สรุปหนังสือ ถอดประกอบรูปแบบความสำเร็จ

ประวัติศาสตร์ความลับจากดินแดนแห่งนวัตกรรม การใช้วิศวกรรมย้อนกลับ หรือการนำสิ่งของมาแกะออกเป็นชิ้น ๆ  อย่างเป็นระบบ เพื่อสำรวจดูวิธีการทำงานภายใน และสกัดองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา ไม่ใช่แค่กลเม็ดอันโดดเด่นในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเท่านั้น มีนักคิดค้นนวัตกรรมใช้วิธีนี้ตามสัญชาตญาณกันเป็นจำนวนมากจนน่าแปลกใจ เสมือนเป็นวิธีการที่ใช้กันโดยปกติทั่วไป

ตอนที่ ไมเคิล เดลล์ ได้รับแอปเปิล ทู เป็นของขวัญวันเกิดอายุครบ 16 ปี เขาไม่ได้ลองเปิดเครื่องดูด้วยซ้ำ แต่กลับอุ้มเข้าห้องนอนไปเงียบ ๆ ปิดประตูและทำสิ่งที่พ่อแม่ของเขาต้องตกตะลึง เขาแกะมันออกทีละชิ้นเพื่อดูว่าคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ประกอบขึ้นมาอย่างไร ไม่กี่ปีให้หลังเขาก็ตั้งบริษัท เดลล์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นบริษัทที่สร้างความแตกต่าง โดยเชิญชวนให้ผู้ซื้อปรับแต่งคอมพิวเตอร์ของตนเองได้ทีละส่วน

ความอยากรู้อยากเห็นขั้นสุด และความกระหายที่จะเรียนรู้คือ เครื่องกระตุ้น 2 ประการที่ทำให้เกิดวิศวกรรมย้อนกลับ เหตุผลที่ค่อนไปในเชิงปฏิบัติอีกข้อหนึ่ง ที่นักพัฒนาสายเทคใช้วิธีการนี้ก็คือ ในหลายกรณีวิธีเดียวที่จะเขียนซอฟต์แวร์ ให้ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการที่มีอยู่คือ ต้องถอดรหัสวิธีการทำงานที่อยู่เบื้องหลังออกมาให้ได้ เห็นได้ชัดว่าวิศวกรรมย้อนกลับไม่ใช่เรื่องแปลกในซิลิคอนแวลลีย์ มันคือวิธีการที่นักนวัตกรรมสายเทคเรียนรู้จากเพื่อนร่วมสมัย สร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาจากแนวคิดระดับพลิกโฉมวงการ และก้าวนำหน้าผู้อื่นให้ได้อยู่เสมอ

ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร จะต้องพบกับการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมสายอาชีพในทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ได้แข่งขันกับมืออาชีพในภูมิภาคเดียวกันแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องแข่งขันกับผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก ลูกค้าและผู้จัดการฝ่ายจัดจ้าง สามารถค้นหายอดฝีมือในแต่ละแวดวง และเชิญชวนคนเหล่านั้น ไปร่วมงานได้ง่ายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แล้วจะประสบความสำเร็จในระดับนั้นได้อย่างไร ในโลกที่ความเชี่ยวชาญในอาชีพไม่ใช่เป้านิ่ง การแสวงหาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต่อการก้าวไปข้างหน้า ที่สำคัญกว่านั้นนี่คือหลักการที่สามารถนำไปใช้ได้ในสายงาน เพื่อเรียนรู้จากเพื่อนร่วมยุคสมัย สกัดแนวคิดที่มีคุณค่าออกมา และพัฒนางานไปในทิศทางใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ

เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบ จะมีทักษะใหม่ ที่สำคัญยิ่งทักษะที่เสริมพลังให้ นำตัวอย่างสิ่งที่ตนเองชื่นชอบมาแกะเป็นชิ้น ๆ ระบุจุดแข็งที่ทำให้สิ่งนั้นมีประสิทธิภาพ และนำความรู้นั้นมาพัฒนาสูตรการทำงานขึ้นใหม่ให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะกลายเป็นสูตรเฉพาะของตัวเอง

ส่วนที่ 1

ศิลปะแห่งการปลดล็อครูปแบบที่ซ่อนอยู่

บทที่ 1 นักสืบความชำนาญ

มีเรื่องราวหลัก ๆ 2 เรื่องเมื่อพูดถึงความสำเร็จในระดับที่เกินธรรมดา และขีดความสามารถของมนุษย์ในการสร้างความยิ่งใหญ่

เรื่องแรกคือ ความยิ่งใหญ่นั้นมาจากพรสวรรค์ กลุ่มคนที่อยู่ในจุดสูงสุดในแต่ละแวดวง ประสบความสำเร็จได้ด้วยการนำพรสวรรค์ที่มีอยู่ภายใน ไปจับคู่กับสายอาชีพที่ทำให้ตนเองเปร่งประกายออกมาได้

เรื่องที่ 2 คือ ความยิ่งใหญ่นั้นมาจากการฝึกฝน พรสวรรค์จะพาไปได้ถึงแค่จุดหนึ่งเท่านั้น สิ่งสำคัญจริง ๆ คือ หลักปฏิบัติที่เคร่งครัด และแรงปรารถนาที่จะทุ่มเทอย่างหนักกับงานที่ทำ

อันที่จริงมีเรื่องที่ 3 อยู่ด้วยนั่นคือ เส้นทางสู่การได้มาซึ่งทักษะ และความชำนาญที่เป็นเรื่องธรรมดาอย่างมาก สำหรับกลุ่มคนต้นแบบทั่วทุกแห่งหน ไม่ว่าจะเป็นศิลปิน นักเขียน เชฟ นักกีฬา นักลงทุน หรือผู้ประกอบการก็ตาม เส้นทางนี้เรียกว่า วิศวกรรมย้อนกลับ

การใช้วิศวกรรมย้อนกลับคือ การมองให้เหนือไปกว่าสิ่งที่เห็นได้ชัดแจ้งจากเปลือกนอก และหาโครงสร้างภายในที่ซ่อนอยู่ให้เจอ ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่วรรณกรรม ศิลปะ ไปจนถึงโลกธุรกิจมีตัวอย่างให้เห็นมากมายว่า บุคคลผู้มีความสามารถชั้นสูงจำนวนมาก จะประสบความสำเร็จไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้ถอดแบบผลงานของคนอื่นมาก่อน

วิธีมองความคิดสร้างสรรค์แบบผิด ๆ การคุ้ยแคะแกะดูผลงานของผู้อื่นนั้นมีตราบาปกำกับอยู่ โดยเฉพาะในสายงานที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ ต้นตอมาจากความเชื่อที่ว่า ความคิดสร้างสรรค์จำเป็นต้องอาศัยความคิดริเริ่ม และโดยคำจำกัดความแล้ว ความคิดริเริ่มย่อมหาเอาจากผลงานของผู้อื่นไม่ได้ เป็นธรรมดาที่ผู้ที่ทำงานสร้างสรรค์เป็นอาชีพ จะอ่อนไหวกับข้อกล่าวหาเรื่องการลอกเลียนแบบ และการคัดลอกผลงาน

นี่คือสาเหตุที่คนส่วนหนึ่งมีความกังวลว่า การศึกษาผลงานของผู้อื่นอย่างใกล้ชิด แม้จะทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ก็จะส่งผลต่อวิธีการที่ตนเองเลือกใช้ ส่งเสริมให้เกิดการลอกเลียนแบบ และเลือกทางลัดมาใช้ในงานอยู่ดี แต่มุมมองเหล่านี้แสดงถึงวิธีคิดที่ผิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ เพราะสะท้อนถึงความไม่ยืดหยุ่นในเชิงอุดมการณ์ ซึ่งไม่เป็นจริงและไม่ก่อให้เกิดประสิทธิผล โดยเฉพาะในสายงานที่มีวิวัฒนาการเกิดขึ้นทุกวัน

ประการแรก ความคิดสร้างสรรค์มาจากการผสานรวมแนวความคิด ไม่ใช่การจับแยก เมื่อได้สัมผัสแนวคิดและมุมมองใหม่ ๆ ความสามารถในการสร้างผลงานจะเพิ่มสูงขึ้น นี่คือสาเหตุที่ทำให้การเปิดรับประสบการณ์เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำนายความคิดสร้างสรรค์ได้ดีที่สุด

ประการที่ 2 ความแปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร เป็นคนละเรื่องกันกับความคิดสร้างสรรค์ ในโลกธุรกิจมีตัวอย่างให้เห็นเต็มไปหมด ในกรณีที่เจ้าแรกโดนคู่แข่งที่ดูเป็นมวยรอง แต่มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าแซงหน้าไปได้

ประการสุดท้ายคือ แทนที่จะลัดวงจรความคิดสร้างสรรค์ การใช้วิศวกรรมย้อนกลับทำให้ได้รับทักษะใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้มีความสามารถในการสร้างสิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบใหม่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นี่เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาว่าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ มีวิวัฒนาการรวดเร็วขึ้นเพียงใด

ขั้วตรงข้ามของวิศวกรรมย้อนกลับไม่ใช่ความคิดริเริ่ม แต่เป็นการดำเนินงานโดยจำกัดแหล่งข้อมูลให้แคบลง มืออาชีพส่วนมากไม่สนใจ ที่จะลอกเลียนผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว คนกลุ่มนี้สนใจสิ่งที่สำคัญ และมีมูลค่ายิ่งกว่านั่นคือ สูตรที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผลจริง และสามารถนำมาใช้งานในบริบทใหม่ และสร้างคุณประโยชน์ในรูปแบบใหม่ ๆ ได้

การลอกเลียนแบบทำให้กลายเป็นต้นแบบได้ การคัดลอกผลงานเป็นแรงบันดาลใจให้มีความคิดสร้างสรรค์กว่าในภายหลัง แล้วยังกระตุ้นให้เกิดแนวคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลงานของศิลปินที่คัดลอกมาอีกด้วย การคัดลอกไม่ได้ทำให้คนไปลอกเลียนวิธีการที่มีคนทำไว้แล้วเท่านั้น แต่ยังปลดล็อคความสงสัยใครรู้ และความเปิดกว้างในจิตใจ ที่ผลักดันให้สร้างผลงานของตนเอง ในรูปแบบใหม่ที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อน ต้องแยกแยะระหว่างการลงมือคัดลอก กับผลงานที่เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจที่ได้รับ

ในระยะสั้น การดัดแปลงผลงานจะไม่ส่งผลให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แต่เป็นกระบวนการภายหลังที่จะเกิดขึ้น กระบวนการคัดลอกอันได้แก่ การวิเคราะห์ชิ้นงานที่ต้องการอย่างละเอียดถี่ถ้วน ถอดองค์ประกอบหลักออกมา และสร้างขึ้นใหม่ เป็นการฝึกจิตให้เปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความอัศจรรย์ให้เกิดกับความคิด การคัดลอกต่างจากประสบการณ์ที่ได้รับ เวลาที่เสพผลงานแบบไม่ได้คิดอะไร การคัดลอกทำให้ต้องพิถีพิถันกับรายละเอียดเป็นอย่างมาก

ดังนั้น การคัดลอกจึงท้าทายวิธีการดั้งเดิมที่ใช้อยู่ก่อนหน้า ทำให้เปิดใจคิดด้วยวิธีการใหม่ กระตุ้นให้หาโอกาสในการสร้างสรรค์ ที่ฝังอยู่ภายในเนื้องานให้เจอ ในทางตรงกันข้าม การมองหาแนวคิดสร้างสรรค์จากภายใน แทบไม่ช่วยให้ไปไหนได้ไกล การศึกษาอยู่ระบุว่า การหมกมุ่นกับงานของตัวเอง และหลีกเลี่ยงอิทธิพลจากภายนอก เป็นสาเหตุทำให้ความคิดสร้างสรรค์ลดลงเรื่อย ๆ ที่แย่ไปกว่านั้นคือเมื่อเวลาผ่านไป จะตกเป็นเหยื่อของการด่วนสันนิษฐานว่า ทางออกที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งจะยิ่งจำกัดวิธีคิดมากกว่าเดิม และยิ่งใช้เวลาคิดแก้ปัญหาเรื่องเดิม ๆ ในหัวมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะค้นพบแนวคิดที่แปลกใหม่อย่างแท้จริงก็น้อยลงเท่านั้น

การคัดลอกไม่ได้ทำให้ขาดความคิดริเริ่มเลยแม้แต่น้อย แต่เป็นการท้าทายข้อสันนิษฐาน ลดภาวะตึงเครียดในกระบวนการคิด และเปิดใจสู่มุมมองใหม่ ๆ การถอดประกอบผลงานที่ชื่นชม ไม่ได้ทำให้ความคิดสร้างสรรค์อ่อนด้อยลง หรือทำให้ผลิตผลงานที่ดัดแปลงมาจากคนอื่น ตรงกันข้ามมันคือเครื่องมือสำคัญ ที่ช่วยทลายกับดักทางความคิดได้อีกด้วย

บทที่ 2 การคิดแบบมีอัลกอริทึม

ในประวัติศาสตร์มนุษย์ บรรพบุรุษของเราอาศัยการจำแนกรูปแบบเพื่อทำนายสารพัด เช่น แหล่งอาหารอยู่ที่ไหน พืชสีไหนที่น่าจะมีพิษ  ช่วงเวลาไหนที่จะเดินทางในทุ่งหญ้าได้อย่างปลอดภัย หากต้องการมีชีวิตรอดในภูมิประเทศที่อันตราย จำเป็นต้องอ่านสภาพแวดล้อม และวิเคราะห์ให้ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป และแม้ว่าความช่ำชองในการจำแนกรูปแบบ จะไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายอีกต่อไป แต่นักจิตวิทยาเชื่อว่า สิ่งนี้จะยังคงมีบทบาทสำคัญในการทำนายความสำเร็จ และถือเป็นปัจจัยหลักที่แสดงถึงอัจฉริยภาพในระดับสูงอยู่ดี

ถึงกระนั้นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จำนวนมาก ก็ยังบอกว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มาถึงจุดที่ความสามารถของคอมพิวเตอร์นั้น ตรวจจับรูปแบบได้ดีเกินมนุษย์ไปมากแล้ว เครื่องมือการจำแนกรูปแบบมีองค์ประกอบหลัก 4 ขั้นด้วยกันคือ

ขั้นแรกคือ การเก็บข้อมูล

ขั้นที่ 2 คือ การนำตัวอย่างเหล่านั้นมาไล่ดูและหาตัวแปรที่สำคัญ

ขั้นที่ 3 เป็นเรื่องของการตรวจหาความคล้ายคลึงกัน

ขั้นที่ 4 นำข้อมูลเชิงลึกที่ได้ทำการวิเคราะห์มาสร้างผลคาดการณ์ หรือสร้างชิ้นงานใหม่ขึ้นมา เป็นการคาดการณ์ที่อาศัยรูปแบบที่ซ่อนอยู่มาใช้ และเป็นรูปแบบที่ทำให้ตัวอย่างชิ้นโบว์แดงนั้น ประสบความสำเร็จได้อย่างมาก

มนุษย์จะตรวจจับรูปแบบได้ค่อนข้างดีทีเดียว แต่เมื่อมีความซับซ้อนเกินจุดหนึ่งไปแล้วประสิทธิภาพจะลดต่ำลง ตรงนี้เองที่อัลกอริทึมคอมพิวเตอร์ชนะ คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในช่วงกว้าง ที่จะประเมินฐานข้อมูลขนาดมหึมา มีประสิทธิภาพที่จะวิเคราะห์ปัจจัยอันหลากหลายได้ในเวลาเดียวกัน และมีความสามารถในการปรับปรุงการคาดการณ์ได้แบบเรียลไทม์ เมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามา ทั้งยังไม่อ่อนไหวต่อความคาดหวังเบื้องลึกในจิตใจ และแรงกดดันทางสังคม ที่ส่งผลให้มนุษย์ไม่กล้าคาดการณ์ในแบบที่ผิดแผกไปจากค่านิยมมาตรฐานได้ และคุณประโยชน์ดังกล่าวนี้ก็ให้ผลลัพธ์ที่ดี

วิธีการของอัลกอริทึมเริ่มจากการรวบรวมตัวอย่าง ซึ่งเป็นกิจกรรมแรกที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้ตรวจหารูปแบบ และจะดำเนินการนั้นไม่ใช่การวิเคราะห์ แต่เป็นการรวบรวม การรวบรวมตัวอย่างที่หลากหลาย ช่วยชี้ทางสว่างให้เห็นเอกลักษณ์เฉพาะของอิทธิพลจากแหล่งต่าง ๆ การรวบรวมและคัดแยกตัวอย่างที่น่าสนใจ ยังทำให้พบรูปแบบที่ปรากฏเป็นจำนวนมากได้ง่ายขึ้น

เมื่อรวบรวมตัวอย่างได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาหลังจากที่พบชิ้นงานที่คิดว่า ทรงพลังและโดนใจแล้วจุดนี้อัลกอริทึมจะจดจำรูปแบบ จะเผยให้เห็นบทวิเคราะห์ต่าง ๆ มากมาย เริ่มจากการค้นหาองค์ประกอบที่แตกต่างจากตัวอย่างชุดแล้วชุดเล่า ค้นหาคุณลักษณะหลัก ๆ ที่ทำให้ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมีความโดดเด่นเฉพาะตัว การตรวจหารูปแบบต้องอาศัยความเป็นนามธรรม เวลาไปหาหมอจะมีการวัดค่าสถิติบางอย่างเสมอ อุณหภูมิ น้ำหนัก ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ค่าเหล่านี้คือสัญญาณชีพ ตัวชี้วัดแต่ละตัวทำให้แพทย์เข้าใจสภาพร่างกาย และพื้นฐานสุขภาพเพื่อบอกได้ว่า ควรใส่ใจดูแลที่จุดใดเป็นพิเศษ นั่นคือพลังของการนำคุณสมบัติต่าง ๆ มาทำให้เป็นตัวเลข

การนำคุณลักษณะที่สำคัญมาเปลี่ยนเป็นตัวเลข ทำให้สามารถเปรียบเทียบได้ว่า คุณลักษณะนั้นปรากฏบ่อยเพียงใด ในตัวอย่างที่ตรวจสอบดู นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเริ่มใช้วิธีการนี้เพื่อนำคุณสมบัติต่าง ๆ ของเพลง หนังสือ และภาพยนตร์ที่ติดอันดับยอดนิยมมาระบุเป็นตัวเลข ทุกอย่างเริ่มจากการนำคุณสมบัติมาทำให้เป็นตัวเลข ยิ่งมีตัวชี้วัดมากเท่าไหร่ ยิ่งจำแนกความแตกต่างทำให้งานแต่ละชิ้น มีความโดดเด่นไม่เหมือนใครได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

บทที่ 3 คำสาปของความคิดสร้างสรรค์

ผลงานชั้นเลิศต้องอาศัยอะไรอีกมากมาย นอกจากสูตรสำเร็จว่า ต้องอาศัยปัจจัยบางชุดที่สัมพันธ์กัน ในระดับพื้นฐานที่สุดด้านหนึ่งมีสูตรสำเร็จ และอีกด้านคือบุคคลที่นำสูตรนั้นมาใช้งาน เมื่อนำสูตรเดียวกันนี้ไปมอบให้คนสองคน เป็นไปได้มากว่าผลลัพธ์ที่ได้จะแตกต่างกันออกไป นั่นเป็นเพราะแต่ละบุคคลมีจุดแข็ง มีอุปนิสัย และพื้นเพไม่เหมือนกัน ส่งผลต่อเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการแสดงออก นอกจากนั้นยังมีเรื่องของความดั้งเดิมไม่ซ้ำใครมาเกี่ยวข้องด้วย การมีมากกว่าสูตรสำเร็จที่เหมาะสมคือ ต้องมีสูตรสำเร็จที่เหมาะสมสำหรับตัวบุคคลในบริบทที่ถูกต้อง ปัจจัยประการสุดท้ายอันได้แก่บริบทที่ถูกต้องนี้ อาจบรรลุได้ยากเพราะกลุ่มคนมีการปรับตัว และสูตรสำเร็จที่เคยใช้ได้ดีเยี่ยมมาไม่กี่วันก่อนหน้า ก็กลับกลายเป็นไร้รสชาติและน่าเบื่อ นี่เป็นอุปสรรคสำคัญ

ในโลกธุรกิจมีหลักการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อยู่ข้อหนึ่งคือ ทุกเหตุการณ์สำคัญในโลกธุรกิจเกิดขึ้นเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น นั่นคือเหตุผลว่าทำไมที่สุดแล้ว การโคลนสูตรสำเร็จที่ใช้ได้ผลของคนอื่น จึงเป็นกลยุทธ์ที่นำไปสู่ความล้มเหลว สิ่งที่ต้องมีคือสูตรสำเร็จที่ใช้เพื่อเสริมความสามารถ ความสนใจ และสถานการณ์ที่เป็นของตัวเองต่างหาก

ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อสร้างสรรค์มากเกินไป อาจคิดว่าวิธีการคือต้องหลีกเลี่ยงอิทธิพลจากคนอื่นไปเลย และมุ่งมั่นเพื่อสร้างอะไรที่เป็นของตัวเองจริง ๆ ขึ้นมา แต่กลายเป็นว่านี่เป็นความผิดพลาดเช่นกัน ยิ่งแนวคิดแปลกใหม่เท่าไหร่ ยิ่งมีแนวโน้มจะถูกปฏิเสธมากขึ้นเท่านั้น และยังลงโทษคนที่นำเสนอขึ้นมาอีกด้วย เพราะความใหม่นั้นทำให้ตะขิดตะขวางใจและความอึดอัดนั้นเองที่ไม่น่าพิสมัย

ไม่มีที่ไหนที่แนวโน้มนี้จะชัดเจนมากกว่าในสำนักงาน เมื่ออยู่ที่ทำงานคนส่วนใหญ่ชอบแนวคิดที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ โดยเฉพาะจากผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ เมื่อมีบุคคลระดับหัวหน้าใช้ความคิดสร้างสรรค์ ผลที่ได้คือตรงกันข้ามคือ นำมาซึ่งความไม่แน่นอน และสวนทางกับความมั่นใจที่อยากได้จากบุคคลระดับสูง ถ้าเหมือนคนส่วนใหญ่ การฟังเพลงที่มีคุณสมบัติสร้างสรรค์แปลกใหม่ ไม่เพียงแต่จะทำให้อึดอัดเท่านั้น และอาจถึงกับทนไม่ได้เลยทีเดียว และนั่นแค่ดนตรีเท่านั้น กับภาพยนตร์ งานศิลปะ และร้านอาหารที่สนใจก็เหมือนกัน คนเราชอบคิดว่าถวิลหาความแปลกใหม่ แต่ความคุ้นเคยต่างหากที่นิยมอย่างแท้จริง

ความคิดสร้างสรรค์ที่มากเกินไปไม่ได้สร้างความเสียหายแค่ในวงการศิลปะเท่านั้น ธุรกิจก็มีตัวอย่างให้เห็นเต็มไปหมด แนวคิดที่ประสบความสำเร็จถูกปฏิเสธไปในตอนแรก เพราะเกิดขึ้นก่อนเวลาอันควรหลายปี โดยปกติแล้วคุณภาพของไอเดียไม่ใช่ปัญหา สิ่งที่สำคัญคือการเปิดรับของผู้บริโภคมากกว่า นี่ทำให้เห็นว่าบางครั้งความคิดที่มีคุณภาพก็ถูกปฏิเสธหรือเพิกเฉยได้ ไม่ได้เป็นเพราะขาดคุณประโยชน์ บางครั้งความใหม่ก็กลายเป็นข้อเสียเปรียบ เพราะตลาดไม่สามารถเปิดรับแนวคิดที่สดใหม่ได้ทั้งหมด นี้นำไปสู่ทั้งการจะลอกเลียนแบบมาเลยก็ไม่ก้าวหน้าไปไหน จะแปลกใหม่แบบสุดโต่งก็โดนปรามาส วิธีการที่ถูกต้องคืออะไรกัน

ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นเมื่อไอเดียหลากหลายสานสัมพันธ์ลึกซึ้ง วิศวกรรมย้อนกลับเขียนสมการให้ครึ่งหนึ่งนั่นคือ สูตรสำเร็จที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผล ส่วนอีกครึ่งคือตัวแปรที่ได้มาจากหลายแหล่ง ในโลกธุรกิจการนำอิทธิพลต่าง ๆ มารวมเข้าด้วยกันมีประวัติศาสตร์ที่เห็นได้เด่นชัดมายาวนาน ที่จริงแล้วนวัตกรรมทางเทคโนโลยีจำนวนมาก ที่เห็นเป็นของธรรมดาในทุกวันนี้ และเป็นสิ่งที่พลิกโฉมรากฐานโลกไปอย่างสิ้นเชิง ล้วนเป็นการยำรวมของแนวความคิดที่เก็บเกี่ยวมาจากหลากหลายแวดวงทั้งนั้น กลยุทธ์การนำสูตรสำเร็จที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าได้ผล มาเพิ่มจุดพลิกผันที่มีเอกลักษณ์นั้น มีดังนี้ คือ

กลยุทธ์ที่ 1 การประสานอิทธิพลของหลายสิ่งเข้าด้วยกัน เป็นการยำรวมของแนวความคิดที่เก็บเกี่ยวมาจากหลากหลายแวดวง ดังนั้น การนำอิทธิพลจากแหล่งต่าง ๆ รวมเข้าด้วยกันจึงเป็นทางหนึ่งในการหาจุดพลิกผันให้เจอ

กลยุทธ์ที่ 2 การหาไอเดียนอกหมวดหมู่และนอกอุตสาหกรรม เพื่อนำมาปรับใช้ในงานของตนเอง อีกเส้นทางหนึ่งในการหาจุดพลิกผันก็คือ ให้หยิบยืมวิธีการที่ใช้ได้ผลในแวดวงหนึ่ง แล้วนำมาใช้กับแวดวงของตัวเอง ในโลกธุรกิจการสำรวจแวดวงใกล้เคียง เพื่อหาแนวคิดใหม่ ๆ เป็นเรื่องที่ทำกันทั่วไปอย่างไม่น่าเชื่อ ตอนที่ สตีฟ จ๊อบส์ ทำงานกับ สตีฟ วอซเนียก เพื่อสร้างแอปเปิล ทู เขาไม่ได้อยากได้แค่คอมพิวเตอร์ที่บุกเบิกวงการ สิ่งที่อยากได้คืออุปกรณ์ที่มีหน้าตาเข้ากับความสามารถ แต่แทนที่จะไปดูคอมพิวเตอร์รุ่นอื่น ๆ เพื่อหาแรงบันดาลใจ เขาเลือกที่จะขับรถไปห้างเมซีส์ (Macy’s) แล้วไล่ดูเครื่องครัวจนสะดุดตาเข้ากับเครื่องปั่นคูซินาร์ต (Cuisinart) ตัวเครื่องพลาสติก ทำให้เขาได้ไอเดียการออกแบบคอมพิวเตอร์ ที่ถือเป็นการปฏิวัติวงการในเวลานั้นคือ ให้ตัวเครื่องเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียว ที่รวมทุกอย่างไว้ด้วยกัน และไม่ต้องมีชิ้นส่วนย่อย

กลยุทธ์ที่ 3 การเปลี่ยนองค์ประกอบ ทีมงาน และเครือข่ายทั้งทางกายภาพและในโลกเสมือน

กลยุทธ์ที่ 4 คือการภูมิใจกับการบรรจงเลือกบริโภคข้อมูลที่ต้องการ และตั้งใจที่จะไม่สนใจอิทธิพลที่ไม่ต้องการ เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการทำให้ตัวเองมีความแตกต่างจากคนอื่นในสาขาอาชีพเดียวกัน ถ้าอยากให้ตัวเองโดดเด่นจากเชฟคนอื่น ก็ควรปรุงอาหารโดยใช้วัตถุดิบที่ต่างออกไป

การทำงานในรูปแบบดังกล่าวนี้ใช้ได้ทั้งในโลกธุรกิจและศิลปะ ลองนึกถึงกลยุทธ์การตลาดทั้งหลายที่หมดความสำคัญไป ตั้งแต่ที่มีโฆษณาออนไลน์เข้ามาอย่างไดเร็กต์เมล ที่ดูเผิน ๆ ทั้งแพงและต้องเสียเวลาในการออกแบบสิ่งพิมพ์ให้ประสบความสำเร็จ มาดูตัวเลขกัน โดยเฉลี่ยแล้วคนทำงานชาวอเมริกันได้รับอีเมล์ล้นทะลักถึง 120 ฉบับต่อวัน นั่นคือ 840 ฉบับต่อสัปดาห์ ส่วนจดหมายที่ได้รับทางไปรษณีย์ในระยะเวลาเท่ากันคือ 18 ฉบับ ไดเร็กต์เมลราคาไม่ถูกเลย แต่โอกาสที่จะเรียกความสนใจผู้อ่านได้นั้นสูงกว่าอีเมลมาก แม้ว่าจะเป็นอีเมลที่บรรจงเขียนมาอย่างดีก็ตาม คนเรามักคิดกันว่าความก้าวหน้าต้องอาศัยการเปิดรับอะไรใหม่ ๆ แต่บางครั้งก็ต้องมองย้อนกลับไปเพื่อให้เห็นอนาคตได้ดียิ่งขึ้น

เมื่อจุดอ่อนกายเป็นจุดแข็ง เส้นทางสุดท้ายสู่การค้นพบจุดจุดพลิกผันมักเกิดขึ้นโดยบังเอิญ เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นจากกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ตั้งใจจะสร้างความแปลกใหม่ขึ้นมาเลยแม้แต่น้อย รูปลักษณ์ภายนอกมักเป็นสิ่งลวงตา บ่อยครั้งที่สิ่งที่ปรากฏออกมาว่าเป็นจุดแข็งแท้จริงแล้วกลับเป็นจุดอ่อน และสิ่งที่ปรากฏออกมาว่าเป็นจุดอ่อน แท้จริงแล้วกลับเป็นจุดแข็ง วิศวกรรมย้อนกลับเผยให้เห็นรูปแบบสำคัญที่ฝังอยู่ในงาน แต่การตั้งหน้าตั้งตานำสูตรมาทำซ้ำคือความผิดพลาด การเรียนแบบเพียงอย่างเดียวแทบไม่เคยส่งผลให้เกิดความยิ่งใหญ่ การนำผลงานระดับเซียนมาถอดประกอบ แล้วเพิ่มจุดพลิกผันเข้าไปเท่านั้น ที่จะทำให้ผลิตผลลัพธ์ชั้นเลิศออกมาได้

ส่วนที่ 2 ช่องว่างระหว่างวิสัยทัศน์กับความสามารถ

การกลั่นเอาผลงานชั้นเลิศออกมาเป็นสูตรสำเร็จก็เรื่องหนึ่ง แต่การนำมาผลิตซ้ำให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นหนังคนละม้วนกัน และแม้สูตรสำเร็จที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าใช้ได้ผลจะมีประโยชน์อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ก็มีราคาค่างวดเช่นกัน ซึ่งก็คือความคาดหวังที่สูงตามไปด้วย เมื่อมองแวบเดียวเรื่องนี้อาจดูเป็นอุปสรรคเล็ก ๆ แต่ในทางปฏิบัตินั้นอาจสร้างความเสียหายได้มหาศาล เวลาพัฒนาทักษะของตนเองมักมีช่องว่างระหว่างวิสัยทัศน์กับทักษะ โดยเฉพาะเมื่อมีมาตรฐานสูง ๆ ซึ่งเป็นข้อกังวลที่มีน้ำหนัก หลังจากที่ถอดประกอบผลงานของผู้ที่ช่ำชองในสายงานของตนเองมา เพราะที่สุดแล้วยิ่งวิสัยทัศน์สูงส่งเท่าไหร่ ก็ยิ่งบรรลุได้ยากขึ้นเท่านั้น ที่ร้ายกว่านั้นคือ ช่องว่างที่ว่านี้ไม่เคยหายไปจริง ๆ

ในประเด็นนี้มูลค่าของการมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความผิดหวังในผลงานของตัวเองเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการล้มเลิกด้วยเช่นกัน ยิ่งมีเรดาร์ตรวจจับความเป็นเลิศเข้มข้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งยอมรับความธรรมดาสามัญได้ยากขึ้นเท่านั้น และนั่นคือปัญหาประการหนึ่ง โดยเฉพาะในเมื่อการถอดประกอบผลงานของผู้เชี่ยวชาญ มักจะทำให้มาตรฐานสูงขึ้นเสมอ การมีวิสัยทัศน์ไม่สอดคล้องกับความสามารถที่มีอยู่จริงนั้น ย่อมเป็นเรื่องเจ็บปวด และหากเจ็บปวดก็ถือว่าโชคดีแล้ว เพราะถ้าฉกฉวยประโยชน์จากความรู้สึกนั้นได้ จะอยากสร้างผลงานออกมาให้ดีเลิศ เพื่อผ่านมาตรฐานที่กำหนดไว้ในใจ สิ่งนี้เองจะกลายเป็นเชื้อเพลิงที่ผลักดันให้เกิดพัฒนาการ

บทที่ 4 หลักการกระดานคะแนน

การรับมือกับความต้องการที่ไม่ได้ระบุออกมาด้วยคำพูด ต้องอาศัยการคิดหาคำตอบว่าเพราะอะไร จึงเกิดคำถามเหล่านั้นขึ้นมาตั้งแต่แรก แท้จริงแล้วหวังที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องใด การรับฟังคำถามทำให้เข้าอกเข้าใจมากขึ้น เมื่อเชื่อมโยงพฤติกรรมเข้ากับตัวชี้วัดแล้ว จะเกิดเป็นสิ่งอันทรงพลังขึ้นมา

ข้อดีอันนับไม่ถ้วนของการจดคะแนน ที่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจลุ่มหลงกับดัชนีชี้วัดผลงาน (KPI) กันเหลือเกินนั้นมีเหตุผลอยู่ประการหนึ่ง และไม่ใช่แค่เพราะการมีตัวชี้วัดทำให้บริหารจัดการความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น แต่เป็นเพราะการมีตัวชี้วัดทำให้เกิดการปรับปรุงพัฒนา ทันทีที่เริ่มนำตัวชี้วัดเข้ามาใช้ จะใส่ใจมากขึ้นเองตามสัญชาตญาณ และพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้น ดังนั้น การทราบตัวชี้วัดจึงเหมาะสม จึงสามารถสร้างความแตกต่างได้ว่า องค์กรจะเติบโตอย่างต่อเนื่องหรือล้มละลายไปในที่สุด

ไม่ใช่แค่องค์กรธุรกิจเพียงอย่างเดียวที่ได้รับประโยชน์จากพลังของตัวชี้วัด บุคคลทั่วไปที่ต้องการปรับพฤติกรรมของตนเอง ก็สามารถใช้ประโยชน์ในลักษณะเดียวกันนี้ได้ อันที่จริงแล้วตัวชี้วัดนั้นเป็นองค์ประกอบประการหนึ่ง ที่มีคุณค่าที่สุดต่อการพัฒนาตนเองในทุกแง่ แต่มักถูกมองข้ามไป ลองดูการควบคุมอาหารเป็นตัวอย่าง วิธีการรักษาอันเลิศเลอที่แพทย์แนะนำก็คือ การจดบันทึกอาหาร นั่นเป็นเพราะผู้ที่ควบคุมอาหารจะได้ทบทวนรายการอาหารที่ตัวเองเลือกรับประทาน และทำให้เห็นจำนวนแคลอรี่ที่บริโภคเข้าไปตามความเป็นจริง

แต่ประโยชน์ไม่ได้อยู่ที่การทบทวนตัวเลือกที่ผ่านมาแล้วเท่านั้น ยังมีผลไปถึงการตัดสินใจในอนาคตอีกด้วย การดูตามจริงนี้มีจุดอ่อนซ่อนอยู่ประการหนึ่งนั่นคือ กระบวนการบันทึกเวลานี้เอง ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกต่าง ๆ การเขียนรายงานลงในใบเวลา แล้วมาวิเคราะห์พฤติกรรมทีหลัง ก็จะอยากเสพสุขแบบปัจจุบันทางด่วนน้อยลง และช่วยให้การตัดสินใจระยะยาวดีขึ้น นอกจากนี้ตัวชี้วัดที่เหมาะสมยังช่วยเผยความพยายามที่สูญเปล่าได้อีกด้วย

การจดบันทึกมีประโยชน์อย่างยิ่ง เมื่อทำให้ใส่ใจในกิจกิจกรรมที่มีประโยชน์ ที่มักหลีกเลี่ยงหรืออื่นใดที่มักไม่ใส่ใจ ซึ่งเป็นการกระทำที่กีดกันไม่ให้ได้ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นให้เป็นดัชนีชี้วัด ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะทำสำเร็จ เป็นเพราะตัวชี้วัดทำให้เกิดมิติทางอารมณ์ขึ้นมานั่นเอง พูดง่าย ๆ ก็คือตัวชี้วัดนั้นเป็นแรงผลักดันทำให้เกิดการตัดสินใจที่ดีขึ้น มีความสม่ำเสมอมากขึ้น ลดปัจจัยต่าง ๆ ที่กวนสมาธิลง และมีการลงทุนทางอารมณ์มากขึ้น นี่เองที่เรียกว่า กระดานคะแนน การชี้วัดทำให้เกิดพัฒนาการ นี่คือสาเหตุที่ก้าวแรกของการปรับปรุงอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการลดน้ำหนัก สร้างทักษะใหม่ หรือการนำสูตรสำเร็จที่ได้รับมาจากการใช้วิศวกรรมย้อนกลับมาฝึกปรือให้เชี่ยวชาญ ล้วนต้องเริ่มต้นจากการจดบันทึกคะแนน

วิธีออกแบบกระดานคะแนน ตัวเลขชี้วัดนำมาใช้ได้กับการวัดประสิทธิภาพของตนเอง ในสายงานใดก็ตามที่อยากสร้างความชำนาญ การใช้ประโยชน์จากตัวเลขชี้วัดให้มีประสิทธิภาพ ต้องการอะไรที่มากกว่าคำติชมแบบดาษดื่น ต้องมีข้อมูลที่ชี้วัดพฤติกรรมหลัก ๆ ที่บอกได้ว่า ทำสิ่งใดได้ดีแล้ว และยังมีจุดใดอีกบ้างที่ต้องปรับปรุง องค์ประกอบจริง ๆ ที่ควรติดตามจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน ระดับทักษะ และเป้าหมายสูงสุด จากนั้นให้พิจารณาวิธีการ 3 ประการที่จำเป็นดังนี้

ประการแรก เป็นเรื่องของการแยกกิจกรรมเดียวออกเป็นทักษะย่อยหลาย ๆ ทักษะ และสร้างตัวชี้วัดขึ้นมาเพื่อติดตามประสิทธิภาพการทำงาน ทักษะย่อยบางอย่างที่จำเป็นจะมองเห็นชัดเจนว่า จุดแข็งอยู่ตรงไหนบ้าง และอะไรที่จำเป็นต้องปรับปรุง

วิธีที่ 2 มีประโยชน์สำหรับงานที่ความสำเร็จ ไม่เกี่ยวข้องกับการนำทักษะที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงมารวมเข้าด้วยกัน

วิธีที่ 3 ในการสร้างสรรค์ตัวชี้วัดขึ้นมา เพื่อติดตามประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นวิธีการแบบองค์รวม โดยให้มองเหนืองานแต่ละชิ้นขึ้นไป แล้วประเมินประสิทธิภาพในภาพรวม ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด

นอกจากวิธีข้างต้นจะแสดงให้เห็น ถึงความยืดหยุ่นของการติดตามผลลัพธ์ โดยการใช้บันทึกประจำวันแล้ว ยังเน้นย้ำให้เห็นว่าการกำหนดเป้าหมาย ที่ชี้เฉพาะเจาะจงตั้งแต่แรก ก็เป็นเรื่องจำเป็น เพราะเป็นกระบวนการที่บังคับ ให้ถอยหลังออกมาทบทวนตัวเองอย่างจริงจัง แล้วระบุให้ได้ว่า ความสำเร็จที่คิดว่าสำคัญนั้นมีอะไรบ้าง ในโลกแห่งความจริง เส้นทางสู่ความสำเร็จมีจำนวนไม่จำกัด และก้าวแรกสู่ชัยชนะคือ ต้องสร้างความชัดเจนตั้งแต่แรกว่า สิ่งที่ต้องการให้คะแนนเป็นลำดับแรก ๆ นั้นคืออะไร

วิถีที่ห้ามใช้วัดความสำเร็จ ไม่ว่าจะถามผู้ประกอบการกลุ่มใด จะทราบได้เลยว่าพวกเขารู้สึกแตกต่างกันไปในหลากหลาย บางคนนั้นการเปิดธุรกิจหรือเป็นช่วงเวลาที่น่าภาคภูมิใจ เพราะเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จส่วนตัวอันยิ่งใหญ่ แต่คนอีกกลุ่มอาจเห็นว่า เป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนอย่างสุดขั้วและน่ากลัว ที่ผ่านมาได้เห็นประโยชน์ทั้งหมดที่มาจากการสร้างกระดานคะแนน และนำมาใช้ติดตามประสิทธิภาพการทำงานแล้ว แต่ถ้าจะบอกว่าตัวเลขชี้วัดมีแต่ข้อดี โดยไม่มีข้อเสียเลยก็ไม่ถูกต้อง เพราะบางครั้งตัวเลขก็ทำให้หลงทางได้

นักจิตวิทยามีคำเรียกโรคจิตประสาท ที่ทะลักเข้าสู่สำนักงานว่า การทดแทน ซึ่งเกิดขึ้นเวลาที่คนเราหมกมุ่นกับการทำตัวเลขให้ได้ตามเป้า จนลืมไปว่าจริง ๆ แล้วผลลัพธ์ที่ตัวเลขเหล่านั้น แสดงให้เห็นเป็นประโยชน์ในด้านใดกันแน่ ตัวเลขชี้วัดดังกล่าวกลายเป็นสิ่งทดแทนเป้าหมาย และกลายเป็นจุดจบในตัวเอง เมื่อรู้แล้วว่ามีสิ่งที่เรียกว่าสิ่งทดแทนเป้าหมายอยู่ในโลกนี้ ก็จะเริ่มรู้ตัวว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นทุกแห่งหน การทดแทนเป้าหมายคือเหตุผลที่ผู้จำหน่ายรถยนต์ ยอมให้ราคาดี ๆ ในวันสุดท้ายของเดือน และนี่คือเหตุผลที่หลายคนเดินเวียนวน เพื่อให้เครื่องวัดจำนวนก้าวประกาศว่าเดินครบหนึ่งพันก้าวแล้ว ซึ่งทดแทนเป้าหมายคือ ผลลัพธ์ตามธรรมชาติของการใช้ตัวเลขชี้วัดในหลายกรณี ถึงกับทำให้คนมองแต่ปัญหาตรงหน้าแบบวิสัยทัศน์อุโมงค์ (tunnel vision) แม้ในเวลาที่วัดผลตัวเองก็ตาม

ความลับ 3 ประการของกระดานคะแนนส่วนตัวที่ใช้ได้ผล แนวปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงตัวเลขชี้วัดที่ไม่ก่อประโยชน์ใด ๆ และหันมาออกแบบกระดานคะแนนให้ดีที่สุด

ประการแรกคือ เก็บตัวเลขชี้วัดหลาย ๆ ตัว

ประการที่ 2 คือ นำตัวชี้วัดประเภทต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมมาใช้แบบเน้นความสมดุล

ประการสุดท้ายคือ การพัฒนาตัวเลขชี้วัดเป็นครั้งคราว แทนที่จะใช้สูตรสำเร็จที่ล้าสมัยแบบไม่ยั้งคิด

เมื่อขัดเกลาทักษะของตัวเอง ตัวเลขชี้วัดที่ควรเฝ้าติดตามจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเสมอ ตัวเลขชี้วัดบางตัวหมดประโยชน์ที่จะคอยติดตาม  ในขณะที่พฤติกรรมและผลลัพธ์ใหม่ ๆ กลับกลายเป็นสิ่งที่ควรหันมาใส่ใจ ดังนั้น แทนที่จะมองว่ากระดานคะแนนเป็นเกณฑ์มาตรฐานแบบตายตัว ควรใช้กระดานดังกล่าวนี้เป็นเครื่องมือแบบยืดหยุ่น ที่สอดคล้องกับทักษะและเป้าหมายที่ยังคงพัฒนาต่อเนื่อง

โดยปกติแล้วประโยชน์สำคัญที่สุดของการใช้กระดานคะแนนนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเริ่มติดตาม ทบทวนพฤติกรรม และผลลัพธ์การพัฒนา กระดานคะแนนไม่เพียงแต่ทำให้แน่ใจว่า ตัวเลขชี้วัดที่ติดตามนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายในปัจจุบัน แต่ยังทำหน้าที่เพิ่มสิ่งแปลกใหม่ ที่ช่วยกระตุ้นความสนใจ และทำให้อยากเดินหน้าต่อไป

บทที่ 5 วิธีเสี่ยงแบบไม่เสี่ยง

การคาดเดาน่าจะได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย ปัจจัยที่ส่งผลที่สุดอาจเป็นความทรงจำว่าพึ่งพาได้มากแค่ไหน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความตื่นตัว ความสนใจในหัวข้อ และระดับความน่าสนใจ หรือคุณค่าของเกร็ดความรู้ที่จะทำให้นำไปเล่าให้คนอื่นฟังต่อไป องค์ประกอบหนึ่งที่คงไม่ได้พิจารณาตอนที่คาดว่า มีแนวโน้มจะจดจำข้อเท็จจริงได้หรือไม่ก็คือ แบบอักษรที่ใช้พิมพ์ การวิจัยให้ความเห็นว่า แบบอักษรนั้นอาจมีผลกระทบมากจนน่าแปลกใจ ซึ่งเป็นเพราะต้องเพิ่มความพยายามเวลาที่ทำความเข้าใจหัวข้อที่อ่าน การเพิ่มความพยายามทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น มีคำศัพท์ที่ใช้เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ความยากลำบากอันพึงปรารถนา คนเราเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อมีความท้าทาย ที่กระตุ้นให้ขีดความสามารถปัจจุบันขยายออกไป ความเชื่อที่ว่าความยากลำบากอันพึงปรารถนาช่วยให้เกิดการเติบโตนั้น ครอบคลุมไปไกลกว่าเรื่องการศึกษา ซึ่งข้อสังเกตลักษณะเดียวกันนี้ ใช้ได้กับวงการกีฬาเช่นเดียวกัน

ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับความล้มเหลว ความเติบโตต้องอาศัยแรงตึงเครียด ความยากในระดับปานกลางหรือพอสมควรนั้น จำเป็นต่อการพัฒนาทั้งทางจิตใจและร่างกาย  คนที่เป็นอาจารย์จะรู้ดี นักเพราะกายจะรู้ดี นักกีฬาจะรู้ดี การขยายขีดจำกัดของตัวเอง และทดลองใช้เทคนิคใหม่ ๆ จะกลายเป็นเรื่องท้าทายที่สุดในที่ทำงาน ฟังดูขัดแย้งเพราะที่ทำงานเป็นสถานที่ ซึ่งการสร้างทักษะคือเรื่องจำเป็นที่สุด แต่ขณะเดียวกันก็กลับกลายเป็นสถานที่ ซึ่งเกิดการเรียนรู้ได้ยากที่สุดด้วย เพราะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการทำงานนั้นสูงมาก

ผู้จัดการส่วนใหญ่จึงอดทนต่อความผิดพลาดได้น้อยมาก และลงโทษผู้ที่สร้างความผิดพลาดนั้น ไม่ว่าจะเกิดจากความตั้งใจดีเพียงใดก็ตาม โลกของการทำงานแตกต่างจากแวดวงกีฬา ดนตรี และการศึกษา ซึ่งชื่นชมการเรียนรู้ผ่านการทดลองและคำติชม เพราะเน้นผลลัพธ์ที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ สถานที่ทำงานไม่ใช่พื้นที่สำหรับความผิดพลาด ทุกวันคือการลงสนามจริง ไม่มีโอกาสสำหรับการฝึกฝน

ดังนั้น แม้ว่าผู้นำอยากจะมีส่วนช่วยให้ความคิดของพนักงานได้เติบโตมากเพียงใดก็ทำได้ลำบาก ไม่ว่าจะอย่างไร องค์กรที่ประสบความสำเร็จย่อมต้องแบกรับความเสี่ยงมหาศาล และปรับตัวเข้ากับเสียงตอบรับของตลาดตลอดเวลาอยู่แล้ว บริษัทชั้นยอดจะไม่ปิดกั้นการลองเสี่ยง แล้วองค์กรเหล่านี้รับความเสี่ยงมากมายขนาดนั้นได้ โดยการคิดหาคำตอบในประเด็นที่สำคัญ เช่น จะนำปัจจัยเสี่ยงออกจากการลงมือเสี่ยงได้ ส่วนใหญ่ใช้การปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ที่ว่องไวและมีค่าใช้จ่ายไม่สูง จึงสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ จากการรับความเสี่ยงได้ โดยไม่ต้องนำทุกอย่างไปเป็นเดิมพัน

หลัก 4 ประการที่องค์กรธุรกิจใช้ในการลดความเสี่ยง และทำให้ได้รับเสียงตอบรับที่น่าสนใจจากโลกแห่งความจริง ที่ช่วยให้พวกเขาปรับแต่งวิธีการของตนเองได้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจ 4 ประการ มีดังนี้

  1. ทดลองกับผู้ติดตามกลุ่มย่อย การรวบรวมเสียงตอบรับจากประชากรกลุ่มเล็ก ๆ ลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด และนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงเนื้องานอยู่ตลอดเวลา การทดสอบเนื้องานและรับคำติชมทันที ทำได้ผ่านการโฆษณาแบบชำระเงิน ซึ่งตอนนี้แพลตฟอร์มออนไลน์อย่างเช่น google และ facebook ต่างก็ส่งเสริมให้ใครก็ตาม ที่มีงบประมาณไม่มากเข้าถึงกลุ่มผู้ชมตรงกับเป้าหมายมากที่สุด และรับคำติชมได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่ต้องมีเนื้อหาที่น่าสนใจ
  2. ขึ้นแสดงโดยใช้นามแฝง การดำเนินงานโดยใช้นามแฝง เป็นการลดความเสี่ยงที่เกิดจากการยอมรับความเสี่ยง และกลายเป็นว่าวิธีการนี้ ยังใช้กันทั่วไปในโลกธุรกิจอีกด้วย การใช้นามแฝงทำให้บริษัทสามารถทดลองผลิตภัณฑ์ และอัตลักษณ์ใหม่ ๆ ได้โดยไม่ต้องรับความเสี่ยงสูง ๆ แต่ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการใช้นามแฝงคือ สามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ตัวเดิมในรูปแบบใหม่ได้ ทำให้ตลาดได้เห็นสินค้าในมุมมองใหม่ โดยไม่ต้องมีอัตลักษณ์ของแบรนด์ปัจจุบันเข้ามาเกี่ยวข้อง
  3. ขายแนวคิดล่วงหน้า เป็นการขายก่อนสร้างทีหลัง เพราะไม่มีประโยชน์เลยที่จะสร้างผลงานอันสมบูรณ์แบบแต่ไม่มีใครต้องการ ทางหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงกับดักนั้น และยังสามารถลดความเสี่ยงได้คือ ให้มองข้ามไปยังขั้นต่อไป สำหรับคนทำงานมืออาชีพจำนวนมากแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นเรื่องของการขายแนวความคิดให้ผู้ซื้อ ลูกค้า หรือผู้จัดการ การเริ่มต้นจากการขายนี้ จำเป็นทั้งสำหรับธุรกิจและคนทำงานสร้างสรรค์ เพื่อหลีกให้ห่างจากโครงการที่มีแววจะพังได้ ทั้งยังช่วยให้ประเมินศักยภาพได้อย่างรวดเร็ว และรับความเสี่ยงที่จำเป็นเพิ่มขึ้นได้อีกมาก
  4. ทำ portfolio ให้หลากหลาย ซึ่งการจะเติบโตได้ต้องคิดให้เหมือนนักลงทุนร่วมทุน เวลาเห็นคำว่าเงินทุนร่วมทุน เป็นไปได้ว่าคงไม่พ้นเรื่องเงิน นักลงทุนและสตาร์ทอัพเรื่องหนึ่งที่คงไม่ติดอันดับในใจก็คือ การตกปลา แต่เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว การตกปลานี่แหละที่เป็นจุดประกายให้เกิดวิธีคิดเรื่องการลงทุน ที่นิยามอุตสาหกรรมเงินทุนร่วมทุนย้อนไปเมื่อศตวรรษที่ 19 การล่าวาฬเพื่อเอาเนื้อ กระดูก และน้ำมันเป็นธุรกิจใหญ่ ทำให้การล่าวาฬเป็นอาชีพที่น่าสนใจ ด้วยเหตุที่การล่าวาฬมีอันตราย จึงทำให้เกิดการลงทุนประเภทใหม่ขึ้นมา

โบรกเกอร์หรือตัวแทนทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างคนสองกลุ่ม ที่ช่วยให้ผู้ที่มั่งได้นำเงินทุนมาลงกับเรือ โดยกระจายการลงทุนไปกับเรือประเภทต่าง ๆ การทำเช่นนี้ช่วยให้นักลงทุนลดความเสี่ยงที่เงินทุนทั้งหมดจะสูญหายไปกับเรือเพียงลำใดลำหนึ่งได้ จนถึงวันนี้การลงทุนร่วมทุนอยู่บนแนวคิดของการกระจายการลงทุนให้หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยง ไม่ใช่แค่บริษัทการลงทุนเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากกลยุทธ์ดังกล่าว แต่ยังเป็นแผนการขับเคลื่อนกลุ่มบริษัทที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกอีกด้วย บริษัทที่สร้างกำไรได้นั้น มักจะไม่ยึดติดกับผลิตภัณฑ์เพียงตัวเดียว หรือลงทุนอยู่ในอุตสาหกรรมเดียว แต่มักสร้างความหลากหลาย และความหลากหลายนี้เองที่ทำให้ความเสี่ยงลดลง

หลักการในการลดความเสี่ยงนี้ใช้ได้กับทุกคน การกระจายทรัพยากรทางการเงินไปลงทุนในหลาย ๆ ส่วน ช่วยลดความเสี่ยงได้ การลงทุนกับโอกาสทางอาชีพก็เช่นกัน

บทที่ 6 ฝึกฝนแบบ 3 มิติ

คนที่อยู่ในระดับผู้เชี่ยวชาญใช้พลังงานน้อยกว่ามือสมัครเล่นเวลาประมวลผลข้อมูล แถมยังได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ที่เป็นเช่นนี้ได้เพราะ

1.มีประสบการณ์ที่ยาวนานหลายปี

2.ทำให้ผู้เชี่ยวชาญแยกแยะสัญญาณที่เกี่ยวข้อง ออกจากสัญญาณที่ไม่เกี่ยวข้องได้ ทำให้คนกลุ่มนี้สนใจเฉพาะข้อมูลที่ควรค่าแก่การนำมาประเมินผล คนกลุ่มนี้จะเลือกสนใจแค่บางอย่างจริง ๆ โดยเน้นไปที่สัญญาณที่สำคัญจำนวนไม่มาก เพราะว่าเรื่องสำคัญไม่ใช่แค่ไม่สนใจสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่การรีดเอาข้อมูลออกมา จากสัญญาณที่ดูไม่สลักสำคัญอะไรด้วยเช่นกัน

3.เกี่ยวข้องกับเรื่องกายวิภาค ส่วนประกอบบางอย่างในสมองของผู้เชี่ยวชาญ มีแนวโน้มว่าจะใหญ่กว่าในสมองของผู้ที่เป็นมือสมัครเล่น ความแตกต่างนี้สะท้อนถึงภาวะความยืดหยุ่นของสมอง อันได้แก่ความสามารถของสมองมนุษย์ในการจัดระเบียบตัวเองเสียใหม่ เพื่อให้รองรับความต้องการในการใช้งานที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ การทำกิจกรรมเดิมซ้ำ ๆ กระตุ้นให้สมองต้องปรับตัว ทั้งเพื่อให้การเชื่อมโยงระหว่างเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น และเพื่อสร้างเซลล์ประสาทใหม่ ๆ ขึ้นมา รับภาระหน้าที่ในส่วนของกระบวนการการรับรู้

ความชำนาญมาด้วยการฝึกฝน แต่ไม่ใช่ในความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป แนวคิดเรื่องการฝึกฝนของคนส่วนใหญ่ มีข้อจำกัดมากมายเหลือเกิน แต่การฝึกฝน 3 นาทีนำประสบการณ์มาแปลงเป็นเชาว์ปัญญาได้ การทบทวนตนเองมีผลอะไรต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นน่าสนใจอย่างยิ่ง คนที่ได้ทบทวนตนเองมีผลงานดีขึ้น การคิดว่าตัวเองเรียนรู้อะไรไปแล้วบ้าง และจะนำบทเรียนนั้นไปใช้ในอนาคตอย่างไร จุดประกายให้เกิดพัฒนาการได้มหาศาล การทบทวนตัวเองมีส่วนช่วยในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน แม้จะไม่มีเรื่องเงินทองเข้ามาเกี่ยวข้อง จากนั้นเมื่อนำวิธีการทบทวนตนเองไปทดสอบในโลกแห่งความเป็นจริง จึงพบว่าการให้พนักงานใหม่ทบทวนบทเรียน ที่ตัวเองได้เรียนรู้ในช่วงฝึกอบรมนั้น ช่วยเพิ่มความเข้าใจในเนื้อหาได้สูงถึงร้อยละ 23 ประโยชน์ของการทบทวนตนเอง หรือในแวดวงการศึกษาเรียกว่าการสะท้อนคิดนั้นมีมากมาย

ประการแรก การสะท้อนคิดทำให้สิ่งที่ไม่ค่อยทำกันในระหว่างวันทำงานนั่นคือ หยุดพัก และคิดถึงความคืบหน้าในตัวงานที่ทำ การทำเช่นนี้ทำให้ได้สะกิดตัวเองให้ตื่นขึ้น เป็นอิสระจากม่านหมอกของกิจกรรม และกิจวัตรที่ทำไปโดยไม่รู้ตัว ทำให้ได้ทบทวนคุณค่าของกิจการงานต่าง ๆ ที่ทำไป ถ้าทุกอย่างดำเนินมาได้ด้วยดี ก็สามารถพุ่งต่อไปข้างหน้าได้ ด้วยความมั่นใจที่ได้รับการเติมให้เต็มเปี่ยม ในทางกลับกันถ้าพบว่าประสิทธิภาพหยุดนิ่ง ย่อมจำเป็นต้องหาทางปรับปรุง ไม่ว่ากรณีไหนก็ได้รับประโยชน์ทั้งสิ้น

การสะท้อนคิดวิธีหนึ่งที่ใช้กันมากจนน่าแปลกใจในกลุ่มนักคิดค้นแถวหน้า การสร้างกิจวัตรประจําวันขึ้นมาว่า ต้องหยุดพัก ทบทวน และวางกลยุทธ์ สร้างคุณประโยชน์ได้มหาศาล ซึ่งจะพอกพูนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป การสะท้อนคิดเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น เกิดความมั่นใจมากขึ้น และเกิดความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น นั่นเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องการประมวลผลอารมณ์ บรรเทาความวิตกกังวล และลดความเครียดได้อีกด้วย

กลุ่มคนแถวหน้าในหลากหลายวงการ ใช้หลักการสะท้อนคิดเพื่อเพิ่มพูนความรู้ของตนเอง นั่นคือมิติแรกของการลงมือ ซึ่งก็คือการขุดคุ้ยอดีต ถัดไปนี้มาดูเครื่องมือการพัฒนาความชำนาญประการที่ 2 ที่ควรนำมาใช้ให้มากขึ้น นั่นคือการฝึกซ้อมในอนาคต นักวิจัยที่ยูซีแอลเอ (UCLA) ได้ทำการทดลองที่ออกแบบขึ้นมา เพื่อคำนวณหาคุณค่าของการนึกภาพความสำเร็จในใจ ทำการแบ่งนักศึกษาออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรก ได้รับคำสั่งให้นึกภาพตัวเองได้คะแนนสอบสูง ๆ

กลุ่มที่ 2 ได้รับคำสั่งให้นึกภาพโดยมีจุดแตกต่างสำคัญคือ จะต้องนึกภาพกระบวนการอ่านหนังสือสอบ เช่น จะอ่านที่ไหน เมื่อไหร่ น่าจะเตรียมตัวในการสอบอย่างไร

กลุ่มที่ 3 ได้รับคำสั่งเพียงแค่ให้คอยติดตามดูว่า ตัวเองใช้เวลาอ่านหนังสือสอบไปเท่าไหร่

สุดท้ายผลลัพธ์ออกมาเป็นว่า กลุ่มที่ 2 ทำได้ดีที่สุดในการสอบ เพราะเป็นกลุ่มที่นึกถึงภาพการอ่านหนังสือ นึกภาพกระบวนการที่จะนำไปสู่การอ่านหนังสือมากขึ้น ช่วยลดความวิตกกังวล และทำให้ได้คะแนนสอบดีขึ้น แต่ไม่ใช่แค่นั้น นักวิจัยยังค้นพบอีกด้วยว่า ที่จริงแล้วเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ 3 นักศึกษากลุ่มที่ 1 ที่ใช้การนึกภาพความสำเร็จในใจนั้น ทำผลสอบออกมาได้แย่กว่า คะแนนสอบของพวกเขาต่ำกว่าทุกกลุ่ม การนึกภาพผลลัพธ์เชิงบวกกลับทำให้ได้คะแนนแย่กว่าได้ เป็นเพราะผลตอบแทนทางอารมณ์ที่ได้รับตอนที่นึกภาพตัวเองประสบผลลัพธ์ตามใจปรารถนา ทำให้ความกระหายที่จะลงมือทำงาน เพื่อสร้างความสำเร็จหายไป ได้รับความพึงพอใจชั่วคราว แม้โดยตรรกะแล้วจะรู้ดีว่า ประสบการณ์ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องเพ้อฝัน แต่การจำลองภาพในใจที่เพ่งไปยังกระบวนการจะไม่ใช่แบบนั้น

การซักซ้อมการกระทำที่ต้องลงมือทำล่วงหน้าในใจ ช่วยยกระดับประสิทธิภาพได้ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจริงเมื่อใช้วิธีการนี้คือ

  1. การจำลองภาพในใจช่วยให้ระบุอุปสรรคออกมาได้ ก่อนที่จะได้เผชิญจริง ๆ
  2. ทำให้ได้เห็นตัวอย่างสภาวะอารมณ์ที่น่าจะได้สัมผัส เมื่อรู้ว่ามีแนวโน้มว่าจะมีปฏิกิริยาอย่างไร จะสามารถเตรียมตัวรับมือได้อย่างสร้างสรรค์ก่อนที่จะลงมือ
  3. เมื่อทราบแล้วว่ามีความท้าทายเหล่านี้ ก็สามารถเริ่มรวบรวมทางเลือก เพื่อการตัดสินใจได้ล่วงหน้า ก่อนที่จะนั่งลงทำงาน
  4. ขณะที่นึกภาพตัวเองนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงาน ตั้งสมาธิอย่างมุ่งมั่นบรรจงสรรสร้างองค์ประกอบทั้งหลายเพื่อร่างชิ้นงาน เป็นไปได้ว่าความวิตกกังวลจะลดลง และความมั่นใจจะเพิ่มขึ้น
  5. เปิดใช้ประสาทส่วนที่ใช้ขณะลงมือทำจริง เมื่อเวลาผ่านไปกิจกรรมในสมองดังกล่าวทั้งหมดจะพอกพูนขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการประมวลผลที่เร็วขึ้น และเกิดความเชื่อมโยงในใจที่ลึกขึ้น และไม่ใช่แค่สมองเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ การนึกภาพในห้วงความคิด มีการทำงานร่วมกับกล้ามเนื้อ รวมถึงระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบทางเดินหายใจ โดยไม่ใช้พลังงานมากเกินไป จนอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเหนื่อยล้า เหมือนเวลาใช้ร่างกายฝึกซ้อมเพิ่มเติมจริง ๆ

คุณค่าของการใช้วิธีการนึกภาพในห้วงความคิด จะใช้ยังไงให้ได้ผลซึ่งกฎเหล็กที่ควรค่าจะนำมาพูดถึงมีดังนี้

  1. การนึกภาพในห้วงความคิดไม่ใช่การสร้างมโนภาพ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์นั้นมีเหตุผลอยู่ ยิ่งใช้ผัสสะหลายส่วนเท่าไหร่ การจำลองเหตุการณ์ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น
  2. สามารถทำให้การนึกภาพในห้วงความคิดมีชีวิตชีวายิ่งขึ้นได้ โดยสลับสับเปลี่ยนระหว่างมุมมองบุคคลที่ 1 กับบุคคลที่ 3 การใช้มุมมองบุคคลที่ 1 จากภายใน จะดึงการโต้ตอบจากอวัยวะภายในออกมาได้มากขึ้น ซึ่งมีประโยชน์เมื่อต้องการเห็นตัวอย่างภาวะอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงไป ใช้ไปนาน ๆ จะเกิดความเบื่อหน่าย ให้ใช้วิธีจำลองเหตุการณ์ด้วยมุมมองบุคคลที่ 3 จากภายนอก วิธีนี้ช่วยลดอุณหภูมิทางอารมณ์ได้
  3. การสร้างภาพในห้วงความคิดที่ได้ผล ไม่จำเป็นต้องใช้เวลามากมายมหาศาล เพียงแต่ตั้งใจจำลองเหตุการณ์เป็นเวลาสั้น ๆ สัก 3 นาทีก็เห็นผลแล้ว

สิ่งที่ทำให้การฝึกฝนมีคุณค่าอย่างยิ่งคือ เป็นการเปิดโอกาสให้กับความสดใหม่ ความท้าทาย และความเติบโต ความก้าวหน้าจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าปราศจากความยากลำบากและความชำนาญ ไม่ใช่จุดหมายปลายทางแต่เป็นวิถีของชีวิต

บทที่ 7 วิธีพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ

คนเรามักคิดกันไปเองว่า ผู้ที่ประสบความสำเร็จสูงสูงต้องรู้ดีว่าตัวเองมีทักษะอะไร ที่ทำให้ตัวเองแตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถที่จะเลือกส่งต่อความรู้นั้นให้ใครก็ได้ ข้อสันนิษฐานทั้ง 2 ประการไม่เป็นความจริง เพราะถ้าเป็นความจริง โค้ชที่ได้รับการยกย่องในวงการกีฬา คงต้องเคยเป็นนักกีฬาระดับซูเปอร์สตาร์มาก่อน แชมป์เปี้ยนหลายคนต่างก็เคยลองเป็นโค้ชมาแล้ว และต้องผิดหวังกันอย่างขมขื่น ไม่ใช่แค่ในวงการกีฬาเท่านั้น ในแวดวงการศึกษาอาจารย์มหาวิทยาลัยมีหน้าที่รับผิดชอบ 2 อย่างคือ ผลิตงานวิจัยคุณภาพสูง และให้การศึกษาแก่นักศึกษา

ผู้ปกครองจำนวนมากสันนิษฐานว่า นักวิจัยเก่ง ๆ ประเภทที่มีผลงานตีพิมพ์ชั้นเลิศ จนได้งานในมหาวิทยาลัยดัง ๆ ย่อมเป็นอาจารย์ที่สอนเก่ง ประเด็นนี้มีหลักฐานรองรับเพียงน้อยนิด ในทางกลับกันผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเลือกผู้สอนตามประวัติงานวิจัยที่เคยทำนั้นมีประโยชน์น้อย การประเมินประสิทธิภาพของอาจารย์กว่าครึ่งล้านคน โดยดูจากปริมาณและผลที่มีต่อวงการของงานวิจัยที่ทำ รวมทั้งการประเมินจากนักศึกษา

ผลสรุปที่ได้คือ ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ในงานวิจัยของอาจารย์แต่ละคนกับประสิทธิภาพในการสอนนั้นเป็นศูนย์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่า นักศึกษาที่เรียนกับอาจารย์ในตำแหน่งชั่วคราว ซึ่งไม่มีตำแหน่งวิชาการหรือขอตำแหน่งไม่สำเร็จนั้น ได้รับประสบการณ์ในการเรียนดีกว่ากลุ่มที่เรียนกับอาจารย์ประจำ ซึ่งมีตำแหน่งงานมั่นคงจากการมุ่งมั่นทำวิจัย ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และประสิทธิภาพในการสอน ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกันเสมอไป เพราะการลงมือทำและการอธิบายเป็นทักษะคนละชุดกัน

ควรถามอะไรผู้เชี่ยวชาญบ้าง เวลาที่พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญคำถามที่ควรค่าแก่การพิจารณามีด้วยกัน 3 หมวดหมู่ได้แก่

  1. คำถามเรื่องเส้นทาง ออกแบบขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการได้แก่ เผยแผนกลยุทธ์สู่ความสำเร็จ และเตือนความจำให้คนเหล่านั้นนึกถึงประสบการณ์ตอนที่ยังเป็นมือใหม่ การเข้าใจเส้นทางการทำงานของผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่แรกเริ่ม ไปจนถึงการก้าวขึ้นมาเป็นมืออาชีพ น่าจะทำให้เข้าใจได้มากพอควรว่า จะสร้างกระบวนการนั้นซ้ำให้กับตัวเองได้อย่างไร
  2. คำถามเรื่องกระบวนการ เป็นการเจาะจงรายละเอียดวิธีการทำงาน โดยออกแบบขึ้นเพื่อเผยทางสว่างเมื่อผู้เชี่ยวชาญมีแนวทางอย่างไร โดยเจาะลึกลงไปถึงขั้นตอนระหว่างการสร้างสรรค์ตัวงาน คำตอบเหล่านี้มักมีคุณค่าสำหรับการใช้วิศวกรรมย้อนกลับ เพราะช่วยให้เห็นว่าชิ้นงานที่ซับซ้อนนั้น ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างไร
  3. คำถามเรื่องการค้นพบ จะเน้นที่ความคาดหวังในช่วงแรกเริ่มของผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นจึงขอให้พวกเขาเปรียบเทียบสิ่งที่รู้ตอนที่ยังเป็นมือใหม่กับสิ่งที่รู้แล้วในวันนี้ การชักนำความสนใจของผู้เชี่ยวชาญไปยังสิ่งที่เผยออกมาโดยไม่คาดคิด ทำให้บุคคลเหล่านั้นได้ย้อนคิดว่าในตอนแรกตัวเอง ไม่ได้นำองค์ความรู้ใดที่มีประโยชน์มาใช้บ้าง ซึ่งเป็นช่วงที่พวกเขาอยู่ในสถานะเดียวกันกับมือใหม่

ควรระลึกไว้เช่นกันว่า คำตอบที่ได้รับจะแตกต่างกันไปในผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน ซึ่งไม่เป็นไรเลย ช่องทางที่รับประกันความสำเร็จเพียงแค่ช่องทางเดียว ช่องทางที่ว่านั้นไม่มีอยู่จริง เพียงแค่ต้องการเผยปัจจัยที่ผู้เชี่ยวชาญคนนั้น ๆ เชื่อว่า สร้างความแตกต่างได้มากที่สุดเท่านั้นเอง การเลือกถามคำถามที่เหมาะสมเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น ที่สำคัญกว่านั้นคือต้องถามในแบบที่ทำให้คนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญยอมเปิดใจตอบ

บทสรุป

พบเจอความยิ่งใหญ่

บทเรียนการถอดรหัสความยิ่งใหญ่ตลอดบทเรียนในเรื่อง ถอดประกอบรูปแบบความสำเร็จ ทำให้ได้รู้วิธีการโดยละเอียด หรือเหตุผลที่ทำให้ทำสำเร็จ และเชื่อมโยงเทคนิคเข้ากับการศึกษาที่สำคัญ ด้านความคิดสร้างสรรค์ แรงจูงใจ การได้มาซึ่งทักษะ ประสิทธิภาพ และความเชี่ยวชาญ มาทำการทบทวนบทเรียนสำคัญ 10 บทเรียน และวิธีที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ในชีวิตกัน

  1. เริ่มเป็นนักสะสม ขั้นตอนแรกสู่การบรรลุความยิ่งใหญ่คือ การเห็นความยิ่งใหญ่ในตัวผู้อื่น เมื่อพบตัวอย่างงานที่ทำให้ประทับใจ จงเก็บมันไว้ในลักษณะที่ทำให้สามารถกลับไปดู ศึกษา และเปรียบเทียบกับผลงานอื่น ๆ เพื่อค้นหาแรงบันดาลใจ ศึกษาเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ และเตือนตัวเองให้คิดการใหญ่
  2. มองเห็นความแตกต่าง จงเรียนรู้จากตัวอย่างที่ชอบได้ ต้องดูให้ออกว่าสิ่งใดที่ทำให้งานนั้นแตกต่าง เมื่อพบผลงานที่โดนใจ จงสร้างนิสัยการหาคำตอบของคำถามเพียงคำถามเดียวให้ได้
  3. วางพิมพ์เขียว ชิ้นงานแทบทุกชิ้นที่ชื่นชม ถูกพัฒนาขึ้นจากพิมพ์เขียว เชฟมีสูตรอาหาร นักเขียนมีฉบับร่าง นักออกแบบเว็บไซต์ก็ทำงานจากแผนที่เว็บ แทนที่จะพยายามสร้างชิ้นงานขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ให้ใส่ความคิดที่เป็นนามธรรมลงไป และเขียนโครงร่างที่ทำให้เห็นโครงสร้างของงาน
  4. อย่าเลียนแบบแต่จงพัฒนา การเลียนแบบความสำเร็จอันล้นหลามของคนอื่น จะทำให้คนอื่นมองว่าเป็นของเลียนแบบได้อย่างรวดเร็ว แถมยังเป็นการทำลายงานในหมวดหมู่นั้นด้วยกันเอง และการเลียนแบบก็จะไม่ทำให้ได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันด้วย ความต้องการของผู้ชมพัฒนาไปตามกาลเวลา จงสร้างเส้นทางของตัวเอง โดยการเพิ่มแรงบันดาลใจใหม่ ปรับสูตรจากสาขาที่ใกล้เคียงกัน หรือแทนที่องค์ประกอบที่ไม่รู้ด้วยสิ่งที่ทำได้ดีมาตั้งแต่เกิด
  5. โอบรับสิ่งที่ยังมองไม่เห็น การศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญมีราคาที่ต้องจ่าย นั่นคือการยกระดับความสามารถที่เห็นว่า จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จ และมีความเป็นไปได้ว่า ความสามารถจะไปไม่ถึงจุดที่คาดหวัง อย่างน้อยก็ไม่ใช่ในช่วงแรก เป็นเรื่องปกติที่ในช่วงเวลานี้จะรู้สึกท้อแท้หรือถอดใจ แรงผลักดันที่ผ่านบวกกับความอึดชนิดที่ไม่ยอมถอย แม้ว่าจะใช้เวลานานเพียงใด ก็สร้างความแตกต่างระหว่างมือสมัครเล่นกับมืออาชีพได้แล้ว
  6. เลือกเก็บคะแนน การบรรลุเป้าหมายในระดับสูงจะง่ายขึ้นมาก ถ้าวัดองค์ประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนความสำเร็จได้ การให้คะแนนด้านที่สำคัญของประสิทธิภาพในการทำงาน จะทำให้มีแรงจูงใจในการปรับปรุงทันที มีความอ่อนไหวต่อความพยายามที่สูญเปล่าน้อยลง และกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจอย่างมีสติมากขึ้น ในระยะยาวระบบคะแนนที่เหมาะสมจะทำให้มีความรับผิดชอบ ให้ข้อเสนอแนะและเปิดเผยรูปแบบที่สามารถพลิกเกมได้ เพียงแต่ต้องระวังอย่าหมกมุ่นอยู่กับระบบคะแนนเดียว หรือลืมอัปเดตระบบคะแนนเมื่อเติบโตขึ้นแล้ว
  7. ยอมเสี่ยงกับการลองเสี่ยง การลองเสี่ยงคือสิ่งจำเป็นเพื่อที่จะได้เติบโต แต่มันก็อาจทำให้รู้สึกอึดอัดอย่างมาก วิธีที่ได้ผลวิธีหนึ่งที่ทำให้พอใจกับการลองเสี่ยงมากขึ้นคือ การหาโอกาส ลองยืดความเสี่ยงที่มีต้นทุนเมื่อล้มเหลวไม่สูงนัก เลิกเสียพลังงานไปกับการรวบรวมความกล้าเพื่อลองเสี่ยง ลองเสี่ยงไปเลยจะง่ายกว่ามาก เมื่อความล้มเหลวนั้นมีราคาเพียงน้อยนิด
  8. อย่าไว้ใจความสบาย อารมณ์จะช่วยให้คำแนะนำที่มีค่า เกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ควรค่าแก่การไล่ตาม และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในเวลาที่ต้องการ แต่ข้อยกเว้นที่สำคัญหนึ่งเดียวของกฎนั้นก็คือ ประสบการณ์ในระหว่างการได้มาซึ่งทักษะใดทักษะหนึ่ง
  9. สะสมและใช้ประโยชน์จากอนาคตและอดีต การทำซ้ำและการรับฟังข้อเสนอแนะ จะช่วยยกระดับผลงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าทำสิ่งเหล่านั้นเพื่อใช้กำหนดจุดอ่อน แต่ถ้าเอาแต่ทำซ้ำและรับฟังข้อเสนอแนะเพียงอย่างเดียว ก็มักเป็นโอกาสที่ได้ใช้ศักยภาพเพียงเสี้ยวเดียว ยังมีแนวทางการปฏิบัติอีก 2 แนวทางที่ควรลองทำ วิธีแรกคือการฝึกทบทวนหรือวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ผ่านมาเพื่อดึงบทเรียนสำคัญ และวิธีที่ 2 คือการฝึกมองให้เห็นภาพ หรือการนำเอามโนภาพนั้นมาจำลองการปฏิบัติ

10 ถามให้ฉลาด ผู้เชี่ยวชาญมักสอนไม่เก่ง ความรู้เป็นดาบสองคม เพราะการรู้อะไรสักอย่างจะทำให้ไม่เข้าใจเลยว่า การไม่เข้าใจสิ่งนั้นเป็นเช่นไร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการสนทนากับผู้เชี่ยวชาญต้องเป็นผู้เตรียมคำถาม เป็นผู้อธิบายรายละเอียด และเป็นผู้เปิดประเด็นให้ชัดเจน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เชี่ยวชาญเปิดเผยการเดินทาง กระบวนการ และการค้นพบของเขาหรือเธอ ผู้เชี่ยวชาญไม่ใช่คนเดียวที่จะช่วยให้พัฒนาตัวเองได้ คนอื่นที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญก็เป็นตัวช่วยที่มีประโยชน์ได้เช่นกัน

การนำบทเรียนเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ จะทำให้ทุกคนมีศักยภาพในการสร้างทักษะ ยกระดับผลงาน และได้มีส่วนร่วมที่ยั่งยืน แปลกใหม่ ไม่ว่าจะอยู่ในสายงานใดก็ตาม การประสบความสำเร็จในระดับสูงไม่จำเป็นต้องถูกกำหนดจากเรื่องที่ว่า โชคดีพอที่จะเกิดมาพร้อมกับพรสวรรค์หรือไม่ หรือบังเอิญได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ คนที่อยู่บนยอดพีระมิดในสาขาอาชีพ เขาขึ้นไปยืนอยู่บนนั้นได้โดยการบ่มเพาะความหิวโหย แนวคิด มุมมอง และการแก้ปัญหาใหม่ ๆ อย่างไม่หยุดหย่อน พวกเขาหรือว่าคนเราไม่มีทางเอื้อมถึงเป้าหมายได้ หากไม่ลงมือทำอะไรเลย.