ประวัติ :
ผู้ก่อตั้งกองทุนทูดอร์ ฟิวเจอร์ (Tudor Futures Fund) ในเหตุการณ์ Black Monday เมื่อปี 1987 เป็นปีที่ล่มสลายของตลาดหุ้น แต่กองทุนของ พอล ทูดอร์ โจนส์ กลับบันทึกผลกำไรในปีนั้นถึง 62% (จากการ Short หุ้น และ ซื้อพันธบัตร)
ด้วยสไตล์การเทรดที่แตกต่างกันเทรดเดอร์คนอื่นอย่างสิ้นเชิง (สวิงเทรด + เก็งกำไรจุดกลับตัว) เขาสามารถสร้างผลตอบแทนได้ 3 หลัก (+xxx%) ติดต่อกันถึง 5 ปี
เขาเริ่มต้นจากการทำธุรกิจโบรกเกอร์จนประสบความสำเร็จ โดยทำรายได้มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ จากนั้นได้ผันตัวไปเป็นเทรดเดอร์โดยเริ่มต้นจากตลาด “ฝ้าย” ที่นิวยอร์ก และเขาก็ประสบความสำเร็จในการเทรดอีกครั้ง โดยสามารถทำเงินได้หลายล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาไม่กี่
Paul เป็นคนที่ทำอะไรก็สำเร็จ
โดยขนาดหรือมูลค่าของความสำเร็จนั้น ยังไม่น่าประทับใจเท่าความสม่ำเสมอของผลงานความสำเร็จของเขา
การเทรดก็เช่นเดียวกัน เป็นเทรดเดอร์ที่ได้ผลตอบแทนต่อเนื่อง มี Drawdown ที่ต่ำมาก
- เริ่มต้นกองทุน ทูดอร์ ฟิวเจอร์ เมื่อปี 1984 โดยมีเงินทุนกว่า 1.5 ล้านดอลลาร์ จนกระทั่งเมื่อปี 1987 จำนวนเงินลงทุนได้เพิ่มขึ้นมาสูงถึง 330 ล้านดออลาร์
- จากนั้นโจนส์ได้หยุดรับการลงทุนใหม่
- โดยหากลงทุนในกองทุนเป็นจำนวน 1,000 ดอลลาร์ จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 17,482 ดอลลาร์
- ผู้ก่อตั้ง Robin Hood Foundation (นำเงินคนรวย ไปบริจาคคนจน)
- ครูคนแรกคือ อีไล ทูลลิส (Eli Tullis) เทรดเดอร์ฝ้ายระดับตำนานในมุมมองของโจนส์
- เป็นคนที่สามารถเปลี่ยนมุมมองตลาดได้รวดเร็วมาก ไม่เพียงแต่ออกจากสถานะเดิมได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังสามารถเข้าร่วมอีกด้านหนึ่งได้อย่างทันที
- เริ่มสนใจเทรดเพราะ อ่านบทความของ Richard Dennis
- เป็นคนที่ดังในเรื่องความแม่นยำในการหาจุดกลับตัว
- 85% ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดของ Paul อยู่ในกองทุนของเขาเอง
ข้อคิด :
- หากมี Size การเทรดใหญ่ คุณต้องออกมาในเวลาที่ตลาดให้คุณออกได้ (ไม่ใช่เวลาที่คุณอยากออก)
- การเทรด Size ใหญ่ จะไม่รอออกที่ตลาดเป็นจุดสูงสุดหรือต่ำสุด เพราะบริเวณนั้นปริมาณการซื้อขายน้อยมาก
- คนเราจะเรียนรู้ได้มากที่สุด จากความผิดพลาด ไม่ใช่ความสำเร็จ
- ช่วงปี 1979 พอลได้รับบทเรียนที่หนักที่สุดในชีวิต คือเทรดเยอะเกินไป 400 สัญญา พอตลาดเปลี่ยนทาง คัทไม่ทัน ออกไม่ได้ เนื่องจากเปิด Position เยอะเกินไป
- ครั้งนั้นขาดทุนไปราว 60-70% (แต่ก็ยังเทรดบนกำไร แค่เสียความรู้สึกอย่างมาก)
- อย่าเทรดเกินตัว
- ไม่ควรเสี่ยงทุกอย่าง บนการเทรดบนครั้งเดียว
- พอลได้ตัดสินตั้งแต่นั้นมาว่า จะเป็นคนมีวินัยและทำการเทรดให้เหมือนกับการทำธุรกิจ
- เขามักคิดถึงโอกาสที่จะเสียเงินมากกว่าการทำเงินเสมอ
- การควบคุมความเสี่ยงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับการเทรด
- เขามีจุดตัดขาดทุนทางจิตใจอยู่ ถ้ามันไปถึงจำนวนนั้น เขาที่จะออกมาไม่ว่ามันจะเป็นอย่างไรก็ตาม
- กฏการเทรด : อย่าซื้อเฉลี่ยขาลง
- กฏการเทรด : เพิ่มมันถ้าคุณกำลังเทรดได้ดี
- กฏการเทรด : อย่าเทรดในสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ไม่เสี่ยงเงินจำนวนมากก่อนหน้าการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ มันเหมือนการพนัน ไม่ใช่การเทรด
- กฏการเทรด : เล่นแบบป้องกันไว้ให้มาก ไม่ใช่บุกให้มาก
- ทุกๆ วันผมจะสมมุติว่าสถานะทุกสถานะที่ผมมีอยู่นั้นมันผิดทั้งหมด
- ผมรู้ว่าจุดตัดขาดทุนของผมอยู่ตรงไหน ซึ่งทำอย่างงี้สามารถระบุความสูญเสียที่มากที่สุดที่เป็นไปได้
- อย่าทำตัวเป็นฮีโร่ อย่ามีอีโก้ ในการเทรด
- ผมเป็นสวิงเทรดเดอร์มาโดยตลอด (Swing trade คือ)
- แนวโน้มตลาดเกิดขึ้นเพียง 15% ของช่วงเวลาทั้งหมด นอกนั้นพวกมันเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ
- นักวิเคราะห์ที่ชื่นชอบ : มาร์ตี้ ซวีจ (Marty Schwartz) (ผู้เขียนหนังสือ : Pit Bull ตามติดชีวิตโคตรแชมป์เดย์เทรด สั่งซื้อหนังสือ คลิ๊ก) และ เน็ด เดวิส (Ned Davis) และ บ๊อบ เพรชเตอร์ (Bob Prechter) คนใช้ทฤษฎี Elliott Wave ในการเทรด
- Paul ก็เรียนรู้ ทฤษฎี Elliott Wave ด้วยเช่นกัน
- ผมคิดว่า Ned Davis เป็นนักวิจัยตลาดหุ้นดีที่สุดเท่าที่เคยเห็น
- สิ่งที่ทำให้แตกต่างจากเทรดเดอร์ทั่วไป : ผมไม่สนจริงๆ กับความผิดพลาดในตลาดที่ผมพึ่งทำไปเมื่อ 3 วินาทีที่แล้ว
- สิ่งที่ทำให้แตกต่างจากเทรดเดอร์ทั่วไป : ผมพยายามหลีกเลี่ยงที่จะเอาอารมณ์ไปยึดติดกับตลาด หลีกเลี่ยงที่จะให้ความเห็นในตลาดของผมโดนอิทธิพลจากคำพูดต่างๆ ที่ผมอาจจะเคยให้สัมภาษณ์ไว้ในเรื่องเกี่ยวกับตลาดก่อนหน้ามากระทบ
- Paul ได้มีการใช้ระบบเทรดแบบตามแนวโน้มด้วย
- สิ่งสำคัญอีกอย่าง คือ Time stop เป็นสิ่งที่ Eli Tullis ได้สอน Paul
- Paul ไม่เคยเชื่อว่าการเทรดต้องใช้พรสวรรค์ แต่ตอนนี้เริ่มเชื่ออย่างนั้นแล้ว
- แนะนำมือใหม่ : อย่าเพ่งความสนใจไปที่การทำเงิน จงเพ่งความสนใจไปที่การปกป้องสิ่งที่คุณมีอยู่
เพิ่มเติมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง