Source: https://kalyan-city.blogspot.com/2012/10/what-are-sources-of-fixed-capital-long.html
บริษัทสามารถสร้างหรือหาเงินทุนมาเพื่อใชัลงทุนต่อไปในอนาคตได้จาก 3 ทางหลักๆ ประกอบด้วย
เงินทุนภายในบริษัท
– กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Operating cash flow) คำนวณจากการนำกำไรสุทธิมาบวกค่าเสื่อมราคากลับเข้าไป และหักลบด้วยเงินปันผลจ่าย เป็นประเภทกระเงินสดที่บริษัททำได้จากการดำเนินกิจการที่พร้อมสำหรับการนำไปใช้ลงทุนต่อ
– ลูกหนี้การค้า (Accounts receivable) เป็นมูลค่าจากการขายสินค้าและบริการของบริษัทที่จะได้รับเป็นเงินสดในอนาคตอันสั้น การที่บริษัทเก็บเงินจากลูกค้าได้ก่อนครบกำหนดจะเป็นการเพิ่มเงินทุนในระยะสั้น
– เจ้าหนี้การค้า (Accounts payable) เป็นมูลค่าที่บริษัทค้างจ่ายกับเจ้าหนี้ ซึ่งในบางครั้งจะมีข้อตกลงในการได้ส่วนลดหากบริษัทจ่ายเงินคืนเร็วกว่ากำหนด ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินทุนให้บริษัทได้อย่างมีนัยสำคัญ
– การขายสินค้าคงเหลือ (Inventory) ในคลังออกไปก็ช่วยเพิ่มเงินทุนให้กับบริษัทได้ อย่างไรก็ตามการเก็บสินค้าในปริมาณที่น้อยเกินไปก็อาจส่งผลให้บริษัทสูญเสียรายได้จากการมีสินค้าไปพอขายได้เช่นกัน
– หนี้สินที่มีสภาพคล่องสูง เช่น หุ้นกู้ หรือหุ้นสามัญที่บริษัทมีแผนจะขายออกไปภายในหนึ่งปีจะเรียกว่าเป็น หลักทรัพย์ที่ซื้อขายได้ (Marketable securities) มีสภาพคล่องสูงสามารถแปลงเป็นเงินสดได้เร็ว
เงินทุนจากสถาบันการเงิน
– วงเงินที่ได้จากธนาคาร (Lines of credit) เป็นช่องทางที่บริษัทต่างใช้เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง โดยแบ่งได้เป็น Uncommitted line of credit เป็นวงเงินที่ไม่มีการกำหนดวันจ่ายคืนที่ชัดเจน แต่ผู้ให้ยืมเงินสามารถปฏิเสธการให้ยืมได้ทุกเมื่อ เช่น วงเงินเบิกเกินบัญชี (Overdraft) ส่วน Committed line of credit เป็นการกำหนดภาระผู้พันให้ธนาคารต้องให้บริษัทยืมเงินในระยะสั้นเมื่อบริษัทต้องการ และ Revolving line of credit เป็นการยืมที่ระยะยาวขึ้นมา บางครั้งอาจเป็นเวลาหลายปี
– สำหรับบริษัทที่มีเครดิตไม่ดีอาจจำเป็นต้องใช้สินทรัพย์ อาทิ สินทรัพย์ถาวร, สินค้าคงเหลือ, และลูกหนี้การค้าในการค้ำประกันการยืมเงินทุน เรียกว่าเป็นสินเชื่อที่มีการค้ำประกัน (Secured loans) อีกทั้งบริษัทสามารถขายลูกหนี้การค้าที่จะได้รับเงินสดในอนาคตไปให้บุคคลที่สามได้ เรียกว่า Factoring ซึ่งจะขายในมูลค่าของลูกหนี้การค่าหักลบด้วยตัวแปรต่างๆรวมถึงความน่าเชื่อถือของลูกค้าที่จะจ่ายเงินคืนให้กับบุคคลที่สามที่ซื้อลูกหนี้การค้าไป
การะระดมทุนผ่านตลาดทุน
บริษัทสามารถออกตราสารหนี้ที่ซื้อขายกันในตลาดได้ หรือจะเป็นหนี้จากการกู้ยืมโดยตรงกับอีกบริษัทหนึ่ง ซึ่งหนี้สินทั้งสองแบบนี้จะได้รับสิทธิในการจ่ายคืนก่อนที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับส่วนแบ่งที่เหลือ และดอกเบี้ยจ่ายก็สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทต้องจ่ายจะขึ้นกับระดับความน่าเชื่อถือและสินทรัพย์ที่ใช้ในการค้ำประกัน
นอกจากบริษัทจะออกตราสารหนี้ได้แล้ว ยังสามารถออกตราสารพาณิชย์ (Commercial papers) ซึ่งมีระยะในการกู้ยืมสั้นกว่า ตั้งแต่หลักวันจนถึง 1 ปี และปกติจะมีมีสินทรัพย์ค้ำประกัน แต่จะถูกจ่ายด้วย Line of credit แทนหากมีการผิดนัดชำระ ส่งผลให้บริษัทจะไม่สามารถออก Commercial papers ได้อีกหากยังไม่จ่ายหนี้คืน
หนี้สินระยะยาว (Long-term debt) อาทิ หุ้นกู้ จะมีการระบุอัตราดอกเบี้ยที่คงที่ตลอดอายุ หุ้นกู้บางชนิดอาจมีอายุยาวนานมากกว่า 10 ปี
อีกหนึ่งช่องทางยอดนิยมในการระดมทุนก็คือการขายหุ้นบริษัทในตลาดหุ้น หรือจะเป็นการขายนอกตลาดก็ได้ โดยผู้ถือหุ้นจะมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ให้ยืมเงินทุนเนื่องจากจะได้เพียงส่วนที่เหลือของบริษัทหลังจากที่ผู้ให้ยืมเงินได้รับเงินครบตามตกลงแล้วเท่านั้น
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง