ประวัติ :
เด็กหนุ่มผู้คลั่งไคล้ตลาดหุ้นตั้งแต่อายุ 13 เริ่มต้นมาจากเข้าได้พลิกอ่านบทความของวอลสตรีท เจอร์นัล เกี่ยวกับบริษัท Ward Foods ซึ่งผลิตขนมหวานแบบแท่งชื่อ Bit-O-Honey และ Chunky ที่เขาชอบกินอยู่แล้ว โดยเขาได้ขอพ่อให้เปิดบัญชีและซื้อหุ้น Ward Foods จำนวน 10 หุ้นให้กับเขา และเขายังชวนเพื่อนๆให้ซื้อขนมพวกนั้นเพื่อให้บริษัทมีกำไรมากขึ้นและเพื่อให้หุ้นได้มีราคาสูงขึ้น
เมื่อตอนอายุ 16 ปี เขาได้สมัครรับบริการข้อมูลและเข้าร่วมสัมมนาด้านการลงทุนที่จัดขึ้นโดย วิลเลียม โอนีล และนักวิเคราะห์อื่นๆ เขาอ่านหนังสือแทบทุกเล่มที่เกี่ยวกับตลาดหุ้น
หลังจบมหาวิทยาลัย เขาทำทุกวิธีทางเพื่อให้ได้ทำงานที่บริษัทของโอนีล และภายใน 4 ปี เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองประธานที่อายุน้อยที่สุดในบริษัท โดยรับผิดชอบเป็นผู้บริหารจัดการกองทุน และ ผู้ช่วยโดยตรงของโอนีลในการคัดสรรหุ้นให้กับลูกค้าสถาบัน
เขามีประวัติชนะการแข่งขันลงทุนแห่งอเมริกา (U.S. Investing Championship)
- เมื่อปี 1985 เขาทำกำไรไปถึง 161%
- เมื่อปี 1986 เขาทำกำไรมากกว่า 100%
- เมื่อปี 1987 (ได้ที่ 2) เขาทำกำไรมากกว่า 100%
ไรอัน เป็นคนที่มีความกระตือรือร้นอย่างท่วมท้นที่สุด ในบรรดาเทรดเดอร์ที่เคยเจอทั้งหมด
- วิลเลียม โอนีล เป็นไอดอลของไรอัน
- กลยุทธ์เป็นลักษณะ ซื้อแพง ขายแพงกว่า
- วิธีการเทรดของเขาเกือบทั้งหมด copy มาจาก โอนีล (เขายอมรับ)
หนังสือที่ ไรอัน แนะนำ
- How to make money in stocks ของ William O’Neil
- How I made $2,000,000 in the stock market (ผมทำเงิน 2 ล้านในตลาดหุ้นได้อย่างไร?) ของ Nicholas Darvas
- Reminiscences of a stock operator (บันทึกลับเซียนหุ้น) ของ Jesse Livermore (สั่งซื้อหนังสือ คลิ๊ก)
- กลยุทธ์เก็งกำไรอย่างเซียนหุ้น HOW TO TRADE IN STOCK (Jesse Livermore)
- Super Performance stocks (Richard Love)
- Profile of a growth stock (Kermit Zieg and Susannah H.Zieg)
- Winning on wall street (Marty Zweig)
- Secret for profiting in bull and bear market (Dow, Jones-Irwin)
- หนังสือ Elliot wave principles เขียนโดย Frost and Prechter (คิดว่าบางส่วนใช้ได้จริง)
- Super timing (Backman)
หสังสือพวกนี้ทั้งหมดนั้นดี แต่คุณจะเรียนรู้ได้มากที่สุดก็จากตลาดเอง ทุกๆ ครั้งที่ผมซื้อหุ้นผมจะเขียนเหตุผลลงไปว่าทำไมถึงซื้อหุ้น
ข้อคิด :
- แทบจะเหมือนกับ วิลเลียม โอนีล เลย แต่จะชัดเจนมากกว่า และ มีความแตกต่างเล็กน้อย
- เคยพลาดตอนแรก จากการซื้อหุ้นที่ขึ้นมา 15-20% จากฐานราคาของมันไปแล้ว
- มีวินัยให้มากที่สุด
- อย่าไปฟังข่าวลือ
- การจดบันทึก คือ ส่วนสำคัญในความสำเร็จ
- หลีกเลี่ยงหุ้นที่ราคาต่ำกว่า 10 ดอลลาร์
- ผมจะมองหุ้นที่มีอัตราการเติบโตของกำไรย้อนหลัง 5 ปี และกำไรใน 2 ไตรมาสล่าสุดเทียบกับระดับปีก่อน
- เช่น อัตราการเติบโต 30% ในช่วง 5 ปีหลังสุดอาจดูน่าประทับใจมาก แต่ถ้ากำไร 2 ไตรมาสสุดท้ายขึ้นมาแค่ 10 หรือ 15% เมื่อเทียบกับปีก่อน อันก็ต้องระวัง
- EPS : ดูสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ อย่างน้อยมากกว่า 80 และถ้าจะให้ดีก็ควรจะมากกว่า 90
- Relative Strength (RS) มีความสำคัญมาก
- RS อย่างน้อยมากกว่า 80 และถ้าจะให้ดีต้องมากกว่า 90
- RS : โดยทั่วไปแล้วผมจะตัดหุ้นที่ขึ้นมาสูงกว่าฐานราคาของมันมากเกินไป ออกไป (พวก RS สูง แต่ขึ้นมาเยอะ)
- บ่อยครั้งที่ RS สูง และหุ้นยังมีผลงานดีต่อเนื่องหลายเดือน เช่น Microsolf มีค่า RS ที่ 97 ในตอนที่ราคาอยู่ 50 ดอลลาร์ต่อหุ้น สุดท้ายมันขึ้นไปได้ถึง 161 ดอลลาร์ต่อหุ้น
- อีกหนึ่งอย่างที่ต้องดูใน RS คือ แนวโน้มของมัน
- แม้หากมันจะอยู่เหนือระดับ 80 ก็จริง แต่หากมันเริ่มที่จะหลุดแนวโน้มขาขึ้น อันนี้ก็ต้องระวังอย่างมาก
- ผมให้ความสำคัญกับ Relative Strength อันดับแรก ต่อมาจึงจะเป็น EPS
- หลัง RS กับ EPS แล้ว สิ่งที่ดูต่อมา คือ ปริมาณของหุ้นที่ซื้อขายในตลาด
- ควรน้อยกว่า 30 ล้านหุ้น (ปริมาณหุ้นในตลาด)
- อีกอย่างทีต้องดูคือ การสนับสนุนบางส่วนจากสถาบัน
- การสนับสนุน 1-20% จากกองทุนรวมจะเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด
- ปัจจัยสำคัญอื่นๆ : มันควรมีเรื่องใหม่ๆ บางอย่างที่ดึงดูดความสนใจของผู้คนในหุ้นตัวนั้น
- ถ้าคุณมองหาหุ้นทั้งหมด 7,000 หุ้น มันจะมีประมาณ 70 หุ้นที่เข้าเกณฑ์ลักษณะนี้
- หลังจากนั้นใน 70 ตัว จะคัดมาให้เหลือเพียง 7 ตัว
- หลักการตัดจาก 70 ตัว ให้เหลือ 7 ตัว คือ ดูรูปแบบฐานราคาที่ยอดเยี่ยม และ ยังดูผลงานการปรับตัวขึ้นในอดีตเป็นอย่างไรบ้าง เช่น ราคาหุ้นเคยขึ้นเป็น 2 เท่ามาก่อนหรือไม่ เป็นต้น (ยิ่งขึ้นยิ่งชอบ)
- กลยุทธ์ที่ใช้นี้ Win rate จะอยู่ที่ประมาณ 50/50 เท่านั้น
- เนื่องจาก ตัดขาดทุนอยู่ที่ระดับ 7%
- ในแต่ละปีผมจะทำเงินได้จากหุ้นแค่ไม่กี่ตัวที่ราคาเพิ่มขึ้นไปเป็น 2-3 เท่า กำไรการเทรดหุ้นพวกนั้นสามารถชดเชยการขาดทุนเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย
- ปกติแล้วถือหุ้นนานเท่าไหร่ ?
- ผมมักจะถือหุ้นที่เป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของผมไว้ประมาณ 6-12 เดือน
- หุ้นที่ไม่แข็งแกร่งมาก ประมาณ 3 เดือน
- และหุ้นที่ขาดทุน น้อยกว่า 2 สัปดาห์
- คำสั่งซื้อขาย ระหว่าง Market price และ Limit order
- Limit order (ตั้งราคา) : สามารถใช้ได้กับตลาดซึมๆ แกว่งไปมา
- Market price (เคาะขวา) : ถ้าคิดว่าหุ้นกำลังจะเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ ให้ซื้อเลย เช่นเดียวกันในกรณีขาลง ถ้าคิดว่ามันกำลังจะตก ให้ขายมันไปซะ
- เขาเคยพลาดไปต่อราคาตั้งซื้อหุ้น Textone ที่ตอนนั้นเทรดอยู่ 15 ดอลลาร์ ไรอัน ตั้งไว้ที่ 14 ¾ ดอลลาร์ วันต่อมามันกระโดดขึ้นไป 1 ½ ดอลลาร์ เขาก็ทำใจซื้อไม่ได้ สุดท้ายมันขึ้นไปถึง 45 ดอลลาร์
- เลี่ยงการโดน False break ด้วยการดูปริมาณการซื้อขายประกอบ
- หุ้นทำ High ใหม่ ควรมาปริมาณการซื้อขายที่สูงขึ้น
- ในตารางของ อินเวสเตอร์ เดลี่ ใช้ปริมาณการซื้อขายเทียบกับค่าเฉลี่ย 55 วันในอดีต
- การซื้อหุ้นที่ดี ควรมีกำไรตั้งแต่วันแรกที่คุณซื้อมัน
- ปริมาณการซื้อขาย (ตามหลักหุ้นแนวโน้มขาขึ้น)
- หุ้นย่อ ปริมาณการซื้อขายควรหดตาม
- หุ้นขึ้น ปริมาณการซื้อขายควรเพิ่มสูง
- หุ้นผู้ชนะ P/E ไม่ควรเกิน 30 (ตรงกันข้ามกับ โอนีล ที่ไม่สน P/E)
- พฤติกรรมตลาดยังคงเหมือนเดิมตลอด หุ้นผู้ชนะมักจะมีลักษณะเฉพาะในแบบเดียวกัน ไม่ว่ายุคไหน
- การ Short ยากกว่าการซื้อหุ้น 3 เท่า (ตามที่ โอนีล บอก)
- ถ้าตลาดหมีมา ให้นั่งอยู่เฉยๆ ดีกว่า
- วิธีดูตลาดหมี : หุ้นที่เป็นผู้นำเริ่มจะขาดทุน มันจะบ่งบอกได้ว่าตลาดหมีกำลังเริ่มที่จะก่อตัวขึ้นมาแล้ว
- A/D Line อีกหนึ่งเครื่องมือที่ไว้หาตลาดหมี
- ถ้าคุณพยายามที่จะเรียนรู้จากการเทรดทุกๆ ครั้งที่คุณทำ คุณจะก็จะต้องเก่งขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป
- สิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการเทรด เพราะว่า ผมทำในสิ่งที่รัก และหลงใหลมันอย่างมาก ทั้งหลังเลิกงาน และวันเสาร์อาทิตย์ ก็อยู่กับมัน
- แนะนำเทรดเดอร์มือใหม่ : เรียนรู้จากความผิดพลาดของคุณเอง”
เพิ่มเติมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง