Source: https://corporatefinanceinstitute.com/resources/management/top-down-analysis/

โดยส่วนใหญ่แล้วการคัดเลือกหุ้นเพื่อมาลงทุนจะเป็นการกรองหุ้นจากทั้งตลาดลงมาเหลือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม และได้ออกมาเป็นหุ้นที่ต้องการ (Top-down approach) ไม่ว่าจะเป็นการเลือกหุ้นสไตล์การเติบโตสูง, หุ้นราคาไม่แพง, หรือหุ้นเน้นเงินปันผล โดยการใช้รายการต่างๆ และอัตราส่วนทางการเงินในการกรองหุ้น

การตั้งเงื่อนไขในการคัดกรองหุ้นด้วยเงื่อนไขเดียว เช่น การเลือกหุ้นที่มี P/E ต่ำ อาจเป็นการคัดหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตดีออกไปจนหมด เหลือเพียงแค่หุ้นราคาถูกที่ไม่มีสตอรีการเติบโตที่น่าสนใจ ดังนั้นนักลงทุนควรมีการทดสอบเงื่อนไขต่างที่ใช้ในการกรองหุ้นกับข้อมูลหุ้นในอดีต (Backtesting) อย่างไรก็ตาม การที่เงื่อนไขของเราสามารถใช้กรองหุ้นได้ดีในอดีตก็ไม่ได้แปลว่าจะสามารถใช้ได้ดีในอนาคตเสมอไป

การปรับงบการเงินเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ

บริษัทต่างๆ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันแต่ก็อาจใช้วิธีการบันทึกงบการเงินที่แตกต่างกัน นักลงทุนจึงจำเป็นต้องปรับงบการเงินบริษัทต่างๆเพื่อที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ ตัวอย่างเช่น การบันทึกค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีที่แตกต่างกันส่งผลให้กำไรที่คำนวณได้ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นจึงควรปรับวิธีการบันทึกให้คล้านคลึงกันก่อน ในงบการเงินมีสิ่งที่ควรปรับก่อนนำหุ้นมาเปรียบเทียบดังนี้:

  1. การลงทุนในหลักทรัพย์ บริษัทมีการบันทึกผลกำไรขาดทุนที่ยังไม่รับรู้ (Unrealized gain/loss) สำหรับหลักทรัพย์ที่ถือเอาไว้เพื่อซื้อขาย (Held-for-trading securities) ลงใน Income statement แต่ว่าหลักทรัพย์ที่ใช้แต่อาจมีการขายออกไป (Available-for-sale) และหลักทรัพย์ที่ถือจนหมดอายุ (Held-to-maturity) จะไม่มีการบันทึก Unrealized G/L แต่อย่างใด ส่วนใน Balance sheet, Unrealized G/L จะถูกบันทึกเฉพาะนกรณีของ Held-for-trading และ Available-for-sale securities เท่านั้น ด้วยความแตกต่างกันนี้ นักลงทุนสามารถปรับงบการเงินระหว่างบริษัทให้เป็นรูปแบบเดียวกันได้จากหมายเหตุประกอบงบของแต่ละบริษัท
  2. ความแตกต่างด้านการบันทึกสินค้าคงเหลือ มาตรฐานบัญชีในสหรัฐฯอนุญาตให้ใช้วิธี LIFO ได้ ในขณะที่ในประเทศอื่นๆไม่อนุญาตให้ใช้ การเปรียบเทียบระหว่างหุ้นประเทศอื่นๆกับหุ้นสหรัฐฯจึงจำเป็นต้องปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือแบบ LIFO มาเป็น FIFO ด้วยการบวก LIFO reserve เข้าไป
  3. ความแตกต่างกันของวิธีคำนวณค่าเสื่อมราคา ในหมายเหตุประกอบงบการเงินอาจให้ข้อมูลสำหรับการปรับค่าเสื่อมราคาให้เปรียบเทียบกันระหว่างบริษัทได้ แต่ว่าเราสามารถใช้ข้อมูลอื่นๆมาประกอบการเปรียบเทียบได้ ประกอบด้วยอายุของสินทรัพย์, วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา, และมูลค่าขายต่อเมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว บริษัทที่ยืดอายุการใช้งานสินทรัพย์ และให้มูลค่าขายต่อที่สูงจะทำให้มีค่าเสื่อมราคาที่ต่ำกว่าบริษัทที่ประเมินมูลค่าดังกล่างแบบอนุรักษ์นิยมอย่างมีนัยสำคัญ การปรับค่าเสื่อมราคาให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ควรทำก่อนการเปรียบเทียบ
  4. ค่าความนิยม (Goodwill) เปรียบเทียบ 2 บริษัทที่มีสินทรัพย์เหมือนกันทุกประการ แต่บริษัทหนึ่งเติบโตมาด้วยตัวเอง (Organic growth) ส่วนอีกบริษัทโตมาโดยการควบรวมกิจการ จะทำให้มีความแตกต่างกันโดยงบของบริษัทที่ควบรวมจะเป็นดังนี้:

– สินทรัพย์มีตัวตนที่ถูกซื้อเข้ามาจะถูกบันทึกมูลค่าด้วยมูลค่าปัจจุบัน ณ วันที่ซื้อกิจการเข้ามา

– มูลค่าของสินทรัพยไม่มีตัวตนจะถูกบันทึกด้วยมูลค่าที่ซท้อเข้ามา

– มูบค่าของค่าความนิยมคำนวณจากส่วนเกินของราคาที่ซื้อกิจการเข้ามาและมูลค่าสินทรัพย์รวม

ในการปรับค่าความนิยมเพื่อการเปรียบเทียบ ทำได้โดย (1) หักลบค่าความนิยมออกจากมูลค่าสินทรัพย์รวมก่อนการคำนวณอัตราส่วนทางการเงิน (2) บวกการด้อยค่าของค่าความนิยมในงวดปัจจุบันกลับไป ส่งผลให้กำไรสุทธิสูงขึ้น

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง