตาของ Breakaway Gap ในหุ้น AWC

ทาง Pawel Kosinski เค้าได้ทดสอบในหุ้น Russell 3000 ตั้งแต่ช่วงเดือน Jan 2000 – Jun 2018 แต่ในบทความนี้ ผมจะนำมาทดสอบในตลาดหุ้นไทย (SET index) แทน โดยถอดแบบการทดสอบคร่าวๆ มาจากเค้า ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมเองบ้างเล็กน้อย

โดยในการทดสอบเราจะพิจารณา 5 อย่าง คือ

  1. Profit factor
  2. Maximum drawdown
  3. Number of trades
  4. % of Winners
  5. Avg % Profit/Loss

รายละเอียดการทดสอบ

  • ในการทดสอบเบื้องต้น เราจะตั้งค่า Gap size อยูที่ 1% และเป็นการ Breakout ของ Highest high 60 วันก่อนหน้า
  • หุ้นใน SET Index 
  • ระยะเวลาตั้งแต่ Jan 14 – Dec 20

How long should you hold?

คำถามแรก คือ เมื่อเกิด Breakaway Gap เราควรถือหุ้นนั้น นานเท่าไหร่ 

เราจะมาทดสอบว่า เราจะถือหุ้นนานเท่าไหร่ เมื่อเกิด Breakaway Gap ตั้งแต่ 5, 10, 15 และ 20 วัน หลังจากที่เกิดสัญญาณเทรด

โดยจะไม่มีการวาง Stop loss และ Take profit จะใช้ระยะเวลาการถือครองเป็นตัว Exit เท่านั้น

ผลการทดสอบ พบว่า การถือครองช่วง 5 วัน ให้ค่า Maximum drawdown ต่ำที่สุด ส่วน 10 วัน จะให้ค่า Profit factor ดีที่สุด

ในการทดสอบต่อไปเราจะใช้ ค่าการถือครองที่ 20 วัน

How large should the gap be?

จากนั้นมาดูต่อว่า “ความกว้าง” ของ Gap จะมีผลต่อการทดสอบอย่างไรบ้าง โดยจะทดสอบความกว้างของ Gap ตั้งแต่ 1%, 2%, 3%, 4% และ 5%

ผลการทดสอบพบว่า ช่วงที่ Gap ขนาด 5% ให้ค่าต่างๆ ดีขึ้น แต่จำนวนการเทรดนั้นลดต่ำลงมาก ส่วนช่วงขนาด Gap ที่ 2-4% ไม่ได้ทำให้ผลการทดสอบโดยรวมดีขึ้น 

Then there’s volume

ต่อมาเรามาดูปริมาณ Vol. ตอนที่ราคาเกิดการ Breakout กันบ้าง โดยจะใช้ Vol. เฉลี่ยของ 14 วันย้อนหลังในการประกอบการพิจารณา

โดยจะดู 3 อย่าง คือ

  1. ปริมาณ Vol. น้อยกว่า ค่าเฉลี่ย x 2
  2. ปริมาณ Vol. มากกว่า ค่าเฉลี่ย x3
  3. ปริมาณ Vol. มากกว่า ค่าเฉลี่ย x4

ผลการทดสอบพบว่า ยิ่งปริมาณ Vol. มากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้กับแย่ลง ยิ่ง ปริมาณ Vol. มากกว่า ค่าเฉลี่ย x4 ทำให้ค่า Profit factor ต่ำกว่า 1 เลยทีเดียว (ต่างกับการทดสอบของ Pawel Kosinski ในตลาดหุ้น Russell 3000 ที่ยิ่งปริมาณ Vol. มากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้จะดีขึ้น)

A full trading strategy

ที่ผ่านมาเราจะใช้ออกโดยถือครองหุ้น 20 วัน โดยเราจะมาใช้จุด Take profit และ Stop loss ในการออกกันบ้าง 

โดยแบ่งเป็น 4 Case

  1. Case 1 : tp 10% stop 10% 20 days
  2. Case 2 : tp 20% stop 10% 20 days
  3. Case 3 : tp 10% stop 10%
  4. Case 4 : tp 20% stop 10%

Case 3 กับ 4 จะไม่สนว่า ถือนานเท่าไหร่ จะถือไปเรื่อยๆ จนกว่าราคาจะถึงจุด Take profit หรือ Stop loss

ผลการทดสอบ พบว่า ในกรณีของ Case 3 และ Case 4 ให้ผลลัพธ์ที่แย่ลง (ไม่กำหนด Time stop) 

สรุป

จะเห็นได้ว่า ในการทดสอบรูปแบบต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะแตกต่างกันออกไปบ้างเล็กน้อย แต่โดยรวมแล้วสิ่งที่เหมือนกันคือ Breakaway Gap ถือว่าอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สามารถทำกำไรได้ 

ในการเทรดจริง ถ้าราคาเคลื่อนไหวถูกทางเมื่อไหร่ เราสามารถยก Trailing stop ขึ้นไปได้ หรือ จะใช้การรอจังหวะย่อซื้อ เพื่อให้ Risk ที่ต่ำลง ทั้งนี้นักลงทุนสามารถนำไปประยุกต์ต่อได้เช่นเดียวกัน