สั่งซื้อหนังสือ “ชั้นเรียนวิชาแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดในโลก” (คลิ๊ก)
สรุปหนังสือ ชั้นเรียนวิชาแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดในโลก
ทำไมต้องแก้ปัญหา ทุกคนล้วนมีเรื่องให้ต้องตัดสินใจกันทั้งนั้น ต้องเผชิญกับปัญหาที่ไม่จำเป็น ต้องแก้ไขอยู่ทุกมื้อเชื่อวัน ปัญหาแต่ละอย่างก็แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะปัญหาเล็กหรือใหญ่ก็ต้องกำหนดเป้าหมายให้ตัวเองเผชิญกับปัญหา และพยายามอย่างเต็มที่เพื่อเอาชนะปัญหาเหล่านั้นให้ได้ การแก้ไขปัญหาในชีวิตจริงนี้มีหลักการพื้นฐานอยู่ข้อ 1 ซึ่งสามารถนำไปสู่วิธีแก้ปัญหา ที่มีประสิทธิภาพและน่าพึงพอใจอยู่เสมอ นักแก้ปัญหาตัวจริงจะลงมือปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบตัวอยู่เสมอ โดยไม่ยอมอดทนกับสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ เมื่อเรียนรู้วิธีง่าย ๆ ในการรับมือกับปัญหาที่ต้องเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวันแล้ว ก็อาจเล็งเห็นว่าความฝันและความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมเลย
ชั้นเรียนที่ 1 เรียนรู้พื้นฐานของนักแก้ปัญหา
ทุกคนไม่มีวันแก่เกินจะเป็นหนูน้อยนักแก้ปัญหา หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็ก ๆ ที่ลงมือแก้ปัญหา พวกเขาต้องเผชิญกับความท้าทายที่ค่อนข้างซับซ้อน และอาจเป็นปัญหาประเภทที่ทำให้คนส่วนใหญ่ถึงกับยกมือขอยอมแพ้ แต่หนูน้อยนักแก้ปัญหาไม่เหมือนกับคนส่วนใหญ่ ในทางกลับกัน คนส่วนใหญ่สมควรจะเป็นเหมือนพวกเขามากกว่า พวกเขาอาจดูเหมือนมีความสามารถพิเศษ หรืออย่างน้อยก็มีโชคมากกว่าคนอื่น ๆ แต่ความจริงแล้วพวกเขาก็เป็นคนธรรมดา พวกเขาสามารถเรียนรู้ที่จะคิด ตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง และใช้ชีวิตแบบเชิงรุกได้
นอกจากนี้พวกเขายังสามารถเก็บเกี่ยว เครื่องมือแก้ปัญหาที่มีประโยชน์ไปด้วยระหว่างทาง การปฏิบัติตามบทเรียนต่าง ๆ ในหนังสือเล่มนี้ ก็จะทำให้กลายเป็นหนูน้อยนักแก้ปัญหาได้เช่นกัน สามารถควบคุมและปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ แทนที่จะรู้สึกว่าชีวิตของตัวเองอยู่นอกเหนือการควบคุม สามารถเรียนรู้ที่จะเพลิดเพลินไปกับปัญหาที่ท้าทาย และเอาชนะปัญหาเหล่านั้นจนสำเร็จ หนังสือเล่มนี้ขอมอบกล่องเครื่องมือ (Tool) ที่เต็มไปด้วยเทคนิคแก้ปัญหาที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ซึ่งเป็นเทคนิคแบบเดียวกับที่บุคคล และบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกเคยใช้ แก้ปัญหาจนประสบความสำเร็จ
หนูน้อยนักแก้ปัญหากับผองเพื่อน
คุณสมบัติอะไรกันแน่ ที่ทำให้ใครสักคนกลายเป็นหนูน้อยนักแก้ปัญหาได้ ก่อนอื่นมาพูดถึงคุณสมบัติของคนที่ไม่ใช่หนูน้อยนักแก้ปัญหาจะดีกว่า ทัศนคติที่ขัดขวางการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ แม้คุณสมบัติต่อไปนี้อาจดูเหมือนเป็นการล้อเลียนบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง แต่มั่นใจว่าคงคุ้นเคยกับบุคคลประเภทที่ไม่ใช่นักแก้ไขปัญหาเป็นอย่างดี ตัวอย่างของบุคคลประเภทที่ 1 คือนางสาวถอนหายใจ เป็นคนที่ยอมแพ้ทันทีเมื่อเจอกับปัญหาท้าทาย แม้กระทั่งปัญหาเล็กที่สุดก็ยังไม่ยอมสู้ เธอเอาแต่ถอนหายใจพร้อมพูดว่า ฉันไม่มีทางเลือกหรอก
บางครั้งเธออาจมีแนวคิดยอดเยี่ยม หรือสังเกตเห็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ แต่เธอก็หวาดกลัวความล้มเหลว และกลัวว่าจะถูกคนอื่นหัวเราะเยาะ จึงได้แต่นั่งเฉย ๆ และรู้สึกสมเพชตัวเอง นางสาวถอนหายใจไม่สามารถควบคุมชีวิตของตนเองได้ เธอรู้สึกเหมือนไม่มีใครเข้าใจ และกล่าวโทษคนอื่น ว่าเป็นต้นเหตุของเรื่องเลวร้ายทุกอย่างที่เกิดขึ้น
คนที่สองนายวิจารณ์ ไม่เคยกลัวที่จะแสดงความคิดเห็นออกมา เขาเป็นนักวิพากษ์วิจารณ์มืออาชีพ ไม่ว่าแผนการจะเป็นอย่างไร ก็พร้อมที่จะชี้ให้เห็นข้อบกพร่อง และขัดขวางความคิดของคนอื่นเสมอ อาจมีเรื่องให้พูดมากมายเกี่ยวกับความผิดพลาดของคนอื่น แต่ไม่เคยพูดถึงความผิดพลาดของตัวเองเลย การวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องง่าย การลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จต่างหากที่เป็นเรื่องท้าทาย นายวิจารณ์อาจไม่รู้ตัวว่า คำวิจารณ์ของเขาได้รับการชื่นชมเพียงน้อยนิด จากคนที่ลงมือทำงานจริง ๆ ส่วนประสบความสำเร็จ หรือไม่เขาก็อาจรู้สึกกลัวเกินกว่าจะรับผิดชอบ และเผชิญกับความผิดพลาดของตัวเอง
คนที่สามนางสาวเพ้อฝัน เป็นคนประเภทที่จมจ่อมอยู่กับจินตนาการ ชอบสร้างสรรค์แนวคิดแปลกใหม่เสมอ แต่ไม่ค่อยขยับไปไกลกว่านั้นเท่าไหร่ ไม่เคยวุ่นวายหาคำตอบว่าจะเปลี่ยนแปลงความคิดของตัวเองไปเป็นแผนการปฏิบัติได้อย่างไร เธอพอใจที่จะครุ่นคิดถึงความใฝ่ฝันอันเลิศเลอเพียงอย่างเดียว ความใฝ่ฝันเหล่านั้นก็มักจะดูดีกว่าในโลกแห่งความเป็นจริงมากนัก
คนที่สี่นายทะเยอทะยาน อาจไม่มีท่าทางที่เหมือนคนที่แก้ปัญหาไม่เป็นเท่าไหร่ ไม่ใช่คนประเภทที่รู้สึกกังวลกับปัญหา หรือชอบคิดไปในทางลบ เพราะมีบางอย่างผิดพลาดก็ลงมือแก้ไขอย่างรวดเร็ว ความหนักแน่นและความมั่นใจของนายทะเยอทะยาน เป็นคุณสมบัติในแง่ดีอย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ตาม ถ้ารู้จักหยุดและไตร่ตรองสักครู่ก่อนจะด่วนลงมือทำ อาจประสบความสำเร็จมากกว่าเดิมอย่างมหาศาลก็ได้
คุณคือหนึ่งในคนเหล่านี้หรือเปล่า หนูน้อยนักแก้ปัญหามีความสามารถอย่างแท้จริงในการกำหนดเป้าหมาย และทำสิ่งต่าง ๆ จนสำเร็จ พวกเขาเอาชนะปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย รู้จักพิจารณาต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหา และวางแผนการที่มีประสิทธิภาพ ทั้งก่อนและระหว่างลงมือปฏิบัติ พร้อมทั้งยินดีปรับเปลี่ยนแผนการ เมื่อเกิดปัญหาท้าทายใหม่ ๆ ขึ้นมา เมื่อรักษาสมดุลระหว่างการคิดและการลงมือทำได้ พวกเขาก็สามารถทำสิ่งที่น่าทึ่งให้สำเร็จได้
หนูน้อยนักแก้ปัญหาจะรู้สึกเพลิดเพลินไปกับการเรียนรู้จากความสำเร็จมาก ๆ พอกับความล้มเหลว พวกเขามีทัศนคติเชิงบวก และมุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ มากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว พวกเขาคิดค้นแผนการปฏิบัติขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา จากนั้นก็ลงมือทำทันที เมื่อลงมือทำไปแล้ว พวกเขาจะหมั่นตรวจสอบความคืบหน้าของตัวเองอย่างต่อเนื่อง การแก้ปัญหาไม่ใช่ความสามารถที่ใครบางคนมีและบางคนไม่มี แต่มันเป็นเรื่องของนิสัยต่างหาก เมื่อพัฒนาทักษะที่เหมาะสม และปรับใช้ทัศนคติที่ถูกต้องแล้ว ใคร ๆ ก็สามารถเป็นหนูน้อยนักแก้ปัญหาได้ทั้งนั้น
หนูน้อยนักแก้ปัญหามีพัฒนาการรวดเร็วจนน่าอัศจรรย์ หนูน้อยนักแก้ปัญหาไม่ใช่แค่บรรลุเป้าหมายเร็วเท่านั้น แต่ยังมีพัฒนาการรวดเร็วอีกด้วย พวกเขาตรวจสอบผลกระทบจากการลงมือปฏิบัติของตัวเอง และพยายามเรียนรู้จากความสำเร็จมากพอ ๆ กับความล้มเหลว ถ้าไม่เคยลงมือปฏิบัติก็น่าจะไม่มีวันได้รับข้อมูลป้อนกลับ เมื่อไม่ได้รับข้อมูลป้อนกลับก็จะไม่มีวันเติบโตจนกลายเป็นหนูน้อยนักแก้ปัญหาได้ ทุก ๆ ผลลัพธ์ที่ออกมาล้วนเป็นโอกาสที่จะได้ทบทวนและเรียนรู้บทเรียนอันมีค่า แม้สิ่งที่ได้รับจากการทบทวนอาจดูเหมือนน้อยมาก ๆ แต่การปรับปรุงเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ สามารถรวมตัวกันจนก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงในระยะยาวได้
การแก้ไขปัญหาคืออะไร
การแก้ไขปัญหาคือ กระบวนการที่สามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่
- เข้าใจสถานการณ์
- ระบุสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
- สร้างแผนการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ
- ลงมือปฏิบัติและปรับเปลี่ยนแนวทางจนสามารถแก้ปัญหาได้
การแก้ไขปัญหาเป็นส่วนผสมระหว่างการคิดกับการปฏิบัติ การเลือกทำอย่างไรอย่างหนึ่งไม่มีทางทำให้ก้าวหน้าไปถึงไหนต่อได้ วิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับแต่ละคน ก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วย นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องตั้งคำถามว่า ทำไมและอย่างไรอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างแผนการปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจงขึ้นมา การแก้ไขปัญหาไม่ใช่เรื่องซับซ้อน แม้ปัญหาที่เผชิญจะใหญ่โตและซับซ้อน เพียงเรียนรู้ที่จะซอยปัญหาให้เล็กสู่ระดับที่สามารถจัดการได้ ก็จะคลี่คลายมันได้สำเร็จในที่สุด เมื่อเรียนรู้แนวทางพื้นฐานในการแก้ปัญหาแล้ว ก็จะเลิกตื่นตระหนกและมีความมั่นใจมากขึ้น ที่จะแก้ปัญหาทุกอย่างในชีวิต แม้ว่าจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการเรียน การงาน หรือชีวิตส่วนตัวก็ตาม
ภาพผังต้นไม้แห่งเหตุผล
เครื่องมือ ผังต้นไม้แห่งเหตุผล ช่วยในการระบุสาเหตุของปัญหาและแตกยอดไอเดียการแก้ปัญหา ผังต้นไม้แห่งเหตุผล (Logic Tree) เป็นเครื่องมืออันยอดเยี่ยมที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา เป็นเครื่องมือแสดงภาพที่ช่วยให้สามารถระบุ สาเหตุทั้งหมดที่อาจเป็นไปได้ของปัญหา และช่วยกระตุ้นให้เกิดวิธีแก้ปัญหาตามมามากมาย หัวใจสำคัญของการสร้างแผนผังต้นไม้แห่งเหตุผลคือ เพื่อแบ่งแยกปัญหาออกเป็นหมวดหมู่ โดยไม่มีสิ่งใดตกหล่นไป จากนั้นก็จัดหัวข้อที่เหมือนกันไว้ในกิ่งก้านสาขาเดียวกันไว้
หัวข้อใหญ่ไว้ทางซ้าย แล้วค่อยขยับไปเขียนหัวข้อที่เล็กลงมาทางขวา และจำกัดวงแคบลง จากนั้นก็จัดให้หัวข้อที่คล้ายคลึงกันอยู่ด้วยกัน ขั้นตอนต่อไปคือการแตกกิ่งก้านสาขามากขึ้น เริ่มต้นจากฝั่งขวาในแต่ละกลุ่มหัวข้อ ให้ถามตัวเองว่าจะเขียนกลุ่มนี้โดยรวมว่าอะไรดี จากนั้นก็ให้วาดกิ่งก้านไปทางซ้ายและเขียนชื่อกลุ่มนั้น อาจต้องใช้เวลาสักหน่อยกว่าจะเข้าใจเคล็ดลับในการสร้างผังต้นไม้แห่งเหตุผล แต่พอเชี่ยวชาญแล้ววิธีนี้ก็จะช่วยให้คิดนอกกรอบ และส่งผลให้คิดค้นวิธีแก้ปัญหาแบบใหม่ และมีประสิทธิภาพได้
ชั้นเรียนที่ 2 ค้นหาสาเหตุของปัญหา และคิดค้นวิธีแก้ปัญหา
ชีวิตเต็มไปด้วยปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทุกคนล้วนต้องเผชิญกับอุปสรรคขณะพยายามบรรลุเป้าหมายและความฝันของตัวเอง แม้กระทั่งปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องเหลือบ่ากว่าแรงได้เช่นกัน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าควรล้มเลิกความพยายาม ความจริงแล้วควรจะถอยออกมา แล้วค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา จากนั้นก็คิดค้นวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นให้ได้ ยิ่งเข้าใจและระบุสาเหตุที่แท้จริงได้ชัดเจนเท่าไหร่ ก็จะยิ่งคิดค้นวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพได้ดีขึ้นเท่านั้น มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ค้นหาสาเหตุของปัญหา
1.1 ระบุสาเหตุของปัญหาที่น่าจะเป็นไปได้ทั้งหมด
1.2 ตั้งสมมติฐานของสาเหตุที่น่าจะเป็นไปได้
1.3 กำหนดการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อทดสอบสมมติฐาน
1.4 วิเคราะห์และระบุสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
ขั้นตอนที่ 2 คิดค้นวิธีแก้ปัญหา
2.1 คิดวิธีแก้ปัญหาหลากหลายรูปแบบเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
2.2 จัดลำดับความสำคัญของการปฏิบัติ
2.3 สร้างแผนการปฏิบัติขึ้นมา
ช่วยคิโนโกะ เลิฟเวอร์ส
เมื่อ 3 ปีที่แล้วคิโนโกะกับเพื่อนอีก 2 คนคือนะสึบิและฮัมเปงได้ร่วมการก่อตั้งวงดนตรีร็อคขึ้นมา ภายใต้ชื่อคิโนโกะ เลิฟเวอร์ส 3 เดือนผ่านไปวงคิโนโกะ เลิฟเวอร์สเล่นคอนเสิร์ตไปแล้ว 3 ครั้ง มีผู้ชมแค่ 15 คนเองพวกเขาจะต้องหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาเรื่องผู้ชมและทำให้มีผู้ชมเต็มลงยิงในคอนเสิร์ตคราวหน้าให้ได้
ขั้นตอนที่ 1 ค้นหาสาเหตุของปัญหา
1.1 ระบุสาเหตุของปัญหาที่น่าจะเป็นไปได้ทั้งหมด
มีคนมาชมคอนเสิร์ตวงคิโนโกะ เลิฟเวอร์สน้อยมาก ทางวงจึงต้องการหาคำตอบว่าเหตุผลใดถึงเป็นเช่นนั้น และจะทำอะไรเพื่อแก้ไขปัญหานี้ได้บ้าง เริ่มต้นที่คำถามว่าทำไมกันก่อนดีกว่า นั่นคือทำไมคนถึงไม่มาชมคอนเสิร์ต เหตุผลคืออะไร กลายเป็นว่ามีเหตุผลที่เป็นไปได้อยู่หลายข้อด้วยกันไม่ใช่แค่ข้อเดียวเท่านั้น
บางคนอาจไม่รู้ตั้งแต่แรกด้วยซ้ำว่ามีการแสดงคอนเสิร์ต
คนอื่น ๆ อาจรู้คอนเสิร์ตอยู่แล้วแต่ไม่อยากมาชม หรือมีเหตุผลอื่นที่ทำให้มาชมไม่ได้
หรือคนที่เหลืออาจเคยมาชมคอนเสิร์ตแล้ว แต่ไม่ได้มาอีกในครั้งต่อ ๆ ไป
ถ้าต้องการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาเรื่องผู้ชม พวกเขาก็ต้องหาคำตอบว่า มีคนอยู่จำนวนเท่าไหร่ จากนั้นก็ต้องพิจารณาคำถามต่อไปนี้ ทำไมบางคนถึงไม่รู้เรื่องคอนเสิร์ต ทำไมบางคนถึงไม่มาชมคอนเสิร์ตทั้งที่รู้ว่ามีคอนเสิร์ต ทำไมบางคนถึงเลิกมาชมคอนเสิร์ต
1.2 ตั้งสมมติฐานของสาเหตุที่น่าจะเป็นไปได้
สมมติฐานคือการคาดคะเนล่วงหน้าอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่คิดว่าเป็นคำอธิบายของปัญหาที่น่าจะเข้าเค้ามากที่สุด แต่ยังไม่ได้พิสูจน์เพื่อยืนยันการคาดคะเนนี้ เมื่อกำหนดสมมติฐาน และคิดไตร่ตรองถึงเหตุผลที่รองรับสมมติฐานแล้ว ก็จะสามารถตรวจสอบได้ว่า สมมติฐานนั้นถูกต้องหรือไม่ จากนั้นก็จะตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาด และนำไปสู่วิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลนี้พวกเขาจึงตั้งสมมติฐานว่า ปัญหาใหญ่สุดคือการรับรู้ ถ้าสมมติฐานนี้ถูกต้อง พวกเขาก็จะพุ่งเป้าหาทางเพิ่มการรับรู้ของคนอื่นให้มากขึ้น
1.3 กำหนดการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อทดสอบสมมติฐาน
พวกเขาจำเป็นต้องลงมือค้นคว้าข้อมูลบางอย่างเสียก่อน ตอนนี้เองก็เป็นขั้นตอนรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในกระบวนการแก้ปัญหาเริ่มเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ได้รวบรวมข้อมูลมาเพื่อให้ได้ชื่อว่ารวบรวมมาแล้ว หรือวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น แต่ทำสิ่งเหล่านี้เพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น
ภาพแบบแปลนแก้ปัญหา
เครื่องมือแบบแปลนแก้ปัญหา ทำให้รู้ชัดว่าจำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลอะไรบ้าง ถ้าเริ่มต้นรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยไม่ได้ทำให้ประเด็นคำถาม ที่กำลังพยายามหาคำตอบกระจ่างแจ้งเสียก่อน ก็อาจจะลงเอยด้วยการจมอยู่กับข้อมูล ที่ประเดประดังกันเข้ามา และรู้ตัวในภายหลังว่าการรวบรวมข้อมูลส่วนใหญ่ เป็นเรื่องเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
หลีกเลี่ยงปัญหานี้ด้วยการสร้างแบบแปลนแก้ปัญหา (Problem-Solving Design Plan) ขึ้นมาก่อนที่จะเริ่มรวบรวมข้อมูล แบบแปลนแก้ปัญหาจะช่วยให้เข้าใจประเด็นปัญหา ที่กำลังพยายามแก้ไขอย่างกระจ่างแจ้ง ระบุสมมติฐานและเหตุผลรองรับในปัจจุบัน จากนั้นก็เขียนการวิเคราะห์ การลงมือปฏิบัติ และข้อมูลที่จำเป็น เพื่อพิสูจน์ว่าสมมติฐานนั้นถูกต้องหรือไม่ การสร้างแบบแปลนขึ้นมา ก่อนลงมือรวบรวมข้อมูล จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมหาศาล
1.4 วิเคราะห์และระบุสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
ตอนแรกคิดว่าเหตุผลหลักที่คนไม่มาชมคอนเสิร์ตเพราะว่า พวกเขาไม่รู้ว่ามีคอนเสิร์ตแถมยังคิดว่า ถ้าพวกเขารู้แล้วจะมีคนมาชมคอนเสิร์ตประมาณ 60% แต่พอพิจารณาข้อมูลดูแล้ว กลับพบว่าคนจำนวน 30% รู้เรื่องคอนเสิร์ตอยู่แล้วไม่ใช่ 5% อย่างที่คิดไว้แต่แรก คงเห็นแล้วว่าผลการวิเคราะห์มักจะขัดแย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้แต่แรก จะเกิดอะไรขึ้นถ้าลงมือปฏิบัติตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แต่แรก โดยไม่ตรวจสอบเสียก่อนว่า สมมติฐานดังกล่าวถูกต้องหรือไม่
ขั้นตอนที่ 2 คิดค้นวิธีแก้ปัญหา
2.1 คิดวิธีแก้ปัญหาหลากหลายรูปแบบเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
การสัมภาษณ์และการวิเคราะห์ทำให้พวกเขารู้ว่า การกระจายข่าวให้ผู้คนรู้เรื่องควรเสริมเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอ พวกเขาต้องทำให้คนเหล่านั้นอยากมาชมคอนเสิร์ตด้วย พวกเขาเขียนผังต้นไม้แห่งเหตุผลขึ้นมา เพื่อช่วยหาวิธีอื่น ๆ ในการกระจายข่าว เมื่อเขียนแนวคิดทั้งหมดที่นึกออกแล้ว ก็ทำเครื่องหมายเน้นไปที่เครื่องมือสื่อสารที่น่าสนใจ และมีแววว่าน่าจะเป็นไปได้บนผังต้นไม้แห่งเหตุผล และพูดคุยกันอย่างจริงจังว่า จะใช้เครื่องมือเหล่านั้นดึงดูดผู้คนเข้ามาชมคอนเสิร์ตได้มากที่สุดอย่างไร
ขณะที่พิจารณาทางเลือกต่าง ๆ ก็จำใส่ใจว่าไม่ได้แค่อยากเพิ่มการรับรู้เท่านั้น แต่ยังต้องทำให้ผู้คนอยากมาชมคอนเสิร์ตด้วย เมื่อจดจ่ออยู่กับเป้าหมายทั้งสองนี้ นั่นหมายความว่ากำลังใช้ประโยชน์จากความรู้ที่ได้มาจากกระบวนการวิเคราะห์ ถ้าเพิกเฉยต่อข้อมูลทั้งหมดที่ได้มา การทำงานที่ผ่านมาทั้งหมดก็จะสูญเปล่า เมื่อต้องลงมือทำโดยที่มีเวลาและเงินอยู่อย่างจำกัด จึงตัดสินใจจัดลำดับความสำคัญของแนวคิดต่าง ๆ เพื่อลงความเห็นว่าแนวคิดไหนที่สมควรสานต่อจริง ๆ
2.2 จะลำดับความสำคัญของการปฏิบัติ
หากจัดลำดับความสำคัญของการปฏิบัติ โดยพวกเขาจะตัดสินใจที่จะชั่งน้ำหนัก จากผลกระทบและความยากง่ายในการนำไปปฏิบัติ ต้องสร้างตารางสี่ช่องขึ้นมา โดยให้แกนตั้งเป็นผลกระทบจากต่ำไปสูง ส่วนแกนนอนเป็นความยากง่าย จากยากไปหาง่าย วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดจะอยู่ในช่องทางขวาบน ซึ่งหมายถึงมีผลกระทบสูง และนำไปปฏิบัติได้ง่าย ส่วนวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดจะอยู่ในช่องซ้ายล่าง ซึ่งหมายถึงผลกระทบต่ำและนำไปปฏิบัติได้ยาก
2.3 สร้างแผนการปฏิบัติขึ้นมา
จัดลำดับความสำคัญภายใต้ความคิดที่ว่า น่าจะลงมือทำทุกอย่างด้วยตัวเอง แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าขอความช่วยเหลือจากคนอื่น แล้วก็สามารถปฏิบัติตามแนวคิดทั้งหมดได้ เพราะคนเรามีจุดแข็งแตกต่างกันไป ทุกคนสามารถทำงานให้สำเร็จลุล่วงมากขึ้นได้ ด้วยการร่วมมือกับคนที่มีจุดแข็งแบบที่ไม่มี
คอนเสิร์ตครั้งต่อไปของวงคิโนโกะ เลิฟเวอร์ส เวลา 1 เดือนผ่านไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งถึงเวลาเล่นคอนเสิร์ตครั้งต่อไป สมาชิกวงคิโนโกะ เลิฟเวอร์สมีท่าทางกระวนกระวายอยู่ภายในโรงยิมอันมืดมิด แล้วจู่ ๆ ทั้งโรงยิมก็ดังอื้ออึ้งไปด้วยเสียงปรบมือ และเสียงโห่ร้องยกใหญ่ เสียงดังดังสนั่นหวั่นไหวจนโรงยิมสั่นสะเทือน ความพยายามสัมฤทธิ์ผลแล้ว มีคนมาชมคอนเสิร์ตครั้งนี้ถึง 200 คน
คอนเสิร์ตครั้งที่ 4 ของวงคิโนโกะ เลิฟเวอร์สประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เมื่อพวกเขาเพิ่มการรับรู้เป็น 90% และทำให้คนอื่นที่รู้เรื่องคอนเสิร์ตมาชมการแสดงมากถึง 50% ได้แล้ว พวกเขาก็สามารถดึงดูดคนมาชมการแสดงได้มากกว่า 200 คน ยิ่งไปกว่านั้น 90% ของคนกลุ่มนี้ ยังตั้งใจจะมาชมคอนเสิร์ตในคราวหน้าอีกด้วย
ชั้นเรียนที่ 3 กำหนดเป้าหมายและวิธีที่นำพาไปสู่ความสำเร็จ
ซอยความฝันอันยิ่งใหญ่ให้เป็นเป้าหมายที่เล็กลง หนูน้อยนักแก้ปัญหาไม่ได้มีแค่ความฝันอันยิ่งใหญ่เท่านั้น แต่พวกเขายังพยายามทำให้เป็นจริง ด้วยการซอยให้เป็นเป้าหมายที่มีขนาดเล็กลง จากนั้นก็ถามตัวเองว่าควรจะทำอะไรในปีนี้ ใน 3 เดือนข้างหน้า หรือในวันนี้ เป้าหมายเหล่านั้นจะเป็นเครื่องนำทาง ให้หนูน้อยนักแก้ปัญหาก้าวไปถึงฝั่งฝัน และช่วยให้พวกเขามีแรงจูงใจอยู่เสมอ เมื่อพวกเขากำหนดแผนการเพื่อทำความฝันให้กลายเป็นจริงแล้ว พวกเขาก็จะค้นหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด ในการบรรลุเป้าหมายย่อย ๆ เหล่านั้น แล้วลงมือปฏิบัติตามที่จำเป็นในชั้นเรียนนี้
ไปติดตามว่าทาโร่นักออกแบบโปสเตอร์ จะทำความฝันของตัวเองให้เป็นจริงได้อย่างไร ทาโร่ใฝ่ฝันอยากไปฮอลลีวูด เขาอยากเป็นแอนิเมเตอร์และผู้กำกับภาพยนตร์ ที่ทำงานด้วยการสร้างภาพจำลองจากคอมพิวเตอร์หรือซีจีไอ
แต่เป้าหมายแรกของเขาในตอนนี้คือ การซื้อคอมพิวเตอร์สักเครื่องไว้เรียนรู้ และฝึกสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยซีจีไอ หนูน้อยนักแก้ปัญหามีกระบวนการสำหรับค้นหาว่าจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร ซึ่งผ่านการพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผล
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
ขั้นตอนที่ 2 ระบุช่องว่างระหว่างเป้าหมายกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ขั้นตอนที่ 3 ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับวิธีเติมเต็มช่องว่างและบรรลุเป้าหมาย
3.1 เขียนทางเลือกและแนวคิดออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
3.2 เรื่องแนวคิดที่ดีที่สุดมาเป็นสมมติฐาน
ขั้นตอนที่ 4 ทดสอบสมมติฐานถ้าสมมุติฐานถูกหักล้าง ให้ย้อนกลับไปขั้นตอนที่ 3
4.1 กำหนดการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการทดสอบสมมติฐาน
4.2 วิเคราะห์และสร้างแผนการปฏิบัติ
ความฝันอันยิ่งใหญ่และเป้าหมายแรกของทาโร่
ทาโร่กับเพื่อนชื่อมาซามิไปดูหนังที่ใช้ซีจีไอ เขาชอบหนังเรื่องนี้มาก ภาพเคลื่อนไหวในเรื่องทำได้อย่างยอดเยี่ยม ตัวละครก็ดูสมจริงอย่างมาก จนเขาแทบจะสาบานได้เลยว่าพวกมันมีชีวิตจริง ๆ จึงใฝ่ฝันอยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ที่ใช้ภาพจำลองจากคอมพิวเตอร์ในวงการฮอลลีวูด แต่มีปัญหาอยู่เรื่องหนึ่ง ทาโร่ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการสร้างภาพจำลองจากคอมพิวเตอร์เลย อันที่จริงแล้วเขายังไม่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเองด้วยซ้ำ แต่ก่อนอื่นจึงต้องหาทางซื้อคอมพิวเตอร์เสียก่อน ตอนนี้รู้แล้วว่าต้องคิดแผนการดี ๆ ให้ได้
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
ขั้นตอนแรกของทาโร่คือการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน สิ่งสำคัญคือต้องเขียนเป้าหมายให้เฉพาะเจาะจง
ตัวอย่างที่ดี “ฉันอยากได้คอมพิวเตอร์มือสองของซากุระราคา 60,000 เยนภายใน 6 เดือน โดยไม่ต้องขอยืมเงินจากคนอื่น”
มีการระบุรายละเอียดเหล่านี้ไว้อย่างชัดเจน
ฉันอยากได้อะไร = คอมพิวเตอร์มือสองของซากุระราคา 60,000 เยน
ฉันอยากได้เมื่อไหร่ = ภายใน 6 เดือน
ฉันอยากได้มาด้วยวิธีการใด = ซื้อโดยไม่ต้องขอยืมเงินจากคนอื่น
ยิ่งเป้าหมายมีความเฉพาะเจาะจงมากเท่าไหร่ แผนการปฏิบัติก็จะยิ่งมีความเฉพาะจงมากขึ้นเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่กำหนดเป้าหมายขึ้นมา ต้องฝึกตั้งคำถามกับตัวเองจนเป็นนิสัยว่า อยากบรรลุเป้าหมายอะไร อยากบรรลุเป้าหมายนั้นเมื่อไหร่ มีเงื่อนไขอะไรบ้างไหม
ขั้นตอนที่ 2 ระบุช่องว่างระหว่างเป้าหมายกับสถานการณ์ปัจจุบัน
เมื่อกำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจนแล้ว ก็ต้องระบุช่องว่างระหว่างเป้าหมายกับสถานการณ์ปัจจุบันด้วย ถ้าช่องว่างนั้นมีขนาดเล็ก ก็อาจจะเล็งเห็นวิธีแก้ปัญหาได้ชัดเจนมาก แต่ถ้าช่องว่างนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็อาจจะต้องคิดไตร่ตรองหาวิธีบรรลุเป้าหมายอย่างจริงจัง
ขั้นตอนที่ 3 ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับวิธีเติมเต็มช่องว่างและบรรลุเป้าหมาย
3.1 เขียนทางเลือกและแนวคิดออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
รู้แล้วว่าตัวเองต้องทำอะไรสักอย่างเป็นพิเศษ เพื่อเติมเต็มช่องว่างนั้น แต่คำถามก็คือ ควรจะทำอะไรดี ลองใช้เวลาเขียนแนวคิดออกมา พยายามเขียนให้เฉพาะเจาะจงที่สุดเท่าที่จะทำได้ สามารถเขียนแนวคิดออกมาได้หลากหลายหรือเปล่า บางครั้งการคิดแหวกแนวออกไปจากเดิม ให้ได้ความคิดที่สร้างสรรค์ ก็เป็นเรื่องยากเหมือนกัน ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย บางคนอาจล้มเลิกความหวังตรงจุดนี้ และตัดสินใจว่าการหาเงินเพิ่มไม่มีทางเป็นไปได้แน่ ๆ
การอาศัยผังต้นไม้แห่งเหตุผล สามารถสรรหาแนวคิดที่เจาะจงได้มากมาย ถ้าอยากขยายแผนผังไปในแนวดิ่ง ต้องหมั่นถามตัวเองซ้ำ ๆ ว่ามีวิธีแก้ไขปัญหาแบบอื่น ๆ อีกหรือเปล่า นอกจากนี้ยังสามารถขยายแผนผังไปในแนวนอนได้ ด้วยการตั้งคำถามว่ามีอะไรที่จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้บ้าง เมื่อทำเช่นนี้จะสร้างแนวคิดต่าง ๆ ขึ้นมาได้มากมายเลยทีเดียว
3.2 เลือกแนวคิดที่ดีที่สุดมาเป็นสมมติฐาน
เมื่อสร้างผังต้นไม้แห่งเหตุผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เริ่มมองหาแนวคิดที่ดีที่สุดมาตั้งเป็นสมมติฐาน เพื่อดูว่าจะเติมเต็มช่องว่างได้อย่างไร ถ้าแนวคิดใดไม่มีประสิทธิภาพ นำไปปฏิบัติได้ยากอย่างชัดเจน หรือขัดแย้งกับค่านิยม ก็สามารถตัดกิ่งก้านสาขาเหล่านั้นทิ้งไป จากแผนผังต้นไม้แห่งเหตุผลได้อย่างชัดเจน โดยระบุถึงสมมติฐานหลัก รวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ (อย่างไร) ซึ่งเป็นรากฐานที่สนับสนุนสมมติฐาน เพราะยังไม่รู้ว่าความเป็นจริงหรือไม่ แต่พอกำหนดสมมติฐานและเหตุผลรองรับที่ชัดเจนแล้ว ก็จะสามารถรวบรวมข้อมูลและลงมือวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นก็จะมองออกถ้าสมมติฐานดังกล่าวเป็นความจริง
เครื่องมือพีระมิดสมมุติฐาน
จัดระเบียบความคิดและทำโครงสร้างเหตุผล พีระมิดสมมติฐาน (Hypothesis Pyramid) เป็นสุดยอดเครื่องมือสำหรับจัดวางโครงสร้างเหตุผล การใช้พีระมิดสมมติฐานเพื่อทำให้ข้อสรุปและเหตุผลรองรับทั้งหลายมีความกระจ่างแจ้ง ก่อนลงมือรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลนั้น จะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้พีระมิดสมมติฐาน ยังมีประโยชน์ในการสร้างสื่อสารสมมุติฐานไปยังคนอื่น ๆ อีกด้วย
ภาพพีระมิดสมมติฐาน
โครงสร้างพื้นฐานของพีระมิดจะจัดวางข้อสรุป หรือเนื้อหาหลักไว้บนยอด จากนั้นจึงเขียนสรุปเหตุผลรองรับต่าง ๆ ไว้ด้านล่าง เหมือนกับก้อนอิฐที่คอยค้ำจุนพีระมิดเอาไว้ ก้อนอิฐที่เป็นฐานพีระมิด อาจเป็นคำตอบของคำถามเกี่ยวกับยอดพีระมิด ทั้งที่ถามว่าทำไม อย่างไร และอะไร
ขั้นตอนที่ 4 ทดสอบสมมติฐาน
4.1 กำหนดการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการทดสอบสมมติฐาน
เมื่อตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับวิธีบรรลุเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การค้นหาวิธีการวิเคราะห์และข้อมูลที่จำเป็นในการทดสอบสมมติฐาน ใช้แบบแปลนแก้ปัญหามาทำให้ปัญหาสมมติฐาน และเหตุผลรองรับต่าง ๆ รวมถึงการวิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นมีความกระจ่างชัด
4.2 วิเคราะห์และสร้างแผนการปฏิบัติ
ขั้นตอนต่อไปคือ การวิเคราะห์
การวิเคราะห์ที่ 1 จะลดค่าใช้จ่ายของตัวเองได้เท่าไหร่
เริ่มต้นด้วยการพยายามนึก และเขียนรายการสิ่งของทั้งหมดที่ซื้อมาในช่วง 3 เดือนหลังสุด เมื่อใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างแม่นยำเช่นนี้ ก็จะสามารถสรุปข้อมูลค่าใช้จ่ายในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาได้
การวิเคราะห์ที่ 2 จะหาเงินจากการขายทรัพย์สินที่ไม่จำเป็นได้อย่างไร
การวิเคราะห์ที่ 3 จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่าไหร่จากการเปลี่ยนงาน
ขั้นตอนที่สำคัญที่สุด การลงมือปฏิบัติ
เมื่อมีแผนการอันยอดเยี่ยม เพื่อบรรลุเป้าหมายแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับสมการต่อไปนี้
ผลกระทบ = ประสิทธิภาพของแผนการ x คุณภาพการลงมือปฏิบัติ
ถ้าอยากประสบความสำเร็จให้มากที่สุด ก็ต้องอาศัยแผนการที่มีประสิทธิภาพ และการลงมือปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ จำเป็นต้องมีทั้ง 2 อย่าง เมื่อสร้างแผนการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมแล้ว อย่าลืมสร้างตารางเวลาที่เป็นรูปธรรมด้วย จงเขียนทุกอย่างที่คิดจะทำ แล้วระบุลงไปด้วยว่าจะลงมือทำเมื่อไหร่ อย่าลืมตรวจสอบความคืบหน้า และทบทวนแก้ไขแผนการตามที่จำเป็นด้วย เพราะในชีวิตมีเรื่องที่ดำเนินไปอย่างราบรื่นตามแผนเพียงแค่ไม่กี่อย่างเท่านั้น
ชั้นเรียนที่ 4 เครื่องมือที่จะช่วยในการตัดสินใจ
หนูน้อยนักแก้ไขปัญหาเป็นนักตัดสินใจที่ดี พวกเขาแทบไม่เคยนึกเสียใจในภายหลังกับทางเลือกของตัวเอง เพราะก่อนหน้านั้นเขายอมเสียเวลาพิจารณาทางเลือกทั้งหมด และค้นพบด้วยตัวเองว่า การตัดสินใจแบบไหนถึงจะดีที่สุด ในชั้นเรียนปีนี้จะเห็นว่า มินามินักเตะสาวดาวรุ่ง ตัดสินใจเลือกโรงเรียนใหม่อย่างไร มินามิเป็นคนฉลาดและมักจะตรวจสอบให้แน่ใจอยู่เสมอว่า ตัวเองกำลังทำอะไรอยู่
การแสวงหาของมินามิเริ่มขึ้นแล้ว
มินามิเป็นสาวนักผจญภัย เมื่อตัดสินใจเรื่องอะไรไปแล้ว ก็จะลงมือทำอย่างรวดเร็ว ก่อนอื่นเธอไปถามพ่อแม่ว่า จะขอย้ายไปเรียนที่บราซิล เพื่อฝึกเล่นฟุตบอลได้หรือไม่ พ่อแม่ก็เอ่ยปากอนุญาต พ่อรู้สึกทึ่งในความมุ่งมั่นและความกระตือรือร้นของมินามิ แต่มีเงื่อนไขว่า มินามิต้องเล่นฟุตบอลโดยไม่ทิ้งการเรียน และต้องเลือกโรงเรียนที่คิดค่าเทอมน้อยกว่า 1 ล้านเยนต่อปีเท่านั้น
มินามิใช้ตารางข้อดีและข้อเสียเพื่อเปรียบเทียบโรงเรียน เมื่อเรียงข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของโรงเรียนเทียบกันแล้ว ก็สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วว่า โรงเรียนไหนเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า
เครื่องมือที่ 1 ข้อดีและข้อเสีย เครื่องมือที่ 2 หลักเกณฑ์และการประเมิน มีเครื่องมืออยู่ 2 อย่างที่เป็นประโยชน์อย่างมาก ในเวลาที่จำเป็นต้องประเมินทางเลือกหลาย ๆ ทาง และตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด
ภาพตารางข้อดีและข้อเสีย
เครื่องมือที่ 1 ข้อดีข้อเสีย (Pros and Cons)
เครื่องมือแรกมีชื่อเรียกว่า ข้อดีและข้อเสีย ซึ่งจะช่วยให้ขยายทางเลือกของตัวเอง และช่วยให้แน่ใจว่าได้พิจารณาทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ก่อนจะตัดสินใจขั้นสุดท้าย เครื่องมือข้อดีและข้อเสียจะช่วยให้แบ่งแยกความแตกต่าง ระหว่างทางเลือกต่าง ๆ ได้
ขั้นตอนที่ 1 เขียนทางเลือกทั้งหมดออกมา
ขั้นตอนที่ 2 เขียนข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือก
ขั้นตอนที่ 3 ชั่งน้ำหนักข้อดีและข้อเสียที่เขียนไว้
ขั้นตอนที่ 4 เลือกทางเลือกที่น่าสนใจมากที่สุด
เครื่องมือที่ 2 หลักเกณฑ์และการประเมิน…
ขั้นตอนที่ 1 เขียนทางเลือกทั้งหมดออกมา
ขั้นตอนที่ 2 เขียนหลักเกณฑ์การประเมิน
ขั้นตอนที่ 3 กำหนดระดับความสำคัญของแต่ละหลักเกณฑ์
ขั้นตอนที่ 4 ประเมินแต่ละทางเลือกจากหลักเกณฑ์ที่ผ่านการชั่งน้ำหนักแล้ว
ขั้นตอนที่ 5 เลือกทางเดินที่น่าสนใจมากที่สุด
บทวิเคราะห์ชวนคิดของนักวิจารณ์กีฬา
มินามิดูข่าวกีฬาภาคค่ำทางช่องเอ็นเอชเค วันนั้นมีสกู๊ปพิเศษในหัวข้อ ทำไมทีมแยงกี้ย์ถึงไม่ชนะ เรื่องราวจากปากของนักวิจารณ์คนหนึ่ง ทำให้มินามิรู้สึกติดใจขึ้นมา มินามิจึงพิจารณาเป้าหมายเดิมของตัวเองอีกครั้ง เป้าหมายหลักไม่ใช่การเล่นให้ทีมฟุตบอลที่ดีที่สุด แต่อยากเป็นนักฟุตบอลที่เก่งที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยการพาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การเล่นฟุตบอลมากที่สุดต่างหาก ส่วนเป้าหมายรองคือการเป็นคน 2 วัฒนธรรมและพูดได้ 2 ภาษา
ค้นหาสภาพแวดล้อมที่ดีเยี่ยม เหมาะแก่การพัฒนาทักษะด้านฟุตบอล
มินามิจัดแจงโทรศัพท์หาโค้ช และขอคำแนะนำจากเขา นอกจากนี้โค้ชยังบอกเคล็ดลับอื่น ๆ ที่มินามิไม่เคยนึกถึงมาก่อน มินามิถามโค้ชว่าเขาคิดว่าควรเลือกสมัครเข้าโรงเรียนไหนดี กับโค้ชผู้ฝึกสอนที่เคยทำงานกับโรงเรียนทั้งสองมาก่อน มินามิรู้สึกว่าคำแนะนำของโค้ชดูน่าเชื่อถือมาก เธอดีใจที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับเขา ตอนนี้สามารถเติมเต็มเนื้อหาส่วนของสภาพแวดล้อมที่ดีเยี่ยมในการเล่นฟุตบอล ในตารางหลักเกณฑ์และการประเมินได้อย่างถูกต้องแม่นยำแล้ว
ค้นหาสภาพแวดล้อมที่ดีเยี่ยมเหมาะแก่การเป็นคนสองวัฒนธรรมและพูดได้ 2 ภาษา
คราวนี้มินามิต้องตัดสินใจเปรียบเทียบตัวเลือกทั้งสองอย่าง ว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การเป็นคน 2 วัฒนธรรมและพูดได้ 2 ภาษาหรือไม่ เธอโทรติดต่อไปที่สำนักงานบริการการศึกษาของรีโอ และได้รับข้อมูลของนักเรียนชาวญี่ปุ่น 3 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนนี้ มินามิรู้สึกตกตะลึงกับสิ่งที่ได้อ่าน แต่ข้อมูลที่นักเรียนทุกคนบอกมาแทบจะเป็นเรื่องเดียวกัน วันต่อมาจึงสอบถามนักเรียนแลกเปลี่ยน 2-3 คนในโรงเรียนของเธอว่า สภาพแวดล้อมแบบไหนที่เหมาะแก่การศึกษาในต่างประเทศมากที่สุด ผลปรากฏว่าทุกคนเน้นความสำคัญของการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้ได้ตั้งใจจดจ่ออย่างเต็มที่
ค้นหาทุนการศึกษา
มินามิพยายามมองหาองค์กรที่จะเสนอทุนการศึกษา ให้เธอเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมอเมซอน แต่ก็ประสบความล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะอเมซอนไม่มีทุนการศึกษาให้นักเรียนต่างชาติ ระหว่างการฝึกซ้อมในช่วงเช้าวันเสาร์ มินามิปรึกษาโค้ช เธอพูดพรางทำคอตก ยังมีปัญหาเรื่องจ่ายค่าเล่าเรียนไม่ไหวตั้ง 2 ล้านเยนต่อปีเกินงบไปตั้งเยอะ แล้วก็ไม่มีโชคด้านทุนการศึกษา โค้ชกดโทรศัพท์มือถือติดต่อใครบางคน โค้ชวางสายแล้วหันมาส่งยิ้มกว้างให้มินามิ “เก็บกระเป๋าได้เลย” “ฟังนะ” โค้ชบอก “เมื่อกี้พูดคุยกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดของไนกี้ พวกเขาอยากเป็นสปอนเซอร์ให้เธอ โดยส่งค่าใช้จ่ายให้ทุกอย่าง ไม่เลวใช่ไหม ลองกลับไปคุยกับพ่อแม่ดู แล้วค่อยไปหาเขาที่ออฟฟิศ” มินามีแทบไม่อยากจะเชื่อหูตัวเอง เธอยืนนิ่งอยู่อย่างนั้นประมาณ 1 นาที สุดท้ายคำพูดของโค้ชก็ค่อย ๆ ซึมซับเข้าไปในหัว และทำให้เธอถึงกับกระโดดโลดเต้นด้วยความยินดี
ที่สนามบิน
1 เดือนต่อมา มินามิกำลังยืนอยู่ที่สนามบินนาริตะ เพื่อเตรียมขึ้นเครื่องไปบราซิล เธอตอบรับทุนการศึกษาของไนกี้เรียบร้อยแล้ว มินามิกล่าวลาพ่อแม่ น้องชายฝาแฝด โค้ช และเพื่อนร่วมทีม ซึ่งมาส่งเธอที่สนามบิน มินามินึกในใจว่า เราสามารถเปลี่ยนแปลงโชคชะตาของตัวเองได้ ถ้าพยายามออกแบบมันด้วยตัวเอง เธอยิ้มแล้วเดินไปขึ้นเครื่องพร้อมกับความหวังที่เต็มเปี่ยม สักวันหนึ่งอาจจะเห็นเธอไปแข่งฟุตบอลโลกก็ได้
ออกแบบชีวิตอย่างมั่นใจ ด้วยการท้าทายการตัดสินใจ
ดูเหมือนมินามิกำลังจะมีชีวิตที่น่าตื่นเต้นรออยู่ข้างหน้า อาจคิดว่าเธอแค่โชคดีก็ได้ แต่เรื่องทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะเธอท้าทายความคิดดั้งเดิมของตัวเอง เพราะลงมือปฏิบัติด้วยความมั่นใจ นอกจากนี้ไม่ได้มีเพียงแค่พรสวรรค์นักฟุตบอลเท่านั้น ยังสู้อุตส่าห์ฝึกฝนอย่างหนักอยู่หลายปี เพื่อพัฒนาทักษะของตัวเองอีกด้วย มีเสน่ห์และบุคลิกน่าคบหา จะเป็นแรงกระตุ้นให้คนรอบข้างพยายามอย่างมากเป็นพิเศษเพื่อช่วยเหลือเธอ แต่มันคงไม่ใช่ทั้งหมดดังคำกล่าวที่ว่า โชคดีคือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อการเตรียมพร้อมมาบรรจบกับโอกาส
บทเรียนหลายอย่างที่ได้เรียนรู้จากเรื่องราวของมินามิ
ทุกคนล้วนต้องเผชิญเส้นตายกันทั้งนั้น แต่ที่สำคัญคือต้องรู้จักท้าทายความคิดของตัวเองอยู่เสมอ และมองหาตัวเรื่องอื่น ๆ ที่อาจมองข้ามไปได้ เรื่องราวของมินามิจะนำทางให้ตัดสินใจ และพัฒนาชีวิตของตัวเองได้ดีขึ้น การแก้ปัญหาจะกลายเป็นเรื่องง่าย ที่รู้วิธีกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน หาวิธีบรรลุเป้าหมายนั้น และลงมือปฏิบัติไปพร้อมกับตรวจสอบความคืบหน้า และปรับเปลี่ยนแผนการตามที่จำเป็น ถ้าพยายามแก้ไขปัญหาจนเป็นนิสัย ก็จะสามารถดึงพรสวรรค์ออกมาใช้ได้สูงสุด และควบคุมชีวิตของตัวเองได้ คุณจะไม่ได้แก้ไขปัญหาของตัวเองเท่านั้น แต่ยังสามารถแก้ไขปัญหาของโรงเรียน ธุรกิจชุมชน หรือแม้กระทั่งปัญหาระดับโลกได้.
สั่งซื้อหนังสือ “ชั้นเรียนวิชาแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดในโลก” (คลิ๊ก)