จงมองหาช้างที่อยู่ข้างหลังยุง

สรุปหนังสือ จงมองหาช้างที่อยู่ข้างหลังยุง

บางครั้งคงเคยนึกหงุดหงิดรำคาญใจกับเรื่องเล็กน้อย เช่น การโดนแซงคิว ลืมซื้อของ รถติด หรือเห็นคนวางของไม่เป็นระเบียบ ทั้งที่ดูเผิน ๆ แล้วเรื่องเหล่านี้ช่างขี้ปะติ๋ว เหมือนยุงบินร่อนไปมา แต่ทำไมปากแหลม ๆ ของมันถึงทิ่มแทงอารมณ์ได้เจ็บแปลบเสียเหลือเกิน ถึงอย่างนั้นแน่ใจหรือว่าหงุดหงิดกับปัญหาตรงหน้าจริง ๆ สิ่งนั้นคือช้างที่ซุกซ่อนอยู่ในตัวของทุกคน แต่ไม่ค่อยมีใครตระหนักถึงตัวตนของมัน แต่มันจะเผยตัวทุกครั้งเมื่อมีสิ่งกระตุ้น (เจ้ายุงหน้ารำคาญนั่นเอง) ทำให้นึกถึงประสบการณ์ด้านลบในอดีต ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ความต้องการพื้นฐานไม่ได้รับการตอบสนอง ไม่ว่าจะเป็นการมีคนเห็นคุณค่า ความมั่นคงปลอดภัย หรือความนับถือตนเอง เป็นต้น

จนกลายเป็นจุดเปราะบางในใจ ทำให้สร้างต้นแบบหรือกลไกการป้องกันตนเองแบบผิด ๆ เพื่อเอาตัวรอดจากสถานการณ์ตรงหน้าเป็นเรื่อง ๆ ไป โดยไม่มีใครจับช้างที่เป็นตัวการสำคัญได้ เมื่อผ่านไปนานเข้า มันก็สะสมความเครียดจนระเบิด ตอนนั้นแหละที่เจ้ายุงตัวเล็ก ที่อย่างมากก็แค่กวนประสาท ได้กลายเป็นช้างตกมัน คอยฟาดงวงฟาดงาในคนรอบตัว แม้แต่ตัวเองก็บาดเจ็บสาหัส

บางครั้งเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ก่อกวนความสงบสุข ในชีวิตประจำวันก็มียุงที่เป็นความหงุดหงิด ความเข้าใจผิด หรือการทะเลาะเบาะแว้ง ซึ่งมักเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เมื่อเกิดซ้ำซากแถมยังกำจัดได้ยากก็มักขาดสติ เมื่อถึงตอนนั้นแม้จะมีคำกล่าวว่า อย่าปล่อยให้ยุงกลายเป็นช้าง อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ก็รั้งไม่อยู่ บางครั้งยุงก็เปลี่ยนจากสัตว์ร้ายจอมก่อกวน กลายเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีประโยชน์อย่างน่าประหลาดใจ โดยค้นหาเหตุผลถูกต้องของการที่ผู้คน ใส่อารมณ์กับเรื่องเล็กน้อย และพยายามป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องเช่นนี้อีก

บทที่ 1 เรื่องของยุงและช้าง

ในชีวิตประจำวันมีโอกาสใส่อารมณ์กับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นนี้มากมาย แต่นั่นเป็นเรื่องเล็กน้อยจริงหรือ ไม่มีใครใส่อารมณ์อย่างไร้เหตุผล การค้นหาสาเหตุแท้จริงของความโมโหจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะช่วยให้ค้นพบว่าเมื่อความต้องการพื้นฐานภายในใจ เช่น ความต้องการให้มีคนเห็นคุณค่า ความต้องการเป็นตัวของตัวเอง และความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ถูกบั่นทอนหรือไม่ได้รับการตอบสนอง

รากฐานของความสุขกายสบายใจ เพราะจะโดนสั่นคลอนรุนแรง ส่งผลให้วิธีแก้ปัญหาที่ยึดจากต้นแบบเดิม ๆ ใช้ไม่ได้ผล ปฏิกิริยารุนแรงไม่ใช่อยู่ ๆ ก็เกิดขึ้นมา เพียงแต่ว่าสิ่งที่ทำให้อารมณ์เสียโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ หรือนิ่งเงียบแบบยอมจำนน ล้วนพบเห็นได้ยาก โดยปกติจะเห็นแต่ตัวยุงส่วนปากแหลม ๆ ของมันมากกว่าทุกส่วนที่ลึกลงไปในจิตใจ จะเห็นว่าจุดที่เปราะบางมากเกิดขึ้น

จากความเจ็บปวดภายใน ทั้งที่เป็นเรื่องใหญ่และเรื่องเล็กในอดีต ไม่ค่อยมีใครคาดหวังกับตนเองว่าจะต้องควบคุมอารมณ์ให้สงบ สบาย เข้มแข็ง มองโลกในแง่ดี กล้าหาญ มั่นใจ และยอมรับความท้าทายทุกรูปแบบ เพราะนั่นเป็นข้อเรียกร้องที่มากเกินไปจริง ๆ แล้วความรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจอย่างความโกรธ ความกลัว ความวิตกกังวล ความละอายใจ การดูถูก การถูกดูหมิ่นดูแคลน หรือความผิดหวัง อาจเป็นเพียงปฏิกิริยาปกติในตอนแรกต่อเหตุการณ์ที่มากระทบ และเป็นเรื่องปกติเช่นกันที่จะไม่ชอบความรู้สึกเช่นนั้น อยากหลีกเลี่ยงเท่าที่ทำได้ หรืออยากให้ผ่านพ้นโดยเร็ว

เมื่อปล่อยให้ยุงกลายเป็นช้าง จะรู้สึกถึงการกระทบทางอารมณ์อย่างรุนแรง และอธิบายสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ โดยมักมองว่าความรู้สึกที่อธิบายไม่ได้เหล่านั้น ไม่เหมาะสม น่าขายหน้า น่ารำคาญ หรือดูแปลก ๆ บางครั้งถึงกับมองว่าเป็นเรื่องบ้า ๆ หรือถึงขั้นเป็นโรคประสาท แต่ถ้าพยายามทำความเข้าใจจะเห็นว่า นี่เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย

สาเหตุที่เห็นชัดเจน และสาเหตุที่ซ่อนอยู่ เมื่อพิจารณาจากภายนอกอาจเรียกเหตุการณ์บางเรื่องที่ดูธรรมดาว่า ยุง อาจจัดการเรื่องดังกล่าวได้ง่าย ๆ โดยไม่ใช้อารมณ์ในอีกด้านหนึ่ง หากสาเหตุของปฏิกิริยารุนแรงเป็นเรื่องที่เห็นชัดเจน ก็อธิบายเหตุการณ์นั้นโดยไม่ยุ่งยาก เช่น ในกรณีของการดูหมิ่นชัดเจน การโดนปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นเสมอ ๆ การสูญเสียที่ส่งผลกระทบรุนแรง เหตุการณ์คุกคามโดยตรงภาระงานหนักเกินกำลัง เรื่องชวนหงุดหงิดกวนโมโหที่ประเดประดังเข้ามา งานกองโตที่ทำไม่เสร็จ ความวิตกกังวลเฉียบพลัน ความเจ็บปวดทางร่างกาย

ภาระดังกล่าวทำให้เป็นคนหงุดหงิด โมโหง่าย ยิ่งถ้ามีเรื่องอึดอัดไม่สบายใจเพิ่มเข้ามาแม้จะเล็กน้อย ก็ได้แต่ถอนหายใจ ทั้งรู้สึกว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่ฉีกทึ้งเส้นประสาท และรู้ด้วยว่านี่คือน้ำหยดสุดท้าย ที่จะทำให้น้ำในถังล้นออกมา ปัญหาดูจะทับถมท่วมศีรษะจนเครียดหนัก ความรู้สึกที่ทับถมลงมา มีผลเทียบเท่ากับความเจ็บปวดทางกาย ซึ่งส่งสัญญาณว่ามีบางอย่างผิดปกติ จะถามตนเองว่าความเจ็บปวดนี้หมายความว่าอย่างไร และอาจปรึกษาแพทย์ แต่ในกรณีที่เกิดอารมณ์รุนแรง แล้วยังไม่เข้าใจเหตุผลที่แท้จริง อาจไม่ต้องพบแพทย์ และใช่ว่าจะต้องไปหานักจิตบำบัดทันที แต่สามารถเริ่มต้นค้นหาได้ด้วยตนเอง

ยุงกลายเป็นช้างได้อย่างไร ทำไมถึงอธิบายความอึดอัดใจในเหตุการณ์ที่ดูจะเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่ได้ นั่นเพราะไม่ตระหนักถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา อาจต้องย้อนไปยังที่ไหนสักแห่งในอดีต ซึ่งถูกปิดบังไว้ใต้ประสบการณ์มากมายหลายชั้น และส่วนใหญ่ไม่อาจเรียกความทรงจำเหล่านั้นได้ดั่งใจ โดยปกติแล้วจะสังเกตได้เพียงบางส่วนว่า ทำไมตนเองถึงประสบเหตุการณ์บางเรื่องในบางลักษณะ และเพราะเหตุใดจึงปฏิบัติตัวเช่นนั้น ความคิดคงทำงานหนักจนสิ้นหวังทีเดียว ถ้าจะต้องทำความเข้าใจประสบการณ์ทุกเรื่องที่สำคัญ และบริบทต่าง ๆ ให้กระจ่างแจ้งตลอดเวลา

เพื่อไม่ให้มีอะไรติดค้างในใจ นั่นเป็นสิ่งที่สมองดำเนินการโดยอัตโนมัติ จากกระบวนการจัดการกับประสบการณ์ต่าง ๆ นี้เป็นโครงสร้างซับซ้อนโดยประกอบด้วยความคาดหวัง สมมติฐาน และกฎเกณฑ์ให้ปฏิบัติตาม ซึ่งส่วนใหญ่ก็เรียกชื่อไม่ถูก คล้ายกับการพัฒนาทักษะทางภาษา โดยไม่มีความรู้เรื่องกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ สมมติฐาน และกฎเกณฑ์เป็นตัวกำหนดว่า รับรู้สิ่งใด สัมผัสอะไร ปรารถนาและคาดหวังอะไร และควรต้องทำอย่างไรในสถานการณ์ตรงหน้า

สร้างต้นแบบของการปฏิบัติตัว และการจัดการกับสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นปัจเจก และใช้ต้นแบบดังกล่าวโดยอัตโนมัติ เมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์เฉพาะ ต้นแบบหรือแบบแผนความคิดเหล่านี้จะช่วยให้ไว้วางใจโลกและตนเอง ทั้งยังเป็นรากฐานของแนวทางการดำเนินชีวิต ต้นแบบที่เกิดจากกระบวนการนี้ จะอยู่จนกว่าจะมีข้อเท็จจริงสักเรื่องเปลี่ยนแปลง และทำให้ต้องปรับตัวการเปลี่ยนแปลงนี้ อาจทำให้รำคาญหรือกลัวหลายครั้ง จึงยึดติดกับต้นแบบเดิม แม้จะยุ่งยากก็ตาม

ช้างต่าง ๆ ที่ต้องการจะค้นหา ต่างก็เกิดจากต้นแบบความคิดที่ไม่เหมาะสม ช้างที่ซ่อนตัวอยู่ในยุงมีจุดกำเนิดมาจากประสบการณ์ด้านลบ ที่พยายามจัดการกับความต้องการพื้นฐานในแต่ละช่วงชีวิต หากความต้องการถูกกระทบในทางลบ ก็จะทิ้งร่องรอยไว้ในรูปแบบของจุดอ่อน และกลไกป้องกันตนเอง หากร่องรอยนี้ถูกกระตุ้นก็ต้องต่อสู้เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ และตอบสนองความต้องการพื้นฐานหลาย ๆ อย่าง

แม้พ่อแม่จะมั่นใจว่าทำทุกอย่างที่ดีที่สุดสำหรับลูก ก็ไม่ได้หมายความว่าการอบรมสั่งสอนของท่าน จะช่วยให้ตระหนักถึงความปรารถนา และความต้องการพื้นฐานของลูกทำให้เป็นจริงได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเข้าใจความเป็นปัจเจกบุคคลของเด็กคนหนึ่ง ในด้านอบรมสั่งสอนให้ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ต้องทำตามหน้าที่และแนวปฏิบัติของสังคม เช่น รับประทานสิ่งที่วางบนโต๊ะให้หมด รู้จักขอบคุณและแสดงท่าทางดีใจเมื่อได้รับของขวัญแม้ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับของขวัญนั้นก็ตาม แม้แต่ต้อนรับผู้มาเยือนที่รบกวนเวลาอย่างเต็มใจ รวมถึงการไม่ตั้งคำถามเชิงวิพากษ์วิจารณ์

คนที่ปฏิบัติตัวเช่นนี้ได้คือคนที่เรียนรู้ตั้งแต่เด็กว่า ต้องทำตามความคาดหวังของผู้อื่น มากกว่าจะใส่ใจกับความรู้สึกและความต้องการของตนเอง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่แปลกใจที่จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับความต้องการพื้นฐาน และความรู้สึกของตนเอง และไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วตนเองตั้งใจจะทำอะไร สุดท้ายก็จะเกิดสภาวะไม่มีความสุข และไม่ปรารถนาสิ่งใด โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับอาชีพการงาน ต้องยอมรับความกดดันในการทำงาน การรักษาบทบาทและกฎระเบียบไม่ได้ เมื่อถึงเวลาเย็นก็ปรารถนาเตรียมความสงบของตัวเอง ซึ่งเป็นเพียงส่วนที่เหลือเล็ก ๆ ที่น่าเวทนา

ในบรรดาความปรารถนาที่จะมีได้มากมาย ถ้ายอมให้เกิดขึ้นจริง เมื่อต้องทำงานตามที่ผู้อื่นกำหนด ก็อาจควบคุมตนเองไม่ได้ เมื่อมีสิ่งกระตุ้นแม้เพียงเล็กน้อย หรือเก็บตัวเนื่องจากรู้สึกว่าถูกดูหมิ่น ถ้าเข้าใจชัดเจนว่าตนเองต้องกล้ำกลืนฝืนทนกับสิ่งใดบ้าง ก็จะรู้ว่ามีความต้องการใดบ้าง ที่ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างต่อเนื่อง และจะเกิดจุดอ่อนใดบ้างเมื่อมีคนตำหนิว่า ทำยุงให้เป็นช้าง ก็จะอธิบายปฏิกิริยาของตนเองได้ ส่งผลให้ผ่อนคลายขึ้น

แต่หากมองทะลุถึงสิ่งที่เกิดขึ้นภายในตนเองไม่ได้ ทั้งต่อตัวเองและคนรอบตัวก็แทบไม่มีโอกาสเข้าใจความหมายที่ซ่อนอยู่ลึก ๆ ของอารมณ์หงุดหงิดไม่สบายใจนั้น ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ จุดอ่อนหลายลักษณะจะปรากฏซ้ำแล้วซ้ำอีก และกระตุ้นต้นแบบเดิม ๆ ที่ยังเป็นปัญหามาจนถึงทุกวันนี้

บทที่ 2 ช้างที่ซ่อนอยู่

เพราะเหตุใดเรื่องเล็กน้อยจึงก่อให้เกิดอารมณ์รุนแรงได้ นั่นเพราะมันกระทบจุดอ่อนของอีกฝ่าย ที่มีความอ่อนไหวเป็นพิเศษตรงจุดนั้นพอดี แต่ความรู้สึกอ่อนไหวนั้นมาจากไหนกัน ประเด็นต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและจากอดีต จะหลอมรวมเป็นภาพที่เชื่อมโยงกันอย่างน่าประหลาดใจ ถ้าอยากทราบว่าเพราะเหตุใดคน ๆ หนึ่งจึงมีปฏิกิริยาเช่นนี้ การจะเข้าใจเบื้องหลังของอารมณ์ ค้นหาเรื่องราวในอดีต โดยต้องอาศัยความพร้อม ความอดทน ความเปิดกว้าง และความกล้า

การค้นหานี้สำคัญมาก เพราะจะช่วยเปิดเผยความต้องการพื้นฐานต่าง ๆ ต้องค้นหาว่าอะไรคือสาเหตุของอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงกระทันหัน มีช้างแบบไหนซ่อนอยู่เบื้องหลัง ช้างเหล่านี้พัฒนามาจากจุดใด แต่กรณีของช้างที่ซ่อนอยู่เรื่องไม่ง่ายเช่นนั้น การเกิดจุดอ่อนในใจอาจเป็นลักษณะเดียวกัน แต่จะไม่เห็นชัดเจน เพราะความต้องการพื้นฐานที่ไม่ได้รับการตอบสนอง และความพยายามที่จะเอาชนะความรู้สึกเจ็บปวดนั้น มีภูมิหลังที่ย้อนกลับไปไกลมาก

เมื่อความต้องการไม่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นเรื่องของการกำเนิดช้าง เส้นทางชีวิตประกอบด้วยทางแยกย่อยมากมาย โดยมีป้ายบอกทางในจินตนาการ ที่ชี้บอกทั้งในอดีตและปัจจุบันว่าควรทำอย่างไร และเดินเส้นทางใดในแต่ละสถานการณ์ หลายครั้งป้ายเหล่านี้ก็เป็นประโยชน์ ดังนั้นการตรวจสอบเส้นทางต่าง ๆ ที่คุ้นเคยจะเป็นประโยชน์มาก ปฏิกิริยาทางอารมณ์จะเป็นป้ายบอกทางสู่ความต้องการที่สำคัญ

สูตร MEA ยุง ช้าง และอารมณ์รุนแรง จุดร่วมในเรื่องการแสดงอารมณ์รุนแรง หรือความหงุดหงิดจากเหตุการณ์ที่ดูไม่สำคัญ (ยุง) ได้มีการสร้างสูตรสั้น ๆ โดยเรียกอารมณ์รุนแรงว่า A เรียกยุงว่า M และช้างว่า E สูตร MEA อ้างอิงจากแบบจำลอง ABC ที่อธิบายอารมณ์ความรู้สึกโดยนักจิตบำบัดชาวอเมริกันชื่อ อัลเบิร์ต เอลลิส (Albert Ellis) A หมายถึงเหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้น B หมายถึงคำอธิบายที่มาของเหตุการณ์นั้น และ C หมายถึงผลสืบเนื่องทางอารมณ์ จากการอธิบายเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่มีใครมีอารมณ์รุนแรงกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยไม่มีสาเหตุต่าง ๆ สูตรนี้แสดงให้เห็นว่า สาเหตุของอารมณ์รุนแรงไม่ใช่ยุง แต่เป็นช้างที่อยู่ลึกลงไป

ความคิดอัตโนมัติจะปรากฏทุกครั้งที่มีปฏิกิริยาทางความรู้สึก แม้แทบจะไม่สังเกตเห็น ก็ควรทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในหัว เมื่อเกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ถ้าเจ้านายเรียกเข้าพบโดยไม่แจ้งล่วงหน้าจะรู้สึกอย่างไร อาจกระวนกระวายว่าเขาจะตำหนิอะไรอีก หรือรู้สึกมีความสำคัญ เพราะแน่ใจว่าเจ้านายต้องพึ่งพาคำแนะนำของตัวเอง

กลไกป้องกันตนเอง เป็นผลจากความเชื่อฝังลึก และต้นแบบพฤติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงเรื่องที่ความต้องการด้านอื่น ๆ ไม่ได้รับการตอบสนอง จะทำหรือไม่ทำอะไรได้บ้างเวลาเผชิญอันตราย ความรู้สึกถูกคุกคามทำให้พยายามหาวิธีก้าวข้าม ซึ่งวิธีต่าง ๆ ก็มาจากการเรียนรู้ หรือไม่ก็สัญชาตญาณ โดยหลัก ๆ คือเลือกว่าจะวิ่งหนี ซ่อนตัว แกล้งตาย หรือลุกขึ้นต่อสู้ บางครั้งก็ไม่รู้จริง ๆ ว่าควรทำอย่างไร และได้แต่อยู่นิ่งทำอะไรไม่ถูก กระบวนการป้องกันตนเอง จะถูกกระตุ้นเมื่อมีการกระทบกับจุดอ่อน ที่เกิดจากความต้องการพื้นฐานที่ไม่ได้รับการตอบสนอง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจริง หรือเป็นแค่ความกลัวว่าจะเกิดขึ้น

ภาพจำกัดของตนเองและคนรอบตัว ภาพตนเองเป็นตัวกำหนดความเข้าใจตนเอง โดยไม่ต้องคิดไตร่ตรองอะไรมาก ภาพตนเองและภาพคนอื่นที่มีไม่ได้คงที่ อาจพบผู้คนหลากหลายในสังคมที่เปลี่ยนแปลง และสร้างความประทับใจให้ แต่บางคนก็ทำให้ลดทอนความเปิดกว้าง ความสดชื่นรื่นเริง พลังงาน และความไว้วางใจในตนเอง

กลไกป้องกันตนเองแบบผิด ๆ รวมถึงภาพที่จำกัดของตนเอง และคนรอบข้างจึงมีจุดกำเนิดจากความต้องการในอดีตไม่ได้รับการตอบสนอง การเชื่อมโยงนี้ไม่ได้ปรากฏให้เห็นชัดเจน กระบวนการทำงานในใจจะเป็นไปตามต้นแบบ การจัดการกับอารมณ์ และต้นแบบการกระทำต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว การมีต้นแบบไม่เหมาะสมเช่นนี้ จะทำให้ช้างที่ซ่อนอยู่พัฒนาขึ้น ในขณะที่การมีประสบการณ์ใหม่ ๆ ในด้านบวก ช่วยแก้ไขกลไกป้องกันตนเองที่ไม่เหมาะสมได้ เป้าหมายคือการใช้ความรู้ที่มี เพื่อค้นพบช้างซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการจริง ๆ

ในสถานการณ์วิกฤตควรพักใจเป็นครั้งคราว และพยายามรับรู้ความต้องการพื้นฐานของตนเอง และเมื่ออยู่ในสถานการณ์วิกฤต ก็ควรตรวจสอบว่ามีวิธีสร้างสมดุลภายในใจที่ดีกว่านี้ไหม เมื่อกล้าที่จะเปิดเผยความต้องการของตนเอง คนรอบข้างก็จะเข้าใจมากขึ้น นอกจากนี้ยังควรใส่ใจความรู้สึกคนอื่น แทนที่จะถอยห่าง หรือกล่าวหาอีกฝ่ายตรง ๆ การทำเช่นนี้จะช่วยให้นับถือตนเอง และเรียนรู้ที่จะปฏิบัติต่อจุดอ่อนของคนอื่นอย่างเข้าอกเข้าใจ

ความทุกข์ที่อยู่ลึก ๆ เกิดขึ้นเมื่อความต้องการพื้นฐานไม่ได้รับการตอบสนองซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยประสบการณ์เช่นนี้จะฝังลึกในระยะยาว โดยเฉพาะถ้าเกิดในวัยเด็กที่ยังต้องพึ่งพาคนรอบข้างอย่างมาก กระนั้นสัญญาณความเดือดร้อนจากเด็กบางคน ก็ไม่ได้รับการตอบสนองเลย ไม่มีใครช่วยเหลือเมื่อเขากรีดร้อง งอแง โมโห ดื้อดึง ต่อต้าน หรือแม้แต่มีอาการป่วย น่าเศร้าใจที่มีเด็กผู้ฝันร้ายเช่นนี้มากเหลือเกินในสังคม นี่เป็นเรื่องของความต้องการพื้นฐาน ด้านความผูกพัน มั่นคง การเห็นคุณค่า ความเป็นตัวของตัวเอง และความยุติธรรม ทั้งหมดนี้คือความต้องการพื้นฐานที่เป็นจุดอ่อน ซึ่งพบบ่อยครั้งที่สุดในชีวิตประจำวัน มีช้างอยู่ทั้งหมด 7 ตัวด้วยกันคือ

ช้างตัวที่ 1 กลัวจะสูญเสียความอบอุ่นมั่นคง คนที่อยากจะทำทุกอย่างให้ถูกต้อง แสดงความเป็นมิตรกับคนรอบตัวสม่ำเสมอ และเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นได้ดี ทุกคนที่มีปัญหาเข้ามาหาได้ มีเวลาสำหรับคนอื่นเสมอ และแทบจะไม่สังเกตเลยเมื่อมีใครทำเรื่องที่รบกวนจิตใจ เมื่อทำการร่างภาพช้างเร็ว ๆ โดยต้นแบบมาจากแม่ที่ต้องพึ่งพาคนอื่นอย่างยิ่ง และพี่สาวที่ต่อต้านพ่อผู้มีอำนาจเด็ดขาดในบ้าน ทำให้เรียนรู้ว่าความต้องการพื้นฐานที่จะกำหนดชีวิตตนเอง และการตีกรอบตนเอง จะทำร้ายความต้องการอื่นที่อยู่ในลำดับขั้นต่ำกว่า นั่นคือความต้องการความรักและความอบอุ่นมั่นคง

แม่ที่ไม่กล้าถกเถียงกับพ่อ สอนให้หลีกเลี่ยงทุกสิ่งที่จะกระตุ้นความโกรธของพ่อ  ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของคนอื่น และความสามารถในการปรับตัว กลายเป็นกลยุทธ์ที่ใช้แก้ปัญหา นอกจากนั้นยังมีประสบการณ์ว่า ควรต้องพึ่งพาผู้อื่น เพราะจะเป็นการตอบสนองความต้องการของพ่อแม่ ที่ต้องการดูแลและมีอำนาจควบคุม

ช้างตัวที่ 2 การไม่ได้รับการยอมรับนับถือ ความโกรธจึงมีสาเหตุมากกว่าความไม่มั่นใจ ประเด็นที่ทำให้โกรธเป็นฟืนเป็นไฟคือ ความกังวล การไม่นับถือ และทำร้ายความต้องการพื้นฐานเรื่องการเป็นที่ยอมรับนับถือ พฤติกรรมเย่อหยิ่งอวดดีของคนอื่น กระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดแบบเดิม ๆ จึงทำให้รู้สึกเหมือนเป็นเด็กโง่ที่โดนทอดทิ้ง ไม่ได้รับความสนใจ แม้แต่คำว่าขู่ว่าจะใช้อำนาจของตำรวจก็ดูไม่เป็นผล และตำรวจก็คงไม่มาด้วย เหมือนกับที่พ่อไม่เคยยืนอยู่เคียงข้างเขาตั้งแต่เมื่อก่อน ความรู้สึกโดนดูหมิ่นเหยียดหยามคือ จุดอ่อนซึ่งไม่อาจเยียวยาได้ด้วยตำแหน่งงานที่ได้รับการยอมรับนับถือ และสิ่งของยืนยันสถานะ เช่น รถคันใหญ่และบ้าน วิธีแก้ไขสถานการณ์เช่นนี้ ทำให้คุณค่าของตนเองไปยึดโยงอยู่กับการรับรองของคนอื่น ซึ่งเมื่อผิดหวังก็จะแสดงความโกรธอย่างรุนแรง

ช้างตัวที่ 3 ตีกรอบให้ตนเองไม่ได้ เมื่อกล่าวโดยภาพรวมแล้ว คิดถึงช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นโดยไม่ได้มีเรื่องให้ต้องเสียใจหรือนึกขอบคุณ มีความเข้าใจเต็มเปี่ยมในเรื่องการดูแลดีเกินความจำเป็นของแม่ แม่ก็เป็นอย่างนี้แหละ ในที่สุดแล้วเขาก็ได้ดี และพอใจกับชีวิต สังเกตเห็นช้างในตัวยุงได้ง่าย ๆ ความไม่มีความสุขของภรรยาเตือนให้เขานึกถึงการปฏิบัติตัวกันในชีวิตคู่ นั่นคือการหาข้อประนีประนอม จากความสนใจที่แตกต่างกัน ในอีกด้านหนึ่ง ความโกรธต่อเนื่องที่เล็กน้อย ก็กระทบความรู้สึกผิดเก่า ๆ และความก้าวร้าวที่เก็บกดไว้ ระหว่างทั้งคู่โต้เถียงกันรุนแรง ในการให้คำปรึกษาครั้งแรก

ช้างตัวที่ 4 โหยหาการมีคนเห็นคุณค่า และการยอมรับนับถือ การที่ต้องยอมเสียสละมากมาย เพื่อจะมีครอบครัวผูกพันมั่นคง และมีความรักเต็มเปี่ยม การพิจารณาช้างแสดงให้เห็นว่า ไม่ได้รับการยอมรับจากคนในครอบครัว ไม่มีใครเห็นคุณค่า และเข้าใจความรู้สึก แต่จะเป็นที่ยอมรับและมีคนเห็นคุณค่าเมื่อออกแรงช่วยทำงานบ้านเต็มที่ นี่เป็นกลยุทธ์การแก้ปัญหา กฎสูงสุดที่ว่าต้องทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ จะขาดความต้องการพื้นฐานอื่น ๆ เช่น ความอยากรู้อยากเห็น หรือการกำหนดชีวิตตนเอง

ช้างตัวนี้จึงเป็นกลยุทธ์แก้ปัญหาที่ไม่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่ขาดหายไปในปัจจุบัน กฎเดิม ๆ ว่าถ้าดูแลงานบ้านเป็นระเบียบ ก็จะเป็นที่ยอมรับและได้รับความอบอุ่นมั่นคงภายในบ้านใช้ไม่ได้อีกแล้ว เมื่อเกิดการระบายความโกรธทันที เนื่องจากไม่เคารพความต้องการเรื่องความเป็นระเบียบเรียบร้อย และไม่ตระหนักว่าต้องเหนื่อยกับการทำให้บ้านน่าอยู่เพียงใด เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่เรียกความรู้สึกเก่า ๆ และกลไกป้องกันตนเองที่ใช้ไม่ได้ผลขึ้นมาใหม่

กลไกดังกล่าวก็ยังทำร้ายความต้องการของคนอื่น ทั้งหมดนี้กระทบกันไปมา เพราะทั้งสองคนก็มีกลไกป้องกันตนเอง การจะทำความเข้าใจกันจึงเป็นเรื่องยาก ต่างฝ่ายต่างไม่อาจรับรู้ความต้องการพื้นฐานที่อยู่เบื้องลึกของอีกฝ่ายจึงไม่เข้าใจกัน

ช้างตัวที่ 5 การไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เมื่อเกิดมีความผิดหวังเล็กน้อย และแล้วจู่ ๆ ความยินดีที่จะได้ไปพักผ่อนในวันหยุดกับเพื่อนฝูงก็หายวับ ด้วยความเหนื่อยล้าและอารมณ์เสีย ความคิดแว๊บแรกคือ พวกเขาหาซื้อของแค่สำหรับตนเอง แสดงว่าพวกเขาไม่ต้องการให้ไปหรืออย่างน้อยก็แค่ไปด้วย

ความต้องการพื้นฐานที่ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพออีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่ม การมีคนเห็นอกเห็นใจ รวมถึงการมีคนเห็นคุณค่า และการยอมรับนับถือ ทำให้ความรู้สึกถึงคุณค่าตนเองลดลง และเกิดภาพตนเองในเชิงลบ เขาพยายามชดเชยสภาวะนี้ด้วยการแสดงความสามารถ

เมื่อใดที่รู้สึกว่าตนเองไม่เป็นที่ต้องการ ก็จะหลบออกจากความสัมพันธ์นั้น การหลีกหนีจากสังคมจึงเป็นกลยุทธ์แก้ปัญหา อีกประการหนึ่ง กลไกป้องกันตนเองเช่นนี้จะประสบความสำเร็จเฉพาะในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ในระยะยาวจะขัดขวางรูปแบบการแก้ปัญหาทางเลือกอื่น ๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ช้างตัวที่ 6 ต้องอยู่ข้างหลังเสมอ ความรู้สึกที่คนเราคุ้นเคย บางครั้งก็อยู่สั้นเกินไป และเกิดจุดอ่อนมากมายซุกซ่อนอยู่ในนั้น เช่น รู้สึกว่าไม่มีใครเห็นความสำคัญ ไม่ได้รับการยอมรับนับถือ ถูกมองข้าม ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และถูกปฏิบัติแบบไม่ยุติธรรม เป็นต้น บางครั้งสถานการณ์เดียวกันอาจมีความสำคัญ ต่อแต่ละคนไม่เหมือนกัน การรับรู้ว่าบทสรุปในใจเรื่องการให้และรับของตนเองนั้น ยังไม่สมดุลสำหรับพวกเขา

ทฤษฎีน้ำครึ่งแก้วที่รู้จักกันดี มีความหมายถึงน้ำที่พร่องไปครึ่งแก้ว โดยไม่อาจเติมน้ำอีกครึ่งแก้วให้เต็มได้ด้วยตนเอง เนื่องจากพวกเขาไม่ปรับมุมมองเรื่องภาพตนเอง และผ่อนปรนกฎเกณฑ์ที่ถูกยกระดับทางศีลธรรม ความรู้สึกไม่ได้รับความยุติธรรม ยังถูกหล่อเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง พวกเขาไม่ได้เรียนรู้ที่จะป้องกันตนเอง เนื่องจากเป็นการกระทำที่คล้ายกับหลักเกณฑ์ทางศีลธรรมของพวกตน ความขุ่นเคืองใจจึงสะสมไว้ และก่อให้เกิดแรงกดดันลึก ๆ อยู่ภายในใจเสมือนภูเขาไฟที่ระเบิดได้เสมอ และอาจเกิดขึ้นจริงเป็นระยะ โดยบ่อยครั้งสาเหตุก็มาจากเรื่องเล็กน้อย

ช้างตัวที่ 7 พึ่งใครไม่ได้เลย การเป็นคนโดดเดี่ยว อาศัยอยู่ตามลำพัง และแทบไม่ได้ติดต่อคนอื่นแม้แต่กับญาติพี่น้อง ด้วยความที่คิดว่าไม่ค่อยเป็นมิตรและไม่สนใจ โดยความโกรธเพิ่มระดับขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อนึกถึงความทรงจำเก่า ๆ ที่พี่น้องไม่ค่อยช่วยเหลือ แต่ในสภาวะของอารมณ์เช่นนี้ สิ่งที่สัมผัสไม่ได้ก็คือความโดดเดี่ยว อ้างว้าง ที่คืบคลานเข้ามา เมื่อพบกับประสบการณ์ขมขื่นมากมายจนได้ข้อสรุปว่า ถ้าไม่ต้องการใครเลยคงจะดี

แน่นอนว่าไม่มีใครที่จะมีท่าทีแบบนี้ตั้งแต่เกิด คำกล่าวนี้เป็นกลยุทธ์การจัดการอารมณ์ที่เกิดจากความเจ็บปวด เนื่องจากความต้องการพื้นฐานไม่ได้รับการตอบสนอง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการที่จะได้รับความอบอุ่น มั่นคง ความเข้าใจ ความไว้วางใจ หรือความผูกพัน ที่เต็มไปด้วยความรัก ความเชื่อมั่นว่าไม่ต้องการคนอื่น กลายเป็นกลไกป้องกันตนเอง

การขอความช่วยเหลือจากคนอื่น จะเชื่อมโยงกับความกลัวที่จะผิดหวัง หรือการถูกปฏิเสธเสมอ จึงปิดกั้นตนเองจากสังคม ทำให้หมดโอกาสแก้ไขภาพลบที่คนรอบข้างมีต่อตัวเขา จึงมีปฏิกิริยาต่อภาพคนอื่นที่สร้างขึ้นเอง ทั้งยังไม่เปิดโอกาสให้เพื่อนบ้านได้แก้ไขอคตินั้น การเข้าใจความเชื่อมโยงต่าง ๆ จะทำให้อารมณ์คงที่ขึ้น เช่นเดียวกับการที่นักพยากรณ์อากาศ คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของอากาศได้ เมื่อเขารู้จักอิทธิพลของชั้นบรรยากาศต่าง ๆ ก็จะพยากรณ์และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้ล่วงหน้า อาจรู้จักจุดอ่อนและช้างของตนเองด้วย เมื่อพิจารณาถึงความต้องการพื้นฐาน และประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับช้างด้วย โดยตอนแรกจะเป็นการค้นหาความต้องการพื้นฐาน และค้นหาว่าเติมเต็มชีวิตได้มากเพียงใด ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

บทที่ 3 การค้นหาร่องรอย

รู้จักความต้องการพื้นฐานของตนเอง

ยาประโลมจิตใจและรักษาแผลในใจหรือจุดอ่อน แสดงให้เห็นว่าพวกเขามีคุณค่า ได้รับการนับถือ ใคร ๆ ก็มองเห็น เข้าใจ และต้อนรับ การค้นหาร่องรอยจะช่วยให้รู้จักเบื้องหลังของอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อจะหาข้อสรุปให้ชีวิต รู้สึกอย่างไรกับชีวิต สิ่งใดสร้างความพึงพอใจ ช่วงเวลาใดที่มีความสุข ต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษในเรื่องใด และเรื่องนั้นตอบสนองความต้องการที่สำคัญอย่างไรบ้าง ในอีกด้านหนึ่งตรงไหนบ้างที่รู้สึกว่าไม่พร้อม สถานการณ์ใดบ้างที่หลบเลี่ยง และความสมดุลในตัวถูกกระทบจากสิ่งใด

ข้อสรุปในใจเช่นนี้จะแตกต่างไปตามสถานการณ์ อาจเป็นช่วงเวลาที่ตระหนักว่า ชีวิตได้รับการเติมเต็ม กำลังได้เลื่อนตำแหน่ง หรือเพิ่งตกหลุมรักใหม่ ๆ และได้พบข้อสรุปที่ดูเหมือนจะสวยงามเพียงชั่วคราว ทำงานหรือทำบางสิ่งได้เต็มที่ โดยสิ่งนั้นสร้างความสุข ให้ความหมายกับชีวิต หรือเป็นสิ่งที่เปิดใจให้เต็มที่ มีความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เพราะจุดอ่อนถูกกระทบ

โดยประสบการณ์แล้ว การพยายามเข้าใจความต้องการต่าง ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย จุดที่ยากยิ่งกว่าคือการตระหนักว่า ความขัดแย้งระหว่างความต้องการที่แตกต่างกัน มีอะไรได้บ้าง มีไม่กี่คนที่ระบุชัดเจนว่า เพราะเหตุใดจึงหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ให้ความสำคัญสูงสุดกับความเป็นอิสระไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น ความมั่นคงสำคัญต่อเขาเพียงใด การยอมรับนับถือในระดับใดที่สำคัญต่อเขา หรือเขาพร้อมจะจ่ายมากเพียงใด สำหรับความมั่นคงปลอดภัย

การศึกษาช้างที่ซ่อนตัวอยู่จะคุ้มค่าไหม ถ้าพึงพอใจชีวิตตอนนี้อยู่แล้ว โดยรวมไม่รู้สึกว่าต้องทำงานเกินกำลัง วางใจในอนาคต มีความสามารถและรับความเปลี่ยนแปลงได้ เพราะไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ ข้อสรุปของความต้องการต่าง ๆ แต่คงมีเพียงไม่กี่คนที่เป็นเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม การหันมองคนรอบข้าง และการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างดี ก็ช่วยให้เข้าใจความต้องการของคนอื่น ๆ นอกจากนั้นคนส่วนใหญ่ ย่อมแสดงความไม่พึงพอใจเป็นครั้งคราว และก็อยากรู้สาเหตุที่แท้จริง ที่ทำให้พวกเขาเป็นเช่นนั้น

ความรู้เรื่องความต้องการพื้นฐาน และระดับของความพึงพอใจที่ได้รับการตอบสนอง รวมถึงความสำคัญของความต้องการนั้น ๆ จะช่วยให้รู้ว่าสิ่งใดบ้างที่ต้องการจริง ๆ ในชีวิต เรื่องนี้สำคัญอย่างยิ่งสำหรับสมดุลภายในจิตใจ ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง จะทำให้เกิดความตึงเครียดตลอดเวลา กลไกป้องกันตนเองก็ก่อให้เกิดความเครียด และต้องใช้พลังงานมากเช่นกัน ความรู้เหล่านี้จะเตรียมให้พร้อมสำหรับการค้นหาช้าง ซึ่งอาจมีตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้

บทที่ 4 ค้นหาช้างของคุณ

เมื่อรู้จักความต้องการพื้นฐานของตนเอง และรู้ว่าจะพบข้อบกพร่องที่ใด คราวนี้จะเป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับช้างที่อยู่ในใจด้วย มีทางเข้าถึงช้างอยู่หลายทาง บางมุมมองอาจรู้จักอยู่แล้ว บางเรื่องเข้าใจง่าย แต่บางกรณีก็เข้าใจยาก ควรจดบันทึกไปด้วยในขณะศึกษาค้นคว้าตนเอง ในตอนแรกให้จำกัดอยู่กับประเด็นที่สำคัญก่อน และทดลองการเข้าถึงทุกอย่างที่เป็นไปได้ แล้วจะค้นหายุงและช้างตัวอื่น ๆ ได้ไม่ยากเลย

อาจต้องใช้พลังงานเล็กน้อย เพื่อจะสังเกตเห็นช้างที่ซ่อนอยู่ และทำความเข้าใจความหมายของช้างแต่ละตัว ศูนย์กลางความสนใจคือจุดอ่อนที่ถูกกระทบ แต่น่าเสียดายที่ส่วนใหญ่แล้ว จะไม่รู้ว่าตนเองต้องการอะไรอย่างเร่งด่วนที่สุด เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์รุนแรง จะเข้าถึงช้างของตนเองได้อย่างไร

ทางเข้าถึงที่ 1 ยุง เหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และชีวิตการงานที่คุ้นเคยแล้วแต่ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องจะอยู่ใกล้ชิดเพียงใด และพบเจอในบทบาทใด เพื่อจะค้นหาว่าเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบใดสร้างความไม่สบายใจให้รวดเร็วราวกดปุ่ม ขอให้สังเกตตนเอง และคนรอบตัวในชีวิตประจำวัน และจดบันทึกอย่างตรงไปตรงมา ในขั้นตอนนี้จะยังไม่ให้ความสำคัญว่า จะมีอารมณ์ความรู้สึกอะไร ไม่ว่าจะเป็นโกรธ กลัว ผิดหวัง หรือให้ เป็นต้น

พิจารณาเพียงว่า ประเมินปฏิกิริยาทางอารมณ์ของตนเองว่า มีความรุนแรงหรือคงอยู่นานเพียงใด แล้วจดบันทึกว่าสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอารมณ์รุนแรงได้เสมอ มีลักษณะร่วมอะไรบ้าง โดยอาจมีได้ลาหลาย เช่น การวิพากษ์วิจารณ์จากภายนอก ความรู้สึกว่าถูกมองข้าม การไม่ทำตามในเรื่องที่ตกลงกันไว้ การที่คนอื่นมาสั่งสอน ความขัดแย้งระหว่างความต้องการ หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ความรู้สึกว่าเสียเปรียบ

ทางเข้าถึงที่ 2 อารมณ์รุนแรง คนจำนวนมากไม่ค่อยรู้ตัวว่ามีความรู้สึกใดบ้าง ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังอารมณ์รุนแรง แม้จะมีศัพท์จำนวนมากที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ แต่ในชีวิตประจำวันก็มักใช้แค่คำควบกล้ำ เช่น ไม่ใช่อย่างที่คิด ทนเรื่องนี้ไม่ได้ นี่ทำให้อารมณ์เสีย ทำให้เจ็บ หรือกวนประสาท บางคนแทบจะไม่ใช้คำพูด เช่น กรอกตาไปมา ผงกศีรษะ นอกจากนี้ยังมีการสื่อสารอารมณ์ระหว่างบรรทัด เช่น ประโยค ดีนะที่มา

คนส่วนใหญ่ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอน หรือรู้มาก่อนว่าควรจัดการกับความรู้สึกต่าง ๆ อย่างใส่ใจ และใช้ภาษาอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะความรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจต่าง ๆ ที่เป็นตัวขัดขวาง ก่อกวน และโดนจัดให้เป็นเครื่องหมายของจุดอ่อน ไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไปที่จะแยกแยะความรู้สึกต่าง ๆ และระบุให้ชัดเจน บางทีการลำดับความรุนแรงของความรู้สึกอาจช่วยได้

ขอให้เพิ่มเติมความรู้สึกที่คุ้นเคยลงไป เวลาเผชิญสถานการณ์วิกฤต ความรู้สึกมากมายอาจค้านกันเอง ความรู้สึกเก่า ๆ อาจถูกลบด้วยความรู้สึกใหม่ ๆ และใช้เวลานานกว่าจะตระหนักรู้ นี่อาจเชื่อมโยงกับการที่ความต้องการไม่ได้รับการตอบสนองในอดีต

ทางเข้าถึงที่ 3 และ 4 จุดอ่อนและกลไกป้องกันตนเอง เมื่อทำความเข้าใจกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือนึกถึงสถานการณ์คล้ายกันที่เคยประสมมาแล้ว อาจเกิดความรู้สึกที่อธิบายได้ยาก และมีความหมายซ่อนอยู่ลึก ๆ ลองค้นหากลไกป้องกันตนเองที่เป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากสิ่งที่ทำเพื่อที่จะหลีกเลี่ยง หรือกำจัดความรู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจบ่อยครั้ง จะประสบความสำเร็จเพียงในระยะสั้น แต่เมื่อถึงระยะยาวแล้ว ส่วนใหญ่จะกลายเป็นผลเสีย

โดยปกติแล้วกลไกป้องกันตนเองจะไม่นำไปสู่การตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และทำให้สมดุลในตัวไม่มั่นคงในระยะยาว แต่บ่อยครั้งกลยุทธ์การลดความเครียดในระยะสั้นก็ช่วยได้ กลไกป้องกันตนเองจะทำให้แยกแยะได้ว่า เมื่อจุดอ่อนถูกกระทบ มีปฏิกิริยาหลบหนี หลีกเลี่ยง หรือตอบโต้ การหลีกเลี่ยงความขัดแย้งจะส่งผลกระทบโดยตรง การค้นหาเบื้องหลังอารมณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นย่อมเป็นประโยชน์ มีคนจำนวนไม่น้อยที่พยายามจะป้องกันตนเองตลอดเวลา เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะมองไม่เห็นสิ่งที่สำคัญจริง ๆ ในชีวิต

ทางเข้าถึงที่ 5 ภาพตนเองและภาพคนอื่น ทุกคนย่อมสร้างภาพตนเองและภาพคนอื่น ซึ่งอาจทำให้พอใจหรือไม่ก็ได้ สภาวะที่เป็นอยู่และสภาวะที่ควรจะเป็น อาจแตกต่างกันไม่มากก็น้อย และอาจเปลี่ยนไปตามสภาวะทางอารมณ์ เห็นแล้วว่าสภาวะทางอารมณ์นั้น ไม่เพียงจะเปลี่ยนแปลงความคิด เกี่ยวกับตัวเองและคนรอบข้าง แต่ยังพาให้รู้สึกเหมือนเป็นเด็กเล็ก ๆ ซึ่งเป็นการกระตุ้นต้นแบบเดิม ๆ หรือช้างสักตัว ภาพตนเองและภาพคนอื่น เกิดจากประสบการณ์ทั้งทางด้านบวกและด้านลบ ภาพเหล่านั้นจะยิ่งชัดเจนขึ้น หากมีผลในช่วงอายุน้อย และมีผลน้อยหากตระหนักรู้ตัว และทำความเข้าใจภาพเหล่านั้นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ได้

ในทางตรงกันข้าม หากความต้องการพื้นฐานสำคัญ ได้รับการตอบสนองอย่างสมบูรณ์นั้น ก็จะมีภาพตนเองที่เหมาะสม พัฒนาโลกรอบตนเอง รับมือกับความท้าทาย และภาระที่ทับถมมาได้ดี ส่วนคนที่ความต้องการพื้นฐานไม่ได้รับการตอบสนอง ก็มีแนวโน้มที่จะเห็นภาพปัจจุบัน อยู่ใต้เงาของประสบการณ์ในอดีตด้านลบ ภาพตนเองและภาพคนอื่นจึงสำคัญมาก เพราะเป็นภาพสะท้อนของความพึงพอใจ เมื่อความต้องการพื้นฐานต่าง ๆ ได้รับการตอบสนอง

ทางเข้าถึงที่ 6 การมองย้อนไปในเรื่องราวชีวิตที่ผ่านมา เมื่อพบคำถามเรื่องการตอบสนอง และความสำคัญของความต้องการพื้นฐานในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นแล้ว ในความทรงจำอาจจะปรากฏฉากหรือประโยคซ้ำ ๆ ของพ่อแม่หรือคนอื่น ๆ โดยมักเป็นเรื่องของความอึดอัดไม่สบายใจ ที่ขัดขวางความต้องการ การเก็บกดความรู้สึกดั้งเดิม และความรู้สึกที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในอดีต เป็นหนึ่งในกลไกป้องกันตนเอง เริ่มแรกที่สุดสิ่งสำคัญคือ ต้องเข้าใจขั้นตอนการเก็บกดความรู้สึกต่าง ๆ โดยมีสาเหตุมาจากความกลัวหรือความอาย สิ่งที่มีความหมายต่อการค้นหาร่องรอยที่เป็นเป้าหมายคือ

การค้นหาว่าตนเองต้องการอะไรจริง ๆ ในการที่สูญเสียสมดุลเพียงเพราะเรื่องที่ดูเล็กน้อย สิ่งที่รู้สึกในขณะนั้น สิ่งที่คิดรวมถึงการรู้จักจุดอ่อน ล้วนเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความต้องการพื้นฐาน ที่ไม่ได้รับการตอบสนอง โดยทั่วไปแต่ละคนจะมีระดับการยอมให้ความรู้สึกเกิดขึ้น และจะถูกแยกแยะความรู้สึกเหล่านั้นไม่เหมือนกัน บางคนไม่ใส่ใจในความรู้สึกเลย หรืออาจรำคาญด้วยซ้ำ ในขณะที่อีกหลายคนมีปฏิกิริยาหรือแสดงอารมณ์อ่อนไหว การพูดถึงความรู้สึก ซึ่งไม่ใช่หัวข้อสนทนาทั่วไปในครอบครัว พวกเด็ก ๆ จึงไม่ค่อยได้เรียนรู้เรื่องเหล่านี้

บทที่ 5 เส้นทางสู่การค้นพบสมดุลภายในใจอีกครั้ง

คงรู้สึกว่าสายพันธุ์ต่าง ๆ ของช้างที่ช่อนอยู่ในตัวนั้น ถ้าไม่เป็นภาระกดดัน ก็ทำให้ต้องทนทุกข์ ดูเหมือนช้างจะมีแต่คุณสมบัติไม่ดี แต่อย่างน้อยที่สุดพวกมันก็ทำให้รู้ว่า ตนเองมีมุมมองคับแคบจำกัด (ภาพตนเองและภาพคนอื่น) เจ็บปวด ถูกทำร้าย (ความต้องการพื้นฐานที่ไม่ได้รับการตอบสนอง) ฝังลึก (กลไกลป้องกันตนเอง) บาดแผล หรือจุดอ่อน (บางจุดเฉพาะในใจ)

ถ้ารู้จักช้างแล้ว ช้างปัจจุบันในตัวจึงไม่ใช่โครงสร้างเลือนราง แต่เป็นรูปร่างชัดเจน เมื่อเฝ้าสังเกตตนเองก็จะพบทางเข้าถึงช้าง ซึ่งช่วยอธิบายสาเหตุที่เกิดอารมณ์รุนแรงกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ จะเห็นว่าจริง ๆ แล้วช้างเป็นสัตว์ที่ฉลาดและแข็งแรง มันรู้ว่าอะไรเป็นอันตราย หรือว่าจะป้องกันตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสมอย่างไร

ดังนั้น จากที่เคยพยายามจะขับไล่ไสส่งช้าง ลองเปลี่ยนมาต้อนรับเจ้าช้างในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นเจ้าสัตว์ขนาดยักษ์ที่เป็นประโยชน์ใหญ่หลวง โดยการติดป้ายที่มีความหมายเป็นพิเศษให้กับมัน เช่น การเห็นคุณค่า การรู้สึกว่ามีความสำคัญ ความใส่ใจ การตีกรอบ และการกำหนดชีวิตด้วยตนเอง เพื่อจะสังเกตเห็นมันได้ในชีวิตประจำวัน และใส่ใจเป็นพิเศษ ยิ่งรู้จักใช้ความสามารถที่เหมาะสม จนได้รับความต้องการพื้นฐานต่าง ๆ มากขึ้นเพียงใด ก็จะมีพลังงานไว้ใช้ในสถานการณ์วิกฤต และก้าวสู่เส้นทางชีวิตด้านบวกมากเท่านั้น

ทุก ๆ ก้าวของการเปลี่ยนแปลง ต้องเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป การอยากค้นพบเป้าหมายที่สมเหตุสมผล แสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเรียนรู้ที่จะใส่ใจกับความต้องการของตนเองอย่างเพียงพอ ทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์ ที่สะท้อนความคิดและความทรงจำ รับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ หรืออย่างน้อยก็ตระหนักว่า มีความต้องการพื้นฐานอยู่

คำแนะนำ 7 ข้อสำหรับสถานการณ์วิกฤตเฉียบพลัน เมื่อจุดอ่อนถูกกระทบ นักจิตบำบัดแบร์เบล วาร์เด็ทซกี้ (Barbel Wardetzki) เขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่เป็นเหมือนกล่องประถมพยาบาลในสถานการณ์ย่ำแย่ โดยมีคำแนะนำ 7 ข้อดังต่อไปนี้

  1. 1. ควรรู้ตัวว่าเกิดอะไรขึ้นกับตนเอง และสรุปความรู้สึกเป็นถ้อยคำ เช่น เรื่องนี้ทำให้ไม่สบายใจและไม่มั่นใจในตนเอง
  2. ควรยอมรับความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ไม่จำเป็นต้องแสดงปฏิกิริยาที่มีเหตุผล และควบคุมสถานการณ์ได้ในทันที การระบายความรู้สึกโดยไม่ทำร้ายคนอื่น หรือไม่ต้องกลัวว่าใครจะรอเล่นงาน เป็นการปลดปล่อยที่ดีที่สุด
  3. ไม่ควรตั้งความท้าทายสูงเกินเอื้อมให้ตนเอง โดยมองว่าการทำเช่นนี้ แสดงถึงอำนาจในตัวหรือดูเท่
  4. หลังจากระเบิดอารมณ์ครั้งแรก และกลุ่มควันจางลงแล้ว ลองก้าวออกไปด้านข้างสักก้าว และไตร่ตรองว่าเพิ่งเกิดอะไรขึ้น ลองเดินไปเดินมา หรือเดินออกนอกห้อง นั่นคือการผละจากพื้นที่ที่มีความตึงเครียด และหลีกเลี่ยงความรุนแรงที่ไม่จำเป็น
  5. ขอให้คิดเสมอว่าอารมณ์รุนแรงที่มีสาเหตุมาจากคนอื่น เป็นเรื่องของคนสองคนเสมอ ไม่มีใครผิดอยู่ฝ่ายเดียว
  6. เอาใจใส่กับความคิดที่มุ่งหาทางแก้ปัญหา เพื่อคัดค้านความเชื่อฝังลึก ไม่ว่าจะเป็นความคิดไหนก็ตาม
  7. สื่อสารกับความรู้สึก และความต้องการต่าง ๆ ของตนเองตลอดเวลา และจดจ่อจุดแข็ง แล้วจะยอมรับนับถือตนเองมากขึ้น

การจัดสรรพลังงานให้ดีขึ้น ลงมือทำสิ่งที่จะเติมเต็มชีวิตได้จริง ๆ เกือบทุกคนตกใจเมื่อเห็นว่า พลังงานที่พวกเขาใช้ในแต่ละวัน ตอบสนองความต้องการพื้นฐานได้น้อยมาก ลองคิดถึงเอกสารที่ต้องพบในแต่ละวัน ทั้งอีเมลที่ต้องจัดการยาวเหยียด ภาระงานบริหารที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับชีวิตที่แสนปกติธรรมดา การจัดสรรเวลาเพื่อจะได้มีเวลาเหลือ สำหรับทำกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการจริง ๆ แต่ทุกคนรู้ว่าเป็นเรื่องยากเพียงใด ที่จะเปลี่ยนแปลงตารางเวลาที่เคยชิน และลดทอนภาระหน้าที่ตนเอง

เมื่อสำรวจตนเองจะทำให้ความต้องการเกิดสมดุล ไม่ต้องต่อสู้และใช้เครื่องมือผิด ๆ อีกแล้ว เนื่องจากใช้วิธีง่ายกว่า คำว่าง่ายกว่าไม่จำเป็นต้องหมายความว่า จะใช้พลังงานน้อยกว่า แต่ต้องตระหนักว่า ยิ่งสิ่งที่ทำสอดคล้องกับความสามารถ ระบบคุณค่า และความต้องการที่สำคัญมากเพียงใด ก็จะยิ่งทำให้รู้สึกสุขกายสบายใจมากเท่านั้น ความพยายามที่มุ่งสู่เป้าหมาย และประสบการณ์ความสำเร็จ จะเป็นแหล่งพลังงานเสริมในตัวได้

สภาวะที่ความต้องการไม่ได้รับการตอบสนอง จะไม่หายไปแม้ในอนาคต เพื่อจะไม่ตกไปในกระแสด้านลบอีก ควรตั้งเป้าหมายในด้านบวกอยู่เสมอ และคิดว่าจะดำเนินการอย่างไรในอนาคต เมื่อกระทำสิ่งที่มุ่งเน้นสู่เป้าหมาย และเป็นความรับผิดชอบของตนเอง จะหลีกเลี่ยงทางตัน และค้นพบสมดุลในใจอย่างรวดเร็ว จึงควรฝึกฝนวิธีต่อต้านการรบกวนของยุง ทุก ๆ ก้าวของการกระทำที่แสดงความรับผิดชอบตนเอง จะส่งเสริมตัวตนและทำให้ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองมากขึ้น ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเข้าใจตนเองและคนอื่น ตระหนักในจุดแข็งของตนเอง ทำสิ่งที่ตอบสนองความต้องการ และจัดการกับช้างลักษณะต่าง ๆ ได้อย่างดี.