Source: (Jansson, 2005)

ทฤษฎีผู้ถือหุ้น (Shareholder theory) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการบริษัทเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นการขยายมูลค่าตลาดให้มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยเรื่องของความขัดแย้งระหว่างเป้าหมายของผู้ถือหุ้นกับผู้บริหารจะเป็นสิ่งที่ถูกโฟกัสมากที่สุดในทฤษฎีนี้

อย่างไรก็ตามสำหรับทฤษฎีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder theory) จะมีขอบเขตการโฟกัสที่กว้างกว่าทฤษฎีผู้ถือหุ้น โดยเป็นการคำนึงถึงความขัดแย้งระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัททุกกลุ่ม โดยมีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักๆมีดังนี้:

  1. ผู้ถือหุ้น (Shareholders) เป็นผู้รับสินทรัพย์กลุ่มท้ายสุดหลังจากหักหนี้สินทั้งหมดไปแล้ว เป็นผู้มีสิทธิในการโหวตเลือกสมาชิกบอร์ดบริหาร และการตัดสินใจที่สำคัญต่างๆของบริษัท ความสนใจหลักของผู้ถือหุ้นคือผลกำไรและการเติบโตของบริษัท ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่

Two-tier board structure

Source: https://en.wikipedia.org/wiki/Dual_board

  1. บอร์ดบริหาร (Board of directors) มีหน้าที่วางแผนธุรกิจให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ถือหุ้น มีอำนาจในการจ้าง, ไล่ออก, และกำหนดค่าจ้างให้กับผู้จัดการอาวุโส (Senior managers) ซึ่งผู้จัดการอาวุโสนี้จะรับคำสั่งจากบอร์ดบริหาร ทั้งที่เป็นกรรมการเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการที่ไม่ได้มีหน้าที่บริหาร เช่น กรรมการอิสระ 

โครงสร้างของบอร์ดบริหาร แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ (1) บอร์ดบริหารระดับเดียว (One-tier board) ที่ทั้งกรรมการเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการที่ไม่ได้มีหน้าที่บริหารจะรวมกันเป็นคณะเดียว แต่ในบางประเทศจะมีการแยกบอร์ดบริหารเป็น (2) บอร์ดบริหารสองระดับ (Two-tier board) ที่จะแยกบอร์บริหารออกเป็น 2 คณะ ประกอบด้วย Management board ที่เป็นบอร์ดของกรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร และ Supervisory board ที่เป็นกรรมการอิสระ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่บอร์ดบริหารและดูภาพรวมของบริษัท

  1. ผู้จัดการอาวุโส (Senior managers) โดยปกติแล้วจะรับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน และอาจมีโบนัสตามผลงานและผลกำไรของบริษัท ซึ่งความสนใจหลักของผู้จัดการอาจเป็นการได้ทำงานไปเรื่อยๆและได้รับค่าจ้างที่สูง
  2. ลูกจ้าง (Employees) มีความสนใจเรื่องความมั่นคงและความสำเร็จของบริษัทเหมือนๆกับผู้จัดการอาวุโส นอกจากนี้ลูกจ้างยังสนใจเกี่ยวกับอัตราเงินเดือน, โอกาสการเติบโตในอาชีพ, การเรียนรู้งาน, และสภาวะการทำงาน
  3. ผู้ปล่อยเงินกู้ (Creditors) เป็นผู้ให้ยืมเงินทุนแก่บริษัท ประกอบด้วยผู้ถือหุ้นกู้ และธนาคารต่างๆที่ให้สินเชื่อกับบริษัท ซึ่งจะโฟกัสไปที่ความมั่นคงทางการเงินในการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นคืนตามข้อตกลง (Covenants) ที่ทำเอาไว้
  4. ซัพพลายเออร์ (Suppliers) เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบต่างๆให้กับบริษัท มีความต้องการรักษาความสัมพันธ์กับบริษัทให้ค้าขายกันไปได้นานๆ รวมถึงความคาดหวังในการเติบโตของบริษัทเพื่อที่จะสามารถเพิ่มยอดขาย และความมั่นคงด้านการเงิน เนื่องจากการขายส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อขายด้วยเครดิต (ส่งมอบของให้ก่อนแล้วจ่ายทีหลัง)

ในบทความถัดไปเราจะมาพูดเรื่องความขัดแย้งระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องบริหารความขัดแย้งเหล่านี้ให้ดี เนื่องจากจะส่งผลให้การดำเนินงานของบริษัทเกิดความผันผวน และกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง