ในปี 1958 Franco Modigliani และ Merton Miller (เรียกย่อๆว่า MM) ได้รับรางวัลโนเบลจากทฤษฎี 2 ข้อด้วยกัน (MM propositions) เกี่ยวกับมูลค่าและต้นทุนของบริษัท
MM Proposition I
ทฤษฎีแรกที่ MM เสนอขึ้นมาอธิบายว่ามูลค่าของบริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบจากสัดส่วนโครงสร้างของเงินทุน ภายใต้เงื่อนไขดังนี้:
– ตลาดทุนจะต้องเป็นตลาดที่แข่งขันอย่างสมบูรณ์ ไม่มีค่าธุรกรรม, ภาษี, และค่าใช้จ่ายสำหรับยื่นล้มละลาย
– นักลงทุนต้องมีความคาดหวังต่อกระแสเงินสดที่บริษัทจะสามารถทำได้ในทางเดียวกัน
– นักลงทุนสามารถกู้หรือให้กู้เงินได้ที่ Risk-free rate
– ไม่มีความขัดแย้งทางความสนใจระหว่างผู้บริหารและผู้ถือหุ้น
– รายได้จากการดำเนินงานของบริษัทจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับวิธีการที่บริษัทจัดหาเงินมา
สาเหตุที่มูลค่าบริษัทจะมีค่าเท่ากันกันไม่ว่าโครงสร้างเงินทุนจะเป็นแบบใดมาจากสมมติฐานว่ารายได้จากการดำเนินงาน (EBIT) ของบริษัทจะถูกกระจายไปตามสัดส่วนของเงินทุนอยู่แล้ว บริษัทที่มีโครงสร้างเป็นหุ้น 100% ก็จะได้รับกำไรไปเต็มๆ ถ้าหากบริษัทมีโครงสร้างเงินทุนทั้งหนี้และหุ้น กำไรก็จะกระจายไปเงินทุนแต่ละประเภทตามสัดส่วนของเงินทุนนั้นๆนั่นเอง
MM Proposition II
Source: Galuh Adika, Alifani & Nugroho, Anggoro. (2013). Proving Modigliani and Miller theories of capital structure: The research on Indonesia’s cigarette companies.
ในทฤษฎีของ MM ข้อแรกเป็นการพูดถึงมูลค่าของบริษัท (Firm’s value) แต่ว่าในทฤษฎีข้อที่สองนี้จะเป็นการพูดถึงค่าของทุน (Cost of capital) โดยเฉพาะต้นทุนของหุ้น (Cost of equity) ที่จะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนหนี้สินที่บริษัทใช้ เนื่องจากหากบริษัทเกิดล้มละลาย ผู้ปล่อยเงินกู้ให้บริษัทจะได้สิทธิรับเงินคืนก่อนผู้ถือหุ้น ดังนั้นยิ่งบริษัทกู้เงินเป็นจำนวนมาก ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ถือหุ้น และผู้ถือหุ้นก็จะต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามมา อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนหนี้และหุ้นของบริษัทได้ดังนี้:
จากกราฟด้านบนจะเห็นว่าเมื่อมีสัดส่วนหนี้สินสูงขึ้นทำให้ Cost of equity สูงขึ้นตาม แต่ว่า Cost of capital (WACC) และ Cost of debt ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เนื่องจากบริษัทกูเงินที่ Risk-free rate และ Cost of equity กับสัดส่วนของหุ้นมันการเพิ่มลดที่สัมพันธ์กัน ดังนั้นมูลค่าของบริษัทจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกันตามทฤษฎีข้อแรก
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: โครงสร้างเงินทุน (Part 1) บทนำ
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: โครงสร้างเงินทุน (Part 2) MM Propositions
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: โครงสร้างเงินทุน (Part 3) MM with Taxes
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: โครงสร้างเงินทุน (Part 4) Target Capital Structure
- หลักการวิเคราะห์บริษัท: โครงสร้างเงินทุน (Part 5) Stakeholder Interests